คณะองคมนตรีไทย

ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์

คณะองคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ไทย องคมนตรีตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด จะต้องมีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 18 คน ประธานองคมนตรีคนปัจจุบันคือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด สำนักงานองคมนตรีอยู่ที่ทำเนียบองคมนตรี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[1]

คณะองคมนตรีไทย
ตราประจำคณะองคมนตรีไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417
เขตอำนาจไทย
สำนักงานใหญ่สำนักงานองคมนตรี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์คณะองคมนตรีไทย

ประวัติ

คณะองคมนตรีชุดแรกในสยามได้รับการตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2417 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการศึกษาจากชาวตะวันตก จึงลอกเลียนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป ในตอนแรกพระองค์ตั้งสภา 2 สภา คือปรีวีเคาน์ซิล (สมาชิก 49 องค์/คน) และสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (สมาชิก 12 คน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐมนตรีสภา) มีการจัดตั้งปรีวีเคาน์ซิลขึ้นเพื่อจัดการกับกิจการด้านนิติบัญญัติ ในขณะที่สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินหรือรัฐมนตรีสภากลายเป็นจุดกำเนิดของคณะรัฐมนตรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงแต่งตั้งพระเชษฐาและพระอนุชารวมถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวน 40 พระองค์/คน เป็นสภากรรมการองคมนตรี ตลอดระยะเวลา 15 ปีในรัชสมัย พระองค์จะพระราชทานสัญญาบัตรและตราตั้งให้แก่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่เป็นองคมนตรีในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลในวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468 คณะองคมนตรีประกอบด้วยสมาชิกจำนวนถึง 233 คน

ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น 3 องค์กร คือ อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา และสภากรรมการองคมนตรี โดยอภิรัฐมนตรีสภาก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวน 5 พระองค์ ซึ่งทรงเคยรับราชการตำแหน่งสำคัญในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎรพร้อมด้วยกลุ่มนายทหารชั้นผู้น้อยได้เข้ายึดอำนาจในกรุงเทพมหานคร พวกเขายกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เปลี่ยนสยามเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวสยาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญ "ชั่วคราว" เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และฉบับถาวรในวันที่ 10 ธันวาคม คณะราษฎรออกพระราชบัญญัติยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภาและองคมนตรี พวกเขาแทนที่เสนาบดีสภาด้วยคณะกรรมการราษฎร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา รวมทั้งปฏิบัติภารกิจตามที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนดหรือทรงมอบหมาย การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

องคมนตรีเป็นข้าราชการในพระองค์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560[2] และต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการในพระองค์ตำแหน่งอื่นนอกจากองคมนตรี พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

คณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง ด้านถนนสนามไชย โดยมีสำนักงานองคมนตรี ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ คอยสนับสนุนภารกิจขององคมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมหากษัตริย์ และการอื่นตามพระราชอัธยาศัย

คณะองคมนตรีในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามพระราชอัธยาศัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 11 วรรคสาม ระบุให้ประธานองคมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น แต่พบว่าไม่มีการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี ในพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี 3 คน คือ พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์, เกษม จันทร์แก้ว และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3]

คณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน

ลำดับ รูป รายนาม วาระ ตำแหน่งสำคัญอื่น ประวัติการทำงาน
1.   พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• รองประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช คนที่ 1
• กรรมการสภากาชาดไทย
• ประธานกรรมการมูลนิธิพระดาบส
• รองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
• กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิพระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
• ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
• รองประธานกรรมการโครงการกองทุนการศึกษา
• ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการพระดาบสจังหวัดชายแดนภาคใต้
• ประธานคณะกรรมการดำเนินการ โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้”
• นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
• กรรมการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
• ประธานที่ปรึกษาสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
• ฯลฯ
2.   เกษม วัฒนชัย 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ประธานกรรมการแผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
• นายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย
• ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
• ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
• กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
• ประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
• รองประธานกรรมการมูลนิธิพระดาบส
• นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ประธานที่ปรึกษามูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง
• กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิจุฬาภรณ์
• ประธานกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
• กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
• ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ
• กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
• ฯลฯ
3.   พลากร สุวรรณรัฐ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา
• นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[6]
• ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• รองประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช คนที่ 2
• ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคเหนือ
4.   อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• รองประธานกรรมการมูลนิธิปกเกล้าตุลาการ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
• ประธานกรรมการมูลนิธิเพชรรัตน - สุวัทนา
  • อดีตประธานศาลฎีกา
  • อดีตประธานศาลอุทธรณ์
  • อดีตกรรมการกฤษฎีกา
  • อดีตประธานสมาคมกฎหมายอาเซียน
5.   ศุภชัย ภู่งาม 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
  • อดีตประธานศาลฎีกา
  • อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3
6.   พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส
• ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
• รองประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาในคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระดาบสจังหวัดชายแดนภาคใต้
• ประธานมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ
• ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง
  • อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • อดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 1
  • อดีตรองประธานและอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
7.   พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการโครงการกองทุนการศึกษา
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • อดีตแม่ทัพภาคที่ 1
  • อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
  • อดีตหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
8.   พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
• กรรมการและเลขธิการโครงการกองทุนการศึกษา
• กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
9.   จรัลธาดา กรรณสูต 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง
• ประธานกรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• รองประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
• รองประธานคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10.   พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[6]
• กรรมการมูลนิธิโครงการหลวง
• กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
11.   พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560 [7] – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[6]
• กรรมการมูลนิธิโครงการหลวง
• กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
12.   จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิพระดาบส
• กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
• กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา
• กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์
• กรรมการศิริราชมูลนิธิ
• นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
• กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
• กรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนว พระราชดำริ
• กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
13.   อำพน กิตติอำพน 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

• รองประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

14.   พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
  • อดีตผู้บัญชาการทหารบก
  • อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • อดีตผู้อำนวยการกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย
  • อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • กรรมการธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
15.   พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
  • อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • อดีตเสนาธิการทหารอากาศ
  • อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน
16.   นุรักษ์ มาประณีต 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน • กรรมการโครงการกองทุนการศึกษา [8]
17.   เกษม จันทร์แก้ว 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
18.   พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
  • อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • อดีตแม่ทัพภาคที่ 1
  • อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • อดีตแม่ทัพน้อยที่ 1
19.   พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

ประธานองคมนตรี

ลำดับ รูป รายพระนาม/รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492
8 เมษายน พ.ศ. 2495
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2511
14 ธันวาคม พ.ศ. 2515
25 มีนาคม พ.ศ. 2493
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
20 มิถุนายน พ.ศ. 2511
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
8 กันยายน พ.ศ. 2517
ได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นทิพยลาภพฤฒิยากร เมื่อ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
2   พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2495
3   พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ 13 มีนาคม พ.ศ. 2494 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495
-   เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
ดำรงตำแหน่งเป็นการชั่วคราว
4   หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 8 กันยายน พ.ศ. 2518 พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุถึงแก่อสัญกรรม
5   สัญญา ธรรมศักดิ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 4 กันยายน พ.ศ. 2541 พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุลาออก
6

(1)

  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
-   ธานินทร์ กรัยวิเชียร 14 ตุลาคม 2559 2 ธันวาคม 2559 ดำรงตำแหน่งเป็นการชั่วคราว
6

(2)

  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุถึงแก่อสัญกรรม
-   พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 1 มกราคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการประธานองคมนตรี
7   พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ͧ?????? - Privy Councillor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๕๑ ก หน้า ๑-๘ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐
  3. "'ประชาไท' ส่งจม.ถาม 'สุรยุทธ์' ปมไม่ปรากฏชื่อลงนามรับสนองฯ ตั้ง 'ประยุทธ์' เป็นองคมนตรี และ 2 คนก่อน". ประชาไท. 22 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการประธานองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง หน้า ๑ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  6. 6.0 6.1 6.2 พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายกมูลนิธิ และคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔, ตอนพิเศษ ๓๐๔ง, ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
  7. พระราชโองการ แต่งตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๕๔ ง พิเศษ หน้า ๑ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐
  8. ประวัติของนายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • ธงทอง จันทรางศุ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) พระมหากษัตริย์, สถาบันพระปกเกล้า, พ.ศ. 2544, หน้า 13–17 ISBN 974-008-579-2.
  • จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. ISBN 978-974-7362-09-1.
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๕๐), หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
  • วิมลรักษ์ ศานติธรรม. "คณะองคมนตรี". ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.

เว็บไซต์