บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ; อังกฤษ: Pali) เป็นภาษาพิธีกรรมเก่าแก่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน (Indo-Aryan languages) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European languages) มีจุดกำเนิดมาจากใจกลางอนุทวีปอินเดียโดยถูกจัดเป็นภาษาปรากฤตแขนงหนึ่ง เป็นภาษาที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (พระไตรปิฎก)[2]

บาลี
  • 𑀧𑀸𑀮𑀺
  • पाली
  • 𐨤𐨫𐨁
  • បាលី
  • ပါဠိ
  • ᨷᩤᩊᩦ
  • บาลี
  • පාලි
  • Pāḷi
คัมภีร์ใบลานในประเทศพม่า เขียนเป็นภาษาบาลีโดยใช้อักษรพม่า
ออกเสียง[paːli]
ประเทศที่มีการพูดอนุทวีปอินเดีย
ยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช – ปัจจุบัน[1]
ภาษาพิธีกรรมในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรพราหมี อักษรเทวนาครี ขโรษฐี เขมร ไทย อักษรธรรมล้านนา พม่า สิงหล และระบบการถอดเสียงด้วยอักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-1pi
ISO 639-2pli
ISO 639-3pli
นักภาษาศาสตร์pli

จุดกำเนิดและพัฒนาการ แก้

ศัพทมูลวิทยา แก้

คำว่า 'ปาลิ' เป็นชื่อที่เอาไว้ใช้เรียกภาษาของพระไตรปิฎกเถรวาท คำ ๆ นี้คาดว่าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมปาฐกถา โดยที่คำดังกล่าว (ตามความหมายของบรรทัดข้อความต้นฉบับที่ยกตัวอย่างมา) ต่างก็มีความแตกต่างกันไปตามคำอธิบายหรือจากการแปลภาษาต้นฉบับเป็นฉบับภาษาถิ่น[3] เค. อาร์. นอร์มัน (K. R. Norman) ได้เสนอไว้ว่าที่มาของคำว่า 'ปาลิ' นี้มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการประสมคำว่า ปาลิ กับคำว่า ภาสา ส่งผลให้คำว่าปาลิถูกตีความว่าเป็นชื่อของภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ[3]

ภาษาบาลีไม่ปรากฏชื่ออยู่ในพระคัมภีร์หลักหรือในคัมภีร์อรรถกถาเลย ในบางคัมภีร์ก็ระบุด้วยชื่อว่า ตันติ ที่แปลว่าเส้นหรือเส้นสาย[3] ชื่อนี้ดูเหมือนเพิ่งจะปรากฏในประเทศศรีลังกาช่วงต้นคริสตสหัสวรรษที่สองแต่เพียงเท่านั้น ซึ่งในยุคดังกล่าวก็เป็นยุคที่เริ่มมีการฟื้นฟูการใช้ภาษาบาลีให้เป็นภาษาในราชสำนักหรือในภาษาวรรณกรรม[4][3]

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทุกยุคทุกสมัยว่าชื่อที่ถูกต้องของภาษาบาลีจะต้องเรียกว่าอย่างไรกันแน่ บ้างก็เรียกว่า 'ปาลิ' หรือ 'ปาฬิ' เนื่องจากการสะกดชื่อในแต่ละพระคัมภีร์ต่างก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละฉบับ โดยปรากฎให้เห็นได้ทั้งในชื่อที่มีสระเสียงยาว "อา" และสระเสียงสั้น "อ" อีกทั้งยังมีการแยกความต่างระหว่างทั้งหน่วยเสียงพยัญชนะฐานส่วนหน้าของเพดานแข็งอย่าง "ฬ" หรือ "ล" และยังสามารถพบเห็นทั้งสระ ā และหน่วยเสียง ḷ ได้ผ่านการถอดตัวชุดรหัสตัวอักษร ISO 15919/ALA-LC โดยถอดออกมาเป็นคำว่า Pāḷi อย่างไรก็ตามจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หลักฐานใดที่สามารถชี้ชัดให้เห็นว่ามาตรฐานการสะกดชื่อของภาษาบาลีแบบชัดเจนเพียงคำเดียวจะต้องสะกดอย่างไรกันแน่ การสะกดคำที่มีความเป็นไปได้ทั้งสี่รูปแบบยังสามารถพบได้ในแบบเรียนของอาร์. ซี. ชิลเดอร์ซ (R. C. Childers) โดยแปลคำว่าบาลีไว้ว่า "เส้นของหนังสือ" และระบุว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีที่มาของชื่อมาจาก "ความสมบูรณ์แบบทางโครงสร้างไวยากรณ์"[5]

แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ แก้

ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป เดิมเป็นภาษาของชนชั้นสามัญสำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือภาษาปรากฤตแบบมคธ หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[6]

นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (ภาษาปรากฤตแบบอโศก)

ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:

  • ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
  • ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
  • ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
  • ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว

ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร

คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง

คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใด ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก

นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน

ภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี แก้

ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันยุคกลางที่พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชคือภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี ภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเขียน ภาษานี้ไม่ได้ใหม่ไปกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิกเมื่อพิจารณาในด้านลักษณะทางสัทวิทยาและรากศัพท์ ทั้งสองภาษาไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากภาษาสันสกฤตพระเวทซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาสันสกฤตคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีมีลักษณะที่ใกลเคียงกับภาษาสันสกฤตและมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ และสามารถเปลี่ยนคำในภาษาสันสกฤตไปเป็นคำในภาษาบาลีได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคำในภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาสันสกฤตโบราณหรือยืมคำโดยการแปลงรูปจากภาษาสันสกฤตได้เสมอไป เพราะมีคำภาษาสันสกฤตที่ยืมมาจากภาษาบาลีเช่นกัน

ภาษาบาลีในปัจจุบัน แก้

 
สถาบันกวดวิชาดาว้องก์ โดยอาจารย์ปิง เป็นหนึ่งในสถาบันกวดวิชาที่เปิดกวดวิชาภาษาบาลีในปัจจุบัน

ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา และเป็นภาษาของสามัญชนทั่วไป ศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย ในยุโรปมีสมาคมบาลีปกรณ์เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สมาคมนี้ตีพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. 2412 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลีเล่มแรก การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415รมสำหรับเด็กตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากที่อังกฤษ ยังมีการศึกษาภาษาบาลีในเยอรมัน เดนมาร์ก และรัสเซีย

เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ในปัจจุบันสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติยังจัดสอบข้อสอบความถนัดทางด้านภาษาบาลี (PAT 7.6)

รากศัพท์ แก้

คำทุกคำในภาษาบาลีมีต้นกำเนิดเดียวกับภาษาปรากฤตในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลางเช่นภาษาปรากฤตของชาวเชน ความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤตยุคก่อนหน้านั้นไม่ชัดเจนและซับซ้อน แต่ทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาสันสกฤต ความคล้ายคลึงของทั้งสองภาษาดูจะมากเกินจริงเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาในยุคหลัง ซึ่งกลายเป็นภาษาเขียนหลังจากที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในชีวิตประจำวันมาหลายศตวรรษ และได้รับอิทธิพลจากภาษาในอินเดียยุคกลาง รวมทั้งการยืมคำระหว่างกัน ภาษาบาลีเมื่อนำมาใช้งานทางศาสนาจะยืมคำจากภาษาท้องถิ่นน้อยกว่า เช่น การยืมคำจากภาษาสิงหลในศรีลังกา ภาษาบาลีไม่ได้ใช้บันทึกเอกสารทางศาสนาเท่านั้น แต่มีการใช้งานด้านอื่นด้วย เช่น เขียนตำราแพทย์ด้วยภาษาบาลี แต่ส่วนใหญ่นักวิชาการจะสนใจด้านวรรณคดีและศาสนา

สัทวิทยา แก้

หน่วยเสียงในภาษาบาลีแบ่งออกเป็นเป็นหน่วยเสียงพยัญชนะและหน่วยเสียงสระดังนี้

เสียงสระ แก้

Sanskrit vowels in the Devanagari script[7][a]
รูปเดี่ยว IAST/
ISO
IPA รูปเดี่ยว IAST/
ISO
IPA
กัณฐชะ

(เพดานอ่อน)

a /ɐ/ อา ā /ɑː/
ตาลุชะ

(เพดานแข็ง)

อิ i /i/ อี ī /iː/
โอฏฐชะ

(ริมฝีปาก)

อู u /u/ อู ū /uː/
กัณโฐฏฐชะ
(เพดานอ่อน-ริมฝีปาก)
โอ o //
กัณฐตาลุชะ
(เพดานอ่อน-เพดานแข็ง)
เอ e //
(หน่วยเสียงพยัญชนะย่อย) อํ [8] /◌̃/

เสียงพยัญชนะ แก้

สัทศาสตร์ สัมผัส
(หยุด)
นาสิก
(นาสิก)
อันตัตถะ
(เปิด)
อูษมัน / สังฆรษี
(เสียดแทรก)
หน่วยเสียง อโฆษะ โฆษะ อโฆษะ โฆษะ
เสียงพ่นลม สิถิล ธนิต สิถิล ธนิต สิถิล ธนิต
กัณฐชะ
(เพดานอ่อน)
[k] [kʰ] [g] [gʱ] [ŋ] [h]
ตาลุชะ
(เพดานแข็ง)
[] [tɕʰ] [] [dʑʱ] [ɲ] [j]
มุทธชะ
(หน้าเพดานแข็ง)
[ʈ] [ʈʰ] [ɖ] [ɖʱ] [ɳ] [r]
ทันตชะ
(ปุ่มเหงือก)
[t] [tʰ] [d] [dʱ] [n] [l] [s]
โอฏฐชะ
(ริมฝีปาก)
[p] [pʰ] [b] [bʱ] [m] [w]

การเขียนภาษาบาลี แก้

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีการใช้ อักษรพราหมี เขียน ภาษาปรากฤต ซึ่งเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาบาลี ในทางประวัติศาสตร์ การใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ทางศาสนาครั้งแรกเกิดขึ้นที่ศรีลังกา เมื่อราว พ.ศ. 443 แม้การออกเสียงภาษาบาลีจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรหลายชนิด ในศรีลังกาเขียนด้วยอักษรสิงหล ในพม่าใช้อักษรพม่า ในไทยและกัมพูชาใช้อักษรขอมหรืออักษรเขมรและเปลี่ยนมาใช้อักษรไทยในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2436 และเคยเขียนด้วยอักษรอริยกะที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ ในลาวและล้านนาเขียนด้วยอักษรธรรมที่พัฒนามาจากอักษรมอญ นอกจากนั้น อักษรเทวนาครีและอักษรมองโกเลียเคยใช้บันทึกภาษาบาลีเช่นกัน

ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา สมาคมบาลีปกรณ์ในยุโรปได้พัฒนาการใช้อักษรละตินเพื่อเขียนภาษาบาลี โดยอักษรที่ใช้เขียนได้แก่ a ā i ī u ū e o ṁ k kh g gh ṅ c ch j jh ñ ṭ ṭh ḍ ḍh ṇ t th d dh n p ph b bh m y r l ḷ v s h

ไวยากรณ์ แก้

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง

การผันคำนาม (Noun Declension) แก้

ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (สพฺพนาม) (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  • ลิงค์ (ลิงฺค) (Gender) หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
  • วจนะ (วจน) (Number) หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
  • การก (Case) การกคือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
    1. ปฐมาวิภัตติ หรือ กรรตุการก/กัตตุการก (กตฺตุการก) (Nominative) เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อ.. (อันว่า)....)
    2. ทุติยาวิภัตติ หรือ กรรมการก/กัมมการก (กมฺมการก) (Accusative) เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
    3. ตติยาวิภัตติ หรือ กรณการก (Instrumental) เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย..., อัน...., ตาม.....)
    4. จตุตถีวิภัตติ (จตุตฺถี) หรือ สัมปทานการก (สมฺปทานการก) (Dative) เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
    5. ปัญจมีวิภัตติ (ปญฺจมี) หรือ อปาทานการก (Ablative) เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
    6. ฉัฏฐีวิภัตติ (ฉฏฺฐี) หรือ สัมพันธการก (สมฺพนฺธการก) (Genitive) เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
    7. สัตตมีวิภัตติ (สตฺตมี) หรือ อธิกรณการก (Locative) สถานที่ (ที่..., ใน...)
    8. อาลปนะวิภัตติ (อาลปน) หรือ สัมโพธนการก (สมฺโพธนการก) (Vocative) อุทาน, เรียก (ดูก่อน...)
  • สระการันต์ (สรการนฺต) (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่าง ๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่าง ๆ กันไป

ตัวอย่างเช่น คำว่า สงฺฆ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ (กรรตุการก เอกพจน์) จะผันเป็น สงฺโฆ (สงฺฆ + -สิ ปฐมาวิภัตติ), ประธานพหูพจน์ (กรรตุการก พหูพจน์) เป็น สงฺฆา (สงฺฆ + -โย ปฐมาวิภัตติ), กรรมตรงเอกพจน์ (กรรมการก เอกพจน์) เป็น สงฺฆํ (สงฺฆ + -อํ ทุติยาวิภัตติ), กรรมรองเอกพจน์ (สัมปทานการก เอกพจน์) เป็น สงฺฆสฺส (สงฺฆ + -ส จตุตถีวิภัตติ) ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกฺขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ (กรรตุการก เอกพจน์) ก็ผันเป็น ภิกฺขุ (ภิกฺขุ + -สิ ปฐมาวิภัตติ), ประธานพหูพจน์ (กรรตุการก พหูพจน์) เป็น ภิกฺขโว หรือ ภิกฺขู (ภิกฺขุ + -โย ปฐมาวิภัตติ), กรรมตรงเอกพจน์ (กรรมการก เอกพจน์) เป็น ภิกฺขุ (ภิกฺขุ + -อํ ทุติยาวิภัตติ), กรรมรองเอกพจน์ (สัมปทานการก เอกพจน์) เป็น ภิกฺขุสฺส หรือ ภิกฺขุโน (ภิกฺขุ + -ส จตุตถีวิภัตติ) ฯลฯ

วิธีแจกสามัญญศัพท์ที่เป็นปุลลิงก์
วิภัตติ คำแปล วัจนะ อ แจกอย่าง ปุริส อิ แจกอย่าง มุนิ อี แจกอย่าง เสฏฺฐี อุ แจกอย่าง ครุ อู แจกอย่าง วิญฺญู
เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ
ปฐมา อันว่า สิ โย ปุริโส ปุริสา มุนิ มุนโย มุนี เสฏฺฐี เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี ครุ ครโว ครู วิญฺญู วิญฺญุโน วิญฺญู
ทุติยา ซึ่ง ยัง สู่ อํ โย ปุริสํ ปุริเส มุนึ มุนโย มุนี เสฏฺฐึ เสฏฺฐินํ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี ครุ ครโว ครู วิญฺญุ วิญฺญุโน วิญฺญู
ตติยา ด้วย โดย อัน นา หิ ปุริเสน ปุริเสหิ ปุริเสภิ มุนินา มุนีหิ มุนีภิ เสฏฺฐินา เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ ครุนา ครูหิ ครูภิ วิญฺญุนา วิญฺญูหิ วิญฺญูภิ
จตุตถี แก่ เพื่อ ต่อ นํ ปุริสสฺส ปุริสาย ปุริสตฺถํ ปุริสานํ มุนิสฺส มุนิโน มุนีนํ เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนํ ครุสฺส ครุโน ครูนํ วิญฺญุสฺส วิญฺญุโน วิญฺญูนํ
ปัญจมี แต่ จาก กว่า สฺมา หิ ปุริสสฺมา ปุริสมฺหา ปุริสา ปุริเสหิ ปุริเสภิ มุนิสฺมา มนิมฺหา มุนีหิ มุนีภิ เสฏฺฐิสฺนา เสฏฺฐิมฺหา เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ ครุสฺมา ครุมฺหา ครูหิ ครูภิ วิญฺญุสฺมา วิญฺญุมฺหา วิญฺญูหิ วิญฺญูภิ
ฉัฏฐมี แห่ง ของ เมื่อ นํ ปุริสสฺส ปุริสานํ มุนิสฺส มุนิโน มุนีนํ เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนํ ครุสฺส ครุโน ครูนํ วิญฺญุสฺส วิญฺญุโน วิญฺญูนํ
สัตตมี ใน ใกล้ ที่ สฺมึ สุ ปุริสสฺมึ ปุริสมฺหิ ปุริเส ปุริเสสุ มุนิสฺมึ มุนิมฺหิ มุนีสุ เสฏฺฐิสฺมึ เสฏฺฐิมฺหิ เสฏฺฐีสุ ครุสฺมึ ครุมฺหิ ครูสุ วิญฺญุสฺมึ วิญฺญุมฺหิ วิญฺญูสุ
อาลปน ดูก่อน ข้าแต่ สิ โย ปุริส ปุริสา มุนิ มุนโย มุนี เสฏฺฐิ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี ครุ ครเว ครโว วิญฺญุ วิญฺญุโน วิญฺญู
วิธีแจกสามัญญศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงก์
วิภัตติ คำแปล วัจนะ อา แจกอย่าง กญฺญา อิ แจกอย่าง รตฺติ อี แจกอย่าง นารี อุ แจกอย่าง รชฺชุ อู แจกอย่าง วธู
เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ
ปฐมา อันว่า สิ โย กญฺญา กญฺญาโย กญฺญา รตฺติ รตฺติโย รตฺตี นารี นาริโย นารี รชฺชุ รชฺชุโย รชฺชู วธู วธุโย วธู
ทุติยา ซึ่ง ยัง สู่ อํ โย กญฺญํ กญฺญาโย กญฺญา รตฺตึ รตฺติโย รตฺตี นารึ นาริยํ นาริโย นารี รชฺชุ รชฺชุโย รชฺชู วธุ วธุโย วธู
ตติยา ด้วย โดย อัน นา หิ กญฺญาย กญฺญาหิ กญฺญาภิ รตฺติยา รตฺตีหิ รตฺตีภิ นาริยา นารีหิ นารีภิ รชฺชุยา รชฺชูหิ รชฺชูภิ วธุยา วธูหิ วธูภิ
จตุตถี แก่ เพื่อ ต่อ นํ กญฺญาย กญฺญานํ รตฺติยา รตฺตีนํ นาริยา นารีนํ รชฺชุยา รชฺชูนํ วธุยา วธูนํ
ปัญจมี แต่ จาก กว่า สฺมา หิ กญฺญาย กญฺญาหิ กญฺญาภิ รตฺติยา รตฺยา รตฺตีหิ รตฺตีภิ นาริยา นารีหิ นารีภิ รชฺชุยา รชฺชูหิ รชฺชูภิ วธุยา วธูหิ วธูภิ
ฉัฏฐมี แห่ง ของ เมื่อ นํ กญฺญาย กญฺญานํ รตฺติยา รตฺตีนํ นาริยา นารีนํ รชฺชุยา รชฺชูนํ วธุยา วธูนํ
สัตตมี ใน ใกล้ ที่ สฺมึ สุ กญฺญาย กญฺญายํ กญฺญาสุ รตฺติยา รตฺติยํ รตฺยํ รตฺตีสุ นาริยา นาริยํ นารีสุ รชฺชุยา รชฺชุยํ รชฺชูสุ วธุยา วธุยํ วธูสุ
อาลปน ดูก่อน ข้าแต่ สิ โย กญฺเญ กญฺญาโย กญฺญา รตฺติ รตฺติโย รตฺตี นาริ นาริโย นารี รชฺชุ รชฺชุโย รชฺชู วธุ วธุโย วธู
วิธีแจกสามัญญศัพท์ที่เป็นนปุสกลิงก์
วิภัตติ คำแปล วัจนะ อ แจกอย่าง กุล อิ แจกอย่าง อกฺขิ อุ แจกอย่าง วตฺถุ
เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ
ปฐมา อันว่า สิ โย กุลํ กุลานิ อกฺขิ อกฺขีนิ อกฺขี วตฺถุ วตฺถูนิ วตฺถู
ทุติยา ซึ่ง ยัง สู่ อํ โย กุลํ กุลานิ อกฺขึ อกฺขีนิ อกฺขี วตฺถุ วตฺถูนิ วตฺถู
ตติยา ด้วย โดย อัน นา หิ กุเลน กุเลหิ กุเลภิ อกฺขินา อกฺขีหิ อกฺขีภิ วตฺถุนา วตฺถูหิ วตฺถูภิ
จตุตถี แก่ เพื่อ ต่อ นํ กุลสฺส กุลาย กุลตฺถํ กุลานํ อกฺขิสฺส อกฺขิโน อกฺขีนํ วตฺถุสฺส วตฺถุโน วตฺถูนํ
ปัญจมี แต่ จาก กว่า สฺมา หิ กุลสฺมา กุลมฺหา กุลา กุเลหิ กุเลภิ อกฺขิสฺมา อกฺขิมฺหา อกฺขีหิ อกฺขีภิ วตฺถุสฺมา วตฺถุมฺหา วตฺถูหิ วตฺถูภิ
ฉัฏฐมี แห่ง ของ เมื่อ นํ กุลสฺส กุลานํ อกฺขิสฺส อกฺขิโน อกฺขีนํ วตฺถุสฺส วตฺถุโน วตฺถูนํ
สัตตมี ใน ใกล้ ที่ สฺมึ สุ กุลสฺมึ กุลมฺหิ กุเล กุเลสุ อกฺขิสฺมึ อกฺขิมฺหิ อกฺขีสุ วตฺถุสฺมึ วตฺถุมฺหิ วตฺถูสุ
อาลปน ดูก่อน ข้าแต่ สิ โย กุล กุลานิ อกฺขิ อกฺขีนิ อกฺขี วตฺถุ วตฺถูนิ วตฺถู

การนับ แก้

แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

  • ปกติสังขยา นับจำนวนปกติ
เอก ๑๑ เอกาทส ๒๑ เอกวีสติ   ๔๐ จตฺตาฬีส
ทฺวิ ๑๒ ทฺวาทส, พารส ๒๒ ทฺวาวีสติ , พาวีสติ   ๕๐ ปญฺญาส, ปณฺณาส
ติ ๑๓ เตรส ๒๓ เตวีสติ ๖๐ สฏฺฐี  
จตุ ๑๔ จตุทฺทส, จุทฺทส ๒๔ จตุวีสติ ๗๐ สตฺตติ
ปญฺจ ๑๕ ปญฺจทส, ปณฺณรส ๒๕ ปญฺจวีสติ ๘๐ อสีติ
๑๖ โสฬส ๒๖ ฉพฺพีสติ ๙๐ นวุติ  
สตฺต ๑๗ สตฺตรส ๒๗ สตฺตวีสติ   ๑๐๐ สตํ
อฏฺฐ ๑๘ อฏฺฐารส ๒๘ อฏฺฐวีสติ   ๑,๐๐๐ สหสฺสํ
นว ๑๙ เอกูนวีสติ, อูนวีสติ ๒๙ เอกูนตึส , อูนตึส ๑๐,๐๐๐ ทสสหสฺสํ
๑๐ ทส ๒๐ วีส วีสติ ๓๐ ตึส ตึสติ ๑๐๐,๐๐๐ สตสหสฺสํ, ลกขํ
๑,๐๐๐,๐๐๐ ทสสตสหสฺสํ
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ
  • ปูรณสังขยา นับลำดับ คือปกติสังขยา ที่ประกอบด้วยปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี
    • ๑. ติย ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ทฺวิ ติ
    • ๒. ถ ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ จตุ
    • ๓. ฐ ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ฉ
    • ๔. ม ปัจจัย ต่อท้ายได้ทุกตัวยกเว้น ทฺวิ ติ จตุ ฉ
    • ๕. อี ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ๑๑,๑๒,๑๓,๑๔, ๑๕,๑๖, ๑๗, ๑๘ เป็นอิตถีลิงก์อย่างเดียว ถ้าเป็นลิงก์อื่นจากให้ลง ม ปัจจัย

สรรพนาม แก้

  • ๑. ปุริสสัพพนาม ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ แบ่งเป็น ๓ คือ
    • ประถมบุรุษ คือ คำพูดที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ ที่ สิ่งของ ที่ผู้พูดพูดถึง ซึ่งอยู่นอกวงสนทนา ในภาษาบาลีใช้ แปลว่า ท่าน เธอ เขา มัน เป็นได้ ๓ ลิงก์
    • มัธยมบุรุษ สำหรับแทนชื่อผู้ที่พูดกับเราอยู่ในวงสนทนา ใน ภาษาบาลีใช้ ตุมฺห แปลว่า เจ้า ท่าน เธอ สู เอ็ง มึง เป็นได้ ๒ ลิงก์
    • อุตฺตมบุรุษ สำหรับแทนชื่อผู้พูดเอง ในภาษาบาลีใช้ อมฺห แปลว่า ข้าพเจ้า ฉัน กระผม เรา พวกเรา เป็นได้ ๒ ลิงก์
ต ศัพท์(ท่าน , เธอ , เขา ,มัน)
ปุลิงก์ อิตถีลิงก์ นปุสกลิงก์
เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ
ป. โส เต สา ตา ตํ ตานิ
ทุ. ตํ นํ เต เน ตํ นํ ตา ตํ ตานิ
ต. เตน เตหิ ตาย ตาหิ เตน เตหิ
จ. ตสฺส อสฺส เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย ตาสํ ตาสานํ ตสฺส อสฺส เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ
ปญ. ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา เตหิ ตาย ตาหิ ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา เตหิ
ฉ. ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย ตาสํ ตาสานํ ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ
ส. ตสฺมึ อสฺมึ ตมฺหิ เตสุ   ตายํ ตสฺสํ อสฺสํ ติสฺสํ ตาสุ ตสฺมึ อสฺมึ ตมฺหิ เตสุ  

ตุมฺห ศัพท์ (ท่าน เธอ เจ้า) เป็น ๒ ลิงก์คือ ปุลิงก์ และอิตฺถีลิงก์แจกอย่างเดียวกัน ดังนี้

เอก พหุ
ป. ตฺวํ ตุวํ ตุมฺเห โว  
ทุ. ตํ ตฺวํ ตุวํ   ตุมฺเห โว  
ต. ตฺยา ตฺวยา เต ตุมฺเหหิ โว
จ. ตุยฺหํ ตุมฺหํ ตว เต ตุมฺหากํ โว
ปญ. ตฺยา ตุมฺเหหิ  
ฉ. ตุยฺหํ ตุมฺหํ ตว เต ตุมฺหากํ โว
ส. ตฺยิ ตฺวย ตุมฺเหสุ

อมฺห ศัพท์(เรา) เป็น ๒ ลิงก์คือ ปุลิงก์และอิตฺถีลิงก์ แจกอย่างเดียวกัน ดังนี้

เอก พหุ
ป. อหํ มยํ โน
ทุ. มํ มม อมฺเห โน
ต. มยา เม อมฺเหหิ โน
จ. มยฺหํ อมฺหํ มม มมํ เม อมฺหากํ อสฺมากํ โน
ปญ. มยา อมฺเหหิ
ฉ. มยฺหํ อมฺหํ มม มมํ เม อมฺหากํ อสฺมากํ โน
ส. มยิ   อมฺเหสุ
  • วิเสสนสัพพนาม แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
    • ๑. นิยมวิเสสนสัพพนาม แสดงถึงนามนามที่แน่นอน มี ๔ ศัพท์ คือ , เอต, อิม, อมุ
    • ๒. อนิยมวิเสสนสัพพนาม แสดงถึงนามที่ไม่แน่นอน มี๑๓ ศัพท์คือ
ใด อปร อื่นอีก อุภย ทั้งสอง
อญฺญ อื่น กตร คนไหน สพฺพ ทั้งปวง
อญฺญตร คนใดคนหนึ่ง กตม คนไหน กึ ใคร , อะไร
อญฺญตม คนใดคนหนึ่ง เอก คนหนึ่ง,พวกหนึ่ง
ปร อื่น เอกจฺจ บางคน,บางพวก

การผันคำกริยา (Verb Conjugation) แก้

คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต (อาขฺยาต) เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัย (ปจฺจย) และใส่วิภัตติ (วิภตฺติ) ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค

  • การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
    • กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
      1. ปัจจุบันกาล (ปจฺจุปฺปนฺนกาล)
      2. อดีตกาล (อตีตกาล)
      3. อนาคตกาล
    • วิภัตติอาขยาต
      1. วัตตมานา (วตฺตมานา) (จาก วตฺตฺ ธาตุ (เกิดขึ้น) + -อ ปัจจัย + -มาน ปัจจัยในกิริยากิตก์) (Present - Indicative) กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
      2. ปัญจมี (ปญฺจมี) (Present - Imperative) ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
      3. สัตตมี (สตฺตมี) (Present - Optative) ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
      4. ปโรกขา (ปโรกฺขา) (ปโรกฺข (ปร + -โอ- อาคม + อกฺข) + -อา ปัจจัย) (Indefinite Past) กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (กาลนี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว) มีใช้เฉพาะ อาห (พฺรู ธาตุ (พูด) + -อ ปัจจัย + -อ ปโรกขาวิภัตติ) และ อาหุ (พฺรู ธาตุ (พูด) + -อ ปัจจัย + -อุ ปโรกขาวิภัตติ)
      5. หิยัตตนี (หิยตฺตนี) (จาก หิยฺโย วิเสสนนิบาต (เมื่อวาน) + -อตฺตน ปัจจัย) (Definite Past) กริยาอดีตที่ผ่านไปเมื่อวาน
      6. อัชชัตตนี (อชฺชตฺตนี) (จาก อชฺช วิเสสนนิบาต (อิม + -ชฺช ปัจจัย (แทนสัตตมีวิภัตติ)) (ในวันนี้) (= อิเม, อิมสฺมิ) + -อตฺตน ปัจจัย) (Recently Past) กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือในวันนี้
      7. ภวิสสันติ (ภวิสฺสนฺติ) (มาจาก ภู ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิสฺสนฺติ วิภัตติ หรือ ภู ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิ- อาคม + -สฺสนฺติ วิภัตติ) (Future) กริยาที่จะกระทำ
      8. กาลาติปัตติ (กาลาติปตฺติ) (กาล + อติปตฺติ (อติ- อุปสรรค + ปตฺติ)) (Conditional) กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)
    • บท (ปท) (Voice) ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร
      1. ปรัสสบท (ปรสฺสปท) (Active) เป็นการกระทำอันส่งผลกับผู้อื่น เป็นกรรตุวาจก กับ เหตุกรรตุวาจก
      2. อัตตโนบท (อตฺตโนปท) (Reflective) เป็นการกระทำอันส่งผลกับตัวเอง หรือมีสภาวะเป็นอย่างนั้นอยู่เอง เป็นกรรมวาจก, ภาววาจก และ เหตุกรรมวาจก
    • วจนะ (วจน) (Number) เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
    • บุรุษ (ปุริส) (Person) บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
      1. บุรุษที่หนึ่ง ปฐม ปุริส หมายถึงผู้อื่น (เขา) (ต คุณนาม) (โส ปุริโส, เต ปุริสา)
      2. บุรุษที่สอง มชฺฌิม ปุริส หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ) (ตุมฺห, ตฺวํ, ตุมฺเห สัพพนาม)
      3. บุรุษที่สาม อุตฺตม ปุริส หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน) (อมฺห, อหํ, มยํ สัพพนาม)
ปุริส ปรัสสบท อัตตโนบท ปรัสสบท อัตตโนบท
เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ
๑. วตฺตมานา (ปัจจุบัน) ๒. ปญฺจมี (จง)
ป. ติ อนฺติ เต อนฺเต ตุ อนฺตุ ตํ อนฺตํ
ม. สิ เส วฺเห หิ สฺสุ วโห
อุ. มิ เอ มฺเห มิ เอ อามฺหเส
๓. สตฺตมี (ควร) ๔. ปโรกฺขา (แล้ว)
ป. เอยฺย เอยฺยุ เอถ เอรํ อุ ตฺถ เร
ม. เอยฺยาสิ เอยฺยาส เอโถ เอยฺยวโห เอ ตฺถ ตฺโถ วฺโห
อุ. เอยฺยามิ เอยฺยาม เอยฺยํ เอยฺยามฺเห อํ มฺห อึ มฺเห
๕. หิยตฺตนี (แล้ว, อ นำหน้า=ได้...แล้ว) ๖. อชฺชตฺตนี (แล้ว, อ นำหน้า=ได้...แล้ว)
ป. อา อู ตฺถ ตฺถุ อี อุ อา อู
ม. โอ ตฺถ เส วฺหํ เอ ตฺถ ตฺโถ วฺโห
อุ. อํ มฺห อึ มฺหเส อึ มฺหา อํ มฺเห
๗. ภวิสฺสนฺติ (จัก) ๘. กาลาติปัตติ (จัก...แล้ว, อ นำหน้า=จักได้...แล้ว)
ป. อิสฺสติ อิสฺสนฺติ อิสฺสเต อิสฺสนฺเต อิสฺสา อิสฺสํสุ อิสฺสถ อิสฺสึสุ
ม. อิสฺสสิ อิสฺสถ อิสฺสเส อิสฺสวเห อิสฺเส อิสฺสถ อิสฺสเส อิสฺสวฺเห
อุ. อิสฺสามิ อิสฺสาม อิสฺสํ อิสฺสามฺเห อิสฺสํ อิสฺสามฺหา อิสฺสํ อิสฺสามฺหเส

ตัวอย่างเช่น กริยาธาตุ วัท (วทฺ ธาตุ) ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ Active ถ้าจะบอกว่า ฉันย่อมพูด ก็จะเป็น วะทามิ (อหํ วทามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -มิ วัตตมานาวิภัตติ), พวกเราย่อมพูด เป็น วะทามะ (มยํ วทาม) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -ม วัตตมานาวิภัตติ), เธอย่อมพูด เป็น วะทะสิ (ตฺวํ วทสิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -สิ วัตตมานาวิภัตติ), เขา/บุรุษนั้นย่อมพูด เป็น วะทะติ (โส ปุริโส วทติ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -ติ วัตตมานาวิภัตติ), ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ (วเทยฺยามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -เอยฺยามิ สัตตมีวิภัตติ), ฉันจัก/จะพูด เป็น วะทิสสามิ (วทิสฺสามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิ- อาคม + -สฺสามิ ภวิสสันติวิภัตติ หรือ วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิสฺสามิ ภวิสสันติวิภัตติ) ฯลฯ

  • การลงปัจจัย สำหรับธาตุของคำกริยา ก่อนที่จะใส่วิภัตตินั้น อันที่จริงต้องพิจารณาก่อนด้วยว่ากริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า

ปัจจัยแบ่งเป็น 5 หมวด ตามวาจก ดังนี้

  1. กัตตุวาจก ลงปัจจัย 10 ตัว คือ  อ (เอ) ย ณุ-ณา นา ณฺหา โอ เณ-ณย
  2. กัมมวาจก ลง ปัจจัย กับ อิ อาคมหน้า ย
  3. ภาววาจก ลง ปัจจัย (และ เต วัตตมานา)
  4. เหตุกัตตุวาจก ลงปัจจัย 4 ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย
  5. เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย 10 ตัวนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป ด้วย ลง ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ด้วย (มีรูปเป็น -าปิย)

หมวด ภู ธาตุ  ลง อ ปัจจัย

  • ภู ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ภวติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น)
  • หุ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = โหติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น)
  • สี ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = เสติ, สยติ (ย่อมนอน)
  • มร ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = มรติ (ย่อมตาย)
  • ปจ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ปจติ (ย่อมหุง, ย่อมต้ม)
  • อิกฺข ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = อิกฺขติ(ย่อมเห็น)
  • ลภ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ลภติ (ย่อมได้)
  • คม ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = คจฺฉติ(ย่อมไป, ย่อมถึง)

หมวด รุธ ธาตุ ลง อ เอ ปัจจัย และนิคคหิตอาคมต้นธาตุ

ลง อ ปัจจัยแล้ว มีวิธีการเหมือนในหมวด ภู ธาตุ  และลงนิคคหิตอาคมที่สระต้นธาตุ แล้วแปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค

  • รุนฺธติ (รุธ อ ติ) ย่อมปิด    ภุญฺชติ (ภุช อ ติ) ย่อมกิน    ลิมฺปติ (ลึป อ ติ) ย่อมฉาบ มุญฺจติ (มุจ อ ติ) ย่อมปล่อย    อยุญฺชิ (อ ยุช อ อี) ได้ประกอบแล้ว     ภุญฺชิสฺส (ภุช อ อิ สฺสา) จักกินแล้ว

ให้ลง นิคหิตอาคม ที่ต้นธาตุ แล้วแปลงนิคหิต เป็นพยัญชนะที่สุด วรรค ตัวใดตัวหนึ่ง ตามพยัญชนะข้างหลัง

หมวด ทิว ธาตุ  ลง ย ปัจจัย

  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วย   แปลง ย เป็น ว  แล้วแปลง วฺว เป็น พฺพ เช่น  ทิพฺพติ (ทิว ย ติ) ย่อมเล่น  สิพฺพติ (สิว ย ติ) ย่อมเย็บ
  • หลังธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะในวรรค ก ฏ ป (วรรคที่ 1 3 5)  และ ย ล ส  แปลง เป็นบุพพรูป คือเหมือนตัวหน้า ย สกฺกติ (สก ย) ย่อมอาจ-สามารถ    กุปฺปติ (กุป ย) ย่อมโกรธ    ตปฺปติ (ตป ย) ย่อมเดือดร้อน ลุปฺปติ (ลุป ย) ย่อมลบ    สปฺปติ (สป ย) ย่อมแช่ง    ทิปฺปติ (ทิป ย) ย่อมสว่าง, รุ่งเรือง

หมวด สุ ธาตุ  ลง ณุ ณา อุณา ปัจจัย

  • ณุ ปัจจัย  แปลง อุ เป็น โอ  เช่น  สุโณติ (สุ ณุ ติ) ย่อมฟัง
  • ณา อุณา ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ ให้ลบ อา ที่ ณา  เช่น  สุณาติ (สุ ณา ติ) ย่อมฟัง      สุณนฺติ (สุ ณา อนฺติ) ย่อมฟัง    ปาปุณาติ (ป อป อุณา ติ) ย่อมบรรลุ     ปาปุณนฺติ (ป อป อุณา อนฺติ) ย่อมบรรลุ
  • ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนีหรืออื่นๆ ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม   ถ้าลบ ณา ปัจจัย ให้พฤทธิ์ อุ เป็น โอ  ลง สฺ อาคม อสฺโสสิ (อ สุ ณา สฺ อี) ได้ฟังแล้ว = อสุณิ (อ สุ ณา อี) โสสฺสามิ (สุ ณา สฺสามิ) จักฟัง = สุณิสฺสามิ (สุ ณา อิ สฺสามิ)
  • สก ธาตุ ‘อาจ, สามารถ’ ลงในหมวดอัชชัตตนี ภวิสสันติ ให้แปลง กฺ เป็น ขฺ   ซ้อนพยัญชนะ  ลบ อุณา ปัจจัย อสกฺขิ (อ สก อุณา อี) ได้อาจแล้ว  สกฺขิสฺสติ (สก อุณา อิ สฺสติ) จักอาจ      สกฺกุเณยฺย (สก อุณา เอยฺย) พึงอาจ

หมวด กี ธาตุ  ลง นา ปัจจัย

  • เฉพาะ กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย  รัสสะ อี เป็น อิ  แปลง นฺ เป็น ณฺ  เช่น  วิกฺกิณาติ (วิ กี นา ติ) ย่อมขาย
  • นา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า กีเณยฺย (กี นา เอยฺย) พึงซื้อ     วิกฺกีณิสฺสติ (วิ กี นา อิ สฺสติ) จักขาย
  • ลบ นา ปัจจัยได้บ้าง หรือแปลง นา เป็น   เช่น   1) ลง เอยฺย แล้วแปลง เอยฺย เป็น ญา  ต้องลบ นา  ไม่ลบไม่ได้ เช่น ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้   2) ลงอัชชัตตนี ลบหรือไม่ลบ นา ก็ได้ เช่น  สญฺชานิ (สํ ญา นา อี) รู้  อญฺญาสิ (อ ญา นา สฺ อี) ได้รู้แล้ว   3) นา ปัจจัย ที่มี ติ อยู่หลัง แปลงเป็น   เช่น  วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ
  • ญา ธาตุ ในหมวด กี ธาตุ แปลงเป็น ชา ชํ นา ได้บ้าง   แปลง ญา เป็น ชา  ต้องมี นา อยู่หลัง เช่น  วิชานาติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้แจ้ง   แปลง ญา เป็น ชํ  ต้องมี ญา ที่แปลงมาจาก เอยฺย อยู่หลัง เช่น  ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้   วิชาเนยฺย (วิ ญา นา เอยฺย) พึงรู้   แปลง ญา เป็น นา ต้องลง ติ เท่านั้น เช่น  วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ  วิชานาตุ (วิ ญา นา ตุ) จงรู้วิเศษ

หมวด คห ธาตุ  ลง ณฺหา ปัจจัย

  • คห ธาตุ  ลง ณฺหา แล้วลบ หฺ ที่สุดธาตุเสมอ
  • คห ธาตุ ลง ปฺป  แปลง คห เป็น เฆ เช่น  เฆปฺปติ (คห ปฺป ติ) ย่อมถือเอา
  • ณฺหา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ไม่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า เช่น คณฺหิ (คห ณฺหา อี) ถือเอาแล้ว     คณฺหิสฺสติ (คห ณฺหา อิ สฺสติ) จักถือเอา
  • ปัจจัยประจำหมวดธาตุ ลงแล้วไม่เห็นรูป พึงทราบว่าลงแล้วลบได้  เช่น อคฺคเหสิ (อ คห ณฺหา อิ สฺ อี) ได้ถือเอาแล้ว    คณฺเหยฺย (คห ณฺหา เอยฺย) พึงถือเอา  (ไม่ลบ ณฺหา)

หมวด ตน ธาตุ  ลง โอ ยิร ปัจจัย

  • หลัง ตน ธาตุ  แปลง โอ เป็น อุ ได้ เช่น  ตโนติ ตนุติ (ตน โอ ติ) ย่อมแผ่ไป
  • กร ธาตุ ลง โอ ปัจจัย แปลง โอ เป็น อุ,  แปลง อ ที่ กฺ เป็น อุ แปลง อุ เป็น ว,  ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน วฺ, แปลง วฺว เป็น พฺพ  เช่น  กุพฺพนฺติ (กร โอ ติ) ย่อมทำ  
  • กร ธาตุ ลง ยิร ปัจจัย  ลบ รฺ ที่สุดธาตุ  เช่น  กยิรติ (กร ยิร ติ) ย่อมทำ
  • นอกจากหมวดวัตตมานา ปัญจมี ลงแล้วลบ โอ ปัจจัยได้  เช่น กเรยฺย (กร โอ เอยฺย) พึงทำ  อกริ (อ กร โอ อี) ทำแล้ว
  • ยิร ปัจจัย ลงหลัง กร ธาตุ กับ เอยฺย เอถ วิภัตติ  ให้แปลง เอยฺย เป็น อา   แปลง เอ แห่ง เอถ เป็น อา  แล้ว ลบ รฺ ที่สุดธาตุได้บ้าง เช่น กยิรา (กร ยิร เอยฺย) พึงทำ     กยิราถ (กร ยิร เอถ) พึงทำ
  • กร ธาตุ ลง อา หิยัตตนี แปลง กร เป็น กา ได้ เช่น  อกา (อ กร โอ อา) ได้ทำแล้ว  อกริมฺหา (อ กร โอ อิ มฺหา) ได้ทำแล้ว
  • กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนี แปลง กร เป็น กาสฺ ได้ เช่น  อกาสิ (อ กร โอ อี) ได้ทำแล้ว อกรึสุ (อ กร โอ อุ) ได้ทำแล้ว หรือ แปลง กร เป็น กา ลง สฺ อาคม เช่น  อกาสิ (อ กร โอ สฺ อี)
  • กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดภวิสสันติ แปลง กร ทั้งปัจจัย เป็น กาห และ ลบ สฺส  เช่น กาหิติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ  กริสฺสติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ  (ลบ โอ)
  • กร ธาตุ มี สํ เป็นบทหน้า แปลง กร เป็น ขร  เช่น อภิสงฺขโรติ (อภิ สํ กร โอ ติ) ย่อมตกแต่ง
  • หลังธาตุอื่นๆ (ในหมวดนี้) เช่น สกฺโกติ (สก โอ ติ) ย่อมอาจ  ปปฺโปติ (ป อป โอ ติ) ย่อมถึง  (ซ้อน ปฺ กลางธาตุ)

หมวด จุร ธาตุ  ลง เณ ณย ปัจจัย

ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นธาตุได้ และลบ ณฺ แห่งปัจจัยเหล่านี้เสีย

พฤทธิ์ = วุทฺธิ (วุฑฺฒิ) ทำให้เจริญ คือทำให้เป็น 2 ฐาน หรือเสียงยาวขึ้น ให้พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ,  พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ

  • อิ อาคม (ที่ใช้ลงในวิภัตติหมวดปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ)  ให้ลงเฉพาะที่ลง ณย ปัจจัยเท่านั้น โจเรติ โจรยติ (จุร เณ-ณย ติ) ย่อมลัก    เวเทติ เวทยติ (วิท เณ-ณย ติ) ย่อมรู้    เจเตติ เจตยติ (จิต เณ-ณย ติ) ย่อมคิด ฌาเปติ ฌาปยติ (ฌป เณ-ณย ติ) ย่อมเผา     ปญฺญาเปติ (ป ญป เณ ติ) ย่อมปูลาด    ปญฺญาปยิสฺสติ (ป ญป ณย อิ สฺสติ) จักปูลาด     ปาเหติ ปาหยติ  (ปห เณ-ณย ติ) ย่อมส่งไป    โปเสติ โปสยติ (ปุส เณ-ณย ติ) ย่อมเลี้ยงดู    อุยฺโยเชสิ (อุ ยุช เณ สฺ อี) ส่งไปแล้ว   ปาเลติ ปาลยติ (ปาล เณ-ณย ติ) ย่อมรักษา    ปาลยิสฺสติ (ปาล ณย อิ สฺสติ) จักรักษา
  • เป็นทีฆะ ไม่พฤทธิ์ อภิปูเชติ อภิปูชยติ (อภิ ปูช เณ-ณย ติ) ย่อมบูชา    สูเจติ สูจยติ (สูจ เณ-ณย ติ) ย่อมไขความ  ภาเชติ ภาชยติ (ภาช เณ-ณย ติ) ย่อมแบ่ง    
  • มีสังโยค  ไม่พฤทธิ์ มนฺเตสฺสติ มนฺตยิสฺสติ (มนฺต เณ-ณย สฺสติ) จักปรึกษา    ปตฺเถติ ปตฺถยติ (ปตฺถ เณ-ณย ติ) ย่อมปรารถนา
  • ธาตุหมวด จุร ที่มี อิ เป็นที่สุด ให้ลงนิคคหิตอาคม แปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค มีรูปเป็นสังโยค ไม่ต้องพฤทธิ์ มณฺเฑติ มณฺฑยติ (มฑิ เณ-ณย ติ) ย่อมหัวเราะ    ภณฺเชติ ภณฺชยติ (ภชิ เณ-ณย ติ) ย่อมรุ่งเรือง
  • ยกเว้นบางธาตุ ไม่พฤทธิ์ คเณติ คณยติ (คณ เณ-ณย ติ) ย่อมนับ     ฆเฏติ ฆฏยติ (ฆฏ เณ-ณย ติ) ย่อมกระทบ     กเถติ กถยติ (กถ เณ-ณย ติ) ย่อมกล่าว     กเถสิ กถยึสุ (กถ เณ-ณย สฺ อี) กล่าวแล้ว

อัพยยศัพท์ (Indeclinables) แก้

คือกลุ่มคำที่จะไม่ถูกผันไม่ว่าจะนำไปประกอบประโยคส่วนใดก็ตามได้แก่

  1. อุปสรรค
  2. ปัจจัย
  3. นิบาต

อ้างอิง แก้

  1. Nagrajji (2003) "Pali language and the Buddhist Canonical Literature". Agama and Tripitaka, vol. 2: Language and Literature.
  2. Stargardt, Janice. Tracing Thoughts Through Things: The Oldest Pali Texts and the Early Buddhist Archaeology of India and Burma., Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences, 2000, page 25.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Norman
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ grammar_kingship
  5. Hazra, Kanai Lal. Pāli Language and Literature; a systematic survey and historical study. D.K. Printworld Lrd., New Delhi, 1994, page 19.
  6. ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ตอนที่ 76 เก็บถาวร 2014-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง. เรียกข้อมูลเมื่อ 14-6-52
  7. Robert P. Goldman & Sally J Sutherland Goldman 2002, pp. 13–19.
  8. Colin P. Masica 1993, p. 146 notes of this diacritic that "there is some controversy as to whether it represents a homorganic nasal stop [...], a nasalised vowel, a nasalised semivowel, or all these according to context".

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • American National Standards Institute. (1979). American National Standard system for the romanization of Lao, Khmer, and Pali. New York: The institute.
  • Andersen, Dines (1907). A Pali Reader. Copenhagen: Gyldendalske Boghandel, Nordisk Forlag. p. 310. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
  • Mahathera Buddhadatta (1998). Concise Pāli-English Dictionary. Quickly find the meaning of a word, without the detailed grammatical and contextual analysis. ISBN 8120806050
  • Collins, Steven (2006). A Pali Grammar for Students. Silkworm Press.
  • Gupta, K. M. (2006). Linguistic approach to meaning in Pali. New Delhi: Sundeep Prakashan. ISBN 81-7574-170-8
  • Hazra, K. L. (1994). Pāli language and literature: a systematic survey and historical study. Emerging perceptions in Buddhist studies, no. 4–5. New Delhi: D.K. Printworld. ISBN 81-246-0004-X
  • Martineau, Lynn (1998). Pāli Workbook Pāli Vocabulary from the 10-day Vipassana Course of S. N. Goenka. ISBN 1928706045.
  • Müller, Edward (2003) [1884]. The Pali language: a simplified grammar. Trübner's collection of simplified grammars. London: Trubner. ISBN 1-84453-001-9
  • Bhikkhu Nanamoli. A Pāli-English Glossary of Buddhist technical terms. ISBN 9552400864
  • Charles Duroiselle, A Practical Grammar of the Pāli Language 3rd Edition, 1997
  • Perniola, V. (1997). Pali Grammar, Oxford, The Pali Text Society.
  • Siri Petchai and Vichin Phanupong, "Chulachomklao of Siam Pāḷi Tipiṭaka, 1893", Digital Preservation Edition, Dhamma Society Fund 2009.
  • Soothill, W. E., & Hodous, L. (1937). A dictionary of Chinese Buddhist terms: with Sanskrit and English equivalents and a Sanskrit-Pali index. London: K. Paul, Trench, Trubner & Co.
  • Webb, Russell (ed.) An Analysis of the Pali Canon, Buddhist Publication Society, Kandy; 1975, 1991 (see http://www.bps.lk/reference.asp เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  • Wallis, Glenn (2011). Buddhavacana, a Pali reader (PDF eBook). ISBN 192870686X.
  • Wilhem Geiger, "Pali Literatur und Sprache" (1892)
  • สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 และวิจินตน์ ภาณุพงศ์, "พระไตรปิฎกปาฬิจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม" ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล, กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ 2551.
  • ร.ต.ฉลาด บุญลอย, ประวัติวรรณคดีบาลี, 2527
  • ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์, ประวัติภาษาบาลี : ความเป็นมาและที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต, 2535.
  • ปราณี ฬาพานิช, ภาษาสันสกฤต: คุณค่าในการพัฒนาความเข้าใจภาษาบาลี,2536, หน้า 113-145.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน