เหรียญพิทักษ์เสรีชน

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ใช้อักษรย่อว่า ส.ช. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ประเภทเหรียญบำเหน็จกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การพระราชทานกรรมสิทธิ์ และการเรียกคืน เช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ ผู้ได้รับจะประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา

เหรียญพิทักษ์เสรีชน
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อส.ช.
ประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ)
วันสถาปนา21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตพิทักษ์เสรีชน
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และราษฎร
มอบเพื่อผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการปฏิบัติการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศหรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายแรกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
25 กันยายน พ.ศ. 2512[1]
รายล่าสุด3 มกราคม พ.ศ. 2567
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญชัยสมรภูมิ
รองมาเหรียญราชนิยม
หมายเหตุพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากผู้สมควรได้รับพระราชทานวายชนม์ไปก่อน ให้ทายาทโดยธรรมรับพระราชทานแทน

ลักษณะ

แก้

ตัวเหรียญ

แก้

เหรียญนี้ทำด้วยทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน มุมบนห้อยกับแพรแถบ ด้านหน้าเหรียญมีรูปดังนี้

  1. ตรงกลางมีจักร หมายถึง ทหารบก
  2. ตรงกลางหลังจักรมีรูปสมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ
  3. ซ้ายและขวามีปีกนก หมายถึง ทหารอากาศ
  4. พับอยู่บนแสงดาบเขนและโล่ห์ซึ่ง หมายถึง ตำรวจ
  5. ตอนบนเป็นรูปครุฑพ่าห์

ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า อสาธุ สาธุนา ชิเน แพรแถบกว้าง 34 มิลลิเมตร ลายริ้วจากบนลงล่างเป็นสีแดงขาวสลับกัน ขอบทั้งสองข้างมีริ้วแดง รวม 17 ริ้ว ข้างบนมีเข็มโลหะจารึกอักษรว่า พิทักษ์เสรีชน

ลำดับชั้น

แก้
แพรแถบย่อ ชั้น วันสถาปนา ลำดับเกียรติในกลุ่มเหรียญราชอิสริยาภรณ์[2]
 
ชั้นที่ 1 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515[3] 5
 
ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512[4] 6
 
ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512[4] 11

ชั้นที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูป"ช่อชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดกลางแพรแถบ ถ้าผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ปฏิบัติการถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 อีก ก็จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายเป็นรูปช่อ"ชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดเพิ่มกลางแพรแถบในทางดิ่งกับช่อชัยพฤกษ์เดิมทุกครั้ง

 
ร.10 ฉลองพระองค์เต็มยศทหารบก ซึ่งมีเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ประดับช่อชัยพฤกษ์ ทั้ง 2 ช่อ

ชั้นที่ 2 มี 2 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปขีดประกอบด้วย"เปลวระเบิด"ติดกลางแพรแถบ
  • ประเภทที่ 2 ไม่มีเครื่องหมายติดแพรแถบ[5]

การขอพระราชทาน

แก้
  • ชั้นที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตในการสู้รบ และการสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งแก่ประเทศ
  • ชั้นที่ 2 มีหลักเกณฑ์การขอพระราชทาน ดังนี้
    • ประเภทที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบจนได้รับคำชมเชยจากทางราชการ หรือปฏิบัติการเสี่ยงอันตรายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
    • ประเภทที่ 2 จะพระราชทานแก่บุคคลซึ่งปฏิบัติการสู้รบเป็นผลดีแก่ประเทศ

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน

แก้

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1

  1. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  2. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  4. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  5. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  6. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  7. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  8. จอมพล ถนอม กิตติขจร
  9. จอมพล ประภาส จารุเสถียร
  10. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
  11. พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
  12. พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา
  13. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
  14. พล.อ. ชัชชม กันหลง
  15. พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
  16. พล.อ. ธีรชัย นาควานิช
  17. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
  18. พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์
  19. พล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร
  20. พล.อ. ปราโมชช์ ถาวรฉันท์
  21. พล.อ. พิจิตร กุลละวณิชย์
  22. พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ
  23. พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
  24. พล.อ. สายหยุด เกิดผล
  25. พล.อ. สำราญ แพทยกุล
  26. พล.อ. สุจินดา คราประยูร
  27. พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์
  28. พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์
  29. พล.อ. เสริม ณ นคร
  30. พล.อ. เล็ก แนวมาลี
  31. พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
  32. พล.อ. เทียนชัย สิริสัมพันธ์
  33. พล.อ. อิสระพงษ์ หนุนภักดี
  34. พล.อ. หาญ ลีนานนท์
  35. พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
  36. พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
  37. พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา
  38. พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์
  39. พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์
  40. พล.อ.อ. เกษตร โรจนิล
  41. พล.อ.อ. พะเพียง กานตรัตน์
  42. พล.อ.อ. กมล เดชะตุงคะ
  43. พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช
  44. พล.ต.อ. เภา สารสิน
  45. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
  46. พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร
  47. ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์
  48. กมล วรรณประภา
  49. จรูญพันธ์ อิศรากูร ณ อยุธยา
  50. ชูสง่า ฤทธิประศาสน์
  51. บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
  52. พิศาล มูลศาสตรสาทร
  53. พ่วง สุวรรณรัฐ

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2

  1. จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์
  2. พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์
  3. พล.อ. บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
  4. พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
  5. พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา
  6. พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
  7. พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ
  8. พล.อ.อ. กำธน สินธวานนท์
  9. พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์
  10. พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ
  11. พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์
  12. พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ
  13. พล.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา
  14. พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
  15. พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ
  16. พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
  17. พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง
  18. พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
  19. พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล
  20. พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์
  21. พล.ต. ม.จ.จุลเจิม ยุคล
  22. พล.อ.ต. เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
  23. พ.อ.(พิเศษ) ประจักษ์ สว่างจิต
  24. พ.อ.(พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง
  25. น.ต. ประสงค์ สุนศิริ
  26. น.ต. สุธรรม ระหงษ์
  27. ร.ท. ม.จ.ภูริพันธ์ ยุคล
  28. ศ. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
  29. ศ. วิจิตร ศรีสอร้าน
  30. ศ.(พิเศษ) ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
  31. ศ.(เกียรติคุณ) เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม
  32. ปลอดประสพ สุรัสวดี
  33. ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่
  34. จำนงค์ โพธิสาโร
  35. จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  36. ชลอ ธรรมศิริ
  37. ถาวร เสนเนียม
  38. บัญญัติ บรรทัดฐาน
  39. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
  40. ศักดา โมกขมรรคกุล
  41. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
  42. สวัสดิ์ วัฒนายากร
  43. สุเมธ ตันติเวชกุล
  44. อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล
  45. อาณัติ บุนนาค
  46. เสรี หวังในธรรม
  47. แก้วขวัญ วัชโรทัย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน. เล่ม 86 ตอนที่ 85 ฉบับพิเศษ หน้า 19. วันที่ 1 ตุลาคม 2512.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย. เล่ม 110 ตอนที่ 29 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1–5. วันที่ 12 มีนาคม 2536.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๔, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๙๐ ก หน้า ๑๗, ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติ เหรียญพิทักษ์เสรีชน พ.ศ. ๒๕๑๒, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๙ ก หน้า ๕๒, ๖ มีนาคม ๒๕๑๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘. เล่ม 132 ตอนที่ 47 ก หน้า 3–6. วันที่ 2 มิถุนายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้