หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๑ (20 เมษายน พ.ศ. 2454 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 เขาเป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และเป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13 (ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518–2519)
คึกฤทธิ์ ปราโมช | |
---|---|
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน พ.ศ. 2517 ขณะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ศิริ สิริโยธิน |
ถัดไป | ประภาศน์ อวยชัย |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | ประมาณ อดิเรกสาร ทวิช กลิ่นประทุม บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ถัดไป | ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช |
หัวหน้าพรรคก้าวหน้า | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2488 – 6 เมษายน พ.ศ. 2489 | |
หัวหน้าพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2525 – 22 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
ถัดไป | สิทธิ เศวตศิลา |
ดำรงตำแหน่ง 2 กันยายน พ.ศ. 2533 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | สิทธิ เศวตศิลา |
ถัดไป | มนตรี พงษ์พานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (84 ปี) โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ก้าวหน้า (2488–2489) ประชาธิปัตย์ (2489–2491) กิจสังคม (2518–2534) |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ (แยกกันอยู่) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (พี่ชาย) |
พระราชทานเพลิง | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[1] |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2486-2538 |
ยศ | พลตรี[2] นายกองใหญ่[3] |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ปลาย พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมเสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก[4] โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน[5][6][7] และคัดค้าน[8] ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554 โดยได้รับการประกาศพร้อมกันกับเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งได้รับในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2553[9]
ประวัติ
แก้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง ปราโมช ณ อยุธยา ชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้นมาจากการที่ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เขาสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น
ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เคยรับบทเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศสารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อ พ.ศ. 2526
ระหว่างการเล่นการเมือง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอายุ จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้ อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"
ในด้านวรรณศิลป์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง
การศึกษา
แก้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้าน กับหม่อมราชวงศ์บุญรับ พี่สาวคนโต จนอ่านภาษาไทยได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2458 เขาจึงเข้าศึกษาภาคบังคับ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนต์วิทยาลัย (Trent College) จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยควีนส์ (The Queen's College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เพื่อศึกษาวิชาการปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และอีกสามปีต่อมา ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 84 ปี 172 วัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1] แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อต่อยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขา การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20
ผลงานประพันธ์
แก้นวนิยาย
แก้- สี่แผ่นดิน ( ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ และละครเวที)
- ไผ่แดง (ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
- กาเหว่าที่บางเพลง ( ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
- ซูสีไทเฮา
- สามก๊กฉบับนายทุน
- ราโชมอน
- ฮวนนั้ง
- โจโฉ นายกตลอดกาล
รวมเรื่องสั้น
แก้สารคดี
แก้- ฉากญี่ปุ่น
- ยิว
- เจ้าโลก
- สงครามผิว
- คนของโลก
- ชมสวน
- ธรรมคดี
- น้ำพริก
- ฝรั่งศักดินา
- สรรพสัตว์
- สัพเพเหระคดี
- ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
- โครงกระดูกในตู้
- พม่าเสียเมือง
- ถกเขมร
- เก็บเล็กผสมน้อย
- เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น
- เมืองมายา
- เรื่องขำขัน
- โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล
- กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้
- คนรักหมา
- ตลาดนัด
- นิกายเซน
- บันเทิงเริงรมย์
- วัยรุ่น
- สงครามเย็น
- อโรคยา
- สยามเมืองยิ้ม
- ห้วงมหรรณพ
- ขุนช้าง ขุนแผน ฉบับอ่านใหม่
บทละครเวที
แก้การทำงาน
แก้บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- รับราชการที่กรมสรรพากร
- เลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
- ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาลำปาง (พ.ศ. 2478-2486)
- รับราชการทหาร (เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับยศ สิบตรี)
- หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ
- เขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู"
- อาจารย์พิเศษของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2528
- พ.ศ. 2531 เขาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)
บทบาททางการเมือง
แก้- พ.ศ. 2488-2489 เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อ "พรรคก้าวหน้า"
- พ.ศ. 2489 ได้ร่วมในคณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก
- พ.ศ. 2490-2491 เป็น รัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวงในรัฐบาล พันตรี ควง อภัยวงศ์ ใน คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 19 และ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 20
- พ.ศ. 2491 - 2492 เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ใน คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 21
- พ.ศ. 2516 เขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[10] และได้รับเลือกเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2517 ได้จัดตั้งพรรคกิจสังคมและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นคนแรก
- ใน พ.ศ. 2518 เขาได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- ใน พ.ศ. 2519 เขาได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร บริหารประเทศประมาณ 9 เดือน
ผลงานที่สำคัญ
แก้บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ตัดขาดความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลมาเป็นเวลานาน
รางวัลและเกียรติยศ
แก้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ดังนี้
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวรรณศิลป์[16]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2530 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[17]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2537 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 2[18]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องอิสริยาภรณ์เล็ทวล นัวร์ ชั้นที่ 2[18]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นทวีติยาภรณ์[18]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นทวีติยาภรณ์[18]
- ลักเซมเบิร์ก
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟแห่งนัสซอ ชั้นที่ 2[18]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยาง อมาตย์ มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 1[18]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[19]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 2[18]
- สเปน :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นมหากางเขน[18]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน[18]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2518 - เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย[20]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2525 - เครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ ชั้นประถมาภรณ์
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ชั้นอธิประธานา[19]
ยศ
แก้ยศทางทหาร
แก้- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2531 : พลตรี[21]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[22][23] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวในพระราชสำนัก เล่ม 113 ตอนที่ 4 ง หน้า 137 11 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชทานยศพลตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
- ↑ 3.0 3.1 ประกาศราชโองการรับตำแหน่งนายกองใหญ่
- ↑ วธ.เสนอยูเนสโก"คึกฤทธิ์"บุคคลดีเด่นโลกปี54 เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สยามรัฐออนไลน์, 16 ธ.ค. 2551
- ↑ บทบรรณาธิการ / มหาคุรุ–คึกฤทธิ์ เก็บถาวร 2007-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
- ↑ กองบรรณาธิการ, คึกฤทธิ์คนสำคัญของโลก เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คอลัมน์ บังอบายเบิกฟ้า, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 4 ม.ค. 2552
- ↑ ชนิตร ภู่กาญจน์, เบื้องหน้า-เบื้องหลัง เสนอชื่อ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบุคคลสำคัญของโลก (สกู๊ปพิเศษ) เก็บถาวร 2009-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หนังสือพิมพ์แนวหน้า, 25 ธ.ค. 2551
- ↑ ‘ส.ศิวรักษ์’ ค้านเสนอ ‘ยูเนสโก’ ให้ ‘คึกฤทธิ์’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก, หนังสือพิมพ์ประชาไท, 9 ม.ค. 2552
- ↑ "ด่วน!! ยูเนสโก ยกย่อง "หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์–ครูเอื้อ" เป็นบุคคลสำคัญของโลกแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2009-10-24.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๒ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๗, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๒๓ ง หน้า ๗๕๕๗, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 18.7 18.8 อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ ที่ 23 ธันวาคม พุทธศักราช 2538. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2538.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชเครื่องแบบพลตรีแห่งกองทัพบก ปกติกากีแกมเขียวคอพับแขนยาว
- ↑ Philippines ~ Thailand 1975
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ [จำนวน ๓ ราย]
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค. เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ "หลวงอัครเทพฯ ทวิภพ ที่แท้ "ปู่ทวด" นีโน่!!" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 18 สิงหาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- ชีวประวัติ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
- ตัวอย่างภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา (2526) เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519) |
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | ||
พลตรี ศิริ สิริโยธิน | ประธานรัฐสภา (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) (29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517) |
ประภาศน์ อวยชัย | ||
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519) |
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |