หาญ ลีนานนท์
พลเอก หาญ ลีนานนท์ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2467 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตนักการเมืองผู้มีบทบาทอย่างมากในพื้นที่ภาคใต้
หาญ ลีนานนท์ | |
---|---|
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | จวน วรรณรัตน์ |
ถัดไป | วันชัย จิตต์จำนงค์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (1 ปี 363 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ณรงค์ วงศ์วรรณ |
ถัดไป | พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2467 จังหวัดสตูล ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (93 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ ประชาชน ชาติไทย |
คู่สมรส | ประภา ลีนานนท์ |
ประวัติ
แก้พล.อ. หาญ ลีนานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2467 ที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นบุตรของขุนด่านลีนานนท์ และนางนิตย์ ลีนานนท์ (นามสกุลเดิม : รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) จบการศึกษาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย,โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และโรงเรียนนายร้อยทหารบก (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก, พล.อ. เทียนชัย ศิริสัมพันธ์)
พล.อ. หาญ สมรสกับนางประภา (สกุลเดิม : นัยนานนท์) บุตรีของรองอำมาตย์เอกหลวงวิจิตรสารบรรณ เจียม นัยนานนท์ กับนางชั้น นัยนานนท์ มีบุตรด้วยกันสองคนชื่อนางสุโรจนา ลีนานนท์ ศรีอักษร และ พันตำรวจเอก อาชวาคม ลีนานนท์
การศึกษา
แก้การทำงาน
แก้พล.อ. หาญ เมื่อครั้งยังอยู่ในยศ พลโท เป็นหนึ่งในผู้ร่วมร่างคำสั่ง 66/2523 อันเป็นนโยบายสำคัญในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกับ พล.ต. ชวลิต ยงใจยุทธ และประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ในรัฐบาลชุดที่มี พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นเจ้าของนโยบาย "ใต้ร่มเย็น" อีกด้วย ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526 นับเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 คนที่ 4 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[1]
การเมือง
แก้เมื่อภายหลังปลดเกษียณแล้ว พล.อ. หาญ ได้เข้าสู่การเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขต 2 และเขต 9 กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2529 และเป็นผู้สนับสนุนชนะ รุ่งแสง สมาชิกของพรรคลงรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย [2]
ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
จากนั้นในปี พ.ศ. 2531 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชน ในพื้นที่เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนที่พรรคจะถูกยุบ และโอนไปสังกัดพรรคชาติไทย[3] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2534[4]
และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสตูล ในปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2549[5][6][7]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลเอก หาญ ลีลานนท์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สิริอายุ 93 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[11]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[13]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[18]
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2497 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ร่วมร่างคำสั่ง 66/2523
- ↑ เมื่อนายแบงก์อยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รายชื่อสมาชิกรัฐสภาไทย 2517-2537" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ "พลเอกหาญ ลีลานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
- ↑ พลเอกหาญ ลีลานนท์
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดสตูล (พลเอก หาญ ลีลานนท์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๒๑๐, ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๓ กันยายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 71 ตอนที่ 13 หน้า 578, 16 กุมภาพันธ์ 2497