อำเภอดอนสัก
ดอนสัก เป็นอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอดอนสัก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Don Sak |
ท่าเรือในตำบลดอนสัก | |
คำขวัญ: เขาชะโงกเด่นสง่า แหล่งประมงล้ำค่า เทียบท่าเฟอร์รี น้ำตกสวยวิภาวดี บารมีหลวงพ่อจ้อย | |
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอดอนสัก | |
พิกัด: 9°18′50″N 99°41′25″E / 9.31389°N 99.69028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 460.9 ตร.กม. (178.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 37,005 คน |
• ความหนาแน่น | 80.29 คน/ตร.กม. (208.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 84220, 84160 (เฉพาะตำบลชลคราม), 84340 (เฉพาะตำบลปากแพรก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8403 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอดอนสัก หมู่ที่ 5 ถนนบ้านใน-ขนอม ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84220 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอดอนสัก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอขนอม (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสิชล (จังหวัดนครศรีธรรมราช) และอำเภอกาญจนดิษฐ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกาญจนดิษฐ์
ประวัติ
แก้ดอนสักเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลดอนสัก อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีในขณะนั้น เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนพื้นที่มณฑลนครศรีธรรมราช โดยพื้นที่ตำบลไชยคราม ตำบลดอนสัก มีพื้นที่ห่างไกลจากอำเภอสิชล จึงโอนย้ายมาขึ้นกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี[1] แทน
เนื่องจากอำเภอกาญจนดิษฐ์ มีพื้นที่กว้างขวางมาก ตลอดถึงประชาชนซึ่งไม่สะดวกในการปกครองดูแลไม่ทั่วถึง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2512 ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงแยกตำบลชลคราม ตำบลดอนสัก เป็น กิ่งอำเภอดอนสัก[2] โดยมีปลัดลาภ ลาภชูรัตน์ เป็นผู้รักษาการแทนกิ่งอำเภอ และในปีเดียวกันเขตตำบลไชยคราม ของอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลไชยคราม ไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอดอนสักสะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ อีกทั้งเขตตำบลไชยครามอยู่กึ่งกลางระหว่างตำบลดอนสักกับตำบลชลคราม ทำให้เขตกิ่งอำเภอดอนสักมีลักษณะตัดขาดจากกัน ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลไชยคราม เข้ามาสมทบทางกิ่งอำเภอ[3]
ปี พ.ศ. 2513 บ้านนางข้าม บ้านบางน้ำจืด บ้านท้องอ่าว บ้านปากดอนสัก บ้านเกาะแรด บ้านโรงถ่าน และบ้านบางโสม มีประชากรมาก มีศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงจัดตั้งพื้นที่เป็น สุขาภิบาลดอนสัก[4] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอดอนสัก เป็น อำเภอดอนสัก[5] พร้อมกับอำเภอเวียงสระ ในจังหวัดเดียวกัน โดยมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน
ต่อมาปี พ.ศ. 2515 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกครั้ง โดยประชาชนหมู่ 7 บ้านนางกำ ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม ไปติดต่อราชการกับอำเภอดอนสักสะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอขนอม จึงโอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านนางกำ ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม มาขึ้นกับตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก[6] และปี พ.ศ. 2521 ได้แยกหมู่ 1 บ้านปากแพรก, หมู่ 3 บ้านเหนียก, หมู่ 7 บ้านเขาแล่, หมู่ 8 บ้านเขาพระอินทร์ ของตำบลไชยคราม และหมู่ 10 บ้านคอกช้าง ของตำบลดอนสัก รวม 5 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลปากแพรก[7]
ปี พ.ศ. 2523 ทางราชการได้รับแจ้งว่าพื้นที่หมู่ 7 บ้านเกาะเชือก เกาะนกเภา และเกาะริกัน ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย ไปติดต่อราชการกับอำเภอดอนสักสะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอเกาะสมุย จึงโอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านเกาะเชือก เกาะนกเภา และเกาะริกัน ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย มาขึ้นกับตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก[8] ในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลดอนสักมีความเจริญมากขึ้น ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลดอนสัก[9] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2555 ทางเทศบาลตำบลดอนสัก ที่มีประชากรมากถึง 11,524 คน มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองดอนสัก[10] จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอดอนสักแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอดอนสักประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองดอนสัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลดอนสัก
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนสัก (นอกเขตเทศบาลเมืองดอนสัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชลคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชลครามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยครามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรกทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 149. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2472
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (27 ง): 1206. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (80 ง): 2851. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนสัก กิ่งอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (90 ง): 2787–2789. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2513
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ง): 345–348. วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (175 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-2. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเวียงสระ และอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2456–2460. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเกาะสมุย กับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (165 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-6. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง เปลี่ยนฐานะเทศบาลตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลเมืองดอนสัก". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มิถุนายน ปีเดียวกัน