ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตวุฒิสมาชิก และเป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 3

ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (79 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในราชสกุลเทพหัสดิน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก จากนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย (วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา) จากนั้นได้ประกอบอาชีพเป็นครู แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พล.อ. ยศ สมรสกับ คุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีบุตร 4 คน คือ

  1. พล.อ. วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
  2. พ.อ. รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  3. นางสาวณัฐธยาน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  4. นางสาวสิริยส เทพหัสดิน ณ อยุธยา

การทำงาน

แก้

พล.อ. ยศ เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในยศร้อยตรี เป็นผู้บังคับหมวดทหารราบ กองพันทหารราบที่ 19 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2483 และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 และรองผู้บัญชาการทหารบก และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในเวียดนาม คนแรกในปี พ.ศ. 2510 ในยศ"พลตรี"

พล.อ. ยศ ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี พ.ศ. 2511[1] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา (ครม.41)[3]

ร่วมก่อการกบฎ

แก้

ในปี พ.ศ. 2528 พล.อ. ยศ เข้าร่วมกับนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ

เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ สวัสดิ์ ลูกโดด ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป ซึ่งการกระทำการครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏทหารนอกราชการ" หรือ กบฏ 9 กันยา[4] หรือ กบฏสองพี่น้อง[5] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  4. รัตนทรัพย์ศิริ, ปกรณ์ (September 8, 2012). "ปฏิวัติ 9 กันยา นัดแล้วไม่มา". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
  5. รอดเพชร, สำราญ (February 16, 2010). "รัฐประหาร 53 ใครจะกล้าทำ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๕, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๘๖๗, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๗๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๔๘๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๘๔, ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๒๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๘, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 71 ตอนที่ 13 หน้า 553, 16 กุมภาพันธ์ 2497
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2249, 12 สิงหาคม 2501
  17. AGO 1969-08 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS