เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

ประเทศเบลเยียมเป็นสหพันธรัฐอันประกอบไปด้วย 3 ประชาคม (community) กับ 3 แคว้น (region) ที่มีพื้นฐานมาจาก 4 พื้นที่ภาษา (language area) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ค.ศ. 1970[1] ระหว่างกระบวนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 เบลเยียมได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากรัฐเดี่ยวเป็นสหพันธรัฐ ประกอบด้วยรัฐบาลกลาง รัฐบาลแคว้น และรัฐบาลประชาคม โดยหลักการนี้สร้างขึ้นเพื่อลดความตึงเครียดด้านความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจโดยรวม[2]

แผนที่จำแนกถึงการแบ่งประชาคม แคว้น และพื้นที่ภาษาของประเทศเบลเยียม
  ภาษาดัตช์
  ภาษาฝรั่งเศส
  ภาษาเยอรมัน
  ทวิภาษา (ดัตช์/ฝรั่งเศส)
ประชาคม แคว้น
เฟลมิช เฟลมิช (ฟลานเดอส์)
นครหลวง (บรัสเซลส์)
ฝรั่งเศส
วอลลูน (วอลโลเนีย)
เยอรมัน
อาณาเขตของแต่ละจังหวัดแบ่งโดยเส้นทึบสีดำ

โครงสร้าง

แก้

โครงสร้างการปกครองในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญเบลเยียม ให้อำนาจในการปกครองโดยมีรัฐสภาและรัฐบาลในระดับรัฐ ระดับประชาคม และระดับแคว้น โดยหน่วยที่ระบุด้วย อักษรตัวเอียง นั้นไม่มีสถาบันดังกล่าวเป็นของตนเอง ได้แก่ เขต เนื่องจากเป็นหน่วยการปกครองล้วน ๆ; พื้นที่ภาษา เนื่องจากเป็นเพียงตัวกำหนดระเบียบทางภาษาในเทศบาลหนึ่ง ๆ เท่านั้น; และแคว้นเฟลมิช เนื่องจากอำนาจต่าง ๆ ของแคว้นมีประชาคมเฟลมิชเป็นผู้ใช้

ระดับประเทศ 1   ราชอาณาจักรเบลเยียม
พื้นที่ภาษา 4 ดัตช์ ทวิภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน
ประชาคม 3   ประชาคมเฟลมิช   ประชาคมฝรั่งเศส   ประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมัน
แคว้น 3   แคว้นเฟลมิช   บรัสเซลส์
แคว้นนครหลวง
  แคว้นวอลลูน
จังหวัด 10 เวสต์ฟลานเดอส์ อีสต์ฟลานเดอส์ แอนต์เวิร์ป ลิมบืร์ค เฟลมิช
บราบันต์
วอลลูน
บราบันต์
แอโน ลักเซมเบิร์ก นามูร์ ลีแยฌ
เขต 43 8 6 3 3 2 1 1 7 5 3 4
เทศบาล 581 64 60 69 42 65 19 27 69 44 38 75 9

เขตการปกครอง

แก้

แคว้นเฟลมิช (ฟลานเดอส์) และ แคว้นวอลลูน (วอลโลเนีย) แบ่งย่อยออกเป็น จังหวัด (province) แคว้นละ 5 จังหวัด ส่วนแคว้นที่สาม ได้แก่ แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ นั้นมิได้มีฐานะเป็นจังหวัดและไม่มีเขตย่อยเป็นจังหวัดเช่นกัน โดยรวมทั้งหมดในประเทศเบลเยียมแบ่งการปกครองย่อยเป็น 589 เทศบาล (municipality) ซึ่งในแต่ละเขตเทศบาลนั้นจะแบ่งย่อยลงได้อีกเป็นเขตเทศบาลย่อย (sub-municipality) จำนวนหลายเขตรวมกัน

ประชาคม, แคว้น, พื้นที่ภาษา, เทศบาล และ จังหวัด ล้วนเป็นองค์ประกอบทางการปกครองหลักในระดับชาติของเบลเยียมตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญ ส่วนการแบ่งการปกครองที่สำคัญน้อยลงมาได้แก่ เขตร่วมเทศบาล (intra-municipal district), เขตการปกครอง (administrative arrondissement), เขตเลือกตั้งและเขตตุลาการ (electoral and judicial arrondissement), เขตตำรวจ (police district) และล่าสุดทีมีการก่อตั้งคือ เขตตำรวจระหว่างเทศบาล (inter-municipal police zone) ซึ่งอยู่ในระดับย่อยลงไปของเขตตำรวจ

หน่วยการปกครองทุกระดับ ได้แก่ พื้นที่ภาษา, ประชาคม, แคว้น, จังหวัด และเทศบาล มีแนวแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ภาษาไม่มีสำนักงานหรืออำนาจปกครองใด ๆ โดยเป็นเพียงแต่ตัวช่วยให้แบ่งเขตการปกครองได้ง่ายขึ้น ดังนั้นประชาคมจึงได้รับการกำหนดเขตทางภูมิศาสตร์โดยเท่าเทียมกัน แต่ประชาคมต่าง ๆ ของเบลเยียมไม่ได้สื่อหรืออ้างอิงถึงกลุ่มประชากรต่างหากโดยตรง แต่สื่อถึงกลุ่มของความรู้ในภาษา วัฒนธรรม และการเมืองต่างหากในประเทศเสียมากกว่า

แต่ละประชาคมมีอาณาเขตตามที่ระบุไว้ในกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้อำนาจปกครองได้ในบางระดับ โดยประชาคมเฟลมิชจะมีอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เฉพาะภายในพื้นที่ภาษาดัตช์ (ซึ่งตรงกับแคว้นเฟลมิช) และภายในพื้นที่ทวิภาษานครหลวงบรัสเซลส์ (ซึ่งตรงกับแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์); ประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมจะมีสิทธิตามกฎหมายภายในเขตที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น ได้แก่ แคว้นวอลลูนและพื้นที่ทวิภาษาในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์; ส่วนประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียมจะมีอำนาจในบริเวณที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลักซึ่งได้แก่อาณาเขตเล็ก ๆ ภายในจังหวัดลีแยฌในแคว้นวอลลูนซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเยอรมนี

แคว้นทั้งสามในเบลเยียมได้แก่:

ประชาคมทั้งสามได้แก่:

พื้นที่ภาษาทั้งสี่ได้แก่:

  • พื้นที่ภาษาดัตช์
  • พื้นที่ทวิภาษานครหลวงบรัสเซลส์
  • พื้นที่ภาษาฝรั่งเศส
  • พื้นที่ภาษาเยอรมัน (ซึ่งมีที่อำนวยความสะดวกทางภาษาสำหรับผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส)

ตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ใช้ภาษาราชการแบ่งตามเทศบาล รวมทั้งเขตดินแดนตามรายละเอียดต่อไปนี้

บริการสาธารณะต่าง ๆ อำนวยความสะดวก
และให้บริการเป็นภาษา
ระดับประชาคม ระดับแคว้น (และจังหวัดในปกครอง) ระดับ
รัฐ
เฟลมิช ฝรั่งเศส เยอรมัน เฟลมิช วอลลูน นครหลวง
บรัสเซลส์
ดัตช์ ฝรั่งเศส เยอรมัน
พื้นที่ภาษาดัตช์  Y ใน 12 เทศบาล
(เฉพาะ "การอำนวยความสะดวก")
 Y  Y  Y
พื้นที่ภาษาฝรั่งเศส ใน 4 เทศบาล
(เฉพาะ "การอำนวยความสะดวก")
 Y ใน 2 เทศบาล
(เฉพาะ "การอำนวยความสะดวก")
 Y  Y  Y
พื้นที่ทวิภาษานครหลวงบรัสเซลส์  Y  Y  Y  Y  Y  Y
พื้นที่ภาษาเยอรมัน ใน 9 เทศบาล
(เฉพาะ "การอำนวยความสะดวก")
 Y  Y  Y  Y
ตามกฎหมายแล้ว ผู้อยู่อาศัยในเขตเทศบาลทั้ง 27 เขต[a] สามารถขอรับบริการ "อำนวยความสะดวก" อย่างจำกัดเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาในเขตของตนได้
แต่ "การอำนวยความสะดวก" ดังกล่าวจัดให้มีเฉพาะในเขตเทศบาลบางเขตที่อยู่ใกล้พรมแดนระหว่างแคว้นเฟลมิชกับแคว้นวอลลูนและแคว้นเฟลมิชกับแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
และในอีก 2 เขตเทศบาลในแคว้นวอลลูนที่อยู่ติดกับพื้นที่ภาษาเยอรมัน รวมทั้งในทุกเขตเทศบาลในพื้นที่ดังกล่าว

ประชาคม

แก้
ประชาคม ประชาคมเฟลมิช ประชาคมฝรั่งเศส ประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมัน
ชื่อในภาษาดัตช์ Vlaamse Gemeenschap (Franse Gemeenschap) (Duitstalige Gemeenschap)
ชื่อในภาษาฝรั่งเศส (Communauté flamande) Communauté française (Communauté germanophone)
ชื่อในภาษาเยอรมัน (Flämische Gemeinschaft) (Französische Gemeinschaft) Deutschsprachige Gemeinschaft
ที่ตั้ง      
ธง      
เมืองหลวง บรัสเซลส์
(ร่วมกับแคว้นเฟลมิช)
บรัสเซลส์ อ็อยเพิน
ประชากร ±6,900,000 คน
(60% ของเบลเยียม)[4]
±4,500,000 คน
(40% ของเบลเยียม)
77,527 คน [2019][5]
(0.7% ของเบลเยียม)
ประธาน ยัน ยัมโบน (รายชื่อ)
(ร่วมกับแคว้นเฟลมิช)
ปีแยร์-อีฟว์ เฌอออแล (รายชื่อ) อ็อลลิเวอร์ พาช (รายชื่อ)
เว็บไซต์ www.flanders.be www.cfwb.be www.dglive.be

ประชาคมต่าง ๆ ได้รับการจัดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1970 โดยมีสถานะเป็น "ประชาคมทางวัฒนธรรม" ซึ่งมีขอบเขตและหน้าที่ที่จำกัด ต่อมาใน ค.ศ. 1980 ได้มีการถ่ายโอนอำนาจรัฐเข้าไปสู่ประชาคมมากขึ้น และเปลี่ยนชื่อเหลือแค่เพียง "ประชาคม"

ทั้งประชาคมเฟลมิชและประชาคมฝรั่งเศสมีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ของแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุจำนวนประชากรของแต่ละประชาคมได้อย่างแน่ชัด มีเพียงประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันประชาคมเดียวที่มีพื้นที่ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจหนึ่งเดียวในฐานะประชาคม และต่อมายังได้มีการถ่ายโอนอำนาจบริหารจากแคว้นวอลลูนไปยังประชาคมนี้เพิ่มขึ้น

แคว้น

แก้
แคว้น แคว้นเฟลมิช แคว้นวอลลูน แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
ชื่อในภาษาดัตช์ Vlaams Gewest (Waals Gewest) Brussels Hoofdstedelijk Gewest
ชื่อในภาษาฝรั่งเศส (Région flamande) Région wallonne Région de Bruxelles-Capitale
ชื่อในภาษาเยอรมัน (Flämische Region) Wallonische Region (Region Brüssel-Hauptstadt)
ที่ตั้ง      
ธง      
เมืองหลวง บรัสเซลส์ นามูร์ บรัสเซลส์
ISO 3166-2:BE VLG WAL BRU
พื้นที่ 13,522 ตร.กม.
(44.29% ของประเทศ)
16,844 ตร.กม.
(55.18% ของประเทศ)
161 ตร.กม.
(0.53% ของประเทศ)
จังหวัด เฟลมิชบราบันต์
ลิมบืร์ค
เวสต์ฟลานเดอส์
อีสต์ฟลานเดอส์
แอนต์เวิร์ป
นามูร์
ลักเซมเบิร์ก
ลีแยฌ
วอลลูนบราบันต์
แอโน
ไม่มี
เขตเทศบาล 300 262 19
ประชากร 6,589,069 คน [2019][5]
(57.6% ของประเทศ)
3,633,795 คน [2019][5]
(31.8% ของประเทศ)
1,208,542 คน [2019][5]
(10.6% ของประเทศ)
ความหนาแน่นประชากร 484 คน/ตร.กม. 216 คน/ตร.กม. 7,442 คน/ตร.กม.
ประธาน ยัน ยัมโบน (รายชื่อ) เอลีโย ดี รูโป (รายชื่อ) รูดี เฟอร์โฟร์ต (รายชื่อ)
เว็บไซต์ www.flanders.be www.wallonie.be be.brussels

หมายเหตุ

แก้
  1. นอกเหนือจากเขตเทศบาลที่มีการอำนวยความสะดวกทางภาษาสำหรับปัจเจกบุคคลแล้ว พื้นที่ภาษาฝรั่งเศสยังมีเขตเทศบาลอีกสามเขตที่ซึ่งภาษาที่สองในการศึกษาตามกฎหมายจะต้องเป็นภาษาดัตช์หรือภาษาเยอรมัน ในขณะที่ในเขตเทศบาลที่ไม่มีสถานะพิเศษก็อนุญาตให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ในกรณีนี้เช่นกัน[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "Als goede buren– Vlaanderen en de taalwetgeving– Taalgrens en taalgebieden" (ภาษาดัตช์). Vlaanderen.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
  2. "Politics — State structure". Flanders.be. Flemish Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24.
  3. Lebrun, Sophie (7 January 2003). "Langues à l'école: imposées ou au choix, un peu ou beaucoup" (ภาษาฝรั่งเศส). La Libre Belgique. สืบค้นเมื่อ 17 August 2007.
  4. เนื่องจากแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์เป็นส่วนหนึ่งของทั้งประชาคมเฟลมิชและประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม จึงไม่สามารถระบุจำนวนประชากรที่แน่นอนของประชาคมเฟลมิชได้ โดยในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์มีผู้อยู่อาศัย 1,208,542 คน (ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019) ประมาณร้อยละ 10–20 ในจำนวนนี้อาจถือว่าเป็นประชากรส่วนหนึ่งของประชาคมเฟลมิช เมื่อรวมกับแคว้นเฟลมิชซึ่งมีจำนวนผู้อยู่อาศัย 6,589,069 คน (ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019) แล้ว จึงประมาณได้ว่ามีผู้อยู่อาศัย 6.5 ถึง 7 ล้านคน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 https://statbel.fgov.be/nl/themas/bevolking/structuur-van-de-bevolking