ดัชนีการพัฒนามนุษย์

(เปลี่ยนทางจาก Human Development Index)

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: Human Development Index) หรือ เอชดีไอ (HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

แผนที่โลกแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ (ข้อมูลใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2565)[1]
  0.800–1.000 (สูงมาก)
  0.700–0.799 (สูง)
  0.550–0.699 (กลาง)
  0.350–0.549 (ต่ำ)
  ไม่มีข้อมูล

ใน พ.ศ. 2553 รายงานการพัฒนามนุษย์ได้ริเริ่มดัชนีการพัฒนามนุษย์ปรับปรุงด้วยความไม่เท่าเทียมหรือ "ไอเอชดีไอ" (Inequality-adjusted Human Development Index; IHDI) ในขณะที่ดัชนีแบบเดิมยังถือว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่ โดยกล่าวว่า "ไอเอชดีไอคือดัชนีที่สะท้อนระดับการพัฒนามนุษย์ที่แท้จริง (เนื่องจากพิจารณาความไม่เท่าเทียมในสังคมด้วย)" และ "อาจมองได้ว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์แบบเดิมคือศักยภาพในการพัฒนามนุษย์ (ดัชนีไอเอชดีไอสูงสุดที่เป็นได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่สังคมมีความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์)"

ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี - วัดจากอายุขัย
  • ความรู้ - วัดจากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
  • มาตรฐานคุณภาพชีวิต - วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP)

ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะได้รับการจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index)

ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับการจัดเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก จากข้อมูลใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเผยแพร่รายงานในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ[1]

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2564

แก้

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 และได้คำนวณคะแนนสำหรับดัชนีการพัฒนามนุษย์จากประมาณการข้อมูลสำหรับ พ.ศ. 2564 ตารางด้านล่างต่อไปนี้คือกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์ "สูงมาก" จำนวน 66 ลำดับ[2][3]

  •   = สูงขึ้น
  •   = คงเดิม
  •   = ต่ำลง
  • ตัวเลขด้านข้างเครื่องหมายแสดงถึงอันดับที่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนหน้า

ประเทศไทย

แก้

ประเทศไทยได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับ "สูงมาก" ซึ่งสถิติคะแนนย้อนหลัง (สำหรับการประเมินใน พ.ศ. 2564) เป็นดังต่อไปนี้

ประเทศ อันดับล่าสุด
(พ.ศ. 2567)
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน คะแนน
2567 2565 2564 2561 2560 2559 2558 2557 2556 2555 2554 2553 2548 2543 2538 2533
  ไทย 47[1] 🔺 8 0.857 0.083 0.723 0.795 0.790 0.785 0.781 0.778 0.747 0.746 0.743 0.737 0.706 0.653 0.619 0.576

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 "Human Development Report 2021/2022 Page 284" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
  2. The UN does not calculate the HDI of Macau. The government of Macau calculates its own HDI.Macau in Figures, 2015
  3. Taiwan's government calculated its HDI to be 0.882, based on 2010 new methodology of UNDP. "2011中華民國人類發展指數 (HDI)" (PDF) (ภาษาจีน). Directorate General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan, R.O.C. 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-11-21.