มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์
มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2521) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 2 สมัย
มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | เศรษฐา ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มีนาคม พ.ศ. 2521 จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ประวัติ
แก้มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายถวิล และ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด จากประเทศอังกฤษ และ ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขา Computer Engineering Management จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
งานการเมือง
แก้มานะศักดิ์ ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว[1] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) ต่อมาเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชนจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 เขาก็ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย [2]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ซึ่งกลับมาใช้ระบบเขตเลือกตั้งแบบเขตเล็กหรือแบบเขตเดียวเบอร์เดียวอีกครั้ง มานะศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 3 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ จากพรรคเพื่อไทย [3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับมารดา [4] [5]
และในปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ พร้อมบุตรชายและหลานชายย้ายไปร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ มานะศักดิ์ก็ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้กลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่เดิมอีกครั้ง โดยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดนนทบุรี ในปีต่อมาได้สำเร็จ [6] [7] แต่ในปี 2566 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี. ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2553
- ↑ https://www.thairath.co.th/news/politic/1525463
- ↑ https://www.ect.go.th/nonthaburi/ewt_dl_link.php?nid=217
- ↑ อดีตส.ส.'พิมพา'ควงลูกชายซบเข้า'ประชาธิปัตย์'
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ https://www.ch3thailand.com/เลือกตั้ง62?page=provice&id=12[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.ect.go.th/nonthaburi/ewt_dl_link.php?nid=550
- ↑ ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔