ประเทศซานมารีโน

(เปลี่ยนทางจาก ซานมารีโน)

ซานมารีโน (อิตาลี: San Marino) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซานมารีโน (อิตาลี: Repubblica di San Marino; โรมัญญา: Ripóbblica d' San Marein) และอีกชื่อหนึ่งคือ สาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งซานมารีโน[8] (อิตาลี: Serenissima Repubblica di San Marino) เป็นประเทศขนาดเล็ก[9][10][11][12] (และจุลรัฐยุโรป) ในยุโรปใต้บนเทือกเขาแอเพนไนน์ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากพรมแดนถูกล้อมรอบทุกด้านโดยประเทศเดียว คือประเทศอิตาลี[13] ซานมารีโนมีพื้นที่มากกว่า 61 ตารางกิโลเมตร (24 ตารางไมล์) และมีประชากร 33,562 คน[14]

สาธารณรัฐซานมารีโน[1][2]

Repubblica di San Marino (อิตาลี)
คำขวัญ"เสรีภาพ"
(ละติน: Libertas)
ที่ตั้งของ ประเทศซานมารีโน  (เขียว) ในยุโรป  (เทาอาเกต)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศซานมารีโน  (เขียว)

ในยุโรป  (เทาอาเกต)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวงซานมารีโน
43°56′N 12°26′E / 43.933°N 12.433°E / 43.933; 12.433
เมืองใหญ่สุดโดกานา
43°58′53″N 12°29′22″E / 43.98139°N 12.48944°E / 43.98139; 12.48944
ภาษาราชการอิตาลี[3]
ภาษาอื่น ๆโรมัญญา
ศาสนา
97% โรมันคาทอลิก
3% อื่น ๆ
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สองกฎ สาธารณรัฐคณะผู้อำนวยการ
Francesca Civerchia
Dalibor Riccardi
สภานิติบัญญัติสภาใหญ่สามัญ
เอกราช
ค.ศ. 301 (ธรรมเนียม)
ค.ศ. 1291 (โดยนิตินัย)[1]
  • 8 ตุลาคม ค.ศ. 1600
    (พระราชบัญญัติ)
  • 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1978
    (ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง)
พื้นที่
• รวม
61.2 ตารางกิโลเมตร (23.6 ตารางไมล์)[1] (อันดับที่ 190)
0
ประชากร
• 2021 ประมาณ
33,600[4] (อันดับที่ 221)
520 ต่อตารางกิโลเมตร (1,346.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 23)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2017 (ประมาณ)
• รวม
2.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 175)
60,651 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 11)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2017 (ประมาณ)
• รวม
1.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 174)
44,947 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 13)
เอชดีไอ (2013)0.875[6]
สูงมาก · อันดับที่ 26
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+01 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+02 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+378 (+39 0549 ผ่านอิตาลี)
โดเมนบนสุด.sm
ข้อมูล: [1][7]

ประวัติศาสตร์

แก้

ตามตำนานแล้ว สาธารณรัฐซานมารีโนมีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง พ.ศ. 844 โดยช่างหินชาวคริสต์คนหนึ่ง ชื่อว่ามารีนุส ได้หนีการตามล่าทางศาสนา มาหลบภัยและตั้งถิ่นฐานบริเวณมอนเตตีตาโน ซึ่งเป็นที่ตั้งของซานมารีโนในปัจจุบัน มารีนุสภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นนักบุญ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ (ซานมารีโน แปลว่านักบุญมารีนุส ในภาษาอิตาลี) ซานมารีโนถือเอาวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 844 เป็นวันก่อตั้งสาธารณรัฐ[15]

ซานมารีโนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้เกือบตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขาสูงยากแก่การเข้าถึง และความขาดแคลนทรัพยากร ในช่วงการรวมชาติอิตาลี ซานมารีโนได้เป็นที่ลี้ภัยของนักปฏิวัติที่สนับสนุนการรวมชาติ ทำให้ในเวลาต่อมา อิตาลีภายหลังการรวมชาติได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับเอกราชของซานมารีโน

ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซานมารีโนประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 หลังจากที่อิตาลีประกาศสงครามในวันที่ 23 พฤษภาคม[16] ซานมารีโนเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรียุโรปใน พ.ศ. 2531 และสหประชาชาติใน พ.ศ. 2535

การเมือง

แก้

ประเทศซานมารีโนมีการปกครองแบบสาธารณรัฐโดยสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกตัวแทนจากสภามาจำนวน 2 คน มาเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม หรือประมุขของประเทศอยู่ในตำแหน่งวาระ 6 เดือน และสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกคณะรัฐบาล มาบริหารประเทศวาระละ 5 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
เขตการปกครองของซานมารีโน

ซานมารีโนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เทศบาล (castelli) ซึ่งยังมีฐานะเป็นเมืองด้วย ดังนี้

 
รายชื่อเทศบาลของประเทศซานมารีโน
ธง ชื่อ เมืองหลัก ประชากร (2019) พื้นที่ (ตร.กม.)
  อัคควาวีวา อัคควาวีวา 2,167 คน 4.86 ตร.กม.
  บอร์โกมัจโจเร บอร์โกมัจโจเร 6,946 คน 9.01 ตร.กม.
  คีเยซานูโววา คีเยซานูโววา 1,152 คน 5.46 ตร.กม.
  ซานมารีโน ซานมารีโน 4,063 คน 7.09 ตร.กม.
  โดมัญญาโน โดมัญญาโน 3,584 คน 6.62 ตร.กม.
  ฟาเอตาโน ฟาเอตาโน 1,168 คน 7.75 ตร.กม.
  ฟีโยเรนตีโน ฟีโยเรนตีโน 2,552 คน 6.56 ตร.กม.
  มอนเตจาร์ดีโน มอนเตจาร์ดีโน 966 คน 3.31 ตร.กม.
  แซร์ราวัลเล แซร์ราวัลเล 10,976 คน 10.53 ตร.กม.

เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคือ โดกานา (Dogana) ซึ่งไม่ได้เป็นเทศบาลที่ปกครองตนเองแต่เป็นพื้นที่ของเทศบาลเมืองแซร์ราวัลเล

ภูมิศาสตร์

แก้

ซานมารีโนถูกล้อมรอบด้วยประเทศอิตาลี ภูมิประเทศส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาแอเพนไนน์ โดยจุดที่สูงที่สุดอยู่ที่มอนเตตีตาโน ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 755 เมตร[15] ซานมารีโนไม่มีพื้นน้ำสำคัญใด ๆ ภูมิอากาศของซานมารีโนเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน

ประชากร

แก้

ซานมารีโนมีประชากรเกือบสามหมื่นคน โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาอิตาลีเป็นภาษาหลัก[15]

เศรษฐกิจ

แก้

ซานมารีโนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่ก็ร่วมใช้สกุลเงินยูโร ก่อนหน้านั้น ลีราซานมารีโนเป็นสกุลเงินของซานมารีโน ซึ่งผูกค่าอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับลีราอิตาลี มากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีมาจากการท่องเที่ยว[17] อุตสาหกรรมอื่นของประเทศได้แก่การธนาคาร อิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิก นอกจากนี้ซานมารีโนยังมีรายได้จากการขายสแตมป์อีกด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 San Marino. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
  2. "San Marino". Encyclopædia Britannica. 2012. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
  3. "San Marino è". GOV.SM. Repubblica di San Marino. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  4. "San Marino – Population – Upeceds". www.statistica.sm. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2020. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 San Marino. Imf.org.
  6. Filling Gaps in the Human Development Index เก็บถาวร 5 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United Nations ESCAP, February 2009
  7. "San Marino" (PDF). UNECE Statistics Programme. UNECE. 2009. สืบค้นเมื่อ 13 March 2010.
  8. "FACTBOX: Five facts: Most Serene Republic of San Marino". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  9. "World Bank Small States Information by Country" (PDF).
  10. "WHO small countries initiative". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.
  11. "Council of the European Union, Declaration on Article 8 of the Treaty on European Union, Consolidated versions of the Treaty on European Union and the Treaty on the functioning of the European Union, Brussels, 15 April 2008, p. 427".
  12. "European Parliament recommendation of 13 March 2019 to the Council on the association agreement between the EU and Monaco, Andorra and San Marino".
  13. "The Republic of San Marino: Italy's Mountaintop Microstate". Round the World in 30 Days (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  14. "Informazioni sulla popolazione – Repubblica di San Marino, portale ufficiale". Sanmarino.sm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2016.
  15. 15.0 15.1 15.2 San Marino เก็บถาวร 2010-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เดอะเวิลด์แฟกต์บุก. (อังกฤษ)
  16. First World War.com - Feature Articles - Who Declared War and When (อังกฤษ)
  17. San Marino (11/98) (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

43°56′30″N 12°27′30″E / 43.94167°N 12.45833°E / 43.94167; 12.45833