เวลาออมแสงยุโรปกลาง
เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง (อังกฤษ: Central European Summer Time; CEST) หรือ เวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Daylight Time; CEDT) เป็นเขตเวลามาตรฐานที่ใช้ในช่วงที่มีการออมแสงในประเทศแถบยุโรปที่สังเกตเวลายุโรปกลาง (CET; UTC+01:00) โดยใช้เขตเวลา UTC+02:00 ซึ่งตรงกับเวลายุโรปตะวันออก, เวลาแอฟริกากลาง, เวลามาตรฐานแอฟริกาใต้, เวลามาตรฐานอียิปต์ และเวลาคาลินินกราดในประเทศรัสเซีย[1]
ฟ้าอ่อน | เวลายุโรปตะวันตก / เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC) |
สีฟ้า | เวลายุโรปตะวันตก / เวลามาตรฐานกรีนิช (UTC) |
เวลาออมแสงยุโรปตะวันตก / เวลาออมแสงบริติช / เวลามาตรฐานไอร์แลนด์ (UTC+1) | |
สีแดง | เวลายุโรปกลาง (UTC+1) |
เวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2) | |
สีเหลือง | เวลายุโรปตะวันออก / เวลาคาลินินกราด (UTC+2) |
สีกากี | เวลายุโรปตะวันออก (UTC+2) |
เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก (UTC+3) | |
เขียวอ่อน | เวลามอสโก / เวลาตุรกี (UTC+3) |
เทอร์ควอยซ์ | เวลาอาร์มีเนีย / เวลาอาเซอร์ไบจาน / เวลาจอร์เจีย (UTC+4) |
▉▉▉ สีเข้ม: สังเกตเวลาฤดูร้อน
ชื่อ
แก้ชื่ออื่น ๆ ที่ใช้เรียกเวลาฤดูร้อนยุโรปกลางได้แก่ เวลาฤดูร้อนยุโรปตอนกลาง (Middle European Summer Time; MEST),[2] เวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Daylight Time; CEDT)[3] และเวลาบราโว (Bravo Time; ตามชื่ออักษรที่สองในการออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ)[4]
ช่วงสังเกต
แก้นับตั้งแต่ ค.ศ. 1996 มีการสังเกตเวลาฤดูร้อนยุโรปตั้งแต่เวลา 01:00 UTC (02:00 CET ถึง 03:00 CEST) ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ในอดีตกฎนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานทั่วสหภาพยุโรป[5]
มีข้อเสนอที่จะยกเลิกใช้งานเวลาฤดูร้อนในยุโรปเมื่อ ค.ศ. 2021 ด้วยการขยับเวลาฤดูหนาวไปชั่วโมงหนึ่งและตั้งไว้เช่นนั้นทั้งปี[6]
การใช้งาน
แก้นี่คือประเทศและดินแดนที่ใช้เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง:[7]
- แอลเบเนีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1974
- อันดอร์รา, ตั้งแต่ ค.ศ. 1985
- ออสเตรีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- เบลเยียม, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- โครเอเชีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- เช็กเกีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1979
- เดนมาร์ก (แผ่นดินใหญ่), ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- ฝรั่งเศส (แผ่นดินใหญ่), ตั้งแต่ ค.ศ. 1976
- เยอรมนี, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- ยิบรอลตาร์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1982
- ฮังการี, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- อิตาลี, ตั้งแต่ ค.ศ. 1968
- คอซอวอ, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- ลีชเทินชไตน์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1981
- ลักเซมเบิร์ก, ตั้งแต่ ค.ศ. 1981
- มอลตา, ตั้งแต่ ค.ศ. 1974
- โมนาโก, ตั้งแต่ ค.ศ. 1976
- มอนเตเนโกร, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- เนเธอร์แลนด์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1977
- มาซิโดเนียเหนือ, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- นอร์เวย์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- โปแลนด์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1977
- ซานมาริโน, ตั้งแต่ ค.ศ. 1966
- เซอร์เบีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- สโลวาเกีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1979
- สโลวีเนีย, ตั้งแต่ ค.ศ. 1983
- สเปน, ตั้งแต่ ค.ศ. 1974 (ยกเว้นกานาเรียสซึ่งใช้เวลาออมแสงยุโรปตะวันตก)
- สวีเดน, ตั้งแต่ ค.ศ. 1980
- สวิตเซอร์แลนด์, ตั้งแต่ ค.ศ. 1981
- นครรัฐวาติกัน, ตั้งแต่ ค.ศ. 1966
ประเทศเหล่านี้เคยใช้เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง:
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "CEST time now". 24timezones.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
- ↑ "Time zone names- Middle European Daylight, Middle European Summer, Mitteieuropaische Sommerzeit (german)". www.worldtimezone.com. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
- ↑ "CEDT - Central European Daylight Time: Current local time". Time Difference (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
- ↑ "B – Bravo Time Zone (Time Zone Abbreviation)". www.timeanddate.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
- ↑ Joseph Myers (2009-07-17). "History of legal time in Britain". สืบค้นเมื่อ 2009-10-11.
- ↑ Boffey, Daniel (26 March 2019). "European parliament votes to scrap daylight saving time from 2021". The Guardian.
- ↑ "CEST – Central European Summer Time (Time Zone Abbreviation)". www.timeanddate.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.