สัญญา ธรรมศักดิ์

อดีตประธานองคมนตรีไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ น.ร. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๑ (5 เมษายน พ.ศ. 2450 – 6 มกราคม พ.ศ. 2545) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ[1],ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[2] ปลัดกระทรวงยุติธรรม[3]รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 12 และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

สัญญา ธรรมศักดิ์
สัญญา ใน พ.ศ. 2517
ประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541
(22 ปี 273 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ถัดไปเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(1 ปี 123 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ประกอบ หุตะสิงห์
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2514 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(2 ปี 198 วัน)
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปอดุล วิเชียรเจริญ (รักษาการ)
ประธานศาลฎีกา คนที่ 15
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510
(4 ปี 0 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าประวัติ ปัตตพงศ์
ถัดไปประกอบ หุตะสิงห์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สัญญา

5 เมษายน พ.ศ. 2450
อำเภอบางกอกใหญ่ เมืองธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 มกราคม พ.ศ. 2545 (94 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสพงา เพ็ญชาติ (เสียชีวิต)
บุตร
  • ชาติศักดิ์
  • จักรธรรม
บุพการี
  • พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) (บิดา)
  • คุณหญิงธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ชื้น ธรรมศักดิ์) (มารดา)
ศิษย์เก่า
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

ประวัติและครอบครัว แก้

สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 3 คน บิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) มารดาชื่อ คุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี สมรสกับ ท่านผู้หญิง พงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ และจักรธรรม ธรรมศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

การศึกษา แก้

  • เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อ พ.ศ. 2456 จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์) พ.ศ. 2468
  • เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา 3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471
  • สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียน "รพีบุญนิธิ" พ.ศ. 2472 ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) เป็นเวลา 3 ปี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-Law) เมื่อ พ.ศ. 2475
 
ข้าราชการกองล่าง กระทรวงยุติธรรม ถ่ายประมาณปี พ.ศ.2470-2472 แถวบนสุดจากซ้ายคนที่สอง คือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์

การทำงาน แก้

การดำรงตำแหน่งองคมนตรี แก้

สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511[4] เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เขากราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาหลังจากท่านพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ อีก 11 คน[5] ต่อมา หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 ตำแหน่งประธานองคมนตรีจึงว่างลง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518[6] เขาดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนถึงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 จึงพ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี โดยท่านขอลาออกเองเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[7] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานองคมนตรีสืบมา

การดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แก้

สัญญาได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2511[8]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แก้

สัญญาได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[9] เวลา 19.00 น. ในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากถวายบังคมลาออกของจอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองคมนตรีอยู่ หลังจากได้มีประกาศแต่งตั้งไป กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้โห่ร้องด้วยความดีใจ แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ และการปะทะกันก็ยังต่อเนื่องอยู่ ในเวลา 23.15 น. ท่านได้กล่าวคำปราศรัยจากหอพระสมุด ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า

พี่น้องชาวไทย นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย ด้วยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในวันนี้ให้ข้าพเจ้าเข้ารับภาระหน้าที่อันหนัก เป็นนายกรัฐมนตรีแม้จะเป็นระยะเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ดี ข้าพเจ้าก็รับพระบารมีใส่เกล้าฯ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจะทำงานโดยเต็มสติกำลังความสามารถ ในชั้นแรกและที่เป็นการด่วนอย่างยิ่งในวันนี้ก็คือข้าพเจ้าขอร้องให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ทั้งที่เป็นทหารตำรวจ นิสิต นักศึกษา และประชาชนขอให้รักษาความสงบเรียบร้อยโดยพลัน ทั้งนี้เพื่อประชาชนและเพื่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของเรา ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และข้าพเจ้าคาดคิดว่าไม่ควรจะเกิน 6 เดือน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณธรรมความสามารถความซื่อสัตย์สุจริตประกอบเข้าเป็นคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้ ขอให้ท่านข้าราชการประจำทุกท่าน ไม่ว่าในตำแหน่งใดได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่านมีอยู่ในปัจจุบันต่อไปตามเดิมทุกประการ

จากนั้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. สัญญาได้นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลท่านพระครู" เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ธรรมะธรรมโม และแม้ได้เข้ามาบริหารราชการแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในประเทศยังคงระอุอยู่ เพราะเหตุความวุ่นวายต่าง ๆ และรัฐบาลเสนอกฎหมายผ่านสภาถึง 3 ฉบับ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "รัฐบาลมะเขือเผา" จนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เขาได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติ เห็นชอบให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิมในวันที่ 28 พฤษภาคม[10] จนกระทั่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจากการเลือกตั้ง เขาจึงได้พ้นวาระไป

ผลงานทางวิชาการ แก้

  1. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วน – บริษัท (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  2. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  3. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2526. (ซึ่งศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ได้เป็น ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มเติมจากฉบับ คำบรรยายของนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
  4. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.
  5. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 1 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  6. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 2 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  7. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 ถึงภาค 3 มาตรา 1 - 171 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  8. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 ถึงภาค 7 มาตรา 172 - 267 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  9. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์, 2516. (บันทึกคำอธิบายโดยย่อของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งบรรยายแก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปี 2 สมัยการศึกษา 2514)
  10. รายงานการร่วมประชุมสัมมนาของสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม, 2503.
  11. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ 14 ตุลาคม’ 16. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม, 2534.
  12. หนทางสู่ความสำเร็จของนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2534.
  13. การอภิปรายเรื่องคุณค่าของวิชากฎหมาย, บทบัณฑิตย์. 26 (1 – 2 ) : 49-84. (พฤษภาคม, 2512)
  14. ความสำเร็จในชีวิต, ดุลพาห. 38 (1) : 49-66. (มกราคม - กุมภาพันธ์, 2534)
  15. คำชี้แจงความเข้าใจในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499, ดุลพาห. 38 (1) : 13-39. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  16. คำแถลงการณ์วิธีการออกหนังสือนิตยสารกระทรวงยุติธรรม, ดุลพาห. 38 (1) : 11-12. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  17. คำบรรยายเรื่องลักษณะของเจ้าของศาลตามหลักวิชาการ, ดุลพาห. 38 (1) : 40-48. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  18. คำอำลาของอดีตประมุขตุลาการ, บทบัณฑิตย์. 25 (1) : 7-10. (มกราคม, 2511)
  19. พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงต่อวงการกฎหมาย, บทบัณฑิตย์. (ช52 (2) : 78. (มิถุนายน, 2539)
  20. รวมโอวาทสำหรับตุลาการ, ดุลพาห. 38 (2) : 88-100. (มีนาคม – เมษายน, 2534)
  21. ลักษณะของห้องพิจารณาของศาล, ดุลพาห 1 (4) : 2-13. (กรกฎาคม, 2497)
  22. สนทนากับนักกฎหมาย, วารสารกฎหมาย. 3 (2) : 84-90. (พฤษภาคม – สิงหาคม, 2520)
  23. เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, บทบัณฑิตย์. 32 (2) : 169-171. (2518)

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

สัญญาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 94 ปี 276 วัน เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม[11] และวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานเพลิงศพ พร้อมกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ[13] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองแต่งตั้ง กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง แต่งตั้งปลัดกระทรวงยุติธรรม
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๘๕, ตอน ๕๕ ก ฉบับพิเศษ, ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๙๒, ตอน ๗๐, ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, เล่ม ๙๒, ตอน ๒๕๒ ก ฉบับพิเศษ, ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, เล่ม ๑๑๕, ตอนพิเศษ ๙๗ ง, ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑
  8. "ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสัญญา ธรรมศักดิ์)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สมัยที่ ๒)
  11. "ข่าวในพระราชสำนัก [2-11 มกราคม 2545]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (34ง): 162. 25 Apr 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2021.
  12. "ข่าวในพระราชสำนัก [16-21 กันยายน 2545]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (104ง): 134. 26 Dec 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2021.
  13. "นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 12". thaigov รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๗๒, ๗ มิถุนายน ๒๕๓๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๕, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง แก้

ก่อนหน้า สัญญา ธรรมศักดิ์ ถัดไป
ถนอม กิตติขจร    
นายกรัฐมนตรีไทย
(14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518)
  หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประวัติ ปัตตพงศ์   ประธานศาลฎีกา
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510)
  ประกอบ หุตะสิงห์
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์   ประธานองคมนตรี
(5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541)
  เปรม ติณสูลานนท์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์    
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(1 เมษายน พ.ศ. 2514 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
  อดุล วิเชียรเจริญ (รักษาการ)