อักษรละติน (Latin alphabet) หรือ อักษรโรมัน (Roman alphabet) เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่าง ๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือโรมาจิ (ภาษาญี่ปุ่น)

อักษรละติน
อักษรโรมัน
Abecedarium.png
ชนิดอักษรสระ-พยัญชนะ
ภาษาพูด
ช่วงยุค~700 ปี ก่อนคริสตกาล – ปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบลูกโดยทางอ้อม เช่นชุดตัวหนังสือพยางค์เชโรกีและอักษรยูพิกกลาง
ระบบพี่น้องซีริลลิก
อาร์มีเนีย
จอร์เจีย
คอปติก
รูน
ช่วงยูนิโคดดู Latin characters in Unicode
ISO 15924Latn
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
อักษรละติน
Aa Bb Cc Dd
Ee Ff Gg Hh Ii Jj
Kk Ll Mm Nn Oo Pp
Qq Rr Ss Tt Uu Vv
Ww Xx Yy Zz

ประวัติแก้ไข

อักษรละตินเริ่มแรกมี เพียง 21 ตัว ได้แก่ A B C D E F G H I K L M N O P Q R S T V X โดยอักษร J U W Y Z ได้เพิ่มมาทีหลัง และ J เป็นอักษรตัวสุดท้ายที่เพิ่มเข้ามา

จารึกอักษรละตินเก่าสุดมีอายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช พัฒนามาจากชุดตัวอักษรอิทรัสคันเมื่อราว 100 ปีก่อนหน้านั้น อักษร Y และ Z นำมาจากอักษรกรีก เพื่อเขียนคำยืมจากภาษากรีก อักษรอื่นถูกเพิ่มเติมเข้ามาตามลำดับเวลา ที่กำหนด

 
แผนที่แสดงประเทศที่ใช้อักษรละติน สีเขียวเข้มคือประเทศที่ใช้เป็นทางการ สีเขียวอ่อนเป็นประเทศที่ใช้ร่วมกับอักษรอื่น

ยูนิโคดแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข