สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2403 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
![]() | |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม[1] | |
ดำรงตำแหน่ง | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[2] |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[3] | |
ดำรงตำแหน่ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2435[4] – 16 มีนาคม พ.ศ. 2439[5] 1 เมษายน พ.ศ. 2442 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
หม่อม | หม่อมเลี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมสุ่น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมลับ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเยี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมย้อย ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 14 พระองค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
ประสูติ | 11 มกราคม พ.ศ. 2403 พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม |
ทิวงคต | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 (68 ปี) วังบูรพาภิรมย์ ประเทศสยาม |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาววังมักเอ่ยพระนามอย่างลำลองว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาฯ" ส่วนชาวบ้านมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาในปัจจุบัน ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่าง ๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น
เป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์[6]
พระประวัติแก้ไข
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402[7] (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2403) ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย ภายในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการสมโภชขึ้นเมื่อพระชันษาได้ 3 วัน และสมโภชเดือน ตามลำดับ ณ พระตำหนักที่ประสูติ
พระองค์มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
เมื่อพระชันษาได้ 2 ปี พระมารดาเสด็จสวรรคต ต่อมาพระบิดาเสด็จสวรรคตขณะพระชันษาได้ 10 ปี พระองค์เป็นผู้โปรยข้าวตอกในกระบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์เป็นผู้โยง
เมื่อพระชันษาได้ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแห่รับพระสุพรรณบัฏเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 13 ปี หลังจากนั้น พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระองค์ออกผนวช เมื่อครบพรรษาจึงลาผนวช
การศึกษาแก้ไข
พระองค์ทรงเริ่มต้นการศึกษาเล่าเรียนในสำนักของครูผู้หญิงแล้วทรงเริ่มศึกษาด้วยพระองค์เองเรื่อยมา หลังจากนั้นจึงทรงเล่าเรียนหนังสือขอมและบาลีที่สำนักพระยาปริยัตติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงวิชาทางพุทธศาสตร์ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 และทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักของมิสเตอร์ เอฟ.ยี. แปตเตอร์ซัน ที่โรงเรียนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมประตูพิมานไชยศรีชั้นนอกภายในพระบรมมหาราชวัง และทรงเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มเติมจากสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) รวมทั้งศึกษาแบบอย่างราชการพระราชประเพณีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
การรับราชการแก้ไข
พระองค์ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ รับราชการทหารครั้งแรกในตำแหน่งนายทหารพิเศษแต่งเครื่องยศชั้นนายร้อยโท กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสสิงคโปร์ (ครั้งที่ 2) และพม่าส่วนของอังกฤษตลอดประเทศอินเดีย รวมทั้งหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามตามชายทะเลฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ต่อมาในปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทายศเป็น นายพลเอก[8]
ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญเช่น รัฐมนตรี[9] และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรี[10]และนายกองเอกในกองเสือป่า[11][12] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อภิรัฐมนตรี[13]และองคมนตรี[14]ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรทัพบก[15] จเรทหารทั่วไป[16][17] ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[18] อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น
พระกรณียกิจแก้ไข
หนังสือค๊อตข่าวราชการแก้ไข
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี 6 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. 2419 จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุกๆ คน ทุกๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ 2 อัฐ
กิจการไปรษณีย์แก้ไข
การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข
การทิวงคตแก้ไข
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประชวรพระโรคพระอันตะอักเสบมาหลายวัน จนเสด็จทิวงคตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 เวลา 18.27 น. ณ ตำหนักวังบูรพาภิรมย์ สิริพระชันษา 68 ปี 153 วัน วันต่อมาเวลา 17.10 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญประกอบพระโกศทองรองทรงบนแว่นฟ้าสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น 10 องค์ ชุมสาย 4 แถว แล้วทรงทอดผ้าไตร 40 พับ พระสงฆ์มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธาน สวดสดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา แล้วเสด็จฯ กลับ[19]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[20]
พระโอรสและพระธิดาแก้ไข
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์ เสกสมรสกับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)[21] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นสะใภ้หลวง และมีหม่อมอีก 6 คน ได้แก่[22]
- หม่อมเลี่ยม (สกุลเดิม ศุภสุทธิ์) ธิดาหลวงศุภมาตรา (สะอาด ศุภสุทธิ์)
- หม่อมสุ่น (สกุลเดิม ปักษีวงศา)
- หม่อมลับ (สกุลเดิม จาติกรัตน์) ธิดาพระมหาสงคราม (เอี่ยม จาติกรัตน์)
- หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ) ธิดานายกองนา (ทองดำ ยงใจยุทธ)
- หม่อมเยี่ยม (สกุลเดิม ณ บางช้าง) ธิดาหลวงมหาดไทย (แสง ณ บางช้าง)
- หม่อมย้อย (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) ธิดาพระยาศรีสรราชภักดี (หนูเล็ก โกมารกุล ณ นคร)
มีพระโอรส 8 พระองค์ กับ 1 องค์ และมีพระธิดา 3 พระองค์ กับ 3 องค์ รวม 15 พระองค์/องค์ ได้แก่
ราชสกุลภาณุพันธุ์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระชันษา | คู่สมรส |
1 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ | ญ. | หม่อมเลี่ยม | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428[23] | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2451 | 23 ปี 19 วัน | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
2 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช | ช. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 7 กันยายน พ.ศ. 2428[24] | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2477[25] | 48 ปี 318 วัน | หม่อมเจ้าวิไลกัญญา (ราชสกุลเดิม เทวกุล)
หม่อมแผ่ว (ราชสกุลเดิม อภัยกุล) หม่อมอรุณ (สกุลเดิม เพ็งเอี่ยม) หม่อมมาลี (สกุลเดิม สุขเจริญ) หม่อมพเยาว์ (สกุลเดิม นายนันท์) |
3 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช | ช. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 7 มีนาคม พ.ศ. 2433 | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2451 | 18 ปี 59 วัน[26] | |
4 | หม่อมเจ้า | ญ. | ไม่มีข้อมูล | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 | 1 ธันวาคม ค.ศ. 2434 | 0 ปี 14 วัน | |
5 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล | ญ. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 10 มีนาคม พ.ศ. 2436[24] | 23 มกราคม ค.ศ. 2500 | 63 ปี 319 วัน | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ |
6 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยนเยี่ยมพยับ | ช. | หม่อมสุ่น | 14 กันยายน พ.ศ. 2437 | 19 กันยายน ค.ศ. 2455 | 18 ปี 5 วัน | |
7 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย | ช. | หม่อมลับ | 16 กันยายน พ.ศ. 2442 | 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2444 | 1 ปี 290 วัน | |
8 | หม่อมเจ้าแดง | ช. | ไม่มีข้อมูล | 23 เมษายน พ.ศ. 2447 | 23 เมษายน ค.ศ. 2447 | 0 ปี 0 วัน | |
9 | หม่อมเจ้าไข่มุก | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 23 เมษายน พ.ศ. 2447 | 29 ธันวาคม ค.ศ. 2447 | 0 ปี 250 วัน | |
10 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450[24] | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2522 | 71 ปี 324 วัน | หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล |
11 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2452[24] | 24 ตุลาคม ค.ศ. 2525 | 73 ปี 126 วัน | มณี สิริวรสาร (สกุลเดิม บุนนาค)
หม่อมอำไพ (สกุลเดิม แสงสุข) |
12 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457[24] | 23 ธันวาคม ค.ศ. 2528 | 71 ปี 161 วัน | หม่อมซิริล (สกุลเดิม เฮย์คอค)
สาลิกา กะลันตานนท์ อรุณี จุลทะโกศล ชวนชม ไชยนันท์ |
13 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านรเศรษฐสุริยลักษณ์ | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 | 22 มีนาคม ค.ศ. 2497 | 38 ปี 103 วัน | |
14 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 4 กันยายน พ.ศ. 2460[24] | 12 กันยายน ค.ศ. 2485 | 25 ปี 8 วัน | มณี สิริวรสาร (สกุลเดิม บุนนาค) |
15 | หม่อมเจ้าเล็ก | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 5 กันยายน พ.ศ. 2461 | 11 กันยายน ค.ศ. 2461 | 0 ปี 6 วัน |
พระนัดดาแก้ไข
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระนัดดารวม 24 พระองค์/องค์/คน ดังนี้
- พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ 3 พระองค์/องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าเกียรติ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
- พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช 9 องค์ ได้แก่
- สวรรณา วิชัยรัตน์ ประสูติแต่หม่อมแผ่ว
- หม่อมเจ้าภาณุเทวัญ ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมเจ้าวิไลกัญญา
- หม่อมเจ้าพันธุ์ภาณุ ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมอรุณ
- ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ ประสูติแต่หม่อมมาลี
- หม่อมเจ้าอรุณแสงไข ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมอรุณ
- หม่อมเจ้าสุริยพันธุ์ ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมมาลี
- หม่อมเจ้านิพัทธพันธุพงศ์ ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมพเยาว์
- พันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ ประสูติแต่หม่อมมาลี
- หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมพเยาว์
- พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล 3 พระองค์ ได้แก่
- พระโอรสธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เรืองรำไพ อิศรางกูร
- หม่อมราชวงศ์หทัยธานี ชุมพล
- พระโอรสธิดา สายสกุล ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อรมณี นิเวศน์มรินทร์ เกิดแต่มณี สิริวรสาร
- หม่อมราชวงศ์พันธุรังษี ภาณุพันธุ์ เกิดแต่หม่อมอำไพ
- หม่อมราชวงศ์อนุพันธ์ ภาณุพันธุ์ เกิดแต่หม่อมอำไพ
- หม่อมราชวงศ์สุดารัตน์ ณ นคร เกิดแต่หม่อมอำไพ
- พระโอรสธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พีรเดช ภาณุพันธุ์ เกิดแต่เซเลีย โฮวาร์ด
- หม่อมราชวงศ์ระพีพร บุญยะมาน เกิดแต่หม่อมชวนชม
- หม่อมราชวงศ์พีรานุพงศ์ ภาณุพันธุ์ เกิดแต่หม่อมชวนชม
- พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ เกิดแต่มณี สิริวรสาร
- หม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์ เกิดแต่มณี สิริวรสาร
พระเกียรติยศแก้ไข
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศแก้ไข
- 13 มกราคม พ.ศ. 2402 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
- 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร กรมหมื่นภาณุพันธุวงศ์วรเดช[27]
- 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชนรินทรานุชาธิบดี กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัติยศักดิ อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหพิริยพหลดลประสิทธิ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารอัธยาไศรย ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร[28]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวชิราวุธราชปิตุลา มหันตมหาอุสาห พิริยพหลดลประสิทธิ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธ์คณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อัครมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาศ ธรรมิกนาถบพิตร[29]
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 : สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข
- พ.ศ. 2463 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า) (ดาราประดับเพชร)[31]
- พ.ศ. 2425 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2412 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) (ดาราประดับเพชร)[32]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า) [33]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[34]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[35]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[36]
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[37]
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[38]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[39][40]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[41][42]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[43]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[44]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[45]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญบุษปมาลา (ร.บ.ม.)[46]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[47]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[48]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[49]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[50]
- พ.ศ. 2469 - เสมาบรมราชาภิเษกทอง รัชกาลที่ 7[51]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
ประเทศ | ปีที่ได้รับ | เครื่องอิสริยาภรณ์ | แพรแถบ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี | พ.ศ. 2416 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเหล็ก ชั้นที่ 1 | ||
สเปน | พ.ศ. 2422 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิสะเบลลา คาโตลิกา ชั้นที่ 1 | ||
ราชอาณาจักรอิตาลี | พ.ศ. 2424 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1 | [52] | |
ญี่ปุ่น | พ.ศ. 2433 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 พร้อมดาราดอกไม้โปโลเนีย | [53] | |
รัสเซีย | พ.ศ. 2434 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีขาว ชั้นที่ 1 | [54] | |
ญี่ปุ่น | พ.ศ. 2434 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกพอโลเนีย ชั้นที่ 1 | ||
ราชอาณาจักรอิตาลี | พ.ศ. 2438 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอรีสแอนด์ลัสรัส ชั้นที่ 1 | [55] | |
ปรัสเซีย | พ.ศ. 2441 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 1 | [56] | |
ฝรั่งเศส | พ.ศ. 2464 | เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์, ชั้นที่ 1 |
พระสมัญญาแก้ไข
- พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย[57]
พระยศแก้ไข
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
---|---|
รับใช้ | สยาม |
บริการ/ | กองทัพบกสยาม กองทัพเรือสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | จอมพล จอมพลเรือ นายกองเอก |
พระยศทหารแก้ไข
- นายร้อยโท
- นายพันโทในกรมทหารล้อมวัง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[58]
- นายพลเอก[59]
- จอมพล[60]
- จอมพลเรือ[61]
พระยศเสือป่าแก้ไข
ราชตระกูลแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- เชิงอรรถ
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งจเรทัพบกและเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
- ↑ ตั้งตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ
- ↑ ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 136. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 65
- ↑ ได้รับพระราชทายศเป็น นายพลเอก
- ↑ ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ได้รับพระราชทานนายกองเอกในกองเสือป่า
- ↑ ได้รับพระราชทานนายกองเอกในกองเสือป่า
- ↑ "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทัพบก
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทหารทั่วไป
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทหารทั่วไป
- ↑ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
- ↑ "ข่าวทิวงคต สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 957–958. 17 มิถุนายน 2471. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, เล่ม 46, ตอน ง, 16 มิถุนายน พ.ศ. 2472, หน้า 793
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค
- ↑ หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ... เจ้าชายดาราทอง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. 376 หน้า. ISBN 974-322-980-9
- ↑ สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 132
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. [1], เล่ม 51, ตอน 0ง, 26 สิงหาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1606
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. [2], เล่ม 25, ตอน 17, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451, หน้า 499
- ↑ ประวัติศาสตร์การสถาปนาพระยศเจ้านายสมัย ร.5-ร.9 พ.ศ. 2413
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเลื่อนกรม, เล่ม ๑, ตอน ๕๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนแลกรมแลเจ้าพระยา, เล่ม 28, 11 พฤศจิกายน ร.ศ.130, หน้า 1719-1721
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศเฉลิมพระอภิธัยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 376-377
- ↑ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๗, ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๔๐๓
- ↑ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๗, ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๔๐๓
- ↑ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- ↑ เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- ↑ เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- ↑ เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
- ↑ เหรียญบุษปมาลา (ร.บ.ม.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชการที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๔๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๑๒๐
- ↑ เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การประดับเสมาบรมราชาภิเษก เล่ม 43 หน้า 3721 วันที่ 16 มกราคม 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒, ตอน ๓๖, ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๓๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗, ตอน ๓๖, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓, หน้า ๓๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘, ตอน ๔๖, ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๑๘๙๑, หน้า ๔๑๔
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 12 (ตอน 36): หน้า 328. 8 ธันวาคม 2439. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 13 (ตอน 37): หน้า 451. 13 ธันวาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย
- ↑ พระราชทานยศนายพันโท
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานยศจอมพล
- ↑ พระราชทานยศจอมพลเรือ
- ↑ พระราชทานยศนายกองเอกเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายกองตรีเสือป่า
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ผู้บัญชาการทหารเรือไทย (ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2463 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2465) |
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ||
นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) |
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย (รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ 29 มกราคม พ.ศ. 2444 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ |
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ||
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2444 — พ.ศ. 2453) |
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช | ||
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ((วาระที่ 2) 1 เมษายน พ.ศ. 2442 — 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444) |
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช | ||
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ((วาระที่ 1) 1 เมษายน พ.ศ. 2435 — 16 มีนาคม พ.ศ. 2439) |
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |