ภาษาอังกฤษ

ภาษาในตระกูลเจอร์แมนิกตะวันตก

ภาษาอังกฤษ (อังกฤษ: English language) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก[4] ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน[2] มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ

ภาษาอังกฤษ
ออกเสียง/ˈɪŋɡlɪʃ/[1]
ประเทศที่มีการพูดสหราชอาณาจักร, แองโกล-อเมริกา, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, ไอร์แลนด์ และสถานที่อื่น ๆ ในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ
จำนวนผู้พูดภาษาแม่: 380 ล้านคน  (2566)[2]
ภาษาที่สอง: 1.077 ล้านคน (2023)[3]
ทั้งหมด: 1.457 ล้านคน
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
รหัสภาษา
ISO 639-1en
ISO 639-2eng
ISO 639-3eng
Linguasphere52-ABA
  ประเทศหรือภูมิภาคที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่เป็นหลัก
  ประเทศหรือภูมิภาคที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการหรือพูดกันจำนวนมาก แต่มิใช่ภาษาแม่หลัก
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[5][6][7][8] ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค[9][10]

ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรป

[11] ภาษาอังกฤษยังได้รับอิทธิพลเพิ่มจากภาษานอร์สเก่าเพราะการบุกครองของไวกิ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ภาษาอังกฤษยืมคำมาจากภาษานอร์มันอย่างมาก และสัญนิยมคำศัพท์และการสะกดเริ่มให้ลักษณะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโรมานซ์[12][13] แก่ภาษาที่ต่อมากลายเป็นภาษาอังกฤษกลาง การเลื่อนสระครั้งใหญ่ (Great Vowel Shift) ซึ่งเริ่มขึ้นทางตอนใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดของภาษาอังกฤษใหม่จากภาษาอังกฤษกลาง

เนื่องจากการกลมกลืนคำจากภาษาอื่นมากมายตลอดประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษใหม่จึงมีคำศัพท์ใหญ่มาก โดยมีการสะกดที่ซับซ้อนและไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสระ ภาษาอังกฤษใหม่ไม่เพียงแต่กลมกลืนคำจากภาษาอื่นของยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมภาษาอื่นทั่วโลกด้วย พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดแสดงรายการคำไว้กว่า 250,000 คำ ซึ่งยังไม่รวมศัพท์เทคนิค วิทยาศาสตร์และสแลง[14][15]

ความสำคัญ

ภาษาอังกฤษใหม่ ที่บางครั้งมีผู้อธิบายว่าเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลก[16][17] เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดหรือในบางกรณี เป็นภาษาระหว่างประเทศที่ต้องใช้ในการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจ การเดินเรือ[18] การบิน[19] การบันเทิง วิทยุและการทูต[20] ภาษาอังกฤษเริ่มแพร่ออกนอกหมู่เกาะอังกฤษจากการเติบโตของจักรวรรดิอังกฤษ และเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาอังกฤษก็ไปทั่วโลกอย่างแท้จริง[21] หลังการยึดอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาเด่นในสหรัฐอเมริกาแคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาและสถานภาพอภิมหาอำนาจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยิ่งเร่งการแพร่ของภาษาไปทั่วโลก[17] ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นของผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์แทนภาษาเยอรมันในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20[22] ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นเทียบเท่าและอาจแซงหน้าภาษาฝรั่งเศสในทางการทูตตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19

ความรู้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานกลายเป็นสิ่งจำเป็นในหลายสาขา อาชีพและวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์และวิชาการคอมพิวเตอร์ ผลคือ กว่าหนึ่งพันล้านคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน และยังเป็นหนึ่งในหกภาษาราชการของสหประชาชาติ

ผลกระทบหนึ่งของการเติบโตของภาษาอังกฤษ คือ การลดความหลากหลายทางภาษาพื้นเมืองในหลายส่วนของโลก อิทธิพลของภาษาอังกฤษยังมีบทบาทสำคัญในการลดจำนวนภาษา[23] ในทางตรงข้าม ความหลากหลายภายในโดยธรรมชาติของภาษาอังกฤษ ร่วมกับภาษาผสม (creole) และภาษาแก้ขัด (pidgin) มีศักยะผลิตภาษาใหม่ที่แยกกันชัดเจนจากภาษาอังกฤษตามกาล[24]

ประวัติ

การกระจายทางภูมิศาสตร์

มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่งราว 360 ล้านคน ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน[2] อย่างไรก็ดี เมื่อรวมผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และมิใช่ภาษาแม่แล้ว ภาษาอังกฤษก็อาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก แม้อาจน้อยกว่าผู้พูดภาษาจีนรวมกัน (ขึ้นอยู่กับว่านับรวมเป็น "ภาษา" หรือนับแยกเป็น "ภาษาถิ่น")[25][26][27]

การประมาณซึ่งรวมผู้พูดเป็นภาษาที่สองนั้นแปรผันอย่างมากตั้งแต่ 470 ล้านคน ถึงกว่าหนึ่งพันล้านคน ขึ้นอยู่กับว่านิยามและวัดการรู้หนังสือหรือความชำนาญอย่างไร[28][29] เดวิด คริสทอล (David Crystal) ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ คำนวณว่าผู้ที่พูดมิใช่ภาษาแม่นั้นมีมากกว่าผู้พูดเป็นภาษาแม่เป็นสัดส่วน 3 ต่อ 1[30]

ประเทศที่มีประชากรผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (226 ล้านคน)[31] สหราชอาณาจักร (61 ล้านคน)[32] แคนาดา (18.2 ล้านคน)[33] ออสเตรเลีย (15.5 ล้านคน)[34] ไนจีเรีย (3-5 ล้านคน)[35] ไอร์แลนด์ (3.8 ล้านคน)[32] แอฟริกาใต้ (3.7 ล้านคน)[36] และนิวซีแลนด์ (3.6 ล้านคน) ตามลำดับ ข้อมูลมาจากสำมะโนปี 2549[37]

หลายประเทศ อย่างฟิลิปปินส์ จาเมกาและไนจีเรียยังมีผู้พูดภาษาถิ่นต่อเนื่อง (dialect continuum) เป็นภาษาแม่อีกหลายล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ภาษาครีโอล (creole language) อิงภาษาอังกฤษไปจนถึงภาษาอังกฤษรุ่นที่เป็นมาตรฐานมากกว่า ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมากที่สุด คริสทอลอ้างว่า เมื่อรวมผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และไม่เป็นภาษาแม่รวมกัน ปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีประชากรที่พูดหรือเข้าใจภาษาอังกฤษมากกว่าประเทศใดในโลก[38][39]

ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากล

ภาษาอังกฤษมักถูกเรียกว่าเป็น "ภาษาสากล" เพราะมีการพูดอย่างกว้างขวาง และแม้จะมิใช่ภาษาราชการในประเทศส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน มีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุด ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของการสื่อสารการบิน[40]และในทะเล[41] ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอีกหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการศึกษาเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดในสหภาพยุโรป ถึง 89% ในเด็กวัยเรียน นำหน้าภาษาฝรั่งเศสที่ 32% ขณะที่การรับรู้ประโยชน์ของภาษาต่างประเทศในบรรดาชาวยุโรป คือ 68% สนับสนุนภาษาอังกฤษ มากกว่าภาษาฝรั่งเศสที่ 25%[42] ในบรรดาบางประเทศสหภาพยุโรปที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ ประชากรผู้ใหญ่จำนวนมากอ้างว่าสามารถสนทนาภาษาอังกฤษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สวีเดน 85%, เดนมาร์ก 83%, เนเธอร์แลนด์ 79%, ลักเซมเบิร์ก 66% และในฟินแลนด์ สโลวีเนีย ออสเตรเลีย เบลเยียมและเยอรมนี กว่า 50%[43] ในปี 2555 หากไม่นับผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ชาวยุโรป 38% มองว่าตนสามารถพูดภาษาอังกฤษ[44] แต่ชาวญี่ปุ่นเพียง 3% ที่มองเช่นนั้น[45]

หนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในแวดวงวิทยาศาสตร์ โดยดัชนีการอ้างอิงวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อปี 2540 ว่า บทความของดัชนีฯ 95% เขียนในภาษาอังกฤษ แม้เพียงครึ่งหนึ่งจะมาจากผู้ประพันธ์ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ

วรรณกรรมภาษาอังกฤษคิดเป็น 28% ของวรรณกรรมทั้งหมดที่ตีพิมพ์ทั่วโลก และคิดเป็น 30% ของเนื้อหาเว็บในปี 2554 (จาก 50% ในปี 2543)[45]

การใช้ภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนี้ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาษาอื่นจำนวนมาก จนนำไปสู่ภาษาเปลี่ยนหรือกระทั่งภาษาตาย[46] และการอ้างจักรวรรดินิยมทางภาษา[47] ภาษาอังกฤษเองก็เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากขึ้น เพราะความหลากหลายในภูมิภาคป้อนกลับไปยังภาษาโดยรวมเช่นกัน[47]

ระบบการเขียน

พยัญชนะอังกฤษสมัยใหม่ประกอบด้วยอักษร 26 ตัว ได้แก่ a, b, c, d, e, f, g, h, i, j, k, l, m, n, o, p, q, r, s, t, u, v, w, x, y, z (รูปอักษรใหญ่เป็น A, B, C, D, E, F, G, H, I, J, K, L, M, N, O, P, Q, R, S, T, U, V, W, X, Y, Z ตามลำดับ) สัญลักษณ์อื่นซึ่งใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษมีการผูก æ และ œ ซึ่งพบได้น้อย นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรบ้าง ส่วนใหญ่ในคำยืมจากภาษาต่างประเทศ (เช่น เครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัดในคำว่า café และ exposé) และในการใช้เครื่องหมายไดเอเรซิส (diaeresis) บางครั้งเพื่อชี้ว่าสระสองตัวนั้นออกเสียงแยกกัน (เช่น ในคำว่า naïve และ Zoë)

ระบบการสะกด หรืออักขรวิธี ของภาษาอังกฤษนั้นมีหลายชั้น โดยมีส่วนการสะกดภาษาฝรั่งเศส ละตินและกรีกบนระบบเจอร์แมนิกพื้นเมือง นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังซับซ้อนขึ้นจากการเปลี่ยนเสียงที่ไม่ไปด้วยกันกับอักขรวิธี จึงหมายความว่า การสะกดภาษาอังกฤษมิใช่ตัวชี้บอกการออกเสียงที่น่าเชื่อถือ หรือกลับกัน เมื่อเทียบกับภาษาอื่นจำนวนมาก (กล่าวโดยทั่วไป ภาษาอังกฤษมิใช่อักขรวิธีเชิงหน่วยเสียง)

แม้อักษรและเสียงอาจไม่สัมพันธ์กันเมื่อแยกกัน แต่กฎการสะกดซึ่งพิจารณาโครงสร้างพยางค์ สัทศาสตร์และการลงน้ำหนักนั้นน่าเชื่อถือไม่น้อยกว่า 75%[48] การสะกดเสียงบางอย่างสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าภาษาอังกฤษนั้นสอดคล้องกับการออกเสียงกว่า 80%[49] อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์สอดคล้องระหว่างเสียงกับอักษรน้อยกว่าภาษาอื่นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ลำดับอักษร ough สามารถออกเสียงได้ถึง 10 วิธี ผลของประวัติอักขรวิธีซับซ้อนนี้ คือ การอ่านอาจเป็นสิ่งท้าทาย[50] ผู้เรียนต้องใช้เวลานานกว่าภาษาอื่นจึงจะเป็นนักอ่านภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงภาษาฝรั่งเศส กรีกและสเปน[51] พบว่า เด็กที่พูดภาษาอังกฤษใช้เวลาเรียนอ่านนานกว่าเด็กในประเทศยุโรปอื่น 12 ประเทศสองปี[52]

สำหรับพยัญชนะ ความสอดคล้องระหว่างการสะกดกับการออกเสียงนั้นค่อนข้างสม่ำเสมอ อักษร b, d, f, h, j, k, l, m, n, p, r, s, t, v, w, z แทนหน่วยเสียง /b/, /d/, /f/, /h/, /dʒ/, /k/, /l/, /m/, /n/, /p/, /r/, /s/, /t/, /v/, /w/, /z/ ตามลำดับ อักษร c และ g ปกติจะแทน /k/ และ /g/ แต่ยังมีเสียง c อ่อนที่ออกเสียงเป็น /s/ และเสียง g อ่อนที่ออกเสียงเป็น /dʒ/ บางเสียงนั้นแทนด้วยทวิอักษร ได้แก่ ch แทน /tʃ/, sh แทน /ʃ/, th แทน /θ/ หรือ /ð/, ng แทน /ŋ/ (นอกจากนี้ ph ออกเสียงเป็น /f/ ในคำที่มาจากภาษากรีก) อักษรพยัญชนะซ้อน (และ ck) โดยทั่วไปออกเสียงเป็นพยัญชนะเดี่ยว และ qu และ x ออกเสียงเป็น /kw/ และ /ks/ อักษร y เมื่อใช้เป็นพยัญชนะ แทน /j/ อย่างไรก็ดี ชุดกฎนี้มีข้อยกเว้นเช่นกัน หลายคำมีพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงหรือออกเสียงพิเศษ

ส่วนสระนั้น ความสอดคล้องระหว่างการสะกดและการออกเสียงยิ่งไม่สม่ำเสมอ ภาษาอังกฤษมีหน่วยเสียงสระมากกว่าอักษรสระ (a, e, i, o, u) มาก ซึ่งหมายความว่า การประสมอักษรมักจำเป็นต้องใช้ระบุสระประสมสองเสียงและสระยาวอื่น ๆ (เช่น oa ในคำว่า boat และ ay ในคำว่า stay) หรือการใช้ e ที่ไม่ออกเสียงหรืออุบายคล้ายกันแทน (เช่นในคำว่า note และ cake) ทว่า อุบายเหล่านี้ก็ยังไม่ใช้คงเส้นคงวา ฉะนั้น การออกเสียงสระจึงยังเป็นแหล่งความไม่สม่ำเสมอหลักในอักขรวิธีภาษาอังกฤษ

สัทวิทยา

สัทวิทยา (ระบบเสียง) ของภาษาอังกฤษแตกต่างกันตามภาษาถิ่น คำอธิบายด้านล่างใช้ได้กับชนิดมาตรฐาน ที่เรียกว่า สำเนียงอังกฤษมาตรฐาน (RP) และสำเนียงอเมริกันมาตรฐาน

พยัญชนะ

ตารางด้านล่างแสดงระบบหน่วยเสียงพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ สัญลักษณ์ต่าง ๆ มาจากสัทอักษรสากล (IPA) และยังใช้ระบุการออกเสียงในพจนานุกรมหลายเล่ม

  โอษฐชะ ริมฝีปาก-
ฟัน
ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน ริมฝีปาก-
เพดานอ่อน
เส้นเสียง
นาสิก m     n     ŋ  
ระเบิด p   b     t   d     k   ɡ  
กักเสียดแทรก         tʃ   dʒ      
เสียดแทรก   f   v θ   ð s   z ʃ   ʒ   (x) h
เปิด       r   j   w  
เปิดข้างลิ้น       l        

หากพยัญชนะมาเป็นคู่ (เช่น "p b") พยัญชนะตัวแรกจะไม่ก้อง ออกเสียงตัวที่สอง สัญลักษณ์ส่วนมากแสดงเสียงเดียวกับตามปกติเมื่อใช้เป็นอักษร แต่ /j/ แทนเสียงแรกของ yacht สัญลักษณ์ /ʃ/ แทนเสียง sh, /ʒ/ แทนเสียงกลางของ vision, /tʃ/ แทนเสียง ch, /dʒ/ แทนเสียง j ใน jump, /θ/ และ /ð/ แทนเสียง th ใน thing และ this ตามลำดับ, และ /ŋ/ แทนเสียง ng ใน sing เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง /x/ มิใช่หน่วยเสียงปกติในภาษาอังกฤษชนิดส่วนใหญ่ แม้ผู้พูดคำภาษาสกอต/เกลิกบางคนใช้ เช่น loch หรือในคำยืมอื่น เช่น chanukah

การแปรผันในการออกเสียงพยัญชนะที่โดดเด่นบางอย่าง ได้แก่

  • ในการลงน้ำหนักไม่รัวลิ้น เช่น สำเนียงอังกฤษมาตรฐานและสำเนียงออสเตรเลีย /r/ สามารถปรากฏก่อนสระเท่านั้น (ฉะนั้นจึงไม่มีเสียง "r" ในคำอย่าง card) การออกเสียง /r/ ตามจริงนั้นแตกต่างกันตามภาษาถิ่น แต่ที่พบมากที่สุด คือ เสียงเปิด ปุ่มเหงือก [ɹ]
  • ในสำเนียงอเมริกาเหนือและสำเนียงออสเตรเลีย /t/ และ /d/ เป็นเสียงลิ้นสะบัด [ɾ] ในหลายตำแหน่งระหว่างสระ[53] ซึ่งหมายความว่า คู่คำอย่าง latter และ ladder อาจเป็นคำพ้องเสียงสำหรับผู้พูดภาษาถิ่นเหล่านี้
  • เสียง th /θ/ และ /ð/ บางครั้งออกเสียงเป็น /f/ และ /v/ ในค็อกนีย์ และเป็นเสียงระเบิด ฟัน (ซึ่งตามปกติเป็นเสียงระเบิด ปุ่มเหงือก) ในบางสำเนียงไอร์แลนด์ ในสำเนียงพื้นเมืองแอฟริกันอเมริกัน /ð/ รวมกับเสียงฟัน /d/
  • เสียง w อโฆษะ [ʍ] บางครั้งเขียนเป็น /hw/ สำหรับ wh ในคำอย่าง when และ which พบในสำเนียงสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และอื่น ๆ บ้าง
  • เสียงระเบิดอโฆษะ /p/, /t/ และ /k/ นั้นธนิตบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นพยางค์ที่เน้น แต่ไม่ธนิตหลัง /s/ ที่ต้นคำ เช่น spin

สระ

ระบบหน่วยเสียงและการออกเสียงสระนี้แปรผันได้มากตามภาษาถิ่น ตารางด้านล่างนี้แสดงรายการสระที่พบในสำเนียงอังกฤษมาตรฐานและสำเนียงอเมริกันมาตรฐาน (ซึ่งในที่นี้ย่อเป็น GAm) พร้อมตัวอย่างคำที่หน่วยเสียงปรากฏ สระนั้นแสดงด้วยสัญลักษณ์จากสัทอักษรสากล สัญลักษณ์ซึ่งให้แก่ RP นั้นพบใช้ค่อนข้างเป็นมาตรฐานในพจนานุกรมของอังกฤษและสิ่งพิมพ์เผยแพร่อื่น

RP GAm คำ
สระเดี่ยว
i need
ɪ ɪ bid
e ɛ bed
æ æ back
ɒ (ɑ) box
ɔː ɔ paw
ɑː ɑ bra
RP GAm คำ
สระเดี่ยว (ต่อ)
ʊ ʊ good
u food
ʌ ʌ but
ɜː ɜr bird
ə ə comma
(ɪ) ɨ roses
RP GAm คำ
สระประสมสองเสียง
bay
əʊ road
cry
cow
ɔɪ ɔɪ boy
ɪə (ɪr) fear
ɛə (ɛr) fair
ʊə (ʊr) lure

หมายเหตุ:

  • สำหรับคำซึ่งในสำเนียงอังกฤษมาตรฐานมี /ɒ/ ภาษาถิ่นอเมริกาเหนือส่วนใหญ่มี /ɑ/ (เช่นในตัวอย่าง box ด้านบน) หรือ /ɔ/ (เช่นใน cloth) อย่างไรก็ดี ภาษาถิ่นอเมริกาเหนือบางภาษาไม่มีสระ /ɔ/ เลย (ยกเว้นก่อน /r/)
  • ในสำเนียงอังกฤษมาตรฐานปัจจุบัน หน่วยเสียง /æ/ ใกล้เคียงกับ [a] ดังเช่นในการลงน้ำหนักอื่นส่วนใหญ่ในบริเตน เสียง [æ] ปัจจุบันพบเฉพาะในสำเนียงอังกฤษมาตรฐานอนุรักษ์[54]
  • ในสำเนียงอเมริกันมาตรฐานและการลงน้ำหนักรัวลิ้นอื่นบางแบบ การผสมสระ+/r/ มักเข้าใจว่าเป็นสระรัวลิ้น ตัวอย่างเช่น butter /ˈbʌtər/ ออกเสียงด้วยชวารัวลิ้น [ɚ] และทำนองเดียวกัน nurse มีสระรัวลิ้น [ɝ]
  • สระซึ่งเขียนตามสัญนิยมว่า /ʌ/ แท้จริงแล้วออกเสียงเป็นศูนย์กลางกว่า เป็น [ɐ] ในสำเนียงอังกฤษมาตรฐาน ในอังกฤษซีกเหนือ สระนี้แทนที่ด้วย /ʊ/ (ฉะนั้น cut จึงสัมผัสกับ put)
  • ในพยางค์ที่ไม่เน้น อาจมีหรือไม่มีข้อแตกต่างระหว่าง /ə/ (ชวา) และ /ɪ/ (/ɨ/) ก็ได้ ฉะนั้น สำหรับผู้พูดบางคนจึงออกเสียงคำว่า roses และ Rosa's ต่างกัน
  • สระประสมสองเสียง /eɪ/ และ /əʊ/ (/oʊ/) มีแนวโน้มออกเสียงเป็นสระเดี่ยว [eː] และ [oː] ในบางภาษาถิ่น ซึ่งรวมสำเนียงแคนาดา สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์และอังกฤษเหนือ
  • ในทวีปอเมริกาเหนือบางส่วน /aɪ/ จะออกเสียงเป็น [ʌɪ] ก่อนพยัญชนะอโฆษะ ซึ่งพบเป็นพิเศษในแคนาดา เช่นเดียวกับที่ /aʊ/ ออกเสียงเป็น [ʌʊ] ก่อนพยัญชนะอโฆษะเช่นกัน
  • เสียง /ʊə/ กำลังถูกแทนที่ด้วย /ɔː/ ในหลายคำ ตัวอย่างเช่น sure มักออกเสียงคล้าย shore

การเน้น จังหวะและทำนองเสียง

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เน้นหนัก ซึ่งกล่าวกันว่าการเน้นพยางค์นั้นเป็นหน่วยเสียง คือ สามารถจำแนกความแตกต่างของคำได้ (เช่น นาม increase เน้นพยางค์แรก และกริยา increase เน้นพยางค์ที่สอง) แทบทุกคำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ จะมีพยางค์หนึ่งที่ระบุว่าเน้นมาก (primary stress) และอาจมีอีกพยางค์หนึ่งที่เน้นรองลงมา (secondary stress) เช่นในคำว่า civilization /ˌsɪvəlaɪˈzeɪʃn̩/ ซึ่งพยางค์แรกเน้นรอง และพยางค์ที่สี่เน้นมาก ส่วนพยางค์อื่นไม่เน้น

กระบวนการที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเน้นพยางค์ในภาษาอังกฤษ คือ การลดการออกเสียงสระ ตัวอย่างเช่น นาม contract เน้นพยางค์แรก และมีสระ /ɒ/ ใน RP ขณะที่กริยา contract ไม่เน้นพยางค์แรก และสระลดเหลือ /ə/ (ชวา) กระบวนการเดียวกันนี้ใช้กับคำที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์สามัญบางคำ เช่น of ซึ่งออกเสียงด้วยสระคนละตัวขึ้นอยู่กับว่าเน้นคำเหล่านี้ในประโยคหรือไม่

ภาษาอังกฤษยังมีการเน้นฉันทลักษณ์ที่หนัก คือ การเน้นบางคำในประโยคเพิ่มที่ผู้พูดต้องการดึงความสนใจ ทำนองเดียวกับที่ออกเสียงคำที่สำคัญน้อยเบา สำหรับจังหวะ ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาที่มีการเน้นบางพยางค์ ซึ่งมีแนวโน้มให้เวลาพักระหว่างพยางค์ที่เน้นเท่ากัน โดยออกเสียงกลุ่มพยางค์ที่ไม่เน้นเร็วขึ้น

สำหรับทำนองเสียง มีการใช้ระดับเสียงเชิงวากยสัมพันธ์ในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น เพื่อถ่ายทอดความประหลาดใจหรือประชดประชัน หรือเพื่อเปลี่ยนข้อความเป็นคำถาม ภาษาถิ่นส่วนใหญ่ของภาษาอังกฤษใช้ทำนองเสียงลงสำหรับข้อความบอกเล่า และทำนองเสียงสูงเพื่อแสดงความไม่แน่ใจ เช่น ในคำถาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามปลายปิด) นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนทำนองเสียงตรงพยางค์ที่เน้นหนักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พยางค์ที่เน้นหนักที่สุดในประโยคหรือกลุ่มทำนองเสียง

ไวยากรณ์

ไวยากรณ์อังกฤษมีการผันคำน้อยเมื่อเทียบกับภาษาอื่นในตระกูลอินโด-ยูโรเปียนส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับภาษาเยอรมันหรือดัตช์ใหม่ และภาษาโรมานซ์ ไม่มีเพศทางไวยากรณ์และความสอดคล้องของคุณศัพท์ เครื่องหมายการกแทบไม่ปรากฏในภาษาอังกฤษและส่วนใหญ่มีอยู่เฉพาะในสรรพนาม การวางแบบผันกริยาแข็ง (เช่น speak/spoke/spoken) กับผันกริยาอ่อน (เช่น love/loved หรือ kick/kicked) ซึ่งรับมาจากภาษาเยอรมันลดความสำคัญลงในภาษาอังกฤษใหม่ และส่วนที่เหลือของการผันคำ (เช่น เครื่องหมายพหูพจน์) กลายมาพบได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ภาษาอังกฤษกลายมาเป็นเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และได้พัฒนาลักษณะอย่างกริยาข่วยและลำดับคำเป็นทรัพยากรสำหรับสื่อความหมาย คำช่วยกริยาเป็นการผูกคำถาม สภาพปฏิเสธ กรรมวาจกและภาวะต่อเนื่อง

คำศัพท์

คำเจอร์แมนิก (Germanic, คำจากภาษาอังกฤษเก่าหรือ ในวงแคบกว่า คำที่มีกำเนิดจากภาษานอร์สโบราณโดยทั่วไป) มีแนวโน้มสั้นกว่า คำลาติเนต (Latinate, คำที่มีรากศัพท์หรือเลียนภาษาละติน) และใช้พูดในชีวิตประจำวันมากกว่า ซึ่งรวมสรรพนาม บุพบท สันธาน กริยาช่วย ฯลฯ พื้นฐานแทบทั้งหมด ซึ่งเป็นฐานของวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไป ความสั้นของคำนั้นมาจากการตัดกลางคำในภาษาอังกฤษกลาง (เช่น อังกฤษเก่า hēafod → อังกฤษใหม่ head, อังกฤษเก่า sāwol → อังกฤษใหม่ soul) และจากการตัดพยางค์สุดท้ายเนื่องจากการเน้นพยางค์ (เช่น อังกฤษเก่า gamen → อังกฤษใหม่ game, อังกฤษเก่า ǣrende → อังกฤษใหม่ errand) มิใช่เพราะคำเจอร์แมนิกสั้นกว่าคำลาติเนตเป็นปกติอยู่แล้ว คำซึ่งมักพิจารณาว่าสละสลวยหรือมีการศึกษาในภาษาอังกฤษใหม่จึงมักเป็นคำลาติเนต

ในหลายกรณี ผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกระหว่างไวพจน์เจอร์แมนิกและลาติเนต เช่น come หรือ arrive, sight หรือ vision, freedom หรือ liberty ในบางกรณี มีทางเลือกระหว่างคำที่มีรากศัพท์จากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

ค (oversee) คำที่มีรากศัพท์จากภาษาละติน (supervise) และคำภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกันในภาษาละติน (survey) หรือกระทั่งคำเจอร์แมนิกที่มีรากศัพท์จากภาษานอร์มัน (เช่น warranty) กับภาษาฝรั่งเศสสำเนียงปารีส (guarantee) หรือแม้แต่ทางเลือกระหว่างแหล่งเจอร์แมนิกและลาทิเนทหลายแหล่งก็มี เช่น sickness (อังกฤษเก่า), ill (นอร์สโบราณ), infirmity (ฝรั่งเศส), affliction (ละติน) อย่างไรก็ดี ไวพจน์จำนวนมากนี้มิใช่ผลของอิทธิพลภาษาฝรั่งเศสและละติน เพราะภาษาอังกฤษมีคำหลากหลายอยู่แล้วก่อนยืมคำภาษาฝรั่งเศสและละตินอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน ชื่อสัตว์มักมีชื่อเจอร์แมนิก และเนื้อมีชื่อที่มีรากศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส ตัวอย่างเช่น deer และ venison, cow และ beef; swine/pig และ pork, และ sheep/lamb และ mutton ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลจากการพิชิตอังกฤษของนอร์มัน ซึ่งชนชั้นสูงที่พูดภาษาแองโกล-นอร์มันเป็นผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ผลิตโดยชนชั้นล่าง ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวแองโกล-แซ็กซอน

ภาษาอังกฤษรับศัพท์เทคนิคมาใช้กันทั่วไปโดยง่ายและมักรับคำและวลีใหม่ ๆ เข้ามา ตัวอย่างปรากฏการณ์นี้ เช่น cookie, Internet และ URL (ศัพท์เทคนิค) เช่นเดียวกับ genre, über, lingua franca และ amigo ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลีและสเปนตามลำดับ นอกเหนือจากนี้ สแลงมักให้ความหมายใหม่แก่คำและวลีเก่าด้วย

จำนวนคำในภาษาอังกฤษ

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษนั้นมีมหาศาลอย่างไม่ต้องสงสัย แต่การระบุตัวเลขขนาดแน่ชัดนั้นเป็นประเด็นการนิยามมากกว่าการคำนวณ และไม่มีแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการที่จะนิยามคำและการสะกดภาษาอังกฤษที่ยอมรับกัน

บรรณาธิการของพจนานุกรมสากลใหม่ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สามของเว็บสเตอร์ ไม่ย่อ (Webster's Third New International Dictionary, Unabridged) รวมคำหลักสำคัญไว้ 475,000 คำ แต่ในคำนำ พวกเขาประมาณว่าตัวเลขที่แท้จริงจะสูงกว่านี้มาก นักภาษาศาสตร์และนักพจนานุกรมโดยทั่วไปไม่ถือการเปรียบเทียบขนาดคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับขนาดคำศัพท์ภาษาอื่นจริงจังนัก และนอกจากนี้ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าพจนานุกรมจะมีนโยบายการรวมและนับหน่วยข้อมูลแตกต่างกัน[55]

ในเดือนธันวาคม 2553 การศึกษาร่วมของฮาร์วาร์ด/กูเกิลพบว่า ภาษาอังกฤษมีคำ 1,022,000 คำ และขยายตัวที่อัตรา 8,500 คำต่อปี[56] การค้นพบนี้มีขึ้นหลังการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์จากหนังสือที่ถูกแปลงเป็นดิจิทัล 5,195,769 เล่ม ส่วนการค้นพบอื่นประมาณอัตราการเติบโตของคำไว้ 25,000 คำต่อปี[57]

ที่มาของคำ

ในบรรดาหนึ่งพันคำที่ใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ (พิสัยการประมาณตั้งแต่ราว 50%[58] ไปจนถึงกว่า 80%[59]) เป็นคำเจอร์แมนิก อย่างไรก็ดี คำขั้นสูงกว่าในหัวข้ออย่างวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและคณิตศาสตร์มาจากภาษาละตินหรือกรีก และยังมีภาษาอารบิกหลายคำในวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์และเคมี[60]

ที่มาของคำภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยที่สุด 7,476 คำ
100 คำแรก 1,000 คำแรก 1,000 คำที่สอง ที่เหลือ
เจอร์แมนิก 97% 57% 39% 36%
อิตาลิก 3% 36% 51% 51%
เฮลเลนิก 0 4% 4% 7%
อื่น ๆ 0 3% 6% 6%
ที่มา: Nation 2001, p. 265

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Oxford Learner's Dictionary 2015, Entry: English – Pronunciation.
  2. 2.0 2.1 2.2 "What are the top 200 most spoken languages?". Ethnologue. 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-10-03. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "ethnologue" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. English at Ethnologue (26th ed., 2023)  
  4. Mydans, Seth (14 May 2007) [http://www.nytimes.com/2007/05/14/world/asia/14iht-14englede.5705671.html "Across cultures, English is the word"] New York Times. Retrieve 21 September 2011
  5. Ammon, pp. 2245–2247.
  6. Schneider, p. 1.
  7. Mazrui, p. 21.
  8. Howatt, pp. 127–133.
  9. Crystal, pp. 87–89.
  10. Wardhaugh, p. 60.
  11. Daniel Weissbort (2006). "Translation: theory and practice : a historical reader". p.100. Oxford University Press, 2006
  12. "Words on the brain: from 1 million years ago?". History of language. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
  13. Baugh, Albert C. and Cable, Thomas (1978). "Latin Influences on Old English". An excerpt from Foreign Influences on Old English. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. "How many words are there in the English Language?". Oxforddictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
  15. "Vista Worldwide Language Statistics". Vistawide.com. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  16. Smith, Ross (2005). "Global English: gift or curse?". English Today. 21 (2): 56. doi:10.1017/S0266078405002075. ISSN 0266-0784.
  17. 17.0 17.1 David Graddol (1997). "The Future of English?" (PDF). The British Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-28. สืบค้นเมื่อ 15 April 2007.
  18. "IMO Standard Marine Communication Phrases". International Maritime Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  19. "FAQ – Language proficiency requirements for licence holders – In which languages does a licence holder need to demonstrate proficiency?". International Civil Aviation Organization – Air Navigation Bureau. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  20. "The triumph of English". The Economist. 20 December 2001. สืบค้นเมื่อ 26 March 2007.
  21. "Lecture 7: World-Wide English". EHistLing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-01. สืบค้นเมื่อ 26 March 2007.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  22. Graphics: English replacing German as language of Science Nobel Prize winners. From J. Schmidhuber (2010), Evolution of National Nobel Prize Shares in the 20th Century at arXiv:1009.2634v1
  23. Crystal, David (2002). Language Death. Cambridge University Press. doi:10.2277/0521012716. ISBN 0-521-01271-6.
  24. Cheshire, Jenny (1991). English Around The World: Sociolinguistic Perspectives. Cambridge University Press. doi:10.2277/0521395658. ISBN 0-521-39565-8.
  25. Languages of the World (Charts) เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Comrie (1998), Weber (1997), and the Summer Institute for Linguistics (SIL) 1999 Ethnologue Survey. Available at The World's Most Widely Spoken Languages เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. Mair 2006.
  27. Mair, Victor H. (1991). "What Is a Chinese "Dialect/Topolect"? Reflections on Some Key Sino-English Linguistic Terms" (PDF). Sino-Platonic Papers.
  28. "English Language". Columbia University Press. 2005. สืบค้นเมื่อ 26 March 2007.
  29. 20,000 ESL Teaching Jobs Oxford Seminars. Retrieved 17 April 2012
  30. Crystal, David (2003). English as a Global Language (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 69. ISBN 978-0-521-53032-3., cited in Power, Carla (7 March 2005). "Not the Queen's English". Newsweek.
  31. "U.S. Census Bureau, Statistical Abstract of the United States: 2003, Section 1 Population" (PDF). U.S. Census Bureau. Table 47 gives the figure of 214,809,000 for those five years old and over who speak exclusively English at home. Based on the American Community Survey, these results exclude those living communally (such as college dormitories, institutions, and group homes), and by definition exclude native English speakers who speak more than one language at home.
  32. 32.0 32.1 Crystal, David (1995). "The Cambridge Encyclopedia of the English Language" (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press.
  33. Population by mother tongue and age groups, 2006 counts, for Canada, provinces and territories–20% sample data เก็บถาวร 2009-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Census 2006, Statistics Canada.
  34. Census Data from Australian Bureau of Statistics เก็บถาวร 2008-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Main Language Spoken at Home. The figure is the number of people who only speak English at home.
  35. Ihemere, Kelechukwu Uchechukwu (2006). "A Basic Description and Analytic Treatment of Noun Clauses in Nigerian Pidgin" (PDF). Nordic Journal of African Studies. 15 (3): 296–313. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
  36. Census in Brief เก็บถาวร 2007-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 15 (Table 2.5), 2001 Census, Statistics South Africa
  37. "About people, Language spoken". Statistics New Zealand. 2006 census. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ 28 September 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) (links to Microsoft Excel files)
  38. Crystal, David (2004-11-19) Subcontinent Raises Its Voice, Guardian Weekly.
  39. Zhao, Yong and Campbell, Keith P. (1995). "English in China". World Englishes. 14 (3): 377–390. doi:10.1111/j.1467-971X.1995.tb00080.x. Hong Kong contributes an additional 2.5 million speakers (1996 by-census){{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. "ICAO Promotes Aviation Safety by Endorsing English Language Testing". International Civil Aviation Organization. 13 October 2011.
  41. "IMO Standard Marine Communication Phrases". International Maritime Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-09.
  42. 2006 survey by Eurobarometer.
  43. "Microsoft Word – SPECIAL NOTE Europeans and languagesEN 20050922.doc" (PDF). สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
  44. http://ec.europa.eu/public_opinion/archives/ebs/ebs_386_en.pdf
  45. 45.0 45.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-05-09.
  46. David Crystal (2000) Language Death, Preface; viii, Cambridge University Press, Cambridge
  47. 47.0 47.1 Jambor, Paul Z. (April 2007). "English Language Imperialism: Points of View". Journal of English as an International Language. 2: 103–123.
  48. Abbott, M. (2000). "Identifying reliable generalisations for spelling words: The importance of multilevel analysis". The Elementary School Journal. 101 (2): 233–245. doi:10.1086/499666. JSTOR 1002344.
  49. Moats, L. M. (2001). Speech to print: Language essentials for teachers. Baltimore, MD: Paul H. Brookes Company, ISBN 1598570501.
  50. McGuinness, Diane (1997) Why Our Children Can't Read, New York: Touchstone, pp. 156–169, ISBN 0684853566.
  51. Ziegler, J. C., & Goswami, U. (2005). "Reading acquisition, developmental dyslexia, and skilled reading across languages: A psycholinguistic grain size theory". Psychological bulletin. 131 (1): 3–29. doi:10.1037/0033-2909.131.1.3. PMID 15631549.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  52. Seymour, Philip H K, University of Dundee (2001). "Media centre". Spelling Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  53. Cox, Felicity (2006). "Australian English Pronunciation into the 21st century" (PDF). Prospect. 21: 3–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-24. สืบค้นเมื่อ 22 July 2007.
  54. Gimson, ed. A. Cruttenden (2008). Pronunciation of English. Hodder. pp. 112–3.
  55. Sheidlower, Jesse (10 April 2006). "How many words are there in English?". สืบค้นเมื่อ 17 September 2010.
  56. English language has doubled in size in the last century, Richard Alleyne, Science Correspondent, The Telegraph, 16 December 2010
  57. Kister, Ken (1992-06-15). "Dictionaries defined". Library Journal. 117 (11): 43, 4p, 2bw.
  58. Nation 2001, p. 265
  59. "Old English Online". Utexas.edu. 20 February 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-20. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
  60. "From Arabic to English" เก็บถาวร 2012-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.america.gov

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น