สีสัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สีสัน หมายถึง ระดับสีภายในช่วงสเปคตรัมแสง หรือ ช่วงแสงที่มองเห็น เป็นการเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะของที่ทำให้สีแดงแตกต่างจากสีเหลืองจากสีน้ำเงิน สีสันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นเป็นใหญ่ (dominant wavelength) ของแสงที่เปล่งออก หรือสะท้อนจากวัตถุ ตัวอย่างเช่น ในแสงที่มองเห็น ปกติจะอยู่ระหว่างแสงอินฟราเรด (ความยาวคลื่นประมาณ 700 นาโนเมตร) และแสงอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นประมาณ 400 นาโนเมตร)
คำว่า "สีสัน" อาจหมายถึง สีพิเศษชนิดใดชนิดหนึ่งในสเปคตรัมนั้นก็ได้ ซึ่งกำหนดได้จากความยาวคลื่นหลัก หรือแนวโน้มกลางของความยาวคลื่นรวม ตัวอย่างเช่น คลื่นแสงที่มีแนวโน้มกลางภายใน 565-590 นาโนเมตร จะเป็นสีเหลือง
ในทฤษฎีการระบายสี คำว่า "สีสัน" หมายถึง สีบริสุทธิ์ คือสีที่ไม่มีการเติมสีขาว หรือสีดำ เข้ามา [ต้องการอ้างอิง]
สำหรับในปริภูมิสีแบบ RGB นั้น คำว่า "สีสัน" อาจถือได้ว่าเป็นมุมพไซ (φ) ในตำแหน่งมาตรฐาน การคำนวณ φ นั้น ให้ R, G และ B เป็นโคออร์ดิเนตสีในพื้นที่สี RGB ซึ่งกำหนดสเกลจาก 0 ถึง 1 จากนั้น เมื่อได้ค่าความสว่าง (brightness) μ และค่าความอิ่มตัว (saturation) σ แล้ว ก็จะได้สีสัน จากสูตร
(เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน) การใช้สูตรนี้ φ=0 (เป็นหน่วยเรเดียน) จะเทียบได้กับสีแดง ขณะที่ φ=2π/3 จะตรงกับสีน้ำเงิน และ φ=4π/3 จะตรงกับสีเขียว) [ต้องการอ้างอิง]
สีสันในโคออร์ดิเนต RGB นั้นควรจะแปลงจากโคออร์ดิเนต μ, σ, φ ดังนี้
สีสันเป็นโคออร์ดิเนต (มุมของการหมุนรอบ) ในปริภูมิสี HSL และปริภูมิสี HSV [ต้องการอ้างอิง]
หมายเหตุ
แก้- สีสัน เป็นศัพท์บัญญัติจากคำว่า "hue" ในภาษาอังกฤษ โดยคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ สาขาวิชาถ่ายภาพ แห่งราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ปัจจุบันยังไม่ติดในหมู่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยทั่วไปจึงอาจทับศัพท์ว่า hue ก็เป็นที่เข้าใจตรงกัน [ต้องการอ้างอิง]
- คำว่า สีสัน ที่กล่าวถึงนี้อยู่ปริบทด้านภาพและแสง ซึ่งแตกต่างจาก สีสัน ในแง่ของเสียง หรือดนตรี
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้== ดูเ พิ่ม ==