เขตพื้นที่การศึกษา (Educational Service Area) เป็นระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดระบบและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น[1] เดิมมีสำนักงานประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ใช้ชื่อว่า "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ..." (สพท.) และต่อมาได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[2] โดยจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้[3]
ศึกษาธิการเขต (พ.ศ. 2516–2520) และเขตการศึกษา (พ.ศ. 2520–2546)
รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516 ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อแบ่งเขตพื้นที่ในการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็น 12 เขต[4] เรียกว่า "ศึกษาธิการเขต" ตั้งแต่เขต 1 ถึงเขต 12 ในอีกสี่ปีถัดมา รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียรได้แยกกรุงเทพมหานครออกจากศึกษาธิการเขต 1 เนื่องจากมีโรงเรียนเป็นจำนวนมาก และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก "ศึกษาธิการเขต" เป็น "เขตการศึกษา"[5] ทำให้มีเขตการศึกษาเพิ่มเป็น 13 เขต โดยแต่ละเขตมีพื้นที่บริหารราชการดังนี้ (ชื่อจังหวัดที่แสดงเป็นตัวเอนหมายถึงจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้)
หลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน)
ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรับผิดชอบอำนาจหน้าที่เดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา กรมวิชาการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ[6] และกระทรวงศึกษาธิการได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 175 เขต[7] และมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บริหารงานในแต่ละเขต ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการอีก 2 ฉบับกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมใน 10 จังหวัด จังหวัดละ 1 เขตได้แก่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา[8] กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พัทลุง เลย มหาสารคาม และอุทัยธานี[9] จำนวนเขตพื้นที่การศึกษาจึงเพิ่มขึ้นเป็น 185 เขต
ต่อมาใน พ.ศ. 2553 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวโดยให้แยกการบริหารงานสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน[10] กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยุบรวมเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตรวมกันเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร[11] และจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขึ้น 42 เขต[12] โดยแยกโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนอื่นที่เหลือให้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 ในสมัยที่ณัฏฐพล ทีปสุวรรณดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิม 42 เขตเป็น 62 เขต[13]
การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร
ท้องที่บริหารการศึกษาในกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็น 3 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ครอบคลุมเขต 17 เขตในฝั่งพระนครได้แก่คลองเตย ดินแดง ดุสิต บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร ยานนาวา ราชเทวี วัฒนา สัมพันธวงศ์ และสาทร เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ครอบคลุมอีก 18 เขตที่เหลือในฝั่งพระนคร ในขณะที่ 15 เขตในฝั่งธนบุรีอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใน พ.ศ. 2553 เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตถูกยุบรวมกันเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร มีอำนาจครอบคลุมทั้ง 50 เขต[11] ในขณะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครถูกโอนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครถูกแบ่งออกเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ สพม.1 และ สพม.2 พื้นที่ของ สพม.1 ประกอบด้วยเขตทุกเขตในฝั่งธนบุรีรวมกับอีก 8 เขตในฝั่งพระนครได้แก่ดุสิต บางซื่อ ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ราชเทวี และสัมพันธวงศ์ ส่วนอีก 27 เขตในฝั่งพระนครอยู่ในพื้นที่ของ สพม.2[12] ก่อนที่ใน พ.ศ. 2564 เมื่อมีการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใหม่จาก 42 เป็น 62 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้งสองแห่งได้ใช้ชื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[13]
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้ |
---|
| สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3 (พ.ศ. 2546–2553) |
| สพป.กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) |
| สพม.1 และสพม.2 (พ.ศ. 2553–2564) สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน) |
|
การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2554 แยกตัวออกจากจังหวัดหนองคาย ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น จังหวัดหนองคายมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 2 และ สพป.หนองคาย เขต 3 ซึ่งพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอของ สพป.หนองคาย เขต 3 เดิมและอีก 2 อำเภอในพื้นที่ของ สพป.หนองคาย เขต 2 ได้แก่อำเภอโซ่พิสัยและอำเภอปากคาด หลังจากจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศให้ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬอยู่ในพื้นที่ของ สพป.บึงกาฬ ยกเลิก สพป.หนองคาย เขต 3 และให้ สพป.หนองคาย เขต 2 มีพื้นที่ครอบคลุมสามอำเภอเดิมที่เหลือได้แก่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี[14] ส่วนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น ให้ สพม.21 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดหนองคายเดิมมีอำนาจครอบคลุมจังหวัดบึงกาฬด้วย[15] จนกระทั่ง พ.ศ. 2564 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ พื้นที่ สพม.21 เดิมได้แยกออกเป็นสองเขตพื้นที่ตามเขตจังหวัด ได้แก่ สพม.หนองคายและ สพม.บึงกาฬ[13]
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ ก่อนและหลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ |
---|
| ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ |
| หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ (แสดงเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา) |
|
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อำเภอที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะแสดงด้วยตัวหนา ในขณะที่จังหวัดที่มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตเดียวครอบคลุมทั้งจังหวัด ได้แก่จังหวัดกระบี่ ชัยนาท ตราด นครนายก บึงกาฬ พังงา ภูเก็ต มุกดาหาร ระนอง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี อ่างทอง และอำนาจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่เขตราชเทวี
ภาคเหนือ
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคเหนือ |
---|
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|
|
ภาคตะวันตก
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันตก |
---|
|
ภาคตะวันออก
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก |
---|
|
ภาคกลาง
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคกลาง |
---|
|
ภาคใต้
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้ |
---|
|
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 โดยในระยะแรกมีจำนวน 42 เขต[12] ต่อมาได้มีการปรับปรุงโดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เป็น 62 เขต[13]
42 เขต (พ.ศ. 2553–2564)
หมายเลขเขตในส่วนนี้ถือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553[12] โดยจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด และเขตที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จะแสดงเป็นตัวหนา
62 เขต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 มกราคม 2564[13] เขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มจำนวนจาก 42 เป็น 62 เขต และชื่อของเขตพื้นที่เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้หมายเลข 1 ถึง 42 เป็นชื่อจังหวัดที่พื้นที่ของเขตนั้น ๆ ครอบคลุม ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด ชื่อเขตจะขึ้นต้นด้วยชื่อจังหวัดที่ตั้งสำนักงานเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดที่ตั้งสำนักงาน (รวมทั้ง สพม.พระนครศรีอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา) ยกเว้น สพม.นครปฐม (อำเภอนครชัยศรี) สพม.น่าน (อำเภอภูเพียง) และ สพม.พัทลุง (อำเภอควนขนุน) โดยในประกาศฉบับ พ.ศ. 2564 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิมดังนี้
- สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 สพม.1 เดิม
- สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 สพม.2 เดิม
- สพม.นนทบุรี แยกมาจาก สพม.3 เดิม
- สพม.พระนครศรีอยุธยา แยกมาจาก สพม.3 เดิม
- สพม.ปทุมธานี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
- สพม.สระบุรี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
- สพม.ลพบุรี แยกมาจาก สพม.5 เดิม
- สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง แยกมาจาก สพม.5 เดิม
- สพม.อุทัยธานี ชัยนาท แยกจาก สพม.41 และสพม.5 เดิม
- สพม.ฉะเชิงเทรา แยกมาจาก สพม.6 เดิม
- สพม.สมุทรปราการ แยกมาจาก สพม.6 เดิม
- สพม.ปราจีนบุรี นครนายก แยกมาจาก สพม.7 เดิม
- สพม.สระแก้ว แยกมาจาก สพม.7 เดิม
- สพม.กาญจนบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
- สพม.ราชบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
- สพม.นครปฐม แยกมาจาก สพม.9 เดิม
- สพม.สุพรรณบุรี แยกมาจาก สพม.9 เดิม
- สพม.ประจวบคีรีขันธ์ แยกมาจาก สพม.10 เดิม
- สพม.เพชรบุรี แยกมาจาก สพม.10 เดิม
- สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม แยกมาจาก สพม.10 เดิม
- สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร สพม.11 เดิม
- สพม.นครศรีธรรมราช แยกมาจาก สพม.12 เดิม
- สพม.พัทลุง แยกมาจาก สพม.12 เดิม
- สพม.ตรัง กระบี่ สพม.13 เดิม
- สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง สพม.14 เดิม
- สพม.นราธิวาส แยกมาจาก สพม.15 เดิม
- สพม.ปัตตานี แยกมาจาก สพม.15 เดิม
- สพม. ยะลา แยกมาจาก สพม.15 เดิม
- สพม.สงขลา สตูล สพม.16 เดิม
- สพม.จันทบุรี ตราด สพม.17 เดิม
- สพม.ชลบุรี ระยอง สพม.18 เดิม
- สพม.เลย หนองบัวลำภู สพม.19 เดิม
- สพม.อุดรธานี สพม.20 เดิม
- สพม.บึงกาฬ แยกมาจาก สพม.21 เดิม
- สพม.หนองคาย แยกมาจาก สพม.21 เดิม
- สพม.นครพนม แยกมาจาก สพม.22 เดิม
- สพม.มุกดาหาร แยกมาจาก สพม.22 เดิม
- สพม.สกลนคร สพม.23 เดิม
- สพม.กาฬสินธุ์ สพม.24 เดิม
- สพม.ขอนแก่น สพม.25 เดิม
- สพม.มหาสารคาม สพม.26 เดิม
- สพม.ร้อยเอ็ด สพม.27 เดิม
- สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร สพม.28 เดิม
- สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สพม.29 เดิม
- สพม.ชัยภูมิ สพม.30 เดิม
- สพม.นครราชสีมา สพม.31 เดิม
- สพม.บุรีรัมย์ สพม.32 เดิม
- สพม.สุรินทร์ สพม.33 เดิม
- สพม.เชียงใหม่ แยกมาจาก สพม.34 เดิม
- สพม.แม่ฮ่องสอน แยกมาจาก สพม.34 เดิม
- สพม.ลำปาง ลำพูน สพม.35 เดิม
- สพม.เชียงราย แยกมาจาก สพม.36 เดิม
- สพม.พะเยา แยกมาจาก สพม.36 เดิม
- สพม.แพร่ แยกมาจาก สพม.37 เดิม
- สพม.น่าน แยกมาจาก สพม.37 เดิม
- สพม.ตาก แยกมาจาก สพม.38 เดิม
- สพม.สุโขทัย แยกมาจาก สพม.38 เดิม
- สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สพม.39 เดิม
- สพม.เพชรบูรณ์ สพม.40 เดิม
- สพม.นครสวรรค์ แยกมาจาก สพม.41 เดิม
- สพม.กำแพงเพชร แยกมาจาก สพม.42 เดิม
- สพม.พิจิตร แยกมาจาก สพม.42 เดิม
อ้างอิง