พรรคไทยรักไทย
พรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ในช่วงเวลาสั้น ๆ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้ง 8 เดือนหลังการรัฐประหารทำให้ทักษิณต้องลี้ภัย พรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเนื่องจากละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คนถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[12]
พรรคไทยรักไทย | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) |
เลขาธิการ | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ) |
ก่อตั้ง | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 |
ยุบ | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (8 ปี 320 วัน) |
ถัดไป | พรรคพลังประชาชน |
ที่ทำการ | เลขที่ 1770 (อาคารไอเอฟซีที) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมใหม่[1] ลัทธิอิงสามัญชน[2][3] ปฏิรูปนิยม[4][5] เสรีนิยมใหม่[6][7][8] |
จุดยืน | ขวากลาง[9][10][11] |
สี | สีน้ำเงิน และ สีแดง |
เว็บไซต์ | |
www.thairakthai.or.th (ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว) | |
โฆษก | ศิธา ทิวารี |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติและผลการเลือกตั้งแก้ไข
พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจโทรคมนาคม และสมาชิกผู้ก่อตั้งอีก 22 คน ได้แก่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, ทนง พิทยะ, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรรคไทยรักไทยมีนโยบายประชานิยม ดึงดูดเกษตรกรที่เป็นหนี้ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยสัญญาว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พรรคยังเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทและธุรกิจที่กำลังดิ้นรน นโยบายของพรรคไทยรักไทย ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขยายเวลาการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม เขาละเลยพื้นที่ชนบทบางแห่งและจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากทักษิณระบุว่าเขาไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้เขา
พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เหนือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดยนายชวน หลีกภัย ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอย่างถล่มทลาย ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งร้อยละ 40 เป็นน้องใหม่ พรรคไทยรักไทยสามารถเจรจารวมพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเข้ากับพรรคไทยรักไทยและเป็นพันธมิตรกับพรรคชาติไทย ทำให้ได้ ส.ส. 325 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 ที่นั่ง[13]
คณะกรรมการบริหารพรรคแก้ไข
ชุดที่ขอจดทะเบียนพรรคการเมือง[14]แก้ไข
ชุดเดิม 119 คนแก้ไข
ชุดก่อนการยุบพรรคแก้ไข
อันดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | จาตุรนต์ ฉายแสง | รักษาการหัวหน้าพรรค |
2 | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | รองหัวหน้าพรรค |
3 | ไชยยศ สะสมทรัพย์ | รองหัวหน้าพรรค |
4 | พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | รองหัวหน้าพรรค |
5 | เนวิน ชิดชอบ | รองหัวหน้าพรรค |
6 | ประชา มาลีนนท์ | รองหัวหน้าพรรค |
7 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | รองหัวหน้าพรรค |
8 | โภคิน พลกุล | รองหัวหน้าพรรค |
9 | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | รองหัวหน้าพรรค |
10 | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | รองหัวหน้าพรรค |
11 | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี | รักษาการเลขาธิการพรรค |
12 | นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช | รองเลขาธิการพรรค |
13 | ชานนท์ สุวสิน | รองเลขาธิการพรรค |
14 | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | รองเลขาธิการพรรค |
15 | นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี | โฆษกพรรค |
16 | กันตธีร์ ศุภมงคล | กรรมการบริหารพรรค |
17 | จำลอง ครุฑขุนทด | กรรมการบริหารพรรค |
18 | ประจวบ ไชยสาส์น | กรรมการบริหารพรรค |
19 | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | กรรมการบริหารพรรค |
20 | ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
21 | วิชิต ปลั่งศรีสกุล | กรรมการบริหารพรรค |
22 | สุชัย เจริญรัตนกุล | กรรมการบริหารพรรค |
23 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | กรรมการบริหารพรรค |
24 | อดิศร เพียงเกษ | กรรมการบริหารพรรค |
25 | อดิศัย โพธารามิก | กรรมการบริหารพรรค |
26 | อนุทิน ชาญวีรกูล | กรรมการบริหารพรรค |
27 | เอกพร รักความสุข | กรรมการบริหารพรรค |
28 | เกรียง กัลป์ตินันท์ | กรรมการบริหารพรรค |
29 | ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก | กรรมการบริหารพรรค |
30 | ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี | กรรมการบริหารพรรค |
31 | วิชัย ชัยจิตวณิชกุล | กรรมการบริหารพรรค |
32 | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | กรรมการบริหารพรรค |
33 | อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ | กรรมการบริหารพรรค |
34 | ชาญชัย ปทุมารักษ์ | กรรมการบริหารพรรค |
35 | พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา | กรรมการบริหารพรรค |
36 | พิมพา จันทร์ประสงค์ | กรรมการบริหารพรรค |
37 | ลิขิต หมู่ดี | กรรมการบริหารพรรค |
38 | ว่าที่ร้อยโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรง | กรรมการบริหารพรรค |
39 | พรชัย เตชะไพบูลย์ | กรรมการบริหารพรรค |
40 | อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
41 | ทศพล สังขทรัพย์ | กรรมการบริหารพรรค |
42 | ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
43 | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | กรรมการบริหารพรรค |
44 | มยุรา มนะสิการ | กรรมการบริหารพรรค |
45 | วิสาร เตชะธีราวัฒน์ | กรรมการบริหารพรรค |
46 | วีระกร คำประกอบ | กรรมการบริหารพรรค |
47 | กฤษ ศรีฟ้า | กรรมการบริหารพรรค |
48 | วีระ มุสิกพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
49 | สุธรรม แสงประทุม | กรรมการบริหารพรรค |
50 | สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี | กรรมการบริหารพรรค |
51 | หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล | กรรมการบริหารพรรค |
52 | ศันสนีย์ นาคพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย 23 คนแก้ไข
กลุ่มย่อยในพรรคแก้ไข
- กลุ่มจันทร์ส่องหล้า นำโดย ทักษิณ ชินวัตร
- กลุ่มวังบัวบาน นำโดย เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
- กลุ่มวังน้ำยม นำโดย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
- กลุ่มวังพญานาค นำโดย พินิจ จารุสมบัติ
- กลุ่มวังน้ำเย็น นำโดย เสนาะ เทียนทอง
- กลุ่มบ้านริมน้ำ นำโดย สุชาติ ตันเจริญ
- กลุ่มราชบุรี นำโดย สรอรรถ กลิ่นประทุม
- กลุ่มวังน้ำเค็ม (กลุ่มชลบุรี) นำโดย สนธยา คุณปลื้ม
พรรคไทยรักไทย หลังรัฐประหารแก้ไข
ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง และถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่าพรรคต้องการหลีกเลี่ยงกฎร้อยละ 20 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้ และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
หลังการ รัฐประหาร 2549 ไม่นาน ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งพำนักอยู่ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน
หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออก จากกรรมการบริหารพรรค สมาชิกพรรค ทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารทั้ง 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ, นายเสนาะ เทียนทอง, นายฐานิสร์ เทียนทอง, นายลิขิต ธีรเวคิน, นายสฤต สันติเมทนีดล, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต[15][16]
ผลการเลือกตั้งทั่วไปแก้ไข
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2544 | 248 / 500
|
11,634,495 | 49.6% | 248 ที่นั่ง | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร |
2548 | 377 / 500
|
18,993,073 | 61.17% | 122 ที่นั่ง | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | |
2549 | 460 / 500
|
16,420,755 | - | 83 ที่นั่ง | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ |
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Atchara Pantranuwong (2008). "มายาคติและอุดมการณ์ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 : การวิเคราะห์ด้วยวิธีสัญวิทยา" [Myths and ideology in Thai Rak Thai Party's February 6, 2005 general election advertisements: a semiotic analysis]. Thammasat University.
- ↑ Markou, Grigoris; Lasote, Phanuwat (June 26, 2015). "Populism in Asia: The case of Thaksin in Thailand" – โดยทาง ResearchGate.
- ↑ Forum, East Asia (September 12, 2011). "Thailand's populism has come close to its limit". Thailand Business News.
- ↑ Hicken, Allen (December 12, 2006). "Party Fabrication: Constitutional Reform and the Rise of Thai Rak Thai". Journal of East Asian Studies. 6 (3): 381–407. doi:10.1017/S159824080000463X. S2CID 9030903.
- ↑ Monaghan, Dermot (November 12, 2019). "Democracy in Thailand under Thai Rak Thai government" – โดยทาง ResearchGate.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Phongpaichit, Pasuk; Baker, Chris (2009). Thaksin (Second ed.). Silkworm Books. pp. 115–123.
- ↑ Jayasuriya, Kanishka; Hewison, Kevin (2004). "The Antipolitics of Good Governance From Global Social Policy to a Global Populism?" (PDF). Critical Asian Studies. 36 (4): 575.
- ↑ Ockey, James (July–August 2003). "Change and Continuity in the Thai Political Party System". Asian Survey. 43 (4): 673.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Hassarungsee, Ranee; Tulaphan, Poonsap S.; Kardkarnklai, Yuwadee. "Unsound government policies, successful grassroots solutions". Social Watch. สืบค้นเมื่อ July 29, 2021.
- ↑ Chaloemtiarana, Thak (2007). "Distinctions with a Difference: The Despotic Paternalism of Sarit Thanarat and the Demagogic Authoritarianism of Thaksin Shinawatra". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 19: 82–83.
- ↑ Hawkins, Kirk; Selway, Joel (2017). "Thaksin the Populist?". Chinese Political Science Review. 2: 387–390.
- ↑ "The Constitutional Tribunal disbands Thai Rak Thai". The Nation (Thailand). พฤษภาคม 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 3, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 21, 2016.
- ↑ Crampton, Thomas (2001-01-09). "Markets and Currency Rise on Strong Showing by New Party: Election Results Lift Thai Spirits". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน เก็บถาวร 2007-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พรรคไทยรักไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′51″N 100°34′06″E / 13.747504°N 100.568268°E