พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

ผู้กำกับภาพยนตร์

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ หรือ พระองค์ชายเล็ก (1 เมษายน พ.ศ. 2458 – 2 มกราคม พ.ศ. 2541)[4] เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมพระครรโภทรกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ประสูติเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ที่ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ขณะที่พระบิดาทรงรับราชการเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ มีพระเชษฐา 2 พระองค์[5] คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ1 เมษายน พ.ศ. 2458
พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์2 มกราคม พ.ศ. 2541 (82 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง11 เมษายน พ.ศ. 2541[1]
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
หม่อม
พระบุตร
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
ศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพไทย
ชั้นยศ พลโท[2]
พลเรือโท
พลอากาศโท [3]

พระประวัติ แก้

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ประสูติเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ณ พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม เป็นพระโอรสในนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาในจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) ซึ่งเป็นพระโสทรานุชาในรัชกาลที่ 5 มีพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ

การศึกษา แก้

ทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในยุคลที่หลวงปิยะวิทยาการ เป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาได้ประชวรเป็นพระโรคร้ายจนแทบเอาชีวิตไม่รอด จึงทรงต้องออกจากโรงเรียน พระบิดาทรงตั้งการสอนขึ้นที่พระตำหนักเขาน้อย จนกระทั่งพระบิดาทรงย้ายกลับเข้าพระนคร ประมาณปี พ.ศ. 2468 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ประมาณ 2-3 ปี จึงได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อพระชันษาเพียง 10 พรรษา และพอครบเกณฑ์เข้ารับดับมหาวิทยาลัยได้ทรงเข้าศึกษาที่ Birmingham University นอกจากนี้ยังได้ทรงศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ เพิ่มเติม คือ ฝึกการบินพลเรือนจนได้รับปีกวิทยฐานะ รุ่นที่ 26 และทรงฝึกอบรมหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัย รุ่นที่ 5 และในปี พ.ศ. 2490 ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารเพิ่มเติมในหลักสูตรพาหนะและการขนส่งทางทหาร ที่ Fort Eustis, Virginia. USA

สิ้นพระชนม์ แก้

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2541 ด้วยพระโรค พระหทัยล้มเหลว สิริพระชันษา 82 ปี 276 วัน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปพระราชทานนํ้าทรงพระศพ พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในการนี้พระราชทานโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ และในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]

การทรงงาน แก้

หลังจากเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษแล้ว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ได้เข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยได้รับพระราชทานพระยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2481 ประจำกรมพาหนะทหารบก ก่อนจะได้รับพระราชทานพระยศเป็น ร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482[6]และได้ทรงย้ายไปประจำการหลายแห่งด้วยกัน อาทิเช่น กรมสารวัตรทหารบก กรมทหารสื่อสารในตำแหน่งหัวหน้ากองการภาพ และทรงเป็นที่ปรึกษาสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นต้น และที่สุดครบเกษียณอายุราชการในขณะดำรงพระยศพันเอก สังกัดเหล่าทหารสื่อสาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานพระยศ พลตรี พลเรือตรี และพลอากาศตรี[7]

นอกจากนี้ยังทรงดำรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และ ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ อีกด้วย[8] และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ ให้พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ซึ่งได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณในฐานะผู้แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะอย่างสูงมาโดยตลอด และได้ทรงช่วยเหลือราชการแผ่นดิน เป็นผลดีแก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง เป็น พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป[9]

ความสนพระทัยและการทรงงานด้านภาพยนตร์ แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สนพระทัยด้านภาพยนตร์ ตั้งแต่พระชนมายุ 17-18 พรรษา ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงศึกษาฝึกงานละครที่อังกฤษและภาพยนตร์ที่ฮอลลีวู๊ด โดยทรงรับจ้างเกี่ยวกับงานละครของบริษัทอังกฤษ ชื่อ โกมองห์ บริติส ซึ่งเป็นงานกึ่งรับจ้างกึ่งเรียนในลักษณะฝึกงาน โดยทรงทำตั้งแต่งานเคลื่อนย้ายยกไฟเรื่อยมา จนสุดท้ายได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ (มีพระนามปรากฏในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับสองเรื่อง)[10] ทำให้ทรงรู้จักกับนักเขียนบทละครและดาราชื่อดัง คือ ไอเวอร์ โนเวลโล และเป็นผู้สนับสนุนให้พระองค์ทำหน้าที่คอลล์บอย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่ทำหน้าที่เรียกตัวละครมาเข้าฉาก ทำให้ทรงต้องอ่านบทละครจนจำได้อย่างแม่นยำจึงจะสามารถเรียกตัวละครได้ถูกต้อง ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์พื้นฐานด้านการละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ[11]

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ตัดสินพระทัยเสด็จกลับประเทศไทย ซึ่งนอกเหนือจากงานในหน้าที่ราชการทหารแล้ว ยังทรงทำละคร โดยทรงเริ่มต้นจากการเป็นที่ปรึกษาของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ซึ่งทรงทำละครอยู่หลายเรื่องด้วยกัน โดยเรื่องที่ทรงทำถวายพระนางเธอลักษมีลาวัณทั้งหมดด้วยพระองค์เอง คือเรื่อง สังข์ทอง โดยทรงนำมาแปลงเป็นเรื่องสั้นๆ สมัยใหม่เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ จากละครทรงย้ายไปผลิตผลงานด้านโทรทัศน์ ท้ายสุดได้ทรงก่อตั้ง บริษัทละโว้ภาพยนตร์ (Lavoa Motion Pic. Prod) สัญลักษณ์พระปรางค์สามยอด สร้างเรื่อง หนามยอกหนามบ่ง ของไม้เมืองเดิม เมื่อ พ.ศ. 2483 (เอกสารบางเล่ม กล่าวว่า พ.ศ. 2479)[12]โดยจะทรงเขียนบท ถ่ายทำ และล้างฟิล์มด้วยพระองค์เอง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาผู้สร้างยุคบุกเบิกและผู้นำความแปลกใหม่มาสู่วงการภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะยุคที่เปลี่ยนจาก 16 มม. มาเป็น 35 มม. มีภาพยนตร์เด่นหลายเรื่อง ได้แก่ นางทาษ, เงิน เงิน เงิน, อีแตน, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ แม่นาคพระนคร

ทรงได้รับรางวัลพิเศษ"ดาราทอง"เนื่องในงานภาพยนตร์แห่งชาติรางวัลพระสุรัสวดี ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2535 และการยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2539

ตำแหน่งท้ายสุดทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของมูลนิธิหนังไทย

ครอบครัว แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงเสกสมรสกับ หม่อมฟองจันทร์ ยุคล ณ อยุธยา[13] และ หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยมีโอรสธิดาดังนี้

ฟองจันทร์ ศิริวัติ แก้

ฟองจันทร์ ศิริวัติ หรือ เจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์ เชื้อสายจากตระกูล ณ เชียงใหม่ (นางงามเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2477) โดยมีพิธีแต่งงานแบบชาวเหนือ มีพิธีผูกข้อมือและบายศรีสู่ขวัญโดยเจ้าแก้วนวรัฐ[14][15] มีพระธิดา ได้แก่

  • ท่านหญิงจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงจันทรจรัสศรี ยุคล หรือ ท่านหญิงเล็ก (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ประพันธุ์ ไพบูลย์เลิศ
    • คัจฉพงศ์ ไพบูลย์เลิศ
    • สกลกาจ ไพบูลย์เลิศ
  • ท่านหญิงภุมรีภิรมย์ เชลล์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงภุมรีภิรมย์ ยุคล หรือ ท่านหญิงน้อย (ประสูติ 22 มีนาคม พ.ศ. 2482) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ โรมาโน ลุคโก และ ชอง มารี เชลล์
    • เกอาตอง ลุคโก
    • วาลีลี ลุคโก
    • อเล็กซานเดอร์ ลุคโก
    • ซาเวียร์ ลุคโก
    • ปิแอร์ ลุยจิ ลุคโก

หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ท.จ.ว. แก้

  • ท่านหญิงมาลินีมงคล อมาตยกุล พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงมาลินีมงคล ยุคล หรือ ท่านหญิงหยอย (24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ อรุณ อมาตยกุล
  • ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี ยุคล หรือ ท่านหญิงเม้า (ประสูติ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
    • ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์
    • ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์
    • ปัทมวดี เสนาณรงค์
  • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านชายมุ้ย (ประสูติ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) เสกสมรสกับศริยา บุษปวณิช มีหม่อม คือ วิยะดา อุมารินทร์, ภรณี เจตสมมา และหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
    • หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงนุ้ย ในหม่อมศริยา
    • หม่อมราชวงศ์เดชาเฉลิม ยุคล ในหม่อมศริยา
    • หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล หรือ คุณชายเอี่ยว ในหม่อมวิยะดา
    • หม่อมราชวงศ์สุทธิภาณี ยุคล ในหม่อมภรณี
    • หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม ในหม่อมกมลา
    • หม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล หรือ คุณหญิงแมงมุม ในหม่อมกมลา
  • พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หรือ ท่านชายใหม่ (ประสูติ 22 มกราคม พ.ศ. 2490) เสกสมรสครั้งแรกกับ หม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา (เสนาลักษณ์) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 12 พ.ค. 2532)
    • หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล หรือ คุณชายเหมา ในหม่อมศิริพร
    • หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงแอร์ ในหม่อมศิริพร
และเสกสมรสครั้งที่สองกับ หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา (ขัติยสุรินทร์) (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)

ผลงาน แก้

ภาพยนตร์ แก้

ละโว้ภาพยนตร์

หนังเงียบขาวดำ 35 มม.

หนังสี 16 มม.พากย์

หนังสี 35 มม.ไวด์สกรีน เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

  • 2500: ปักธงไชย - บทพระนิพนธ์ บทภาพยนตร์ และลำดับภาพ (พระนามแฝง ล.อัศวดารา )
  • 2502: เชลยศักดิ์ - บทภาพยนตร์ และลำดับภาพ รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2502 (ออกแบบและสร้างฉาก)
  • 2505: นางทาษ - บทภาพยนตร์ กำกับการแสดง และอำนวยการสร้าง รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2506 (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้แสดงประกอบหญิง บทประพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย)

หนังสี 35 มม. ซูเปอร์ซีเนสโคป เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

  • 2508: เงิน เงิน เงิน / Money,Money,Money - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของละโว้และของมิตร-เพชรา ครั้งแรกของหนังไทยแนวรีวิวเพลงหลากหลายตลอดเรื่อง รวมดารามากที่สุด ความยาวเกือบ 200 นาที มากที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างกันมาและครั้งแรกที่มีแนวคิดล้ำยุคล้อเลียนการใช้คอมพิวเตอร์สำนักงานซึ่งยังไม่มีใช้กันแพร่หลายในเมืองไทยขณะนั้น รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2508 เพลงประกอบ และโล่เกียรตินิยมคู่ดารานำที่ทำรายได้มากที่สุด) คำขวัญ "เพลงพราว ดาวพรู ดูเพลิน"
  • 2511: อีแตน / Miss Tan - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (เรื่องแรกของ อรัญญา นามวงศ์ ในฐานะดารานำ และหนังไทยที่นำเสนอการแสดงชายแต่งหญิง หญิงแต่งชายก่อนแนวคาบาเร่ต์โชว์เป็นที่รู้จักทั่วไปในเวลาต่อมา) คำขวัญ "ดาราเยอะแยะ หัวใจเฮาะแฮะ"
  • 2512: เกาะสวาทหาดสวรรค์ / Paradise Island - บทพระนิพนธ์ กำกับการแสดง ลำดับภาพ และคามีโอ (cameo) บทนักกีต้าร์ ร่วมกับ สง่า อารัมภีร คำขวัญ "หวานชื่น ครื้นเครง เพลงเพราะ"
  • 2513: แม่นาคพระนคร / Bangkokian Ghostly Love Story - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังไทยลงทุนเทคนิคพิเศษ "ทริค" โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และให้ข่าวว่าพิมพ์สีเทคนิค เรื่องแรกของเมืองไทย, เรื่องสุดท้ายของ กิ่งดาว ดารณี)
  • 2513: ฟ้าคะนอง - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (ภาวนา ชนะจิต แสดงหนัง 35 มม.เรื่องแรก) คำขวัญ "ใหม่ที่สุด แปลกที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด"
  • 2514: วิวาห์พาฝัน / Marriage Thai Style - บทพระนิพนธ์และกำกับการแสดง (รัชนก ณ เชียงใหม่ สาวประเภทสองชื่อดังเป็นคามิโอครั้งแรกครั้งเดียวบนจอเงิน) คำขวัญ "ครื้นเครง เพลงมาก ดูไม่ยาก สบายตา"
  • 2514: มันมากับความมืด - องค์ที่ปรึษา และดาราเกียรติยศ (ครั้งแรกของหนังไซไฟสิ่งมีชีวิตผสมเครื่องจักรกลจากอวกาศและการถ่ายภาพใต้ทะเลในหนังไทย หุ่นสัตว์ประหลาดสั่งจากฮอลลีวู้ด เทคนิคพิเศษโดยทีมงานไทย) คำขวัญ "ตื่นตา มาใหม่ ไม่เหมือนใคร ในปี 2515" (ฉายปลายปี 2514)
  • 2515: บุหงาหน้าฝน - องค์ที่ปรึกษา
  • 2515: เพชรตาแมว - ผู้อำนวยการสร้าง
  • 2516: เขาชื่อกานต์/ Doctor Kan - องค์ที่ปรึกษา ภาพยนตร์ตีแผ่ปัญหาสังคมทำรายได้สูงและการกล่าวขวัญทั่วไปอย่างกว้างขวาง
  • 2516: แหวนทองเหลือง / Brass Ring - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังไทยเรื่องแรกที่ให้ข่าวว่าฉายระบบวิสต้าวิชั่น และมีพักครึ่งเวลาแบบหนังใหญ่ฮอลลีวู้ด รวมทั้งยังเป็นหนังเรื่องแรกของโลกที่เอาไตเติ้ลไปอยู่ช่วงพัก)

สหมงคลฟิล์ม - ละโว้ภาพยนตร์

หนังสี 35 มม. ซีเนมาสโคป เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

พร้อมมิตรภาพยนตร์ (พร้อมมิตรโปรดักชั่น )

หนังสี 35 มม. ไวด์สกรีน ซาวออนฟิล์ม

หนังสือ แก้

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้าหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ดังนี้

พระยศ แก้

พระยศทางทหาร แก้

  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: นายร้อยตรี[26]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2497: ร้อยเอก[27]
  • 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498: พันตรี[28]
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508: พันโท[29]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "ข่าวในพระราชสำนัก [10-15 เมษายน 2541" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (34 ง): 184. 28 เมษายน 2541. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชทานยศพลโท
  3. [1]
  4. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  5. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์"วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  6. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 407)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารและแต่งตั้งให้ทรงเป็นนายทหารพิเศษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/033/5.PDF
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารและแต่งตั้งให้ทรงเป็นนายทหารพิเศษ 14 กุมภาพันธ์ 2535http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/033/5.PDF
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/005/2.PDF
  10. คำประกาศเกียรติคุณ พลโท พระเจ้าวรวงเธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ศิลปินแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ 2539
  11. พระประวัติและผลงาน พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงhttp://book.culture.go.th/artist/artist2539/mobile/index.html#p=41
  12. โดม สุขวงศ์ ,ประวัติภาพยนตร์ไทย ,องค์การค้าของคุรุสภา, 2533 ISBN 974-005-244-4 หน้า 34
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
  14. พิมาน แจ่มจรัส. รักในราชสำนัก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2544. 448 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-341-064-3
  15. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  16. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 33 เล่ม 89 ตอนที่ 202, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2515
  17. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 1 เล่ม 113 ตอนที่ 7 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน 4,524 ราย) เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 113 ตอน 22 ข 4 ธันวาคม พ.ศ. 2539 หน้า 8
  19. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ หน้า 16 เล่ม 109 ตอนที่ 154, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2535
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ฉบับพิเศษ หน้า 8 เล่ม 108 ตอนที่ 139, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2534
  21. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ หน้า 18 เล่ม 114 ตอนที่ 29 ข, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2540
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/122/523.PDF
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 41, ตอน 0 ง, 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467, หน้า 2420
  24. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 4299 วันที่ 6 มีนาคม 2469http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/4298.PDF
  25. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า 1011 เล่ม 71 ตอนที่ 17, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
  26. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  27. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  28. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  29. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร


แหล่งข้อมูลอื่น แก้