อิสระพงศ์ หนุนภักดี

พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ บิ๊กตุ๋ย (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) เป็นอดีตนายทหารบกชาวไทยและนักการเมืองชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย,อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและเป็นบิดาของพล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

อิสระพงศ์ หนุนภักดี
อิสระพงศ์ หนุนภักดีในปีพ.ศ. 2501
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
ถัดไปพลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าพลเอก สุจินดา คราประยูร
ถัดไปพลเอก วิมล วงศ์วานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (83 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิง แพทย์หญิงสุมนา หนุนภักดี
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
พลตำรวจเอก[1]
บังคับบัญชากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
กองพลทหารราบที่ 6
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
กองทัพภาคที่ 2
กองทัพบก
ผ่านศึกสงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ณ ตำบลพงษ์สวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรชายของ พล.ต.ท. ฉัตร และนางประยง หนุนภักดี มีพี่น้อง ทั้งหมด 7 คน ในส่วน พล.อ. อิสระพงศ์ เป็นบุตรลำดับที่ 3 และมีน้องสาว คือ นางวรรณี คราประยูร ซึ่งสมรสกับ พล.อ. สุจินดา คราประยุร อดีตนายกรัฐมนตรี

พล.อ. อิสระพงศ์ ได้สมรสกับ พญ.คุณหญิงสุมนา หนุนภักดั มีบุตรทั้งหมด 1 คน คือ

การศึกษา

แก้

พล.อ. อิสระพงศ์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5, หลักสูตรทหารร่มและการรบพิเศษ รุ่นที่ 12, โรงเรียนเสนาธิการทหารบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 29 และได้จบหลักสูตรวิชาทหาร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ

การทำงาน

แก้

ในประเทศ

แก้

รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จากนั้นได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่เป็นลำดับ และดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น[2]

นอกประเทศ

แก้

ในช่วงราชการทหารที่ต่างประเทศ พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ได้ปฏิบัติงานที่ประเทศเกาหลีใต้ และไปอาสาสมัครไปเข้ารบในประเทศเวียดนามใต้ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ในปี พ.ศ. 2515

รัฐประหาร พ.ศ. 2534

แก้

ในการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 พล.อ. อิสระพงศ์นับเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ด้วยการเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก และมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ โดยมี พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน

ซึ่งหลังจากนี้ พล.อ. อิสระพงศ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี[3] (และได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษอีกด้วยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[4]) จากนั้นจึงได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกมองว่าทั้งหมดนี้เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. ทั้งนี้เนื่องจากความสัมพันธ์ส่วนตัวของ พล.อ. อิสระพงศ์ กับ พล.อ.สุจินดา ถือว่าสนิทสนมกันมาก เพราะเป็นนายทหารที่จบการศึกษาในรุ่นเดียวกัน อีกทั้งคุณหญิงวรรณี คราประยูร ภริยาของ พล.อ. สุจินดา ก็เป็นน้องสาวแท้ ๆ ของ พล.อ. อิสระพงศ์ และลูกพี่ลูกน้อง ของ พล.อ.อิสระพงศ์ คือ พล.ท. ชัยณรงค์ หนุนภักดี (ยศในขณะนั้น) เองก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงด้วย อีกทั้ง พล.ต. ทวีศักดิ์ หนุนภักดี (ยศในขณะนั้น)ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหาร (น้องชายของ พล.อ. ชัยณรงค์) มาคุมหน่วยข่าวทหารทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดนี้ต่อมาก็ได้บานปลายมาเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ในที่สุด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และเหรียญต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เหรียญสหประชาชาติ

แก้

ต่างประเทศ

แก้

ชีวิตหลังการเมือง

แก้

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.อิสระพงศ์ก็ได้ถูกย้ายจากผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม[18]หลังจากนั้นยุติบทบาททางราชการและบทบาททางการเมืองทั้งหมด โดยมิได้ยุ่งเกี่ยวอีกเลย เหมือนเช่นนายทหารในคณะ รสช.คนอื่น ๆ [19] จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคประจำตัวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 12.00 น. ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ขณะมีอายุได้ 83 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร เจ้าร่วมพร้อม คุณหญิงวรรณี คราประยูร และ นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ได้รับยศพลตำรวจเอก
  2. พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี เก็บถาวร 2010-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์กองทัพบกไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ (จำนวน 8 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 128 ง หน้า 6942 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2018-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ เมษายน ๒๕๓๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๒๓๑, ๒ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๓๕๐๔, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓๖ ข หน้า ๗๖, ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2240, 25 กุมภาพันธ์ 2535
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  19. บิ๊กตุ๋ย พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี จปร.5 เปิดใจครั้งแรกในรอบหลายสิบปี 'วิกฤตมีทางออก'!? จากโอเคเนชั่น