เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (อังกฤษ: The Most Noble Order of the Crown of Thailand) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม ของทุกปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2412 เดิมมีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2484 [1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย | |
---|---|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประถมาภรณ์มงกุฎไทย | |
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ดูในบทความ |
ประเภท | สายสะพายพร้อมดารา , ดวงตราพร้อมดารา , ดวงตรา , เหรียญทอง , เหรียญเงิน (8 ชั้น) |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2412 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการ, ผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี |
มอบเพื่อ | เป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดินแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายล่าสุด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ |
หมายเหตุ | รัฐบาลไทยเป็นผู้เสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย มีศักดิ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกในชั้นที่เท่ากัน เช่น ชั้นที่ 3 ต้องประดับ ดวงตราช้างเผือกก่อนแล้วจึงต่อด้วยดวงตรามงกุฎไทย
ประวัติ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2412 เดิมมีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2484 [2]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเภท ลำดับชั้น และ ลำดับเกียรติ
แก้แพรแถบย่อ | ดุมเสื้อ | ชั้น | ชื่อ | อักษรย่อ | ชื่อเดิม | วันสถาปนา | ลำดับเกียรติ[3] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชั้นสูงสุด | มหาวชิรมงกุฎ | ม.ว.ม. | - | พ.ศ. 2461 | 9 | ||
ชั้นที่ 1 | ประถมาภรณ์มงกุฎไทย | ป.ม. | มหาสุราภรณ์ (ม.ส.ม.) [4] | พ.ศ. 2412 | 11 | ||
ชั้นที่ 2 | ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย | ท.ม. | จุลสุราภรณ์ (จ.ม.) | พ.ศ. 2412 | 16 | ||
ชั้นที่ 3 | ตริตาภรณ์มงกุฎไทย | ต.ม. | มัณฑนาภรณ์ (ม.ม.) | พ.ศ. 2412 | 24 | ||
ชั้นที่ 4 | จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย | จ.ม. | ภัทราภรณ์ (ภ.ม.) | พ.ศ. 2412 | 29 | ||
ชั้นที่ 5 | เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย | บ.ม. | วิจิตราภรณ์ (ว.ม.) | พ.ศ. 2412 | 34 | ||
ไม่มี | ชั้นที่ 6 | เหรียญทองมงกุฎไทย | ร.ท.ม. | - | พ.ศ. 2445 | 53 | |
ชั้นที่ 7 | เหรียญเงินมงกุฎไทย | ร.ง.ม. | - | 56 |
ลักษณะ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีทั้งหมด 8 ชั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้[5]
- ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ประกอบด้วย
- สายสะพาย เป็นแพรแถบมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีครามแก่ มีริ้วแดงและขาว อยู่ริมทั้งสองข้าง สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา
- ดวงตรา เป็นกลีบบัวทอง แววลงยาสีแดงสี่กลีบ มีพระมหาวชิราวุธเงินแทรกสลับตามระหว่าง กลางดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ร.ร." กับเลข 6 ไทย เป็นเพชรสร่ง มีเนื้อเงินล้อมรอบอยู่ภายใต้พระมหามงกุฎทอง เบื้องบนมีพระมหาเศวตฉัตร รัศมีทอง
- ดารา เป็นรัศมีเงินสี่ทิศ มีรัศมีสายฟ้าทองแทรกสลับตามระหว่าง กลางดาราเหมือนอย่างดวงตรา แต่อักษรพระปรมาภิไธยย่อประดับเพชร และไม่มีพระมหาเศวตฉัตร ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ประกอบด้วย
- สายสะพาย เป็นแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีน้ำเงินริมเขียว มีริ้วเหลืองรื้วแดงขนาดใหญ่คั่นทั้งสองข้าง สะพายบ่าขวาเฉียงลงบ่าซ้าย
- ดวงตรา เป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ในลายหว่านล้อมทอง พื้นลงยาสีน้ำเงินและสีแดง มีกระจังเงินใหญ่และเล็ก อย่างละสี่ทิศ มีรัศมีทองสลับตามระหว่าง ด้านหลังเปลี่ยนพระมหามงกุฎเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." เบื้องบนมีจุลมงกุฎ
- ดารา เป็นรูปอย่างด้านหน้าดวงตรา ด้านหลังเป็นทอง และไม่มีจุลมงกุฎ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร มีสีเดียวกับสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- ดวงตรา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง บุรุษใช้ห้อยแพรแถบสวมคอ สตรีใช้ห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ดารา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีลักษณะ ขนาด และสีอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ดวงตรา มีลักษณะและการประดับอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ลักษณะการประดับเหมือนทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ขั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร มีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
- ดวงตรา มีลักษณะอย่างตริตาภรณ์มงกุฎไทย แต่มีขนาดย่อมกว่า บุรุษใช้ห้อยแพรแถบประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สตรีใช้ห้อยแพรแถบผุกเป็นรูปแมลงปอ
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย แต่ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- ดวงตรา มีลักษณะและการประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- เหรียญ เป็นเหรียญเงินกลมกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ในลายหว่านล้อม ด้านหลังเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." เบื้องบนมีจุลมงกุฎ การประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- เหรียญ เป็นเหรียญเงินกลม มีลักษณะอย่างเหรียญทองมงกุฎไทย การประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
สำหรับพระราชทานสตรี จะมีขนาดย่อมกว่าของบุรุษ
-
สายสะพาย ดวงตรา ดารา และดุมแพรแถบย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ
-
ภาพจำหลักไม้รูปสายสะพายและดวงตรามหาสุราภรณ์ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย) ณ บานประตูพระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
-
สายสะพาย ดวงตรา และดาราประถมาภรณ์มงกุฎไทย
-
ดวงตราประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ด้านหน้า)
-
ดวงตราประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ด้านหลัง)
-
ดารามหาสุราภรณ์ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย) และจุลสุราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย) (ก่อน พ.ศ. 2454)
-
ดาราประถมาภรณ์มงกุฎไทยและทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
-
ดวงตราจุลสุราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย) และมัณฑนาภรณ์ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย) (ก่อน พ.ศ. 2454)
-
ดวงตราทวีติยาภรณ์มงกุฎไทยและตริตาภรณ์มงกุฎไทย
-
ดวงตราจตุรถาภรณ์มงกุฎไทย สำหรับสตรี
-
ดวงตราเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
-
เหรียญเงินมงกุฎไทย สำหรับสตรี
-
ตัวอย่างแพรแถบย่อชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ร่วมกับแพรแถบย่ออื่น ๆ
-
ตัวอย่างแพรแถบย่อชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ชั้นสูงสุดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้) ร่วมกับแพรแถบย่ออื่น ๆ
การขอพระราชทาน
แก้การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลมงกุฎไทยนี้ กำหนดให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564[6] การขอพระราชทานในครั้งแรกในกรณีข้าราชการ จะต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม โดยให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน ดังนี้
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก
ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ในกรณีข้าราชการเริ่มที่
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
ชั้นสายสะพาย หรือ ข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ สามารถขอรับพระราชทานโกศประดับเมื่อสิ้นชีวิต
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (สายสะพาย 1)
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 2)
- ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (สายสะพาย 3)
- ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 4)
การพิจารณาเสนอขอพระราชทาน
แก้การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด 32 บัญชี
- บัญชี 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่รัฐมนตรี
- บัญชี 2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการการเมือง ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้แทนการค้าไทย กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และกรรมการประสานงานวุฒิสภา
- บัญชี 3 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา
- บัญชี 4 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
- บัญชี 5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
- บัญชี 6 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่น
- บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- บัญชี 8 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
- บัญชี 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน
- บัญชี 10 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- บัญชี 11 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- บัญชี 12 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- บัญชี 13 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- บัญชี 14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ราชบัณฑิต และกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
- บัญชี 15 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
- บัญชี 16 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- บัญชี 17 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
- บัญชี 18 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการทหาร
- บัญชี 19 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
- บัญชี 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
- บัญชี 21 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
- บัญชี 22 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ดะโต๊ะยุติธรรม และผู้พิพากษาสมทบ
- บัญชี 23 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการอัยการ
- บัญชี 24 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- บัญชี 25 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ
- บัญชี 26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ
- บัญชี 27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
- บัญชี 28 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมายที่ไม่เป็นข้าราขการ
- บัญชี 29 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นข้าราชการ
- บัญชี 30 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
- บัญชี 31 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้มีผลงานความดีความชอบอย่างยิ่ง
- บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้แทนทางการทูตของต่างประเทศและชาวต่างประเทศ
ตัวอย่างการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้กรณีข้าราชการพลเรือน
แก้การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้
ประเภททั่วไป
แก้- ระดับปฏิบัติงาน เริ่มขอ บ.ม. ถึง จ.ช.
- ระดับชำนาญงาน เริ่มขอ ต.ม. ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
- ระดับอาวุโส เริ่มขอ ท.ม. ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
- ระดับทักษะพิเศษ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
ประเภทวิชาการ
แก้- ระดับปฏิบัติการ เริ่มขอ ต.ม.
- ระดับชำนาญการ เริ่มขอ ต.ช. ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ท.ม.- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
- ระดับชำนาญการพิเศษ เริ่มขอ ท.ช. ได้รับเงินเดือนขั้นสูง - ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
- ระดับเชี่ยวชาญ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
- ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
ประเภทอำนวยการ
แก้- ระดับต้น เริ่มขอ ท.ช. ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
- ระดับสูง ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
ประเภทบริหาร
แก้- ระดับต้น ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อย 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง, หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือตำแหน่งเทียบเท่า เริ่มต้นขอพระราชทาน ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, พระราชลัญจกร, พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2538, ISBN 974-7771-63-2
- ↑ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, พระราชลัญจกร, พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2538, ISBN 974-7771-63-2
- ↑ "ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์. หน้า 9. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม, 2564.
- ↑ พระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พุทธศักราช 2484,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 1574 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2484.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง หน้า ๑-๖๒, ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การปรับราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2553, เล่ม 125, ตอน พิเศษ 49 ง, 6 มีนาคม พ.ศ. 2551, หน้า 8