บรัสเซลส์ (อังกฤษ: Brussels), บรูว์แซล (ฝรั่งเศส: Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (ดัตช์: Brussel; เยอรมัน: Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: Région de Bruxelles-Capitale; ดัตช์: Brussels Hoofdstedelijk Gewest) หรือ แคว้นบรัสเซลส์[7][8] เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) แคว้นบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางแคว้นมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม. และเป็นที่มาของชื่อแคว้นนครหลวงซึ่งกินบริเวณกว้างกว่ามาก (161 ตร.กม.) นอกจากนั้นบรัสเซลส์ยังเป็นที่ตั้งของประชาคมฝรั่งเศสและประชาคมเฟลมิช[9] เขตเทศบาลนครบรัสเซลส์มีประชากรประมาณ 140,000 คน แต่แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นั้นมีประชากรรวมประมาณเกือบ 2 ล้านคน

บรัสเซลส์

ภาพรวมของกรุงบรัสเซลส์ จากบน: เขตธุรกิจสำคัญทางเหนือของบรัสเซลส์, แถวสองซ้าย: เทศกาลพรมดอกไม้ที่กร็อง-ปลัส, แถวสองขวา: ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์และเขตมงเดซาร์, แถวสาม: สวนสาธารณะฉลอง 50 ปี (แซ็งก็องต์แนร์), แถวสี่ซ้าย: มันเนอเกินปิส, แถวสี่กลาง: อาสนวิหารนักบุญไมเกิลและกูดูลา, แถวสี่ขวา: เสาคองเกรส และแถวล่างสุด: พระราชวังหลวงบรัสเซลส์
ภาพรวมของกรุงบรัสเซลส์ จากบน: เขตธุรกิจสำคัญทางเหนือของบรัสเซลส์, แถวสองซ้าย: เทศกาลพรมดอกไม้ที่กร็อง-ปลัส, แถวสองขวา: ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์และเขตมงเดซาร์, แถวสาม: สวนสาธารณะฉลอง 50 ปี (แซ็งก็องต์แนร์), แถวสี่ซ้าย: มันเนอเกินปิส, แถวสี่กลาง: อาสนวิหารนักบุญไมเกิลและกูดูลา, แถวสี่ขวา: เสาคองเกรส และแถวล่างสุด: พระราชวังหลวงบรัสเซลส์
สมญา: 
เมืองหลวงแห่งยุโรป[1] เมืองแห่งการ์ตูน[2][3]
ที่ตั้งของกรุงบรัสเซลส์ในสหภาพยุโรป เป็นสีเขียวอ่อน
ที่ตั้งของกรุงบรัสเซลส์ในสหภาพยุโรป เป็นสีเขียวอ่อน
พิกัด: 50°51′0″N 4°21′0″E / 50.85000°N 4.35000°E / 50.85000; 4.35000
ประเทศเบลเยียม เบลเยียม
ประชาคมแคว้นวอลลูนประชาคมฝรั่งเศส
แคว้นเฟลมิชประชาคมเฟลมิช
ก่อตั้งค.ศ. 580
สถาปนาค.ศ. 979
ก่อตั้งแคว้น18 มิถุนายน ค.ศ. 1989
เมืองหลวงนครบรัสเซลส์
เทศบาล
รายการ
  • Anderlecht
  • Auderghem / Oudergem
  • Berchem-Sainte-Agathe / Sint-Agatha-Berchem
  • City of Brussels
  • Etterbeek
  • Evere
  • Forest / Vorst
  • Ganshoren
  • Ixelles / Elsene
  • Jette
  • Koekelberg
  • Molenbeek-Saint-Jean / Sint-Jans-Molenbeek
  • Saint-Josse-ten-Noode / Sint-Joost-ten-Node
  • Schaerbeek / Schaarbeek
  • Uccle
  • Watermael-Boitsfort / Watermaal-Bosvoorde
  • Woluwe-Saint-Lambert / Sint-Lambrechts-Woluwe
  • Woluwe-Saint-Pierre / Sint-Pieters-Woluwe
การปกครอง
 • ฝ่ายบริหารรัฐบาลแคว้น
 • พรรคร่วมฯ
(2014–19)
ฌ็อง เกลม็อง (รักษาการ) (2010–) PS, FDF, cdH, Open Vld, Sp.A., CD&V
 • มุขมนตรีรือดี เฟอร์โฟร์ต (PS)
 • ฝ่ายนิติบัญญัติสภาแคว้น
 • ประธานสภาชาลส์ ปิกเก (PS)
พื้นที่
 • แคว้น162.4 ตร.กม. (62.2 ตร.ไมล์)
ความสูง13 เมตร (43 ฟุต)
ประชากร
 (1 มกราคม ค.ศ. 2019)[4]
 • แคว้น1,208,542 คน
 • ความหนาแน่น7,400 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,500,000 คน
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ISO 3166BE-BRU
GDP (ราคาตลาด)[5]ค.ศ. 2019
 - รวม€87 พันล้าน
($99 พันล้าน)
 - ต่อหัว€71,100
($81,210)
GeoTLD.brussels
HDI (2018)0.946[6]
สูงมาก อันดับที่ 1
เว็บไซต์www.brussels.irisnet.be

เบลเยียมเป็นประเทศที่มีการแบ่งเขตของประชากรที่พูดภาษาดัตช์ (ทางเหนือ) และภาษาฝรั่งเศส (ทางใต้)​ โดยมีเส้นแบ่งเขตที่ชัดเจน บรัสเซลส์นั้นอยู่ในพื้นที่ของภาษาดัตช์ แต่ภาษาอย่างเป็นทางการนั้นใช้ทั้งสองภาษา โดยส่วนใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส

บรัสเซลส์เป็นที่ตั้งขององค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญหลายแห่ง หน่วยงานสำคัญของสหภาพยุโรป 2 หน่วยงาน คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์ นอกจากนี้บรัสเซลส์ยังเป็นที่ตั้งของนาโต (NATO) อีกด้วย ทำให้หลายประเทศมีสถานทูตในบรัสเซลส์ถึง 3 แห่ง คือ สถานทูตปกติของแต่ละประเทศ สถานทูตประจำสหภาพยุโรป และสถานทูตประจำนาโต

สภาพภูมิอากาศ แก้

จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน บรัสเซลส์อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (Oceanic climate - Cfb) อันเนื่องมาจากที่ตั้งนั้นอยู่ใกล้กับเขตชายฝั่งที่พัดพาลมทะเลเข้ามาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีฝนตกสม่ำเสมอในอุณหภูมิที่อบอุ่น โดยจากค่าเฉลี่ย (วัดจากสถิติในรอบหนึ่งร้อยปี) นั้นแสดงให้เห็นว่าประมาณ 200 วันจะพบฝนตกในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์[10] ส่วนหิมะนั้นพบได้ค่อนข้างยาก โดยปกติแล้วจะตกเพียงปีละครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น

ข้อมูลภูมิอากาศของบรัสเซลส์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.3
(59.5)
20.0
(68)
24.2
(75.6)
28.7
(83.7)
34.1
(93.4)
38.8
(101.8)
37.1
(98.8)
36.5
(97.7)
34.9
(94.8)
27.8
(82)
20.6
(69.1)
16.7
(62.1)
38.8
(101.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.7
(42.3)
6.6
(43.9)
10.4
(50.7)
14.2
(57.6)
18.1
(64.6)
20.6
(69.1)
23.0
(73.4)
22.6
(72.7)
19.0
(66.2)
14.7
(58.5)
9.5
(49.1)
6.1
(43)
14.2
(57.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.3
(37.9)
3.7
(38.7)
6.8
(44.2)
9.8
(49.6)
13.6
(56.5)
16.2
(61.2)
18.4
(65.1)
18.0
(64.4)
14.9
(58.8)
11.1
(52)
6.8
(44.2)
3.9
(39)
10.54
(50.98)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.7
(33.3)
0.7
(33.3)
3.1
(37.6)
5.3
(41.5)
9.2
(48.6)
11.9
(53.4)
14.0
(57.2)
13.6
(56.5)
10.9
(51.6)
7.8
(46)
4.1
(39.4)
1.6
(34.9)
6.9
(44.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -21.1
(-6)
-18.3
(-0.9)
-13.6
(7.5)
-5.7
(21.7)
-2.2
(28)
0.3
(32.5)
4.4
(39.9)
3.9
(39)
0.0
(32)
-6.8
(19.8)
-12.8
(9)
-17.7
(0.1)
−21.1
(−6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 76.1
(2.996)
63.1
(2.484)
70.0
(2.756)
51.3
(2.02)
66.5
(2.618)
71.8
(2.827)
73.5
(2.894)
79.3
(3.122)
68.9
(2.713)
74.9
(2.949)
76.4
(3.008)
81.0
(3.189)
852.4
(33.559)
ความชื้นร้อยละ 86.6 82.5 78.5 72.5 73.2 74.1 74.3 75.5 80.9 84.6 88.2 88.8 80
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 19.2 16.3 17.8 15.9 16.2 15.0 14.3 14.5 15.7 16.6 18.8 19.3 199
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 5.2 5.9 3.2 2.4 0.4 0 0 0 0 0 2.4 4.6 24.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 59 77 114 159 191 188 201 190 143 113 66 45 1,546
แหล่งที่มา: KMI/IRM[11]

การปกครอง แก้

 
ศาลากลาง (ออแตลเดอวีล)

แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นั้นถือเป็นหนึ่งในสามแคว้น (region) ของประเทศเบลเยียม ในขณะที่บทบาทของประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมและประชาคมเฟลมิชนั้นจะเน้นด้านภาษาและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น บรัสเซลส์นั้นเป็นเขตทวิภาษา ซึ่งใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาดัตช์ ทำให้สถานบริการสาธารณะต่าง ๆ จะให้บริการทั้งสองภาษา ส่วนประชากรในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ประกอบด้วยผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 60–85[12][13][14] (รวมทั้งผู้อพยพและผู้ที่ใช้เป็นภาษาหลักในการสื่อสาร) และภาษาดัตช์ประมาณร้อยละ 10–15[14][15] ใน ค.ศ. 2006 จากการสำรวจประชากรที่อาศัยอยู่ทั้งหมด ประกอบด้วยชาวเบลเยียมร้อยละ 73.1, ชาวฝรั่งเศสร้อยละ 4.1, ผู้ถือสัญชาติในกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปร้อยละ 12, ชาวโมร็อกโกร้อยละ 4.0 และผู้ที่มิได้ถือสัญชาติในกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปร้อยละ 6.8[16]

สภาแคว้น แก้

 
ชาร์ล ปีเก อดีตประธานแคว้นฯ สมัยที่แล้ว (ก.ค. 2004 – พ.ค. 2013)

การปกครองในระดับแคว้นประกอบด้วยสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ โดยมีสมาชิกสภาจำนวน 89 คน (แบ่งเป็นผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส 72 คน และผู้ใช้ภาษาดัตช์ 17 คน) และรัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ ซึ่งนำโดยประธาน (minister-president) ซึ่งจะต้องเป็นกลางทางด้านภาษา แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, รัฐมนตรีที่พูดภาษาฝรั่งเศส 2 คน และรัฐมนตรีที่พูดภาษาดัตช์อีก 2 คน, ผู้ช่วยรัฐมนตรี (secretary of state) จำนวน 3 คน (ภาษาฝรั่งเศส 2 คน และภาษาดัตช์ 1 คน) โดยสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นั้นมีอำนาจตามกฎหมายในการออกเทศบัญญัติ (ฝรั่งเศส: ordonnances; ดัตช์: ordonnanties) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้

อ้างอิง แก้

  1. "Brussels". City-Data.com. สืบค้นเมื่อ 10 January 2008.
  2. Herbez, Ariel (30 May 2009). "Bruxelles, capitale de la BD". Le Temps (ภาษาฝรั่งเศส). Switzerland. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010. Plus que jamais, Bruxelles mérite son statut de capitale de la bande dessinée.[ลิงก์เสีย]
  3. "Cheap flights to Brussels". Easyjet. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  4. "Mini-Bru | IBSA". ibsa.brussels.
  5. "Regional GDP per capita ranged from 31% to 626% of the EU average in 2017" (Press release). Eurostat. 28 February 2018.
  6. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  7. "The Belgian Constitution (English version)" (PDF). Belgian House of Representatives. January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009. Article 3: Belgium comprises three Regions: the Flemish Region, the Walloon Region and the Brussels Region. Article 4: Belgium comprises four linguistic regions: the Dutch-speaking region, the French-speaking region, the bilingual region of Brussels-Capital and the German-speaking region.
  8. "Brussels-Capital Region: Creation". Centre d'Informatique pour la Région Bruxelloise (Brussels Regional Informatics Center). 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009. Since 18 June 1989, the date of the first regional elections, the Brussels-Capital Region has been an autonomous region comparable to the Flemish and Walloon Regions. (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.)
  9. "Welcome to Brussels". Brussels.org. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.
  10. "Site de l'institut météorologique belge". Meteo.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  11. "Monthly normals for Uccle, Brussels". KMI/IRM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  12. Personal website Lexilogos located in the Provence, on European Languages (English, French, German, Dutch, and so on) – French-speakers in Brussels are estimated at about 90% (estimation, not an 'official' number because there are no linguistic census in Belgium) (ฝรั่งเศส)
  13. Langues majoritaires, langues minoritaires, dialectes et NTIC by Simon Petermann, Professor at the University of Liège, Wallonia, Belgium (ฝรั่งเศส)
  14. 14.0 14.1 Flemish Academic E. Corijn, at a Colloquium regarding Brussels, on 5 December 2001, states that in Brussels there is 91% of the population speaking French at home, either alone or with another language, and there is about 20% speaking Dutch at home, either alone (9%) or with French (11%) – After ponderation, the repartition can be estimated at between 85 and 90% French-speaking, and the remaining are Dutch-speaking, corresponding to the estimations based on languages chosen in Brussels by citizens for their official documents (ID, driving licenses, weddings, birth, death, and so on) ; all these statistics on language are also available at Belgian Department of Justice (for weddings, birth, death), Department of Transport (for Driving licenses), Department of Interior (for IDs), because there are no means to know precisely the proportions since Belgium has abolished 'official' linguistic censuses, thus official documents on language choices can only be estimations.
  15. Personal website Lexilogos located in the Provence, on European Languages (English, French, German, Dutch, and so on) – Dutch-speakers in Brussels are estimated at about 10% (estimation, not an 'official' number because there are no linguistic census in Belgium) (ฝรั่งเศส)
  16. IS 2007 – Population (Tableaux)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้