ประชาไท

หนังสือพิมพ์ออนไลน์ภาษาไทย

ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 โดย จอน อึ๊งภากรณ์[2] นำเสนอข่าวสารทั่วไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน บทสัมภาษณ์และข้อเขียนของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้อำนวยการปัจจุบันคือ จีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการคือ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข[3] และบรรณาธิการบริหารคือ เทวฤทธิ์ มณีฉาย[4]

ประชาไท
คําขวัญสื่ออิสระที่วางใจได้เพื่อประชาธิปไตย[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2547
ผู้ก่อตั้งจอน อึ๊งภากรณ์
ประเภทองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
สถานะตามกฎหมายองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
ที่ตั้ง
  • กรุงเทพ, ประเทศไทย
ผู้จัดการทั่วไป
พงพัน ชุ่มใจ
หัวหน้าบรรณาธิการ
ทีวริต มณีชัย
เว็บไซต์prachatai.com

ประชาไท (เฉพาะ prachathai.com) เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3,889 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซา[5]

ประวัติ

แก้

ประชาไทริเริ่มโดยแนวคิดของ จอน อึ๊งภากรณ์ ซึ่งต้องการทำสื่อที่เป็นอิสระไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานภาครัฐ หลังจากได้เห็นตัวอย่างสื่อในประเทศฟิลิปปินส์ ชื่อ มินดานิวส์ จอนจึงเริ่ม โครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในภายหลังยังได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ และ Open Society Institue[3]

ประชาไทเริ่มเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ครั้งแรกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2547[3]

ในระยะเริ่มต้นประชาไทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ คณะบุคคล ร่วมดำเนินโครงการวารสารข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสุขภาวะของชุมชน ในภายหลังได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน" มีนายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็นประธานมูลนิธิ

ชื่อประชาไทในภาษาไทยมักถูกสะกดผิดเป็น "ประชาไทย"[6] ส่วนชื่อในภาษาอังกฤษใช้ว่า "Prachatai"

ส่วนต่าง ๆ

แก้
  • บล็อกกาซีน ข้อเขียนจากคอลันนิสต์และบล็อกเกอร์ต่าง ๆ
  • ประชาไทใส่เสียง เล่าข่าวทางวิทยุออนไลน์
  • บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา รายการโทรทัศน์ออนไลน์
  • Prachatai English (ประชาไทฟุดฟิด) ข่าวฉบับภาษาอังกฤษ
  • นักข่าวพเนจร รายงานข่าวโดยประชาชน (ผู้สื่อข่าวพลเมือง)

บุคคลแห่งปี

แก้

เว็บไซต์ประชาไทตีพิมพ์รายงานพิเศษที่เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 2559

ปี ผู้ที่ได้รับ ผู้ที่ได้รับการพิจารณา อ้างอิง
2559 นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ พลทหารวิเชียร เผือกสม - [7]
2560 ‘กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ’
บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ผู้ผลักดันหลักประกันสุขภาพ
- [8]
2561 RAP AGAINST DICTATORSHIP [9]
2562 'กลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมือง'


สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือ ”สหายภูชนะ” และ ไกรเดช ลือเลิศ หรือ “สหายกาสะลอง”
สยาม ธีรวุฒิ หรือ สหายข้าวเหนียวมะม่วง ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ หรือ ลุงสนามหลวง และกฤษณะ ทัพไทย หรือ สหายยังบลัด
วงไฟเย็น ประกอบด้วย ไตรรงค์ สินสืบผล หรือ ขุนทอง นิธิวัต วรรณศิริ หรือ จอม ปริญญา ชีวินกุลปฐม หรือ พอร์ท รมย์ชลี สมบูรณ์รัตนกูล หรือ แยม
จรรยา ยิ้มประเสริฐ จรัล ดิษฐาอภิชัย และอั้ม เนโกะ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

- [10]
2563 ทิวากร วิถีตน ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' [11]
2564 "ป้าเป้า" วรวรรณ แซ่อั้ง ม้าอารีแนวหน้าของเหล่าเยาวรุ่นกับวีรกรรมสุดต๊าชชชช
  • เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์
  • ขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
  • ทะลุแก๊ซ หรือทะลุแก๊ส
  • ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
[12]


เว็บบอร์ดประชาไท

แก้

เว็บบอร์ดประชาไท เป็นพื้นที่แยกต่างหากจากหนังสือพิมพ์ประชาไท ที่ www.prachataiwebboard.com เปิดเพื่อให้สาธารณะแลกเปลี่ยนกันเรื่องสังคมและการเมือง[13]

เว็บบอร์ดประชาไทปิดตัวลงเมื่อ 31 กรกฎาคม 2553 โดยจีรนุช เปรมชัยพร ให้เหตุผลในจดหมายถึงผู้อ่านและสมาชิกเว็บบอร์ดว่าเป็นเพราะสถานการณ์การจับกุมผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นในพื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวจากข้อกล่าวหา “เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ” ด้วยพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายอาญามาตรา 112[14]

ทุนสนับสนุน

แก้

ตลอดการดำเนินงาน ประชาไทได้แจ้งบนเว็บไซต์ว่าได้รับเงินบริจาคจากหลายแหล่ง[15] สำนักข่าวอิศราอ้างว่า ประชาไทได้รับเงินบริจาคส่วนหนึ่งจากกองทุนเงินบริจาคเพื่อประชาธิปไตย (National Endowment for Democracy) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ[16] นอกจากนี้ ยังรับเงินบริจาคจากมูลนิธิโอเพนโซไซตีของจอร์จ โซรอส อีกด้วย[17]

ดูเพิ่ม

แก้

  วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ คำพิพากษาศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1612/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ประชาไท)

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศ: ประมวลจริยธรรม 'ประชาไท'
  2. "เกี่ยวกับประชาไท". prachatai.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 เกี่ยวกับประชาไท เก็บถาวร 2005-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ประชาไท, เรียกดูเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
  4. matichon (2020-10-19). "เปิดใจบก. 'ประชาไท' หลังเจอคำสั่งระงับสื่อ ระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง". มติชนออนไลน์.
  5. Site overview: pantip.com เก็บถาวร 2016-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Alexa
  6. ประชาไท.. ไม่มี ย.ยักษ์ เก็บถาวร 2009-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ประชาไท, เรียกดูเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552
  7. "บุคคลแห่งปี 2016: 'นริศราวัลถ์' จากพลทหารวิเชียรสู่ทหารเกณฑ์คนอื่นๆ". prachatai.com.
  8. "บุคคลแห่งปี 2017: 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ภูมิคุ้มกันสวัสดิการสุขภาพเพื่อทุกคน". prachatai.com.
  9. "(ประเทศกูมี) บุคคลแห่งปี 2018: RAP AGAINST DICTATORSHIP". prachatai.com.
  10. "บุคคลแห่งปี 2562: กลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมือง 'สู้-ตาย'". prachatai.com.
  11. "บุคคลแห่งปี 2020 : 'ทิวากร วิถีตน' ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว'". prachatai.com.
  12. "บุคคลแห่งปี 2021 : 'ป้าเป้า' ม้าอารีแนวหน้าของเหล่าเยาวรุ่นกับวีรกรรมสุดต๊าชชชช". prachatai.com.
  13. สุเทพฉวย โอกาสถอดปลั๊ก ‘ประชาไท’ ผอ.แจงโดนครั้งแรก รัฐทหารยังไม่เคยปิด
  14. ใต้เท้าขอรับ : 'เว็บบอร์ด'...แล้ววันนี้ก็มาถึง
  15. About Prachatai
  16. ทักษิณ ชินวัตร:รัฐบาลหุ่นเชิดวอลล์สตรีท?
  17. รับ ได้เงินทุนสนับสนุนจาก จอร์จ โซมอส

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้