การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า 35/1 จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นครั้งแรกหลังจากที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากพรรคชาติไทยด้วยการรัฐประหารเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 มีทั้งหมด 15 พรรค และผู้สมัคร 2,185 คน ที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ผลที่ตามมาคือชัยชนะของพรรคสามัคคีธรรมซึ่งเป็นพรรคที่เพิ่งก่อตั้ง โดยได้ 79 ที่นั่ง แม้จะได้คะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคความหวังใหม่ที่นำโดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 59.2%[1]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

← พ.ศ. 2531 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 กันยายน พ.ศ. 2535 →

ทั้งหมด 360 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 181 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน32,436,283
ผู้ใช้สิทธิ59.24% (ลดลง 4.32)
  First party Second party Third party
 
พรรคสามัคคีธรรม.jpg
Somboon rahong.jpg
Carlos Menem with Chavalit Yongchaiyudh (cropped).jpg
ผู้นำ ณรงค์ วงศ์วรรณ สมบุญ ระหงษ์ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
พรรค สามัคคีธรรม ชาติไทย ความหวังใหม่
ผู้นำตั้งแต่ 3 มกราคม 2534 27 กรกฎาคม 2534 16 ตุลาคม 2533
เขตของผู้นำ แพร่ เขต 1 สมุทรปราการ เขต 2 นนทบุรี เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด พรรคใหม่ 87 ที่นั่ง, 19.29% พรรคใหม่
ที่นั่งที่ชนะ 79 74 72
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 79 ลดลง 13 พรรคใหม่
คะแนนเสียง 8,578,529 7,305,674 9,980,150
% 19.3% 16.4% 22.4%
%เปลี่ยน พรรคใหม่ ลดลง 2.88 จุด พรรคใหม่

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
Chuan Leekpai 1999 cropped.jpg
Chamlong Srimuang 2008 (cropped).jpg
Montri Phongphanit.jpg
ผู้นำ ชวน หลีกภัย จำลอง ศรีเมือง มนตรี พงษ์พานิช
พรรค ประชาธิปัตย์ พลังธรรม กิจสังคม
ผู้นำตั้งแต่ 26 มกราคม 2534 9 มิถุนายน 2531 9 มิถุนายน 2534
เขตของผู้นำ ตรัง เขต 1 กรุงเทพฯ เขต 2 อยุธยา เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด 48 ที่นั่ง, 11.29% 15 ที่นั่ง, 9.09% 53 ที่นั่ง, 11.79%
ที่นั่งที่ชนะ 44 41 31
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 4 เพิ่มขึ้น 26 ลดลง 22
คะแนนเสียง 4,705,376 5,104,849 3,586,714
% 10.57% 11.5% 8.1%
%เปลี่ยน ลดลง 0.72 จุด เพิ่มขึ้น 2.38 จุด ลดลง 3.73 จุด

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รหัสสี: สามัคคีธรรม, ชาติไทย, ความหวังใหม่, ประชาธิปัตย์, พลังธรรม, กิจสังคม, ประชากรไทย, ราษฎร, มวลชน, อื่น ๆ
แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

อานันท์ ปันยารชุน
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

สุจินดา คราประยูร
อิสระ

การตั้งพรรคสามัคคีธรรม แก้

พรรคสามัคคีธรรม เป็นพรรคการเมืองที่รวบรวมนักการเมืองมาจากหลายพรรค และมีบุคคลใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ดำรงตำแหน่งสำคัญคือ นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ ที่เป็นเลขาธิการพรรค

หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย

ผลการเลือกตั้ง แก้

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
  พรรคสามัคคีธรรม นายณรงค์ วงศ์วรรณ 79 คน
  พรรคชาติไทย พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ 74 คน
พรรคความหวังใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 72 คน
  พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย 44 คน
  พรรคพลังธรรม พลตรีจำลอง ศรีเมือง 41 คน
  พรรคกิจสังคม นายมนตรี พงษ์พานิช 31 คน
  พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 7 คน
  พรรคเอกภาพ นายอุทัย พิมพ์ใจชน 6 คน
  พรรคราษฎร พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ 4 คน
  พรรคมวลชน ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 1 คน
  พรรคปวงชนชาวไทย พันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ 1 คน

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มี 4 พรรค ที่ส่งผู้สมัครแต่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกเลยคือ พรรคสหประชาธิปไตย, พรรครวมพลังใหม่, พรรคท้องถิ่นก้าวหน้า และ พรรคเกษตรเสรี

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคพลังธรรม ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยสามารถได้ที่นั่งถึง 32 ที่นั่งจากทั้งหมด 35 ที่นั่ง ทำให้นักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนไม่ได้รับการเลือกตั้ง เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน, นายมารุต บุนนาค, นายปราโมทย์ สุขุม, นายพิชัย รัตตกุล, นายเจริญ คันธวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นถือเป็นการเข้ามามีบทบาททางการเมืองครั้งแรกด้วยของนักการเมืองหน้าใหม่ที่กลายมาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในเวลาต่อมา ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นผู้เดียวที่ได้รับการเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคพลังธรรม[2]

การจัดตั้งรัฐบาล แก้

ในชั้นแรกพรรคสามัคคีธรรม ประสบความสำเร็จ ในการหนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ส.ส.พรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญเพราะมีสถานะเป็น ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง ซึ่งก็คือเป็นผู้นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นั่นเอง

ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสื่อมวลชนไปสัมภาษณ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารบก รองหัวหน้าคณะ รสช. หลายครั้งว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ได้ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3] ซึ่งทำให้นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดมีโอกาสที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ปรากฏข่าวว่าสหรัฐอเมริกาเคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[4]ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[5]

พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน

ขณะที่พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วย 6 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่ (ส.ส. 72 คน) พรรคประชาธิปัตย์ (ส.ส. 44 คน) พรรคพลังธรรม (ส.ส. 41 คน) พรรคเอกภาพ (ส.ส. 6 คน) พรรคปวงชนชาวไทย (ส.ส. 1 คน) และพรรคมวลชน (ส.ส. 1 คน) รวม 165 คน

ต่อมามีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ “ต้องห้าม” ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด[6] ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้เลือกเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ท่ามกลางกระแสเรียกร้อง "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ที่เป็นกระแสหลักของสังคมในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจากยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 ถูกขนานนามจากสื่อมวลชนยุคนั้นว่า พรรคมาร

เมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว พล.อ.สุจินดา ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดโดยมี พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นพี่ภรรยาของพลเอกสุจินดาได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลังการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.สุจินดา เกิดกระแสต่อต้านจากสังคมมากมาย ถึงขั้นมีประชาชนชุมนุมประท้วงจำนวนมาก และในที่สุดนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งทำให้ในปีนี้ต้องจัดเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งคือ การเลือกตั้ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 (35/2)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
  2. มาร์ค : เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรุงเทพฯ : วิถีไทย, 2548. 186 หน้า. ISBN 9749335813
  3. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 31
  4. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 3
  5. ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ
  6. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, 2535: หน้า 3

บรรณานุกรม แก้

  • ศรีเมือง, พล.ต.จำลอง (2535). ร่วมกันสู้. ธีระการพิมพ์. ISBN 974-88799-9-2.