ประเทศมอนเตเนโกร

(เปลี่ยนทางจาก มอนเตเนโกร)

42°30′N 19°18′E / 42.500°N 19.300°E / 42.500; 19.300

มอนเตเนโกร

Crna Gora[a] / Црна Гора[b] (มอนเตเนโกร)
ที่ตั้งของ ประเทศมอนเตเนโกร  (เขียว) ในทวีปยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศมอนเตเนโกร  (เขียว)

ในทวีปยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
พอดกอรีตซา
42°47′N 19°28′E / 42.783°N 19.467°E / 42.783; 19.467
ภาษาราชการมอนเตเนโกร[1]
ภาษาที่ใช้ในราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011[3])
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ยาก็อฟ มิลาตอวิช
มิลอยกอ สปายิช
อันดริยา มันดิช
สภานิติบัญญัติสกุปชตินา
ประวัติก่อตั้ง
ค.ศ. 625
ค.ศ. 1077
ค.ศ. 1356
ค.ศ. 1516
ค.ศ. 1852
ค.ศ. 1878
ค.ศ. 1910
ค.ศ. 1918
ค.ศ. 1945
ค.ศ. 1992
ค.ศ. 2006
พื้นที่
• รวม
13,812 ตารางกิโลเมตร (5,333 ตารางไมล์) (อันดับที่ 156)
2.6
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 621,873[4] (อันดับที่ 169)
45 ต่อตารางกิโลเมตร (116.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 133)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
11.994 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 149)
19,252 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 63)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
4.790 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 153)
7,688 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 73)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 34.1[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.829[7]
สูงมาก · อันดับที่ 48
สกุลเงินยูโร ()a (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+382
โดเมนบนสุด.me
  1. ประกาศใช้เพียงฝ่ายเดียว; มอนเตเนโกรมิใช่ส่วนหนึ่งของยูโรโซน

มอนเตเนโกร (อังกฤษ: Montenegro, ออกเสียง: /ˌmɒntɪˈniːɡroʊ, -ˈneɪɡroʊ, -ˈnɛɡroʊ/ ( ฟังเสียง);[8] มอนเตเนโกร: Crna Gora[a] / Црна Гора,[b] ออกเสียง: [tsr̩̂ːnaː ɡǒra], แปลว่า ภูเขาสีดำ; แอลเบเนีย: Mali i zi)[9][10] เป็นประเทศเอกราชซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้[11] มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดประเทศคอซอวอ[c] และเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้ มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ในอดีต มอนเตเนโกรมีสถานะเป็นสาธารณรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ต่อมาคือเซอร์เบียและมอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มอนเตเนโกรได้รับการกำหนดให้เป็น "รัฐประชาธิปไตย สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม"

ในช่วงต้นยุคกลาง มีราชรัฐสามแห่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของมอนเตเนโกรในปัจจุบัน[12][13][14] ราชรัฐซีตาเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 14 และ 15 ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 14 ถึงปลายศตวรรษที่ 18 พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของมอนเตเนโกรถูกปกครองโดยสาธารณรัฐเวนิสและรวมอยู่ในเขตแอลเบเนีย[15]ชื่อมอนเตเนโกรถูกใช้เรียกประเทศนี้เป็นครั้งแรกในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 หลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน มอนเตเนโกรได้รับการปกครองแบบกึ่งอิสระในปี 1696 ภายใต้การปกครองของสภาเปโตรวิช-นีเอกอช เริ่มแรกเป็นเทวาธิปไตยและต่อมาเป็นราชรัฐ ความเป็นอิสระของมอนเตเนโกรได้รับการยอมรับจากมหาอำนาจในรัฐสภาแห่งเบอร์ลินในปี 1878 ในปี 1910 ประเทศกลายเป็นราชอาณาจักร หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชอาณาจักรได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย หลังจากการล่มสลายของยูโกสลาเวีย สาธารณรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกรร่วมกันประกาศเป็นสหพันธรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2006 มอนเตเนโกรได้ประกาศเอกราชจากเซอร์เบียและมอนเตเนโกรหลังการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช ทำให้มอนเตเนโกรและเซอร์เบียยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน[16] มอนเตเนโกรจึงเป็นหนึ่งในประเทศใหม่ล่าสุดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในโลก.[17]

มอนเตเนโกรมีเศรษฐกิจที่มีรายได้ปานกลางระดับบน[18] เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เนโท องค์การการค้าโลก องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป สภายุโรป และข้อตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง[19] มอนเตเนโกรยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพเมดิเตอร์เรเนียน[20] และอยู่ในขั้นตอนการเข้าร่วมสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2012[21]

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์ระยะแรกของชนเผ่ามอนเตเนโกรเริ่มปรากฏชัดเจนในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในฐานะเป็นรัฐกึ่งอิสระชื่อว่า ดูเคลีย (Duklija) ต่อมาจึงมีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้น ซึ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ได้ทรงมีประกาศรับรองความเป็นอิสระของดูเคลีย และยอมรับพระเจ้ามีไฮโลแห่งดูเคลียอย่างเป็นทางการ เมื่อปี ค.ศ. 1077

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มอนเตเนโกรได้ถูกจักรวรรดิออตโตมันเข้ายึดครอง แต่ด้วยเหตุที่ว่าเป็นรัฐชายแดนทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน อำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิจึงแผ่ขยายเข้าไปได้ไม่มากนัก กษัตริย์ของมอนเตเนโกรตั้งแต่ปลางยุคกลางจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงมีอำนาจปกครองประเทศด้วยความอิสระพอควร

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กษัตริย์มอนเตเนโกร โดยพระเจ้านิโคลัสที่ 1 แห่งราชวงศ์นีเยกอช ทรงพยายามปลดแอกประเทศจากการอยู่ใต้อำนาจการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันหลายครั้ง ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) รัสเซียซึ่งได้ทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันได้รับชัยชนะและส่งผลให้มีการตกลงสนธิสัญญาซานสเตฟาโน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้รัสเซียมีอิทธิพลมากขึ้นในกลุ่มรัฐบอลข่าน อังกฤษและออสเตรีย-ฮังการีจึงคัดค้านและนำไปสู่การประชุมใหญ่แห่งเบอร์ลิน เพื่อทบทวนสนธิสัญญาซานสเตฟาโนและจัดทำสนธิสัญญาเบอร์ลินขึ้นแทน ซึ่งสนธิสัญญฉบับนี้ส่งผลให้มอนเตเนโกรได้รับดินแดนเพิ่มเติมพร้อมเป็นเอกราชจากออตโตมัน

ความผันผวนทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และกระแสชาตินิยมจากการเคลื่อนไหวของขบวนการอุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ (Pan-Slavism) ได้นำไปสู่การเกิดสงครามบอลข่านสองครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1912-1913 สงครามบอลข่านครั้งแรกเป็นสงครามระหว่างสันนิบาตบอลข่านซึ่งประกอบด้วยประเทศกรีซ บัลแกเรีย เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร กับจักรวรรดิออตโตมันซึ่งผลที่ออกมาคือชัยชนะของสันนิบาต ส่งผลให้ทางออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนในยุโรปเกือบทั้งหมด พร้อมยอมให้มีการจัดตั้งประเทศแอลเบเนียขึ้น แต่เนื่องด้วยความไม่พอใจของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรเพราะต้องการผนวกดินแดนชายฝั่งของแอบเบเนียเพื่อเป็นทางออกทะเล และความไม่พอใจของบัลแกเรียที่ได้เห็นว่าเซอร์เบียได้รับผลประโยชน์มากกว่า บัลแกเรียจึงเปิดฉากสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1913 แต่ผลออกมาคือการพ่ายแพ้ของบัลแกเรีย ส่งผลให้เซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้รับดินแดนเพิ่มเติมอีกประมาณหนึ่งเท่าของพื้นที่เดิมของประเทศ

 
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มอนเตเนโกรได้เข้าสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่ด้วยกองกำลังที่เล็กเพียงประมาณ 5 พันคน กองกำลังมอนเตเนโกรจึงประสบความพ่ายแพ้ต่อกองทัพออสเตรีย-ฮังการี

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) มอนเตเนโกรได้ตัดสินใจรวมประเทศเข้ากับราชอาณาจักรเซอร์เบีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นแกนนำสำคัญในการรวมชนเชื้อสายสลาฟใต้เข้าด้วยกันหลังสงครามยุติและสถาปนา "ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน" ขึ้น โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย แห่งราชวงศ์การาจอร์เจวิชเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1924 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงประกาศยุบสภาและปกครองด้วยระบอบเผด็จการ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ยูโกสลาเวีย" แต่ด้วยความไม่พอใจของชนชาติต่าง ๆ ในการปกครองแบบเผด็จการของพระองค์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพวกโครแอตชาตินิยมในขณะที่เสด็จฯเยือน ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1934 เจ้าชายปีเตอร์ที่ 2 พระราชโอรสวัย 11 ชันษาจึงเสด็จขึ้นครองบัลลังก์แทน

 
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ยูโกสลาเวียถูกนานาประเทศเข้ายึดครอง ยอซีป บรอซ (Josip Broz) หรือตีโต (Tito) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียจึงได้ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยประเทศออกจากการยึดครอง ซึ่งในที่สุดก็สามารถปลดแอกตนเองออกมาได้ ส่วนตีโตนั้นได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้นำประเทศ ซึ่งเขาก็ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมแบบสหภาพโซเวียตวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) และเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น “สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย” ซึ่งประกอบด้วย 6 รัฐ กล่าวคือ สโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย และอีก 2 จังหวัดปกครองตนเอง คือ คอซอวอและวอยวอดีนา และถึงแม้ว่ามอนเตเนโกรจะรวมตัวอยู่กับยูโกสลาเวียซึ่งมีการปกครองในระบอบสังคมนิยม แต่มอนเตเนโกรก็มีอำนาจการปกครองภายในอย่างสมบูรณ์

การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของรัฐต่าง ๆ ที่รวมตัวกันอยู่ในยูโกสลาเวีย รัฐโครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) แต่เซอร์เบียและมอนเตเนโกรกลับรวมตัวกันอยู่ดังเดิม พร้อมกับเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย" และมีนายสลอบอดัน มีโลเชวิช (Slobodan Milosevic) เป็นประธานาธิบดีคนแรก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งเป็นเซอร์เบียและมอนเตเนโกร แต่ละรัฐมีอำนาจปกครองตนเองสูงสุด มีเพียงการทหารและการต่างประเทศที่รวมกันเป็นหลัก

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากเซอร์เบีย โดยร้อยละ 55.4 ซึ่งเกินเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 55) ที่สหภาพยุโรปกำหนดที่จะให้การรับรอง และด้วยเหตุนี้มอนเตเนโกรจึงประกาศแยกตัวเพื่อมาเป็นประเทศใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ปัจจุบันมอนเตเนโกรได้รับการรับรองจากนานาประเทศและเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 192 และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ หลายองค์การแล้ว [22]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 

มอนเตเนโกรแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 21 เทศบาล (opština)

ประชากร

แก้

อ้างอิง

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 สะกดเหมือนกับภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย
  2. 2.0 2.1 สะกดเหมือนกับภาษาเซอร์เบียอักษรซีริลลิก
  3. คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ

อ้างอิง

แก้
  1. "Language and alphabet Article 13". Constitution of Montenegro. WIPO. 19 October 2007. The official language in Montenegro shall be Montenegrin. Cyrillic and Latin alphabet shall be equal.
  2. "Language and alphabet Article 13". Constitution of Montenegro. WIPO. 19 October 2007. Serbian, Bosnian, Albanian and Croatian shall also be in the official use.
  3. "Census of Population, Households and Dwellings in Montenegro 2011" (PDF). Monstat. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  4. "Statistical Office of Montenegro – MONSTAT". www.monstat.org.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF.org. International Monetary Fund. April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
  6. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. แม่แบบ:Cite EPD
  9. "Влада Црне Горе". Vlada Crne Gore (ภาษาMontenegrin). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  10. "Vlada Crne Gore". Влада Црне Горе (ภาษาMontenegrin). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  11. "Montenegro – The World Factbook". www.cia.gov. 19 October 2021.
  12. Luscombe, David; Riley-Smith, Jonathan (2004). The New Cambridge Medieval History: Volume 4, c. 1024 – c. 1198. Cambridge University Press. pp. 266–. ISBN 9780521414111.
  13. Sedlar, Jean W. (2013). East Central Europe in the Middle Ages, 1000–1500. University of Washington Press. pp. 21–. ISBN 9780295800646.
  14. John Van Antwerp Fine (1983). The early medieval Balkans: a critical survey from the sixth to the late twelfth century. University of Michigan Press. p. 194. ISBN 9780472100255.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  16. "Serbia ends union with Montenegro". The Irish Times. 5 June 2006. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  17. Taylor, Adam (14 September 2014). "The 9 newest countries in the world". Washington Post.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Montenegro Economy: Population, GDP, Inflation, Business, Trade, FDI, Corruption". The Heritage Foundation. 9 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
  19. "Membership of Montenegro in International Organizations". mvp.gov.me. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
  20. "Montenegro". European Western Balkans. 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
  21. "European Neighbourhood Policy And Enlargement Negotiations – European Commission". European Neighbourhood Policy And Enlargement Negotiations – European Commission. 6 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
  22. http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=281 เก็บถาวร 2008-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้