สถานีย่อย:ประเทศไทย
ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยประเทศไทย | |
|
ประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดสี่ประเทศ คือ ประเทศลาว กัมพูชา มาเลเซีย และพม่า ล้อมรอบด้วยทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการปกครอง การปกครองส่วนภูมิภาคจัดระเบียบเป็น 77 จังหวัด ประวัติศาสตร์ไทยเริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย ต่อด้วยอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรธนบุรี และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไทยมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ เช่น ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท การแสดงการทักท้ายด้วยการไหว้ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ หมวดหมู่ทั้งหมด: ประวัติศาสตร์ • รัฐบาล • การเมือง • ภูมิศาสตร์ • เศรษฐกิจ • วัฒนธรรม • บุคคล หากคุณต้องการร่วมสร้างสารานุกรมวิกิพีเดียในหัวข้อเกี่ยวกับประเทศไทย เชิญแวะได้ที่โครงการวิกิประเทศไทย |
แก้ไข
บุคคลไทยประจำสัปดาห์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี (อ่านต่อ...) แก้ไข
รู้ไหมว่า
|
แก้ไข
เที่ยวเมืองไทยประจำสัปดาห์ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’” ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ อ่านเพิ่มเติม...
บทความก่อนหน้านี้: อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - สวนจตุจักร - วัดร่องขุ่น - อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ - วัดพระธาตุช่อแฮ
แก้ไข
มีส่วนร่วม
|
ภาพสวย ๆ จากเว็บ
หากหน้านี้ได้รับการแก้ไขเมื่อเร็ว ๆ นี้ อาจไม่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงล่าสุด กรุณาล้างแคชหน้านี้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงล่าสุด |