เหรียญชัยสมรภูมิ
เหรียญชัยสมรภูมิ เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ใช้อักษรย่อว่า ช.ส. โดยสร้างตามพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2484[1] เพื่อพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ ที่ได้รับคำสั่งจากหน่วยทหารหรือตำรวจให้ไปทำการรบ และได้เคลื่อนที่ไปปฏิบัติการแล้วการพระราชทานกรรมสิทธิ์และการเรียกคืนเช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ เหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร แต่ประกาศนามผู้ได้รับพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา
เหรียญชัยสมรภูมิ | |
---|---|
![]() เหรียญชัยสมรภูมิ กรณีสงครามอินโดจีน | |
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ช.ส. |
ประเภท | เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ |
วันสถาปนา | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 |
ประเทศ | ![]() |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัด |
ผู้สมควรได้รับ | บุคคลผู้ที่กระทำการรบ |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เหรียญกล้าหาญ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ |
รองมา | เหรียญพิทักษ์เสรีชน |
ลักษณะของเหรียญแก้ไข
เหรียญชัยสมรภูมิ มีลักษณะเป็นเหรียญโลหะกลม ด้านหน้ามีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรจารึกว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กู้ชาติ” ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า “เรารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย” ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 ซม. มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า “ชัยสมรภูมิ” ประดับกับแพรแถบสีต่างๆ มีขนาดและลักษณะอื่นๆ ตามแต่จะได้กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบกับราชศัตรูในการรบเฉพาะคราว ใช้ประดับที่หน้าอกเสื้อเบื้องซ้าย
ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้กระทำการจนได้รับความชมเชยจากทางราชการ หรือกระทำความชอบจนได้รับบาดเจ็บ จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปขีดประกอบด้วยเปลวระเบิดสำหรับติดที่แพรแถบทุกครั้ง ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิได้ประกอบวีรกรรม แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ช่อเดียวสำหรับติดที่แพรแถบทุกครั้ง
แพรแถบของเหรียญแก้ไข
แพรแถบของเหรียญจำแนกตามคราวที่มีการส่งทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ เข้าปฏิบัติการในสงครามและการรบครั้งต่าง ๆ ดังนี้
- เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
- เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
- เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี
- เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
เหรียญชัยสมรภูมิสำหรับการรบในแต่ละครั้งล้วนมีลำดับเกียรติเสมอกัน แต่เมื่อประดับเหรียญ จะต้องประดับเรียงตามลำดับเหรียญที่ได้รับพระราชทานในแต่ละครั้ง
กรณีสงครามอินโดจีนแก้ไข
แพรแถบย่อ | ||
---|---|---|
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน ประดับช่อชัยพฤกษ์ | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน ประดับเปลวระเบิด | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน |
แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน กำหนดลักษณะไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2484 ไว้ว่า
"ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีแดง กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวใกล้ขอบทั้งสองข้าง ข้างบนมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า “ชัยสมรภูมิ”"
ต่อมาจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 โดยเพิ่มข้อความในข้างท้ายมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2484 ว่า "หรือกับแพรแถบสี ขนาด และลักษณะอื่นตามที่จะได้กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบกับราชศัตรูในการรบเฉพาะคราว" เพื่อให้สามารถกำหนดลักษณะแพรแถบสำหรับการรบครั้งอื่น ๆ เพิ่มเติมได้[2]
กรณีสงครามมหาเอเชียบูรพาแก้ไข
แพรแถบย่อ | ||
---|---|---|
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ประดับช่อชัยพฤกษ์ | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ประดับเปลวระเบิด | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา |
แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ได้กำหนดลักษณะครั้งแรกไว้ใน มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช 2485 ดังนี้
"แพรแถบเหรียนชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กะทำการรบกับราชสัตรู ไนคราวที่ประเทสไทยกะทำสงครามกับสหรัถอเมริกาและบริเตนไหย่นั้น ไห้เปนสีเขียว ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเปนริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักสรว่า "ชัยสมรภูมิ""[3]
แพรแถบนี้ได้มีการยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2488 ตามพระราชกฤษฎีกายกเลิกแห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2488[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 จึงมีการตรากฎหมายเพื่อรับรองฐานะของแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสงครามมหาเอเชียบูรพาอีกครั้ง โดยมีลักษณะตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2502 ดังนี้
"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบในคราวสงครามมหาอาเซียบูรพานั้น ให้เป็นสีเขียว ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[5]
กรณีการร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีแก้ไข
แพรแถบย่อ | ||
---|---|---|
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีประดับช่อชัยพฤกษ์ | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี ประดีบเปลวระเบิด | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี |
แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2494 ดังนี้
"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการร่วมรบกับสหประชาชาตินั้น ให้เป็นสีฟ้า ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร และถัดริ้วสีฟ้าเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[6]
กรณีการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนามแก้ไข
แพรแถบย่อ | ||
---|---|---|
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ประดับช่อชัยพฤกษ์ | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ประดับเปลวระเบิด | แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม |
แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2510 ดังนี้
"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนามนั้น ให้เป็นสีเหลือง ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงที่ขอบ และถัดริ้วสีแดงเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[7]
ผู้ได้รับพระราชทานแก้ไข
บุคคลสำคัญที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เช่น
- พล.อ. สำเภา ชูศรี
- พล.อ. ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
- พล.อ. ประยุทธ จารุมณี
- พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์
- พล.อ. สัมพันธ์ บุญญานันต์
- พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
- พล.อ. ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
- พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร
- พล.อ. สมทัต อัตตะนันทน์
- พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา
- พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์
- พล.อ. เสริม ณ นคร
- พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
- พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์
- พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
- พล.อ.อ. กมล เดชะตุงคะ
- พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
- พล.อ. สายหยุด เกิดผล
- พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์
- พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล
- พล.อ. วัฒนชัย วุฒิศิริ
- พล.อ. วิโรจน์ แสงสนิท
- พล.อ. มงคล อัมพรพิสิฏฐ์
- พล.อ. สำเภา ชูศรี
- พล.อ. สมทัต อัตตะนันทน์
- พล.ร.อ. หลวงสินธุสงครามชัย
- พล.ร.อ. ถวิล รายนานนท์
- พล.ร.อ. กมล สีตกะลิน
- พล.ร.อ. อมร ศิริกายะ
- พล.ร.อ. กวี สิงหะ
- พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
- พล.ร.อ. ทวีศักดิ์ โสมาภา
- พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส
- พล.ต.ท. พระรามอินทรา
- พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
- พล.อ. ไสว ไสวแสนยากร
- พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์
- พล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร
- พล.ต.อ. พจน์ เภกะนันทน์
- พล.ต.อ. ศรีสุข มหินทรเทพ
- พล.ต.อ. สุรพล จุลละพราหมณ์
- พล.ต.อ. ณรงค์ มหานนท์
- พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร
- พล.ต. จำลอง ศรีเมือง
- ศ. พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
- จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์
- จอมพล ประภาส จารุเสถียร
- จอมพล ถนอม กิตติขจร
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ระเบียงภาพแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "พระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิพุทธศักราช ๒๔๘๔". ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๑๖๓. ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ – โดยทาง krisdika.go.th.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช ๒๔๘๔ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๗ หน้า ๑๙๑๕-๑๕๑๗. ๒๐ ตุลาคม ๒๔๘๕.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกริสดีกา ว่าด้วยแพรแถบเหรียนชัยสมรภูมิ พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา เล่ม 59 ตอนที่ 71 หน้า 2228-2230. 10 พฤศจิกายน 2485.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พุทธศักราช ๒๔๘๕ พุทธศักราช ๒๔๘๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๕๓๑-๕๓๒. ๑๘ กันยายน ๒๔๘๘.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๖ หน้า ๓๐๒-๓๐๔. ๔ สิงหาคม ๒๕๐๒.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๔๙๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗ หน้า ๓๓-๓๕. ๒๓ มกราคม ๒๔๙๔.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๗๔-๗๖. ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๐.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)