เจริญ คันธวงศ์ (21 เมษายน พ.ศ. 2476 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]) อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 11 สมัย อดีตประธาน สส. พรรคประชาธิปัตย์ อดีตอธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เจริญ คันธวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2476
อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (89 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2518–2565)
คู่สมรสเพ็ญธิรา คันธวงศ์

ประวัติ

แก้

เจริญ คันธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่ ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายคำมูล และนางน้อย คันธวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปริญญาเอก การบริหารอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา[3]

การเสียชีวิต

แก้

เจริญ คันธวงศ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[4] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเปลี่ยม และกำหนดพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ วัดปริวาสราชสงคราม

การเมือง

แก้

ข้าราชการ

แก้

ในปี พ.ศ. 2500 - 2501 รับราชการทหารเป็นนายทหารประจำศูนย์การทหารม้าจังหวัดสระบุรียศร้อยตรี

เจริญ คันธวงศ์ รับราชการเป็นอาจารย์แผนกวิชาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ.2505 ลาออกจากราชการเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2506

ฝ่ายนิติบัญญัติ

แก้

ดร.เจริญ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร ในเขตคลองเตย ยานนาวาและบางคอแหลมมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 8 สมัย โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด มีเพียงครั้งเดียวที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งคือ ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งกระแสพรรคพลังธรรมมาแรงในเวลานั้น และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ได้ย้ายไปลงในระบบบัญชีรายชื่อ

เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

ในปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายาให้ ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็น "คนดีศรีสภาฯ" เนื่องจากได้ลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาถึง 88 ครั้งจากจำนวน 100 ครั้ง แม้ว่าจะต้องรักษาตัวจากอาการโรคมะเร็ง[6] และในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13[7] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เจริญ คันธวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11 สมัย

ฝ่ายบริหาร

แก้

เจริญ คันธวงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[8] ต่อมาปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน[9]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แทนนายปราโมทย์ สุขุม ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง

ธุรกิจ

แก้

ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

วิชาการ

แก้

ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2505 โดยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกด้วยวัยเพียง 29 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และได้รับการยกย่องให้เป็น "อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง" หรือ Emeritus (เอเมริตุส)[10] อีกทั้งยังมีอาคารเพื่อเป็นการรำลึกถึงคือ อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไทด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "มะเร็งคร่าชีวิต "เจริญ คันธวงศ์" ปิดตำนาน "คนดีศรีสภา". คมชัดลึกออนไลน์.
  2. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  4. "มะเร็งคร่าชีวิต "เจริญ คันธวงศ์" ปิดตำนาน "คนดีศรีสภา"". คมชัดลึกออนไลน์.
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานักการเมืองประจำปี
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
  10. อธิการบดีกิตติคุณ จากเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้