รายชื่อสิ่งแรกในประเทศไทย
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
บทความต่อไปนี้เป็นรายชื่อสิ่งแรกในประเทศไทย
การคมนาคม
แก้- ถนนสายแรกที่สร้างขึ้นโดยใช้วิธีการก่อสร้างแบบสมัยใหม่ คือ ถนนเจริญกรุง เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2407
- ทางรถไฟสายแรก คือ ทางรถไฟสายปากน้ำ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2436[1]
- ท่าอากาศยานแห่งแรก คือ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2457 ถือเป็นหนึ่งในสนามบินที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย[2]
- เครื่องบินลำแรกที่ขึ้นบินในประเทศไทย คือ เครื่องบินเฮนรี ฟาร์แมน ถูกขับโดยนายชาร์ลส์ แวน เดน บอร์น เมื่อปี พ.ศ. 2454[3][4]
- สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 เปิดเมื่อ พ.ศ. 2537
- รถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542
- รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกในประเทศไทย คือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2547
การทหาร
แก้- เรือดำน้ำ 4 ลำแรกในกองทัพเรือไทย คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล เข้าประจำการพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2481
- เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกในกองทัพเรือไทย คือ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2540
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรกคือ แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
- จอมพลและจอมพลเรือคนแรกของไทยคือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับพระราชทานยศเมื่อ พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2456 ตามลำดับ
- จอมพลอากาศคนแรกของไทยคือแปลก พิบูลสงคราม ได้รับพระราชทานยศเมื่อ พ.ศ. 2487
- จอมพลคนสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานคือ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ได้รับพระราชทานเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516
การปกครอง
แก้- นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
- นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
- นายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง คือ ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ ชำนาญ ยุวบูรณ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2516 จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ธรรมนูญ เทียนเงิน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2518 จนถึงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2520
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2475
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย คือ อรพินท์ ไชยกาล มาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2492
- พรรคการเมืองพรรคแรก คือ พรรคก้าวหน้า ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2488
- รัฐประหารครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จ คือ รัฐประหารเดือนเมษายน พ.ศ. 2476
- นายกรัฐมนตรีคนแรกที่สังกัดกองทัพเรือคือถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
- อธิบดีหญิงคนแรกคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี อธิบดีกรมโขลน สังกัดกระทรวงวัง
การศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2460
- มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517
- โรงเรียนรัฐแห่งแรก คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2425
- โรงเรียนเอกชนแห่งแรก คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2395
- แบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี เขียนขึ้นในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การสำรวจ
แก้- คนไทยคนแรกที่เดินทางไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2536[5][6]
- คนไทยคนแรกที่ไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ คือ วิทิตนันท์ โรจนพานิช ไปถึงเมื่อปี พ.ศ. 2551[7]
กีฬา
แก้กีฬาโอลิมปิก
แก้- กีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่ประเทศไทยเข้าร่วม คือ โอลิมปิกฤดูร้อน 1952 จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495
- นักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญโอลิมปิก คือ พเยาว์ พูนธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงจากการแข่งขันมวยสากลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 เมื่อปี พ.ศ. 2519
- นักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญเงินโอลิมปิก คือ ทวี อัมพรมหา ได้เหรียญเงินจากการแข่งขันมวยสากลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 เมื่อปี พ.ศ. 2527
- นักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก คือ สมรักษ์ คำสิงห์ ได้เหรียญจากการแข่งขันมวยสากลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 เมื่อปี พ.ศ. 2539
กีฬาเอเชียนเกมส์
แก้- กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย คือ เอเชียนเกมส์ 1966 จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509
ความบันเทิง
แก้- ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ นางสาวสุวรรณ ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2466
- ภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างและผลิตโดยคนไทยทั้งหมดคือ โชคสองชั้น ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2470
- ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกคือ หลงทาง ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2475
- ภาพยนตร์สีเรื่องแรกคือ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2480
- ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกคือ เหตุมหัศจรรย์ ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2498
- ละครโทรทัศน์เรื่องแรกคือ สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2498 ทางช่อง 4 บางขุนพรหม
- โรงภาพยนตร์แห่งแรกคือ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ
- นักแสดงนำชายคนแรกคือ ขุนรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) รับบท กล้าหาญ ในนางสาวสุวรรณ (พ.ศ. 2466)
- นักแสดงนำหญิงคนแรกคือ อนินทิตา อาขุบุตร รับบท สุวรรณ ในนางสาวสุวรรณ (พ.ศ. 2466)
- ผู้กำกับภาพยนตร์คนแรกคือ ขุนอนุรักษ์รัถการ (เปล่ง สุขะวิริยะ) จากเรื่องโชคสองชั้น (พ.ศ. 2470)
- นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกคือ พร้อมสิน สีบุญเรือง
- นักเขียนการ์ตูนคนแรกคือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)
- นางงามจักรวาลชาวไทยคนแรกคือ อาภัสรา หงสกุล ชนะการประกวดนางงามจักรวาล 1965
พลังงาน
แก้- เขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรก คือ เขื่อนภูมิพล ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2507[8]
- การจ่ายกระแสไฟฟ้าครั้งแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อปี พ.ศ. 2427[9]
เศรษฐกิจ
แก้- ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรก คือ แบงก์สยามกัมมาจล ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารของรัฐบาลไทยแห่งแรก คือ คลังออมสิน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2456 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารออมสิน
อื่น ๆ
แก้- สวนสัตว์แห่งแรกคือ สวนสัตว์ดุสิต ที่กรุงเทพมหานคร เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2481
- อุทยานแห่งชาติแห่งแรก คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505[10]
- อุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งแห่งแรกของประเทศไทย คือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509
- โรงพิมพ์แห่งแรก คือ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2438[11][12][13]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Trains in Siam - Railway Wonders of the World". www.railwaywondersoftheworld.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.
- ↑ "Midnight Initiation for Suvarnabhumi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
- ↑ Sim, V. M.; an (2013-03-08). "A Brief History of Aviation in Thailand". V.M. Simandan (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "Royal Thai Air Force HISTORY OF THE ROYAL THAI AIR FORCE". www.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Scientist ready for rare trip to Antarctica". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี - มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี". www.princess-it.org. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "วิทิตนันท์ โรจนพานิช หนึ่ง ประวัติ อัลบั้มดารา วิทิตนันท์ โรจนพานิช หนึ่ง ประวัติดารา". www.nangdee.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "Bhumibol Dam". Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-05. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
- ↑ "ประวัติกิจการไฟฟ้าไทย". www.egat.co.th. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "Khao Yai National Park". Thai National Parks (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
- ↑ โลจน์ นันทิวัชรินทร์ (2022-02-04). "Craftsman at Bamrungmueng Pop-up Café ป๊อปอัพคาเฟ่ในอาคารโบราณยุค ร.5 แห่งถนนบำรุงเมือง ปลุกกลิ่นอายมาเฟียสำอางในสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกและวิกตอเรียน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
- ↑ Ruaytanapanich, Kenika (2022-02-05). "พาชมไฮไลท์ในงาน Bangkok Design Week 2022 ปีนี้จะมีอะไรห้ามพลาดอีกต้องมาดู". Timeout Bangkok. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
- ↑ "กู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรม โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ". มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.