สุจินดา คราประยูร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเอก สุจินดา คราประยูร ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. ภ.ป.ร. ๓ (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 19[1] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[2] ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สุจินดา คราประยูร | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 19 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 47 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | มีชัย ฤชุพันธุ์ ณรงค์ วงศ์วรรณ สมบุญ ระหงษ์ มนตรี พงษ์พานิช สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | อานันท์ ปันยารชุน |
ถัดไป | มีชัย ฤชุพันธุ์ (รักษาการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 37 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ |
ถัดไป | บรรจบ บุนนาค |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 6 เมษายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 235 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 6 เมษายน พ.ศ. 2535 (2 ปี 8 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | วรรณี หนุนภักดี (เสียชีวิต) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ประจำการ | พ.ศ. 2496–2535 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม |
ประวัติ
แก้พล.อ.สุจินดา คราประยูร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนเล็กของจวง กับสมพงษ์ คราประยูร มีพี่สาวสองคน โดยครอบครัวเป็นข้าราชการกรมรถไฟ สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (สกุลเดิม หนุนภักดี) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่พลเอก เจิดวุธ คราประยูร ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย และ เจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด
การศึกษา
แก้พล.อ.สุจินดา คราประยูร เข้ารับการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนปิยะวิทยา แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศก หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 – 5 ที่จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงต้องย้ายไปอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่จังหวัดหนองคาย ต่อมาได้กลับเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครจนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดราชบพิธ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 มีเพื่อนร่วมรุ่นได้แก่ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี, พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร, พล.อ.ศัลย์ ศรีเพ็ญ หลักสูตรเวสท์ปอยต์ รุ่นที่ 5 ตามลำดับ ต่อมาได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ (Fort Sill’s) รัฐโอคลาโฮม่า (Oklahoma) ประเทศสหรัฐ สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth)
รับราชการทหาร
แก้พล.อ.สุจินดา คราประยูร เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ "ว่าที่ร้อยตรี " เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุราชการ
ยศทางทหาร
แก้- 11 มกราคม พ.ศ. 2496 ยศ "ว่าที่ร้อยตรี "
- 2 มกราคม พ.ศ. 2502 ยศ "ร้อยตรี"
- 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ยศ "ร้อยเอก"
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ยศ "พันตรี"
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ยศ "พันเอก"
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ยศ "พลตรี"
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ยศ "พลเอก"
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ยศ "พลเรือเอก"
- 18 เมษายน พ.ศ. 2534[3] ยศ "พลอากาศเอก"
ประวัติการเข้ารับราชการ
แก้- พ.ศ. 2501 ประจำกองร้อย กรมนักเรียนโรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ต่อมารักษาราชการ ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองบังคับการทหารปืนใหญ่ กองพลที่ 4
- พ.ศ. 2502 รักษาราชการนายทหารสื่อสาร กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 และรับพระราชทานยศ"ร้อยตรี"
- พ.ศ. 2503 รักษาราชการผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
- พ.ศ. 2504 รับพระราชทานยศ"ร้อยโท"
- พ.ศ. 2505 ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 และรับพระราชทานยศ"ร้อยเอก"
- พ.ศ. 2507 ครูกองการศึกษา โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
- พ.ศ. 2510 รักษาราชการอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พันตรี"
- พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ. 2514 รองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และรับพระราชทานยศ"พันโท"
- พ.ศ. 2517 หัวหน้าแผนกกรมข่าวทหารบก
- พ.ศ. 2518 รักษาราชการนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรมข่าวทหารบกและรับพระราชทานยศ"พันเอก"
- พ.ศ. 2522 หัวหน้ากอง กรมข่าวทหารบก
- พ.ศ. 2524 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
- พ.ศ. 2525 เจ้ากรมยุทธการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พลตรี"
- พ.ศ. 2528 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และรับพระราชทานยศ"พลโท"
- พ.ศ. 2529 รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศ"พลเอก"
- พ.ศ. 2532 รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2533 ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2534 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ราชการพิเศษ
แก้- พ.ศ. 2512 - 2513 ราชการสงครามเวียดนาม ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ. 2525 ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2526 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2528 ราชองครักษ์เวร ต่อมาเป็นราชองครักษ์พิเศษ
- พ.ศ. 2532 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ต่อมาเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบ ที่ 2 รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ กองพันที่ 21 รักษาพระองค์ และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพันที่ 1 รักษาพระองค์
งานการเมือง
แก้พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี[4] ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรคประกาศสนับสนุนณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลง ข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำ ถูกห้ามเข้าสหรัฐ เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[5]
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ พล.อ.สุจินดา ได้แต่งตั้ง พล.อ.อิสรพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการ รสช. ซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยาตน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดอาหารประท้วง และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้ "พล.อ.สุจินดา ลาออกเนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช."จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือพฤษภาทมิฬ ขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเชิญ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าพบและดำรับให้หันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหา[6] หลังจากนั้น พล.อ.สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง
มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ
รางวัลและเกียรติยศ
แก้พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2526[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[17]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของสุจินดา คราประยูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ราชกิจจานุเบกษา,เล่ม 109 ตอน 41 7 เมษายน พ.ศ. 2535 หน้า 1
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "รับราชการทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
- ↑ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)
- ↑ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง โพสต์ทูเดย์ สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2559
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2237, 25 กุมภาพันธ์ 2535
ดูเพิ่ม
แก้- ประวัติจากเว็บกองทัพบก เก็บถาวร 2006-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | สุจินดา คราประยูร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อานันท์ ปันยารชุน | นายกรัฐมนตรีไทย (ครม.48) มีชัย ฤชุพันธุ์ (รักษาการ) (7 เมษายน – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535) |
อานันท์ ปันยารชุน | ||
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 6 เมษายน พ.ศ. 2535) |
พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล | ||
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | ผู้บัญชาการทหารบก (29 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 6 เมษายน พ.ศ. 2535) |
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี |