พิมพา จันทร์ประสงค์

พิมพา จันทร์ประสงค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 5 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

พิมพา จันทร์ประสงค์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีนายบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2496
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (64 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535-2539)
ความหวังใหม่ (2539-2543)
ไทยรักไทย (2543-2550)
ประชาธิปัตย์ (2556-2561)
คู่สมรสนายถวิล จันทร์ประสงค์ (ถึงแก่อนิจกรรม)

ประวัติ

แก้

นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2496[1] สำเร็จการศึกษา สาขาการจัดการทั่วไป จากมหาวิทยาลัยเกริก[2] สมรสกับนายถวิล จันทร์ประสงค์ มีบุตร ได้แก่ นายธรรมศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวจิตรา จันทร์ประสงค์ นางสาวสุภาวดี จันทร์ประสงค์ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวทิวลิป จันทร์ประสงค์ และนายวันชนะ จันทร์ประสงค์

การทำงาน

แก้

นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เข้าสู่การเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 จากนั้นก็ได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันเรื่อยมา รวมทั้งสิ้น 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2537 หรือคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 50[3] ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีเดียวกันกับผู้เป็นสามี คือ ถวิล จันทร์ประสงค์ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 51 ในปี พ.ศ. 2539 ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ภายหลังจากพ้นโทษถูกตัดสิทธิทางการเมืองแล้ว พิมพาพร้อมกับนายมานะศักดิ์ บุตรชาย ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ [5] และได้รับการทาบทามจากทางพรรค เพื่อวางตัวให้เป็นผู้สมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน [6]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

นางพิมพาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ด้วยโรคไตวายขณะอายุได้ 64 ปี [7] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดศรีเรืองบุญ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  2. "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. อดีตส.ส.'พิมพา'ควงลูกชายซบเข้า'ประชาธิปัตย์'
  6. https://www.matichon.co.th/politics/news_955343
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘