สีน้ำเงิน
สีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเหลือง
น้ำเงิน | |
---|---|
Spectral coordinates | |
ความยาวคลื่น | ประมาณ 450–495 nm |
Frequency | ~670–610 THz |
Color coordinates | |
Hex triplet | #0000FF |
ระบบสี RGBB (r, g, b) | (0, 0, 255) |
HSV (h, s, v) | (240°, 100%, 100%) |
CIELChuv (h, s, v) | (32, 131, 266°) |
Source | HTML/CSS[1] |
B: อยู่ในช่วง [0–255] (ไบต์) |
สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้
สัญลักษณ์สีน้ำเงิน
แก้- สีน้ำเงิน เป็นสีแทนสัญลักษณ์ของความสุขุม ความรอบคอบ และมิตรภาพ
- สีน้ำเงิน เป็นสีแทนสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ชาย
- ในทางลบ สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของบาปราคะ
- เป็นสัญลักษณ์สีของวันศุกร์
- ในประเทศไทย สีน้ำเงินปรากฏเป็นสีตรงกลางในธงไตรรงค์ มีความหมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์
- สีน้ำเงิน ในทางการเมืองไทย เป็นสีประจำกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ, กลุ่มเพื่อนเนวิน, พรรคภูมิใจไทย ในขณะที่สีฟ้า เป็นสีประจำพรรคประชาธิปัตย์
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำทีมเชลซี, ทีมเอฟเวอร์ตัน, ทีมเลสเตอร์ซิตี, ทีมชัลเคอ 04, ทีมชาติญี่ปุ่น, ทีมชาติอิตาลี, ทีมชาติฝรั่งเศส,ทีมชาติไทยและสีน้ำเงินเข้ม หรือสีกรมท่า เป็นสีประจำทีมบุรีรัมย์ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในขณะที่สีฟ้าของสีของทีมแมนเชสเตอร์ซิตี และทีมชลบุรีเอฟซี
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำตัว กึมมี สมาชิกวง เครยอนป๊อป เกิร์ลกรุปเกาหลี
- สีฟ้าหม่น เป็นสีประจำทหารบก เหล่าทหารม้า
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำวงซูเปอร์จูเนียร์ บอยแบรนด์ของประเทศเกาหลีใต้
- สีน้ำเงินเป็นสีประจำสายการบินนิวเจนแอร์เวย์ ส่วนสีฟ้าเป็นสีประจำสายการบินบางกอกแอร์เวย์
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำของธนาคารกรุงเทพ
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำของธนาคารยูโอบี
- สีฟ้าอ่อน เป็นสีประจำของธนาคารกรุงไทย
- สีน้ำเงินอ่อน เป็นสีประจำของธนาคารทหารไทย
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำของสถานีโทรทัศน์เอ็นพีทีวี
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำของกองทัพอากาศ
สีประจำสถาบันการศึกษา
แก้- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[2][3]
- สีฟ้าใส เป็นสีประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [4]
- เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยมหิดล[5]
- สีตาแมว เป็นสีประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[6]
- สีครามฝรั่ง เป็นสีประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[6]
- เป็นสีประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
- เป็นสีประจำโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
- เป็นสีประจำคณะนิเทศศาสตร์
- เป็นสีประจำโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
- เป็นสีประจำโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
- สีฟ้าคราม เป็นสีประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อที่ใช้ใน HTML |
R G B Hex |
ตัวอย่างสี | ||
---|---|---|---|---|
Lightcyan | E0 | FF | FF | |
Paleturquoise | AF | EE | EE | |
Aqua | 00 | FF | FF | |
Aquamarine | 7F | FF | D4 | |
Turquoise | 40 | E0 | D0 | |
Mediumturquoise | 48 | D1 | CC | |
Darkturquoise | 00 | CE | D1 | |
Powderblue | B0 | E0 | E6 | |
Lightsteelblue | B0 | C4 | DE | |
Lightblue | AD | D8 | E6 | |
Skyblue | 87 | CE | EB | |
Lightskyblue | 87 | CE | FA | |
Deepskyblue | 00 | BF | FF | |
Cornflowerblue | 64 | 95 | ED | |
Steelblue | 46 | 82 | B4 | |
Cadetblue | 5F | 9E | A0 | |
Mediumslateblue | 7B | 68 | EE | |
Dodgerblue | 1E | 90 | FF | |
Royalblue | 41 | 69 | E1 | |
Blue | 00 | 00 | FF | |
Mediumblue | 00 | 00 | CD | |
Darkblue | 00 | 00 | 8B | |
Navy | 00 | 00 | 80 | |
Midnightblue | 19 | 19 | 70 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "CSS Color Module Level 3". w3.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-23.
- ↑ "สีประจำคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๖ เรียกดูวันที่ 2017-10-28
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
- ↑ สีประจำมหาวิทยาลัย คณะ ส่วนงาน เก็บถาวร 2015-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ 6.0 6.1 สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 (โดยมีอาจารย์ ดร. ไพโรจน์ พิทยเมธี อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้จัดทำสีไทยโทน ในการควบคุมและประสานงานเพื่อปรับสีประจำคณะวิชา)