ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่ได้รับสถานะพิเศษในแต่ละประเทศ รัฐ หรือเขตการควบคุมอื่น ๆ โดยทั่วไป ศัพท์ "ภาษาราชการ" ไม่ได้หมายถึงภาษาที่ใช้โดยประชาชนหรือประเทศ แต่เป็นภาษาที่ใช้โดยรัฐบาลของตน (เช่น ตุลาการ นิติบัญญัติ หรือการบริหาร)[1][2][3]

มีประเทศที่มีภาษาราชการถึง 178 ประเทศ โดยในจำนวนนี้มี 101 ประเทศที่มีภาษาราชการมากกว่าหนึ่งภาษา รัฐบาลอิตาลีจัดให้ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการใน ค.ศ. 1999[4] ในขณะที่บางประเทศ (เช่นสหรัฐ, เม็กซิโก และออสเตรเลีย) ไม่ประกาศภาษาราชการในระดับชาติโดยนิตินัย[5]

รัฐธรรมนูญหลายประเทศระบุภาษาประจำชาติหรือราชการหนึ่งภาษาหรือมากกว่า[6][7] บางประเทศใช้ภาษาราชการในการกำหนดอำนาจให้กลุ่มชนพื้นเมืองโดยให้พวกเขาเข้าถึงรัฐบาลด้วยภาษาแม่ของตน ส่วนประเทศที่ไม่ได้ระบุภาษาราชการอย่างเป็นทางการ มักมีการใช้ภาษาประจำชาติโดยพฤตินัยแทน

สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่น ๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่าง ๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

อ้างอิง แก้

  1. "Official Language", Concise Oxford Companion to the English Language, Ed. Tom McArthur, Oxford University Press, 1998.
  2. Pueblo v. Tribunal Superior, 92 D.P.R. 596 (1965). Translation taken from the English text, 92 P.R.R. 580 (1965), p. 588-589. See also LOPEZ-BARALT NEGRON, "Pueblo v. Tribunal Superior: Español: Idioma del proceso judicial", 36 Revista Juridica de la Universidad de Puerto Rico. 396 (1967), and VIENTOS-GASTON, "Informe del Procurador General sobre el idioma", 36 Rev. Col. Ab. (P.R.) 843 (1975).
  3. The Status of Languages in Puerto Rico. เก็บถาวร 2017-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Luis Muñiz-Arguelles. University of Puerto Rico. 1986. Page 466. Retrieved 23 November 2012.
  4. "Legge 15 Dicembre 1999, n. 482 "Norme in materia di tutela delle minoranze linguistiche storiche" pubblicata nella Gazzetta Ufficiale n. 297 del 20 dicembre 1999". Italian Parliament. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2014.
  5. "FYI: English isn't the official language of the United States".
  6. "Read about "Official or national languages" on Constitute". สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  7. "L'aménagement linguistique dans le monde: page d'accueil". www.axl.cefan.ulaval.ca. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Writing Systems of the World: Alphabets, Syllabaries, Pictograms (1990), ISBN 0-8048-1654-9 — lists official languages of the countries of the world, among other information.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้