สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) เป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า "หมอเลี้ยบ" เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการอำนวยการและอุปนายกสภา มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท [1]อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน และหนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุลา

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สุรพงษ์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ถัดไปโอฬาร ไชยประวัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
ถัดไปสุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 6 มกราคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
เลขาธิการพรรคพลังประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
(รักษาการเลขาธิการพรรคไทยรักไทย)
ถัดไปสุณีย์ เหลืองวิจิตร
(เลขาธิการพรรคเพื่อไทย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม​ (2539–2541)​
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางปราณี สืบวงศ์ลี

ประวัติ แก้

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2521 และแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2523 และผ่านอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ป้องกันจากแพทยสภา ในปี พ.ศ. 2529

ระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533

การทำงาน แก้

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนการบริหารโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ถูกปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉันตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[2]

หลังจากการพักโทษเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สุรพงษ์เข้าเป็นพิธีกรรายการ "50 คำถาม กับ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" ทางช่องพีซทีวี และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ร่วมดำเนินรายการ "สุมหัวคิด" ทางวอยซ์ทีวี ร่วมกับหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล และเอกวรัญญู อัมระปาล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งเขาเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[3]

คดีความ แก้

คดีหมายเลขดำ อม.39/2558 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อายุ 58 ปี อดีต รมว.คลัง สมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากกรณีเมื่อปี 2551 ระหว่าง นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง สมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. โดยมิชอบ ซึ่งภายหลังมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ได้วินิจฉัยว่า การคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการ ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกรรมการ ในคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคน มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1[4]ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟ้อง

สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีมติสั่งฟ้อง นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวหาว่า นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ฝ่าฝืนมติ คณะรัฐมนตรี และมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไป 32,000 ล้านบาทเศษ และทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ นอกจากนี้ ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่าได้ดำเนินการส่งมองท่อก๊าซคืนครบแล้ว โดยไม่รอผลตรวจสอบและรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามมติ คณะรัฐมนตรี ก่อน และไม่เสนอขอความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีตาม พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44 ก่อน[5]

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งจำคุก สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157[6]ปรับ 2 หมื่นบาทโทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งจำคุก สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญาปรับ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีที่มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่า 51% เป็นไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยทราบดีอยู่แล้วว่า เหตุที่บริษัทขอลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขันให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์[7] ได้รับการพักโทษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี: สามัคคี วิจารณ์ สามัคคี
  2. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. "ตั้ง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. คดีหมายเลขดำ อม.39/2558[ลิงก์เสีย]
  5. "พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-11.
  6. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  7. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ถัดไป
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ

(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
  โอฬาร ไชยประวัติ
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
  สุชาติ ธาดาธำรงเวช
เริ่มตำแหน่ง    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548)
  สุวิทย์ คุณกิตติ
พลตำรวจเอก เฉลิมเดช ชมพูนุท    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ