การคาดหมายคงชีพ

การคาดหมายคงชีพ (อังกฤษ: life expectancy) เป็นค่าเฉลี่ยทางสถิติจำนวนปีที่มนุษย์คนหนึ่งมีชีวิต โดยสันนิษฐานภาวะการตายระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ค่านี้แปรผันตามภูมิภาคและยุคสมัย ในยุคสำริดและยุคเหล็ก การคาดหมายคงชีพ คือ 26 ปี แต่ค่าเฉลี่ยของโลกใน ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 67.2 ปี อัตราตายทารกสูงและการเสียชีวิตในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจากอุบัติเหตุ โรคระบาด กาฬโรค สงครามและการคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนมีแพทยศาสตร์สมัยใหม่แพร่หลาย ลดการคาดหมายคงชีพโดยรวมอย่างสำคัญ แต่สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากภยันตรายในวัยหนุ่มสาวแล้ว การคาดหมายคงชีพหกสิบหรือเจ็ดสิบปีจะมิใช่เรื่องแปลก ตัวอย่างเช่น สังคมที่มีการคาดหมายคงชีพ 40 ปี อาจมีคนจำนวนน้อยเสียชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี ส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 30 ปีหรือหลัง 55 ปี

ในประเทศที่มีอัตราตายทารกสูง การคาดหมายคงชีพเมื่อคลอดไวสูงต่ออัตราตายในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิต เพราะความไวต่อภาวะการตายของทารกนี้ การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุศูนย์ปีธรรมดาจึงอาจทำให้การตีความรวมผิดพลาดได้ ลวงให้เชื่อว่าประชากรที่มีอายุขัยรวมต่ำจะต้องมีสัดส่วนประชากรสูงอายุน้อย[1] ตัวอย่างเช่น ประชากรคงที่สมมุติซึ่งประชากรครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนอายุห้าปี แต่ที่เหลือเสียชีวิตเมื่ออายุ 70 ปีพอดี การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุศูนย์ปีจะอยู่ที่ประมาณ 36 ปี ขณะที่ราว 25% ของประชากรจะมีอายุระหว่าง 50 ถึง 70 ปี การวัดอีกอย่างหนึ่ง เช่น การคาดหมายคงชีพที่อายุ 5 ปี (e5) สามารถใช้แยกผลภาวะการตายของทารกเพื่อวัดอัตราตายโดยรวมธรรมดานอกเหนือจากวัยเด็กตอนต้น ในประชากรสมมุติข้างต้น การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุ 5 ปีจะเพิ่มอีก 65 ปี การวัดประชากรรวมกลุ่ม เช่น สัดส่วนประชากรในกลุ่มอายุต่าง ๆ ยังควรใช้ร่วมกับการวัดยึดปัจเจกบุคคลอย่างการคาดหมายคงชีพรูปนัยเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างและพลวัตประชากร

ในทางคณิตศาสตร์ การคาดหมายคงชีพเป็นจำนวนปีของชีวิตคาดหมาย (ในความหมายทางสถิติ) ที่เหลืออยู่ ณ อายุที่กำหนด[2] แสดงด้วย ซึ่งหมายถึง จำนวนปีชีวิตเฉลี่ยต่อมาสำหรับผู้ที่ปัจจุบันอายุ x ตามประสบการณ์การตายเฉพาะ เพราะการคาดหมายคงชีพเป็นค่าเฉลี่ย บุคคลหนึ่ง ๆ อาจเสียชีวิตได้ก่อนหรือหลังการคงชีพ "คาดหมาย" หลายปี คำว่า "อายุขัยสูงสุด" มีความหมายค่อนข้างแตกต่าง

การคาดหมายคงชีพยังใช้ในนิเวศวิทยาพืชหรือสัตว์[3] ตารางชีพ (หรือเรียก ตารางประกันภัย) คำว่า การคาดหมายคงชีพยังอาจใช้ในบริบทสิ่งผลิต[4] แม้ใช้คำว่า อายุหิ้ง (shelf life) สำหรับผลิตภัณฑ์บริโภค และคำว่า "เวลาเฉลี่ยพัง" (mean time to breakdown, MTTB) และ "เวลาเฉลี่ยระหว่างขัดข้อง" (mean time between failures, MTBF) ใช้ในวิศวกรรมศาสตร์

อ้างอิง

แก้
  1. Laden, Greg (2011-05-01). "Falsehood: "If this was the Stone Age, I'd be dead by now"". ScienceBlogs. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
  2. Arthur Sullivan; Steven M. Sheffrin (2012). Economics: Principles in action. Prentice Hall. p. 473. ISBN 0-13-063085-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-02-24.
  3. John S. Millar and Richard M. Zammuto (1983). "Life Histories of Mammals: An Analysis of Life Tables". Ecology. Ecological Society of America. 64 (4): 631–635. doi:10.2307/1937181. JSTOR 1937181.
  4. Eliahu Zahavi,Vladimir Torbilo & Solomon Press (1996) Fatigue Design: Life Expectancy of Machine Parts. CRC Press. ISBN 0-8493-8970-4