เหรียญราชการชายแดน

เหรียญราชการชายแดน (อังกฤษ: The Border Service Medal) ใช้อักษรย่อว่า ช.ด. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการชายแดนเป็นพิเศษ ตามพระราชบัญญัติเหรียญราชการชายแดน พ.ศ. 2497 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2497[1]

เหรียญราชการชายแดน

เหรียญราชการชายแดน ด้านหน้า และหลัง
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อช.ด.
ประเภทเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ
วันสถาปนา22 กันยายน พ.ศ. 2497
ประเทศประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตเราปฏิบัติหน้าที่เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการชายแดนเป็นพิเศษ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายแรกอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
รายล่าสุด17 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญช่วยราชการเขตภายใน
รองมาเหรียญทองช้างเผือก
หมายเหตุพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์

ลักษณะของเหรียญ

แก้
 
เหรียญราชการชายแดน ด้านหน้า

เหรียญราชการชายแดน มีลักษณะเป็นเหรียญรูปกลม ทำด้วยโลหะสีทอง ด้านหน้า มีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังทรงทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู ด้านหลัง มีอักษรจารึกว่า "เราปฏิบัติหน้าที่เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย" ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีม่วงมีริ้วสีขาวสองข้าง เบื้องบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพลสีทองจารึกอักษรว่า "ราชการชายแดน" ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สิทธิของผู้ได้รับพระราชทาน

แก้
  1. ได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาลทุกแห่ง ตลอดจนให้ได้รับยาบำบัดรักษาโรคโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  2. ได้ลดค่าโดยสารยานพาหนะ คือ รถราง รถไฟ รถยนต์โดยสารประจำทาง เรือเดินทะเล ที่เป็นของรัฐบาลหรือองค์การ และบริษัทในความควบคุมของรัฐบาลลงกึ่งหนึ่งของอัตราธรรมดา

การพระราชทาน

แก้

พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และผู้กระทำหน้าที่ซึ่งเจ้ากระทรวง หน่วยทหาร หรือตำรวจ สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ อำเภอชายแดน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้นแต่มีเหตุสู้รบพิเศษ เกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักรได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการสมความมุ่งหมายของทางราชการ และประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยอันดี

ตัวอย่างพระนามาภิไธยและนามผู้ได้รับพระราชทาน

แก้

อ้างอิง

แก้