หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

ขุนนางชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก หลวงวิจิตรวาทการ)

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา (จีน: 金良)[1]) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] นักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง นักปาถกฐา นักประพันธ์ คนสำคัญของประเทศไทย

หลวงวิจิตรวาทการ
(วิจิตร วิจิตรวาทการ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน พ.ศ. 2485 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปดิเรก ชัยนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2494 – 8 ธันวาคม​ พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน)
ถัดไปเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้ามุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
ถัดไปนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2505
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
กันยายน พ.ศ. 2493 – 5 เมษายน พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าศ.ดร.เดือน บุนนาค
ถัดไปพล.ท.สวัสดิ์ ส.สวัสดิ์เกียรติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2441
จังหวัดอุทัยธานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต31 มีนาคม พ.ศ. 2505 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสคุณหญิง ประภาพรรณ วิจิตรวาทการ
บุตร7 คน
ยศเดิมอำมาตย์โท
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลตรี

ประวัติ

แก้

หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้ต้นคิดและริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เป็นบุตรคนหนึ่งใน 8 คน[3] ของนายอินและนางคล้าย บุตรีของหลวงสกลรักษา นายอำเภอ[3] เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 เวลา 4.00 น. ย่ามรุ่ง[3] ที่อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย แต่มารดาเสียก่อนเมื่อยังเล็ก[3] เมื่ออายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

เมื่ออายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคใน พ.ศ. 2459 เมื่ออายุ 19 ปี สอบได้เป็นที่ 1 ในประเทศ[3] ได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย

หลวงวิจิตรวาทการเป็นคนใฝ่รู้อย่างยิ่ง นอกจากเรียนนักธรรมและบาลีแล้วยังแอบเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะเขาไม่ให้เรียนวิชาอื่นจนมีความรู้ในภาษาทั้งสองดี ได้แปลพงศาวดารเยอรมันเป็นไทยโดยใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม"

หลวงวิจิตรวาทการถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505 เวลา 6.40 น. ที่บ้านพักซอยเกษม ถนนสุขุมวิท 24 กรุงเทพมหานคร ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว สิริอายุ 63 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยบรรจุศพหลวงวิจิตรวาทการด้วยพระโกศไม้สิบสอง และประดับเฟื้องเป็นเกียรติยศ[3]

ครอบครัว

แก้

หลวงวิจิตรวาทการ สมรสกับคุณหญิง ประภาพรรณ วิจิตรวาทการ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 7 คน ได้แก่[4]: 9–10 

  1. ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ
  2. วิวิทย์ วิจิตรวาทการ
  3. วิจิตรา รังสิยานนท์
  4. นพ. วิบูล วิจิตรวาทการ
  5. วิภาจ วิจิตรวาทการ
  6. วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ
  7. วิวัฒนวงศ์ วิจิตรวาทการ

การทำงาน

แก้

เมื่ออายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำสถานอัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการในสถานอัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อครั้งยังรับราชการอยู่ที่กรุงปารีส หลวงวิจิตรวาทการ ร่วมประชุมกับผู้ก่อตั้งคณะราษฎร แต่มิได้เข้าร่วมคณะราษฎร เพราะไม่เห็นด้วยกับปรัชญาและแนวโน้มด้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของปรีดี พนมยงค์ และต้องการปกป้องยึดมั่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลวงวิจิตรวาทการจึงก่อตั้ง "คณะชาติ" ขึ้นมาเพื่อหมายจะเปรียบเทียบกับคณะราษฎร แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเทียมคณะราษฎร หลังจากรับราชการต่อที่กรุงลอนดอน หลวงวิจิตรวาทการ จึงกลับมาร่วมงานวางแผนปฏิวัติกับคณะราษฎรที่ประเทศสยาม ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมิได้เอาชื่อเข้าคณะผู้ก่อการอย่างเป็นทางการ

ตำแหน่งราชการ

แก้

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร) มีตำแหน่งราชการ ดังนี้[3]

  • พ.ศ. 2461 เสมียนกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2463 ผู้ช่วยเลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2467 เลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2469 เลขานุการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2472 หัวหน้ากองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2473 หัวหน้ากองการทูต กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2474 หัวหน้ากองการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และเลขานุการ คณะข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนแม่น้ำโขง
  • พ.ศ. 2475 ผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์สากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2476 อธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2477 อธิบดีกรมศิลปากร เลขาธิการราชบัณฑิตสถานและอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2480 อธิบดีกรมศิลปากร และรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2484 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีสั่งราชการแทน กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2485 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2486 เอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2493 ผู้ประศาสน์การ (รักษาการตำแหน่งอธิบดี) และอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2494 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2495 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย
  • พ.ศ. 2496 เอกอัครราชทูตประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย
  • พ.ศ. 2501 รองผู้อำนวยการฝ่ายผลเรือน กองบัญชาการปฏิวัติ
  • พ.ศ. 2502 ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ กรรมการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ (ราชมิตราภรณ์)[4]: 20  และประธานคณะที่ปรึกษาองค์การของรัฐ
  • พ.ศ. 2503 กรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เลขาธิการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้สั่งและปฎิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

บทบาททางการเมือง

แก้

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น อำมาตย์โท และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ได้ถูกปลดออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475[5] แต่ในภายหลังได้กลับเข้ารับราชการโดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น เจ้ากรมกองประกาศิต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2476[6] ต่อมาได้โอนมารับราชการที่ กระทรวงธรรมการ[7] ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2477[8] ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแทนจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485[9]เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นได้ทำลายประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและเข้าประชิดเตรียมรุกรานประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการปรึกษากับนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ทั้งสองตัดสินว่า เพื่อป้องกันประเทศไทย มิให้ถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น ประเทศไทยควรยินยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปสู่แหลมมลายู และให้ดำรงอิสรภาพของประเทศไทยเป็นการตอบแทน หลวงวิจิตรวาทการ สละตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกรุงโตเกียวที่ประเทศญี่ปุ่นแทนนาย ดิเรก ชัยนาม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486[10]ในระยะสงครามโลกครั้งที่สองนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ตอบแทนมิตรภาพของประเทศไทย โดยช่วยเหลือให้ประเทศไทยรบยึดคืนแผ่นดินที่ได้สูญเสียแก่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศญี่ปุ่น หลวงวิจิตรวาทการ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเอกอัครราชทูตเยอรมันและเอกอัครราชทูตอิตาลี จึงถูกแม่ทัพสหรัฐนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ สั่งจับเข้าที่คุมขัง คุณหญิงวิจิตรวาทการได้เข้าอธิบายต่อนายพลแมคอาเธอร์ว่าประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อดำรงอิสรภาพ และปกป้องคุ้มกันประเทศมิให้ญี่ปุ่นทำลาย นายพลแมคอาเธอร์เข้าใจและรับคำอธิบายของคุณหญิงวิจิตรวาทการ สั่งปลดปล่อยหลวงวิจิตรวาทการออกจากที่คุมขัง รวมทั้งจัดการมอบเครื่องบินอเมริกัน นำหลวงวิจิตรวาทการและข้าราชการประจำสถานทูตกลับเมืองไทย แต่เมื่อกลับมาถึงประเทศ รัฐบาลไทยภายใต้นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และความควบคุมของพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จึงจับกุมหลวงวิจิตรวาทการเข้าที่คุมขังในฐานอาชญากรสงคราม

หลวงวิจิตรวาทการและจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ถูกกล่าวหาเป็นอาชญากรสงคราม ฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสต้องการให้ประหารชีวิตทั้งสองท่าน แต่สหรัฐอเมริกา ยืนยันว่าต้องดำเนินการขึ้นศาลตัดสินความก่อน ศาลไทยตัดสินความโดยยกเลิกข้อฟ้องทั้งหมดในพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม และปลดปล่อยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ และนักโทษการเมืองอื่น ๆ ออกจากที่คุมขัง กลับสู่อิสรภาพ

หลวงวิจิตรวาทการกลับมาใช้ชีวิตเป็นนักประพันธ์ แต่งสารคดีและนวนิยาย ประสบความสำเร็จเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนอกการเมือง จนสามปีต่อมา จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ ร่วมปรึกษาวางแผนรัฐประหารยึดอำนาจกลับคืนสำเร็จ

หลวงวิจิตรวาทการจึงกลับสู่สภาวะนักการเมือง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ภายหลังเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และยูโกสลาเวีย (เซอร์เบีย) และต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี[11] (เทียบเท่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

 
หุ่นขี้ผึ้งหลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ

แนวคิดเปลี่ยนแปลงชาตินิยม

แก้

บทบาทสำคัญที่สุดของหลวงวิจิตรวาทการ ในฐานะนักการเมืองและนักชาตินิยม คือเป็นต้นความคิด ในการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย หลวงวิจิตรวาทการเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ศึกษาค้นคว้าประวัติของชนชาติไทย โดยอ้างว่าแรกตั้งรากฐานอยู่ที่ทะเลแคสเปียนใกล้ประเทศรัสเซีย และอพยพเข้าสู่เขตยูนนานก่อนชนชาติจีน ถูกชนชาติจีนบุกรุกผลักดันลงสู่ทิศใต้ จนถึงแดนสุวรรณภูมิ มีจำนวนชนชาวไทยทั้งหมดในขณะนั้น ประมาณ 30 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสยาม จึงนำเรื่องขึ้นเสนอต่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ว่าสมควรเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จึงแต่งตั้งหลวงวิจิตรวาทการให้เป็นประธานคณะกรรมการ นำเรื่องเปลี่ยนชื่อประเทศขึ้นสู่สภาผู้แทน และสภาผู้แทนแห่งประเทศสยาม จึงลงมติเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

ผลงาน

แก้

หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้แต่งหนังสือ[4][12]

ประเภทวิชาการและศาสนา

  • ดวงประทีป หนังสือประเภทวิชาการแบบรายทศ ใช้นามปากกาว่า "เวทิก"[13][14]
  • หนังสือแผ่นปลิว วัดมหาธาตุ ใช้นามปากกว่า "องคต"[15]
  • ประวัติศาสตร์สากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เล่ม โดยใช้นามปากกาว่า "วิเทศกรณีย์"
  • ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ จำนวน 8 เล่ม
  • จารึกพ่อขุนรามคำแหงกับคำอธิบาย[16]
  • ศาสนาสากล จำนวน 5 เล่ม
  • วิชชาแปดประการ
  • มหาบุรุษ
  • มันสมอง
  • ความฝัน
  • พุทธานุภาพ
  • กุศโลบาย[17]
  • กำลังใจ
  • กำลังความคิด
  • ดวงหน้าในอดีต[18]
  • ของดีในอินเดีย
  • ลัทธิโยคี
  • การเมืองการปกครองของกรุงสยาม
  • คณะการเมือง
  • ชีวิตแห่งละคร
  • ไปพม่า
  • จิตวิทยา
  • จิตตานุภาพ
  • การเมือง
  • วิธีทำงานและสร้างอนาคต
  • ทางสู้ในชีวิต
  • วิชาการครองเรือนครองรัก
  • กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่
  • มหัศจรรย์ทางจิต
  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย

ประเภทบทความและสารคดี

  • ความขบขัน
  • ความหมายการศึกษา
  • วิถีนักเขียน
  • กำเนิดธนบัตร
  • มุสโสลินี[19]
  • แม่ศรี-คู่สร้าง

ประเภทบทละครประวัติศาสตร์

  • นเรศวรประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2477)
  • พ่อขุนผาเมือง
  • ดาบแสนเมือง
  • เจ้าหญิงกรรณิการ์
  • ลานเลือด-ลานรัก
  • เลือดสุพรรณ (พ.ศ. 2479)
  • ราชมนู
  • ศึกถลาง (พ.ศ. 2480)[20]
  • พระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. 2480)
  • มหาเทวี
  • น่านเจ้า
  • เจ้าหญิงแสนหวี
  • เบญจเพศ
  • ชนะมาร
  • สีหราชเดโช
  • ตายดาบหน้า
  • เพ็ชรัตน์-พัชรา
  • ลูกพระคเณศวร์
  • ครุฑดำ
  • โชคชีวิต
  • อนุภาพพ่อรามคำแหง
  • อนุภาพแห่งความเสียสละ
  • อนุภาพแห่งความรัก
  • อนุภาพแห่งศีลสัตย์
  • ราชธิดาพระร่วง
  • บทละครหลังฉาก
  • สองคนพ่อลูก
  • ในน้ำมีปลา-ในนามีข้าว
  • หลานเขยของคุณป้า
  • ความรักของแม่
  • สละชีพเพื่องาน
  • น้ำใจแม่
  • ฝั่งโขง
  • ภริยาสมาชิกสภา
  • สายเสียแล้ว
  • ผีการพนัน
  • เหลือกลั้น
  • แม่สายบัว
  • ขายม้า-หาคู่
  • เทพธิดากาชาด
  • เสียท่า

ประเภทนวนิยายและนวนิยายอิงประวัติศาสตร์

  • ห้วงรักเหวลึก
  • พานทองรองเลือด
  • ดอกฟ้าจำปาศักดิ์
  • ฟากฟ้าสาละวิน
  • สวรรค์ยังไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้า
  • ยอดเศวตฉัตร
  • ผจญชีวิต
  • ครุฑดำ
  • เสน่ห์นาง
  • กรุงแตก[21]
  • ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน
  • เจ้าแม่จามรี (ใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม")
  • เจ้าแม่สาริกา
  • บ่มรัก
  • บุรุษอาธรรม์
  • สมร
  • ลูกเมียเก่า
  • อนาคตของชาติ (ใช้นามปากกาว่า "ดาวพฤหัส")[22]
  • เพ็ชรพระนารายณ์[23]
  • บัลลังก์เชียงรุ้ง
  • สละชีพเพื่อชู้
  • กุหลาบเมาะลำเลิง
  • ทุ่งร้างทางรัก
  • อาทิตย์อัสดง
  • คืนสวรรค์-วันสวาท
  • กรรณิการ์เทวี
  • มรสุมแห่งชีวิต
  • มนต์เรียกผัว
  • เหล็กล้างแค้น
  • เมื่อข้าพเจ้าหนีเมีย
  • ของรักตกตม
  • เลือดล้างเคราะห์
  • คลุมถุงชน
  • หลุมฝังรัก
  • รักสวยรักศิลป์
  • เสน่ห์นาง
  • ผัวหาย
  • กุญแจทอง
  • สมร
  • ความรักครั้งหลัง
  • เจ้าแม่จามรี
  • บุรุษอาธรรม์
  • บ่มรำ
  • เจ้าแม่สาลิกา
  • บทเรียนสร้างชีวิต
  • แปดปีภายหลัง
  • เมื่อไทยเป็นทาส
  • ความรักในกรงขัง
  • เพลงเก่า-เพลงกรรม
  • เลือดก้อนหนึ่ง
  • ชั่วดีพี่สะไภ้
  • หวานใจเจ้าอนุ
  • กลัวจนหายกลัว
  • ผู้ชนะเลิศ
  • สองชีวิต
  • น้ำตาของแม่
  • ขวัญตา-ขวัญใจ
  • นางเอกของข้าพเจ้า
  • เนื้อคู่สู่สม
  • ยอดมิ่ง-ยอดมิตร
  • ผัวแท้-ผัวเทียม
  • กลับบ้านดีกว่า
  • นักเขียนราคาแพง
  • ชีวิตคือการต่อสู้
  • เพื่อมาตุภูมิ
  • ตายสองครั้ง
  • ลูกชายของแม่
  • ศิลปะสมัยใหม่
  • หนามบ่งหนาม
  • โชคหลายชั้น
  • บูชารัก
  • รู้ตัวเมื่อจะตาย
  • เพลินพิศ
  • ลูกทาสในเรือนเบี้ย
  • เล่ห์ทำลายรัก
  • กองร้อยมรณะ
  • คืนร้างคืนรัก
  • แฟนหัวใจ
  • เพื่อนเก่าเมียรัก
  • ง่ายนิดเดียว
  • หลังฉากมรณะ
  • ประทุมมาลย์
  • ไม่กลัวตาย
  • เข็มเล่มเดียว
  • ผิดสัญญา
  • อย่าเล่นกับคำสาบาน
  • ปีศาจการพนัน
  • เมื่อข้าพเจ้าฆ่าตัวตาย
  • สมรสที่เดีเลิศ
  • ชื่นเพราะชู้ - สู้เพราะรัก
  • กรีเซลดา
  • ราตรีโชค

ปาฐกถา สุนทรพจน์ และการบรรยาย

  • ความฝัน
  • กำเนิดของหนังสือพิมพ์
  • การแต่งงาน
  • การศิลปากร
  • ความยุ่งยากในปลายบูรพทิศ
  • วัฒนธรรมสุโขทัย
  • สุนทรพจน์วันสถาปนา สมเด็จพระวันรัต เขมจารี วัดมหาธาตุ
  • การเสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศส
  • ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติระหว่างไทยกับเขมร
  • ชาติไทยจะชนะ
  • ข้อเท็จจริงบางประการ
  • อารยะธรรม
  • ของดีในภาคอีสาน
  • ความรัก
  • ชีวิตของนักประพันธ์
  • ความเจริญ
  • ความเชื่อในศาสนา
  • ธรรมวิภาค
  • ลักษณะของคน
  • ปัญหาการเงินของเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่ 2
  • มนุสสปฏิวัติ
  • ตะวันออกกลาง
  • การประหยัด
  • ผลของลัทธินิยมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • กัลยาณการี
  • เงินได้ของสรรพากร
  • นโยบายชาตินิยม
  • การทูตของประเทศไทย
  • งานของสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ชาติกับศาสนา
  • โลกปัจจุบันในแง่ประวัติศาสตร์
  • สภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • การคลังยามสงคราม
  • ความปลอดภัยของประเทศไทย

หลวงวิจิตรวาทการยังเป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองเพลงปลุกใจให้รักชาติประกอบเรื่องในละครประวัติศาสตร์ เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงต้นตระกูลไทย เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ เพลงแหลมทอง และเพลงกราวถลางเป็นต้น[20] นอกจากนั้นท่านยังแต่งบทละครอิงประวัติศาสตร์ และเพลงประกอบละครเหล่านั้น ไว้หลายเรื่องและหลายเพลง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[24][25]

เกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมยศของ
หลวงวิจิตรวาทการ
 
ตราประจำตัว
การเรียนใต้เท้า
การแทนตนกระผม/ดิฉัน
การขานรับครับ/ค่ะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "หลวงวิจิตรวาทการ". หอสมุดดนตรีพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2013.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๓๐๓๒–๓๐๓๓, ๒๑ กันยายน ๒๔๘๖
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 พระเทพวิสุทธิโมลี, เสฐียร พันธรังษี, และทินกร ทองเสวต. (2532). "ชีวิตพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (ตอนปฐมวัย)", ใน ดวงหน้าในอดีต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คลังสมอง. 239 หน้า. ไม่ปรากฏเลขหน้า.
  4. 4.0 4.1 4.2 สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะ. (2505). "ประวัติ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี", ใน วิจิตรวาทการอนุสรณ์ เล่ม 1. คณะรัฐมนตรี พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕. พระนคร: รัชดารมภ์การพิมพ์. 65 หน้า.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ปลดตำแหน่งหน้าที่ราชการ, เล่ม ๔๙ ง หน้า ๒๒๘๔, ๒ ตุลาคม ๒๔๗๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ตั้งและย้ายข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, เล่ม ๕๐ ง หน้า ๑๑๗๘, ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๗๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ย้ายและตั้งหัวหน้ากองพิธี, เล่ม ๕๐ ง หน้า ๓๔๖๓, ๑๑ มีนาคม ๒๔๗๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งผู้รั้งตำแหน่งปลัดกระทรวงและอธิบดีในกระทรวงธรรมการ, เล่ม ๕๑ ง หน้า ๓๒๔–๓๒๕, ๒๙ เมษายน ๒๔๗๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๑ ก หน้า ๑๒๙๔–๑๒๙๕, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๓๓๙๙, ๒๖ ตุลาคม ๒๔๘๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี, เล่ม ๗๖ ง หน้า ๑, ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
  12. กรมศิลปากร. (2553). เทคนิคการบรรเลงดนตรีสากลประกอบการแสดงละครปลุกใจเรื่อง อนุภาพแห่งพ่อขุนรามคำแหง. โครงการจัดการความรู้ด้านการบรรเลงดนตรีสากลประกอบการแสดง (ครั้งที่ ๑).
  13. ประอรรัตน์ บูรณมาตร์ (2528). หลวงวิจิตรวาทการกับบทละครประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 334 หน้า. หน้า 53. ISBN 978-974-5711-71-6.
  14. สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์. 52 (45–52): 53. กรกฎาคม–กันยายน 2548. ISSN 0125-0787.
  15. เฉลียว พันธุ์สีดา. (2520). หลวงวิจิตรวาทการและงานด้านประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ. 307 หน้า. หน้า 143.
  16. วิจิตรวาทการ, หลวง. (2477). จารึกพ่อขุนรามคำแหงกับคำอธิบาย. คณะรัฐมนตรีพิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดปทุมคงคาราม วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๗. พระนคร: พระจันทร์. 60 หน้า.
  17. วิจิตรวาทการ, หลวง. (2531). กุศโลบาย: ผลงานอมตะชิ้นเอกในการผูกมิตรและชนะใจคนที่บุคคลสำคัญทั่วโลกได้ใช้และประสบผลสำเร็จมาแล้ว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มีเดียโฟกัส. 103 หน้า.
  18. วิจิตรวาทการ, หลวง. (2544). ดวงหน้าในอดีต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์. 220 หน้า. ISBN 978-974-7377-57-6
  19. วิจิตรวาทการ, หลวง. (2475). มุสโสลินี. พระนคร: ไทยใหม่. 136 หน้า.
  20. 20.0 20.1 สุเนตร ชุตินธรานนท์, ศ. (2018). พม่ารบไทย ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า (15 ed.). สำนักพิมพ์มติชน. p. 56. ISBN 978-974-02-1617-9.
  21. วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. กรุงแตก. กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร. 2514. 240 หน้า.
  22. พิมาน แจ่มจรัส (1999). ชีวิต มันสมอง และการต่อสู้ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (5 ed.). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์. 280 หน้า. หน้า 114. ISBN 978-974-7379-96-9.
  23. วิจิตรวาทการ (กิมเหลียง), พลตรี หลวง. (2513). เพ็ชรพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร. 536 หน้า.
  24. คีตา พญาไท (11 มกราคม 2005). "ประวัติหลวงวิจิตรวาทการ (1)". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2007.
  25. "พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ". Thaiwriter.org. สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๔๖, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๑, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๙๙, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๗๙, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๑๑๒๙, ๒๘ เมษายน ๒๔๘๕
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
  35. 35.0 35.1 35.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๐๓, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ละครหลวงวิจิตรวาทการ. บ้านรำไทย.
  • สายชล สัตยานุรักษ์. (2545). ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 974-322-714-8.
  • Barmé, Scot. (1993). Luang Wichit Wathakan and the Creation of Thai Identity. Singapore: Institute of Southeast Asia Studies. ISBN 981-3016-58-2.
ก่อนหน้า หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) ถัดไป
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(6 ธันวาคม 2494 – 23 มีนาคม 2495)
  นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ)