เนโท

พันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลของ 32 รัฐสมาชิก

50°52′34.16″N 4°25′19.24″E / 50.8761556°N 4.4220111°E / 50.8761556; 4.4220111

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
ชื่อย่อเนโท, ออต็อง
คําขวัญละติน: Animus in consulendo liber[1]
ก่อตั้ง4 เมษายน พ.ศ. 2492; 75 ปีก่อน (2492-04-04)
ประเภทพันธมิตรทางทหาร
สํานักงานใหญ่บรัสเซลส์ เบลเยียม
สมาชิก
ภาษาทางการ
อังกฤษ
ฝรั่งเศส[2]
เลขาธิการ
มาร์ก รึตเตอ
ประธานคณะกรรมาธิการทหารเนโท
พลเรือเอก โรบ เบาเออร์ (กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์)
Supreme Allied Commander Europe
พลเอก ท็อด ดี. โวลเตอส์ (กองทัพอากาศสหรัฐ)
Supreme Allied Commander Transformation
พลเอก ฟีลิป ลาวีญ (กองทัพอากาศฝรั่งเศส)
รายจ่าย (2564)1.050 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
เว็บไซต์www.nato.int

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Treaty Organization; ฝรั่งเศส: Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท[4] (อังกฤษ: NATO) หรือ ออต็อง (ฝรั่งเศส: OTAN) หรือสื่อไทยเรียก นาโต้[5] เรียกอีกอย่างว่า พันธมิตรแอตแลนติกเหนือ เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลระหว่าง 32 รัฐสมาชิก ประกอบด้วย 30 ประเทศในยุโรปและ 2 ประเทศในอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง องค์กรดำเนินการตามสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งลงนามในที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492[6][7] เนโทเป็นระบบความมั่นคงร่วมกัน รัฐสมาชิกอิสระตกลงที่จะปกป้องซึ่งกันและกันจากการโจมตีโดยบุคคลที่สาม ในช่วงสงครามเย็น เนโทดำเนินการเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามที่เกิดจากสหภาพโซเวียต พันธมิตรยังคงอยู่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย และมีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารในคาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา

สำนักงานใหญ่ของเนโทตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ขณะที่กองบัญชาการทางทหารของเนโทตั้งอยู่ใกล้เมืองมงส์ ประเทศเบลเยียม พันธมิตรได้กำหนดเป้าหมายการติดกองกำลังตอบโต้ของเนโทในยุโรปตะวันออก และกองทัพรวมของสมาชิกเนโททั้งหมดมีทหารและบุคลากรประมาณ 3.5 ล้านคน[8] ค่าใช้จ่ายทางทหารรวมกันใน พ.ศ. 2563 คิดเป็นกว่าร้อยละ 57 ของยอดรวมทั่วโลก[9] ยิ่งไปกว่านั้น สมาชิกตกลงที่จะบรรลุหรือรักษาเป้าหมายการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างน้อยร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายใน พ.ศ. 2567[10][11]

เนโทก่อตั้งขึ้นโดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 12 ประเทศและได้เพิ่มสมาชิกใหม่ 9 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือสวีเดนที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 หลังจากการยอมรับการสมัครเป็นสมาชิกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เนโทยอมรับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จอร์เจีย และยูเครนว่าเป็นสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วม[12] การขยายตัวได้นำไปสู่ความตึงเครียดกับรัสเซียที่ไม่ใช่สมาชิก ซึ่งเป็นหนึ่งในอีก 20 ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการความร่วมมือเพื่อสันติภาพของเนโท อีก 19 ประเทศเข้าร่วมในโครงการเจรจาเชิงสถาบันกับเนโท

ประวัติ

แก้

จุดเริ่มต้น

แก้

จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492

สงครามเย็น

แก้

นโยบายของเนโทยุคหลังสงครามเย็น

หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง เนโทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปรับปรุงนโยบายในหลายๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ดังนี้

  1. การให้ความสำคัญแก่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peace-keeping) ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษาสันติภาพ การสร้างความร่วมมือ การวางแผน และการสร้างความสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ และองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ในกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งการประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
  2. การหาแนวทางที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยมุ่งเน้นให้รัสเซียมีบทบาทสำคัญและสร้างสรรค์ในการสร้างเสถียรภาพในยุโรปในกรอบกว้าง
  3. การปรับบทบาททางการทหารให้เอื้อต่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนการดำเนินนโยบายทางด้านความมั่นคงที่เอื้อต่อพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ และการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม ระหว่างงบประมาณด้านการทหารและงบประมาณด้านเศรษฐกิจของประเทศ
  4. ความร่วมมือในโครงการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
  5. การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก

ปฏิบัติการทางทหาร

แก้
 
สมาชิกเนโท

ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท (Major Non-NATO Ally – MNNA)

ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" มี 2 ประเภท คือ สถานะที่ 1 เป็นการให้ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a) ของ U.S. code (แก้ไขโดย Nunn Amendment ปี 2530) และสถานะที่ 2 เป็นการให้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ปี 2541 (ตามที่ได้มีการแก้ไขโดย title 22 หมวดที่ 2321 (k) ของ U.S. Code) หมวดที่ 571

1.) สถานะ MNNA ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a)

กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในการให้สถานะ “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท” ด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการ กำหนดสถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมในโครงการวิจัยและการพัฒนาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้มี 11 ประเทศ ได้แก่ อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี (2530) จอร์แดน (2539) อาร์เจนติน่า (2541) นิวซีแลนด์ บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์และไทย (2546)

ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

• บริษัทของประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมการประมูลสัญญาการซ่อมบำรุง การซ่อมแซม หรือการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในบางโครงการนอกผืนแผ่นดินสหรัฐฯ

• ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับสหรัฐฯ บางโครงการ

• กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สามารถเข้าร่วมโครงการร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของประเทศที่ได้รับสถานะ โดยรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม

2.) สถานะ MNNA ตามหมวดที่ 517 ของกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ พ.ศ. 2504 ฉบับแก้ไข

กฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการให้สถานะ MNNA แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้หลังจากที่ได้แจ้งต่อรัฐสภาภายใน 30 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกอาวุธ การให้สถานะ MNNA ตามกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2539 โดยเริ่มแรกมีประเทศที่ได้รับสถานะ คือ ออสเตรเลีย อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ ต่อมาได้มีการให้สถานะ MNNA เพิ่มเติมแก่ จอร์แดน (2539) อาร์เจนตินา (2541) บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์ และไทย (2546) รวมทั้งหมด 11 ประเทศ

ประเทศที่ได้รับ MNNA ประเภทที่ 2 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

• สำหรับประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ที่อยู่ด้านทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกลุ่มเนโทจะได้รับสิทธิ์ได้รับอุปกรณ์ทางทหารส่วนเกินจากสหรัฐฯ เป็นลำดับแรก

• สิทธิ์ในการซื้อกระสุนที่ทำจากกากยูเรเนียมและสิทธิ์ได้รับคลังอาวุธยุทโธปกรณ์สำรองของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศของตนนอกค่ายทหารสหรัฐฯ

• สิทธิ์ในการทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดการฝึกในแบบทวิภาคีหรือ พหุภาคีโดยใช้ระบบการใช้จ่ายต่างตอบแทนที่อาจยกเว้นการใช้คืนค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าธรรมเนียมต่างๆ เฉพาะรายการ

• สิทธิ์ในการเช่าอุปกรณ์ทางทหารบางอย่างเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ตาม โครงการการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินทางทหารแก่รัฐบาลต่างประเทศของสหรัฐฯ

• สิทธิ์ในการขอยืมวัสดุ อุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันและสำหรับการทดสอบและประเมินผล

• สิทธิ์ในการขอให้มีการพิจารณาได้รับใบอนุญาตส่งออกดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงเทคโนโลยี ส่วนประกอบและระบบของดาวเทียมนั้นๆ โดยเร่งด่วน

การให้สถานะ MNNA ประเภทที่ 2 นี้ อาจถูกยกเลิกได้โดยดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งต้องแจ้งรัฐสภาล่วงหน้า 30 วัน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการยกเลิกการให้สถานะ MNNA ประเภทนี้ และไม่มีหลักเกณฑ์ในการยกเลิกสถานะดังกล่าว

สมาชิก

แก้

รัฐสมาชิกเนโททั้ง 32 รัฐได้แก่

 

สมาชิกหลักนอกเนโท

แก้

โครงสร้าง

แก้

องค์กรฝ่ายพลเรือน

แก้
  1. คณะมนตรีแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Council - NAC) เป็นองค์กรหลักรับผิดชอบต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของเนโทที่เกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญาและการนำไปปฏิบัติ คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิก มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  1. สำนักงานเลขาธิการเนโท ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปขององค์กร รวมถึงการวางแผนนโยบาย หัวหน้า สนง. / เลขาธิการเนโท คนปัจจุบัน คือ นาย เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก (อดีต นายกรัฐมนตรีนอร์เวย์) เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2557

องค์กรฝ่ายทหาร

แก้

• คณะกรรมาธิการทางทหาร (The Military Committee) มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม ประกอบด้วยเสนาธิการทหารของทุกประเทศภาคี ยกเว้นฝรั่งเศส และไอซ์แลนด์ (ซึ่งไม่มีกำลังทหาร) มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเนโทได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ตามภูมิศาสตร์เป็น 3 เขต คือ

  1. เขตยุโรป (อังกฤษ: The European Command) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้บัญชาการกองกำลังผสมยุโรป (Supreme Allied Commander Europe - SACEUR) โดยมีกองบัญชาการ เรียกว่า Supreme Headquaters Allied Powers Europe (SHAPE) ประกอบด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วจากประเทศสมาชิก ซึ่งพร้อมจะปฏิบัติการได้ทันที เขตการรับผิดชอบ คือ แอฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และยุโรปเหนือ ยกเว้นโปรตุเกส และสหราชอาณาจักร SHAPE มีกองบัญชาการย่อยในยุโรปเหนือที่เมืองโคสชัส ประเทศนอรเวย์ ในยุโรปกลางที่เมืองบรุนส์ชุน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในยุโรปใต้ที่เมือง Naples ประเทศอิตาลี
  1. เขตแอตแลนติก (อังกฤษ: The Atlantic Ocean Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Supreme Allied Commander Atlantic (SACLANT) เขตการรับผิดชอบตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงเส้น Tropic of Cancer และจากฝั่งสหรัฐอเมริกาถึงยุโรป SACLANT มีหน้าที่หลักในการพิทักษ์เส้นทางเดินเรือในเขตแอตแลนติก ซึ่งเน้นลักษณะการปฏิบัติการกองกำลังทัพเรือแอตแลนติก (Standing Naval Force Atlantic -- STANA RR LNT) มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ Norfolk สหรัฐฯ
  1. เขตช่องแคบ (อังกฤษ: The Channel Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Allied Commander in Chief Channel – CINCHAN) เขตการรับผิดชอบบริเวณช่องแคบอังกฤษ และทะเลเหนือตอนใต้ ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันเรือพาณิชย์ในเขตประสานงานกับ SACEUR ในการป้องกันภัยทางอากาศในเขตช่องแคบ CINCHAN มีกองกำลังเรือรบอยู่ภายใต้การควบคุมเรียกว่า Standing Naval Force Channel (STANAFORCHAN) มีกองบัญชาการอยู่ที่ Nortwood สหราชอาณาจักร

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The Official motto of NATO". NATO. 20 January 2011. สืบค้นเมื่อ 8 August 2013.
  2. "English and French shall be the official languages for the entire North Atlantic Treaty Organization.", Final Communiqué following the meeting of the North Atlantic Council on 17 September 1949. "(..) the English and French texts [of the Treaty] are equally authentic (...)" The North Atlantic Treaty, Article 14
  3. "Defence Expenditure of NATO Countries (2014–2021)" (PDF). Nato.int.
  4. "Oxford การออกเสียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.
  5. TeaC (2022-02-25). "นาโต้ คืออะไร? ทำความรู้จัก องค์การนาโต กับสถานการณ์วิกฤต "รัสเซีย-ยูเครน"". True ID. กรุงเทพฯ: Tencent (Thailand). สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  6. "What is NATO?". NATO Headquarters, Brussels, Belgium. 26 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2014. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  7. Cook, Lorne (25 May 2017). "NATO: The World's Largest Military Alliance Explained". militarytimes.com. The Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  8. Batchelor, Tom (9 March 2022). "Where are Nato troops stationed and how many are deployed across Europe?". The Independent. สืบค้นเมื่อ 8 June 2022.
  9. "The SIPRI Military Expenditure Database". SIPRI. IMF World Economic Outlook. 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
  10. The Wales Declaration on the Transatlantic Bond เก็บถาวร 10 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NATO, 5 September 2014.
  11. Erlanger, Steven (26 March 2014). "Europe Begins to Rethink Cuts to Military Spending". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014. Last year, only a handful of NATO countries met the target, according to NATO figures, including the United States, at 4.1 percent, and Britain, at 2.4 percent.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1

บรรณานุกรมทั่วไป

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Atlantic Council of the United States (August 2003). "Transforming the NATO Military Command Structure: A New Framework for Managing the Alliance's Future" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 October 2012.
  • Axelrod, Robert, and Silvia Borzutzky. "NATO and the war on terror: The organizational challenges of the post 9/11 world." Review of International Organizations 1.3 (2006): 293–307. online
  • Borawski, John, and Thomas-Durell Young. NATO after 2000: the future of the Euro-Atlantic Alliance (Greenwood, 2001).
  • Hastings Ismay, 1st Baron Ismay (1954). "NATO: The First Five Years". Paris: NATO. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  • Hendrickson, Ryan C. "NATO's next secretary general: Rasmussen's leadership legacy for Jens Stoltenberg." Journal of Transatlantic Studies (2016) 15#3 pp 237–251.
  • Pedlow, Dr Gregory W. "Evolution of NATO's Command Structure 1951-2009" (PDF). aco.nato.int. Brussels(?): NATO ACO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-01. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
  • Sayle, Timothy Andrews. Enduring Alliance: A History of NATO and the Postwar Global Order (Cornell University Press, 2019) online review
  • “NATO at 70: Balancing Collective Defense and Collective Security,” Special issue of Journal of Transatlantic Studies 17#2 (June 2019) pp: 135–267.
  • NATO Office of Information and Press, NATO Handbook : Fiftieth Anniversary Edition, NATO, Brussels, 1998–99, Second Reprint, ISBN 92-845-0134-2

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้