ประเทศตุรกี

ประเทศในเอเชียตะวันตกและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
(เปลี่ยนทางจาก ตุรกี)

ประเทศตุรกี[12] หรือ ประเทศทูร์เคีย[12][a] (อังกฤษ: Turkey, Türkiye; ตุรกี: Türkiye, ออกเสียง: [ˈtʰyɾ.k̟ʰi.je̞ ~ ˈtʰyɾ.cʰi.je̞]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี หรือ สาธารณรัฐทูร์เคีย (อังกฤษ: Republic of Türkiye; ตุรกี: Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีในยูเรเชีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีพื้นที่ส่วนน้อยในอีสต์เทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและประเทศอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน ประเทศอาร์มีเนีย และดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของประเทศอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะรา และดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซกับอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกีตั้งอยู่ ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง โดยเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[14][15][16] ตุรกีมีประชากรประมาณ 85 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวตุรกี และชาวเคิร์ดถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุด ประชากรส่วนมากเป็นชาวมุสลิม มีเมืองหลวงคืออังการา ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจคืออิสตันบูล และมีเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ อิซมีร์, บูร์ซา และ อันทัลยา

สาธารณรัฐตุรกี

Türkiye Cumhuriyeti (ตุรกี)
ธงชาติตุรกี
ที่ตั้งของตุรกี
เมืองหลวงอังการา
39°N 35°E / 39°N 35°E / 39; 35
เมืองใหญ่สุดอิสตันบูล
41°1′N 28°57′E / 41.017°N 28.950°E / 41.017; 28.950
ภาษาราชการตุรกี[1][2]
ภาษาพูด[3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2016)[4]
เดมะนิมชาวตุรกี
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญระบบประธานาธิบดี
เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน
Cevdet Yılmaz
มุสทาฟา แชนทอพ
สภานิติบัญญัติสมัชชาใหญ่แห่งชาติ
ก่อตั้ง
19 พฤษภาคม ค.ศ. 1919
23 เมษายน ค.ศ. 1920
24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923
29 ตุลาคม ค.ศ. 1923
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982[5]
พื้นที่
• รวม
783,356 ตารางกิโลเมตร (302,455 ตารางไมล์) (อันดับที่ 36)
2.03 (ใน ค.ศ. 2015)[6]
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
84,680,273[7] (อันดับที่ 18)
110[8] ต่อตารางกิโลเมตร (284.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 107)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 3.32 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 11)
เพิ่มขึ้น 38,759 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 46)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 853 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 20)
เพิ่มขึ้น 9,961 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 79)
จีนี (ค.ศ. 2019)Steady 41.9[10]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.838[11]
สูงมาก · อันดับที่ 48
สกุลเงินลีราใหม่ตุรกี () (TRY)
เขตเวลาUTC+3 (TRT)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป (สากลศักราช)
ไฟบ้าน230 V–50 Hz
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+90
โดเมนบนสุด.tr

ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนีย และเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต ค.ศ. 1071 รัฐสุลต่านรูมเซลจุคปกครองอานาโตเลียจนมองโกลบุกครองใน ค.ศ. 1243 ซึ่งสลายเป็นเบย์ลิก (beylik) เติร์กเล็ก ๆ หลายแห่ง

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออตโตมันรวมอานาโตเลียและสร้างจักรวรรดิซึ่งกินพื้นที่กว้างใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ[17] กลายเป็นมหาอำนาจในทวีปยูเรเชียและทวีปแอฟริการะหว่างสมัยใหม่ตอนต้น[18] จักรวรรดิเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 17[19] โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัชกาลสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร หลังการล้อมเวียนนาครั้งที่สองของออตโตมันใน ค.ศ. 1683 และการสิ้นสุดมหาสงครามเติร์กใน ค.ศ. 1699 จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ระยะเสื่อมอันยาวนาน การปฏิรูปแทนซิมัตในคริสต์ศตวรรษที่ 19[20] ซึ่งมุ่งทำให้รัฐออตโตมันทันสมัย[21] ไม่เพียงพอในหลายสาขาและไม่อาจหยุดยั้งการสลายของจักวรรดิได้ จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางและแพ้ในที่สุด ระหว่างสงคราม รัฐบาลออตโตมันก่อความป่าเถื่อนใหญ่หลวง กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อพลเมืองอาร์มีเนีย อัสซีเรีย และกรีกพอนทัส หลังสงคราม ดินแดนและประชาชนกลุ่มใหญ่ซึ่งเดิมประกอบเป็นจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งเป็นหลายรัฐใหม่ สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ค.ศ. 1919–1922) ซึ่งมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค และเพื่อนร่วมงานของเขาในอานาโตเลียเป็นผู้เริ่ม ส่งผลให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 โดยอาทาทืร์คเป็นประธานาธิบดีคนแรก[22][23]

ตุรกีถือเป็นรัฐโลกวิสัย และแม้จะเป็นประเทศกำลังพัฒนา[24][25] แต่ในปัจจุบันตุรกีถือเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียตะวันตก และเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[26] เศรษฐกิจของประเทศจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่และเป็นผู้นำการเติบโตในภูมิภาค[27] เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 12 โดยภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ ตุรกีเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และเป็นสมาชิกรุ่นแรกของ เนโท, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลดำ, องค์การความร่วมมืออิสลาม และกลุ่ม 20 หลังจากกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกรุ่นแรกของสภายุโรปใน ค.ศ. 1950 ตุรกีเข้าร่วมสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 1995 และเริ่มการเจรจาภาคยานุวัติกับสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 2005

ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดของโลก ปัจจุบันตุรกีกำลังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเฉียบพลัน และมีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ตุรกีมีระบบรักษาพยาบาลแบบสากล และประชากรส่วนใหญ่มีสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษา และยังได้รับการจัดอันดับสูงตามดัชนีนวัตกรรมโลก โดยมีจุดเด่นทางด้านอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก และมีแหล่งมรดกโลกมากถึง 21 รายการ รวมทั้งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกว่า 30 รายการ วัฒนธรรมตุรกีอาทิ อาหาร ยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย[28]

นิรุกติศาสตร์

แก้

ชื่อประเทศ Turkey ในภาษาอังกฤษ (มาจากคำในภาษาละตินสมัยกลาง Turchia/Turquia[29]) แปลว่า "ดินแดนของชาวเติร์ก" ในภาษาอังกฤษสมัยกลางมีการเรียกประเทศตุรกีว่า Turkye ซึ่งปรากฏครั้งแรกในงานประพันธ์ The Book of the Duchess (ป. 1369) ของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ส่วนรูปสะกดปัจจุบันสามารถสืบไปถึง ค.ศ. 1719[30]

ชื่อประเทศตุรกีปรากฏในข้อมูลโลกตะวันตกหลังสงครามครูเสด[31] ในข้อมูลอาหรับช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 turkiyya มีความหมายตรงข้ามกับ turkmaniyya (Turkomania) ซึ่งในความหมายโดยกว้าง น่าจะเข้าใจเป็นโอคุซ[32] อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ใช้ชื่อภูมิภาคนี้เป็น as barr al-Turkiyya al-ma'ruf bi-bilad al-Rum ("ดินแดนตุรกีที่มีชื่อว่าดินแดนรูม")[33]

บางครั้ง รัฐสุลต่านมัมลูกยังมีอีกชื่อว่า อัดเดาละตุตตุรกียะฮ์[34]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 รัฐบาลตุรกีได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนพยายามที่จะยื่นคำร้องต่อสหประชาชาติให้เปลี่ยนชื่อทางการในภาษาอังกฤษไปเป็น Türkiye เพื่อสะท้อนถึงมรดกได้ดียิ่งขึ้นและหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงกับไก่งวง[35][36] ซึ่งมีต้นตอมาจากชื่อของประเทศเช่นกัน[37] อีกเหตุผลหนึ่งเนื่องจากคำว่า turkey ในภาษาอังกฤษยังมีความหมายว่า สิ่งที่ล้มเหลวอย่างรุนแรง คนเซ่อ หรือคนโง่[13] มีรายงานในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ว่ารัฐบาลวางแผนที่จะส่งชื่อ Türkiye ให้กับสหประชาชาติ[38] เมฟลึท ชาวูโชลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เพื่อขอให้ใช้ Türkiye แทน ทางสหประชาชาติตอบตกลงและดำเนินการตามคำร้องขอทันที[39][40] ส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนชื่อประเทศนี้จะมีการพิมพ์วลี Made in Türkiye บนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกทุกชนิดด้วย และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ได้มีการออกโครงการที่มีคำพูดติดปากว่า Hello Türkiye[40] ส่วนในภาษาไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีมติให้เรียกชื่อประเทศนี้ว่า "ตุรกี" หรือ "ทูร์เคีย" ได้ทั้งคู่[12]

ภูมิศาสตร์

แก้

ภูมิประเทศ

แก้
 
ยอดเขาอารารัด ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศตุรกี

ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป[41] ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ[42] ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร [43] ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร[44]

ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ[45]

ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัสทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร[45]

สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วางตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542[46]

ภูมิอากาศ

แก้

ชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40 อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี

ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1℃ ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30℃ ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม[47]

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนสมัยเติร์ก

แก้
 
กำแพงของเมืองทรอย ซึ่งเป็นสถานที่ที่เกิดสงครามเมืองทรอย

คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค (Çatalhöyük), ชาเยอนู (Çayönü), เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (Göbekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[48] การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจายออกไป[49]

 
หอสมุดเซลซุสในเมืองเอเฟซุสสร้างเสร็จใน ค.ศ. 135

จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวอิไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 13 ถึง 18 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[50] แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์

ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 5 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล[51] อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล[52] ใน ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์[53]

สมัยเติร์กและจักรวรรดิออตโตมัน

แก้
 
อาณาจักรออตโตมันในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด (ประมาณ ค.ศ. 1680)
 
สุเหร่าสุลต่านอาห์เหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน

ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล[54] ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง[55]

การเมืองการปกครอง

แก้

บริหาร

แก้

ตุรกีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2466 การเป็นรัฐโลกวิสัยเป็นส่วนสำคัญของการเมืองตุรกี ประมุขแห่งรัฐของตุรกีคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี ไม่เกินสองสมัยติดต่อกัน

นิติบัญญัติ

แก้

ตุรกีจัดการเลือกตั้งรัฐสภาภายใต้ระบอบประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก เมื่อ 24 มิถุนายน 2561 มีการปรับเพิ่มจำนวนสภาแห่งชาติ (Grand National Assembly) จาก 550 คน เป็น 600 คน และ กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 4 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเลือกตั้งและวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปจะจัดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2566 พรรคการเมืองที่สำคัญคือ 1) พรรค Justice and Development (AK) 2) พรรค Nationalist Movement Party (MHP) แนวชาตินิยม 3) พรรค Republican People’s Party (CHP) 4) พรรค İYİ Party 5) Felicity Party และ 6) พรรค Peoples’ Democratic Party (HDP) พรรคของชาวเคิร์ด

ตุลาการ

แก้

:ประกอบด้วย 1) ศาลยุติธรรมทั่วไปทำหน้าที่เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นจะมีอยู่ในทุกเมือง 2) ศาลอุทธรณ์สำหรับคดีอาญาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสำหรับอุทธรณ์คดีด้านการปกครอง หรือคดีภาครัฐ และ 3) ศาลสูงสุดทำหน้าที่เช่นเดียวกับศาลฎีกา

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 81 จังหวัด (il) ได้แก่

ต่างประเทศ

แก้

ตุรกีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ (1945)[56], OECD (1961)[57], องค์การความร่วมมืออิสลาม (1969)[58], OSCE (1973)[59], ECO (1985)[60], BSEC (1992)[61], D-8 (1997)[62] และ กลุ่ม 20 (1999)[63] ตุรกีเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 1951–1952, 1954–1955, 1961 และ 2009–2010 และในปี 2556 ได้เข้าเป็นสมาชิกของ ACD ความสัมพันธ์กับยุโรปถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายต่างประเทศของตุรกี ตุรกีกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรก ๆ ของสภายุโรปในปี 2493 สมัครเป็นสมาชิกร่วมของ EEC (ผู้บุกเบิกสหภาพยุโรป) ในปี 2502 และเข้าเป็นสมาชิกสมทบในปี 2506 หลังจากการเจรจาทางการเมืองหลายทศวรรษ ตุรกีสมัครเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ ของ EEC ในปี 2530 เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรปตะวันตกในปี 2535 เข้าร่วมสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปในปี 2538 และได้รับการเจรจาการภาคยานุวัติอย่างเป็นทางการกับสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2548 การสนับสนุนของตุรกีสำหรับนอร์เทิร์นไซปรัสในข้อพิพาทไซปรัสทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับสหภาพยุโรปซับซ้อนและยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเสนอราคาเพื่อเข้าร่วมสหภาพยุโรปของประเทศ การกำหนดลักษณะอื่น ๆ ของนโยบายต่างประเทศของตุรกีคือการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา การประกาศของประธานาธิบดีทรูแมนในปี 1947 ได้ประกาศเจตนารมณ์ของชาวอเมริกันที่จะรับประกันความมั่นคงของตุรกีและกรีซในช่วงสงครามเย็น และส่งผลให้เกิดการสนับสนุนทางการทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในวงกว้าง ใน ค.ศ. 1948 ทั้งสองประเทศรวมอยู่ในแผนมาร์แชลและ OEEC เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุโรปขึ้นใหม่ ภัยคุกคามทั่วไปที่เกิดขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็นนำไปสู่การเป็นสมาชิกของเนโทของตุรกีในปี 1952[64] จากนั้น ตุรกีได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทูตของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การเสนอราคาของประเทศที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป ภายหลังสงครามเย็น ตุรกีมีความใกล้ชิดกับชาติตะวันออกกลาง คอเคซัส และบอลข่าน

กองทัพ

แก้

กองทัพตุรกี (Turkish Armed Forces-TSK) มีกำลังพล จำนวน 355,200 นาย[65] แบ่งเป็น กองทัพบก 260,200 นาย, กองทัพเรือ 45,000 นาย, กองทัพอากาศ 50,000 นาย และกองกำลังสำรอง 378,700 นาย (2018) งบประมาณด้านการทหารเมื่อปี 2017 เท่ากับ 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ความพยายามทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 ส่งผลต่อสถานะของกองทัพและนำไปสู่ความพยายามปฏิรูปกองทัพเพื่อลดอำนาจของกองทัพ และเพิ่มอำนาจของพลเรือน

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้าง

แก้

นับตั้งแต่การเป็นสาธารณรัฐ ตุรกีได้มีแนวทางเข้าหาการนิยมอำนาจรัฐ โดยมีการควบคุมจากรัฐบาลในด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การค้าต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปี 2526 ตุรกีเริ่มมีการปฏิรูป นำโดยนายกรัฐมนตรีตุรกุต เออซัล ตั้งใจปรับจากเศรษฐกิจแบบอำนาจรัฐเป็นแบบของตลาดและภาคเอกชนมากขึ้น[66] การปฏิรูปนี้ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็สะดุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงินในปี 2537 2542[67] และ 2544[68] เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2546 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์[69] การขาดหายของการปฏิรูปเพิ่มเติม กอปรกับการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและคอร์รัปชัน ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ภาคการธนาคารที่อ่อนแอ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น[70]

เศรษฐกิจของตุรกีขับเคลื่อนโดยภาคอุตสาหกรรมและการบริการเป็นหลัก แต่ภาคการเกษตรยังมีสัดส่วนสูงถึง 25% ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้การค้าโลกหยุดชะงัก เกิดสภาวะเงินทุนไหลออก กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงในไตรมาส 2 กระทบต่อภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การเข้าถึงบริการทางการเงิน เสถียรภาพของค่าเงิน อัตราการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อของตุรกี โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของตุรกีจะหดตัว 3.8% ในปี 2563[ต้องการอ้างอิง]

สถานการณ์สำคัญ

แก้

นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2544 และการปฏิรูปที่เริ่มโดยรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น เกมัล เดร์วึช อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือเป็นเลขหลักเดียว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดลง ไอเอ็มเอฟพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ของตุรกีไว้ที่ 6 เปอร์เซนต์[71] ตุรกีได้พยายามเปิดกว้างระบบตลาดมากขึ้นผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยลดการควบคุมจากรัฐบาลด้านการค้าต่างประเทศและการลงทุน และการแปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐ การเปิดเสรีในหลายด้านไปสู่ภาคเอกชนและต่างประเทศได้ดำเนินต่อไปท่ามกลางการโต้เถียงทางการเมือง[72]

การท่องเที่ยว

แก้

นักท่องเที่ยวในตุรกีเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีในศตวรรษที่ 21[73] และเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของตุรกีสนับสนุนการท่องเที่ยวตุรกีภายใต้โครงการ Turkey Home ตุรกีเป็นหนึ่งในสิบประเทศปลายทางชั้นนำของโลก โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาจากยุโรปเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุด โดยเฉพาะเยอรมนีและรัสเซียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2019 ตุรกีอยู่ในอันดับที่หกของโลกในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 51.2 ล้านคน ตุรกีมีมรดกโลกขององค์การยูเนสโก 19 แห่ง

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

คมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้
 
เครื่องบิน โบอิง 777 ของ สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์

ด้านการขนส่ง มีท่าอากาศยาน 98 แห่ง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 22 แห่ง โดยตุรกีเริ่มเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติ Istanbul New Airport ที่อิสตันบูล และรัฐบาลตั้งเป้าให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในแง่จำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้ในแต่ละปี และหากเปิดครบทั้งโครงการในปี 2571 จะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 200 ล้านคน ตุรกียังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 20 แห่ง และท่าเรือ 629 แห่ง เส้นทางรถไฟระยะทาง 10,315 กม. ถนนระยะทาง 247,553 กม. สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของตุรกีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 และยังมีสายการบินอื่น ๆ อีกหลายแห่งดำเนินการในประเทศ

สะพาน Bosphorus (1973), Fatih Sultan Mehmet Bridge (1988) และ Yavuz Sultan Selim Bridge (2016) เป็นสะพานแขวนสามสะพานที่เชื่อมระหว่างชายฝั่งยุโรปและเอเชียของช่องแคบบอสฟอรัส สะพาน Osman Gazi (2016) เชื่อมต่อชายฝั่งทางเหนือและใต้ของอ่าว İzmit และสะพานชานัคคาเล 1915 บนช่องแคบดาร์ดาแนลที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียจะกลายเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ[74]

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แก้

ตุรกีมีความเชี่ยวชาญในด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาการค้าน้ำมัน การบริหาร จัดการท่อขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศ และกำลังผลักดันสู่การเป็น Energy Corridor ด้านการบริหารจัดการ ท่อขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีท่อลำเลียงก๊าซ ระยะทาง 12,874 กม. ท่อลำเลียงน้ำมัน ระยะทาง 3,038 กม. ตลอดจนมีความชำนาญด้านอุตสาหกรรมก่อสร้าง และยานยนต์

พลังงาน

แก้

ท่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากครอบคลุมอาณาเขตของประเทศ ท่อส่งน้ำมันบากู-ทบิลิซี-ซีฮาน ซึ่งเป็นท่อส่งน้ำมันที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เปิดตัวในปี 2005 The Blue Stream ซึ่งเป็นท่อส่งก๊าซข้ามทะเลดำรายใหญ่ ส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยังตุรกี ท่อส่งใต้ทะเล Turkish Stream ซึ่งมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 63 พันล้านลูกบาศก์เมตร (2,200 พันล้านลูกบาศก์ฟุต) ทำให้ตุรกีสามารถขายก๊าซไปยังรัสเซียและส่วนอื่น ๆ ของยุโรปได้ ในปี 2018 ตุรกีใช้พลังงานหลัก 1,700 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง (TW/h) ต่อปี หรือน้อยกว่า 20 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MW/h) ต่อคนเล็กน้อย ส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำเข้า แม้ว่านโยบายพลังงานของตุรกีจะรวมถึงการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ถ่านหินในตุรกีเป็นเหตุผลเดียวที่ใหญ่ที่สุดที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกของตุรกีถึง 1% ของทั้งหมดทั่วโลก พลังงานหมุนเวียนในตุรกีกำลังเพิ่มขึ้นและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Akkuyu กำลังถูกสร้างขึ้นบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ถึงแม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะผลิตไฟฟ้าได้เกินระดับประเทศก็ยังได้รับเงินอุดหนุน[75] ตุรกีมีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพโดยตรงสูงสุดเป็นอันดับห้าของโลก

การสาธารณสุข

แก้

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการระบบสาธารณสุขสากลมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นที่รู้จักในชื่อประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Genel Sağlık Sigortası) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากการเรียกเก็บภาษีจากนายจ้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 5% เงินทุนภาครัฐครอบคลุมประมาณ 75.2% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แม้จะมีการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมในฐานะส่วนแบ่งของ GDP ในปี 2018 นั้นต่ำที่สุดในบรรดาประเทศในกลุ่ม OECD ที่ 6.3% ของ GDP เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 9.3% อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 78.6 ปี (75.9 สำหรับผู้ชายและ 81.3 สำหรับผู้หญิง) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรปที่ 81 ปี ตุรกีมีอัตราโรคอ้วนสูงที่สุดในโลก โดยเกือบหนึ่งในสาม (29.5%) ของประชากรผู้ใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ 30 หรือสูงกว่า[76] มลพิษทางอากาศในตุรกีเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งในประเทศ ตุรกีได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพสร้างรายได้ให้ตุรกีสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์[77] ในปี 2019 รายได้ 60% มาจากการทำศัลยกรรมพลาสติก และผู้ป่วยทั้งหมด 662,087 รายได้รับบริการในประเทศเมื่อปีที่แล้วภายใต้ขอบเขตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

การศึกษา

แก้

การศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 [78] การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายเป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนวความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ[79]

ประชากรศาสตร์

แก้

เมืองใหญ่สุด 20 อันดับแรก

แก้

เชื้อชาติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนต่อตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 [81] จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี[82]

ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีเชื้อสายตุรกี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน[83] ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์มีเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน[83]) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป[84]

ภาษา

แก้

ประเทศตุรกีมีภาษาทางการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี [85] ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย[86] นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[87]

ศาสนา

แก้

ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม (31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธดอกซ์ (143,251) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน)

วัฒนธรรม

แก้

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

ตุรกีมีวัฒนธรรมที่หลากหลายมากที่ผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ของเติร์ก อนาโตเลีย ออตโตมัน (ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของทั้งวัฒนธรรมกรีก-โรมันและอิสลาม) วัฒนธรรมตุรกีเป็นผลผลิตจากความพยายามในการเป็นรัฐตะวันตกที่ "ทันสมัย" โดยที่ยังคงรักษาคุณค่าทางศาสนาและประวัติศาสตร์แบบดั้งเดิมไว้[88]

ศิลปกรรม

แก้
   
นักดนตรีหญิงน้อยทั้งสอง (ซ้าย) และ นักฝึกเต่า (ขวา) จิตรกรรมของ Osman Hamdi Bey

โดยทั่วไปในความคิดแบบตะวันตก เป็นที่ยอมรับกันว่าจิตรกรรมแบบตุรกีเริ่มเฟื่องฟูในกลางคริสต์ศตวรรศที่ 19 สถาบันจิตรกรรมแห่งแรกของตุรกีคือมหาวิทยาลัยเทคนิคตุรกี (ในขณะนั้นคือ สถาบันวิศวกรรมศาสตร์กองทัพอิมพีเรียล) ซึ่งเปิดสอนในปี 1793 เพื่อจุดมุ่งหมายเชิงการใช้งานมากกว่า[89] ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การวาดมนุษย์ตามอย่างตะวันตกเริ่มแพร่หลายโดยเฉพาะกับ Osman Hamdi Bey ลัทธิประทับใจ รวมทั้งศิลปะยุคใหม่เริ่มเข้ามากับ Halil Pasha ศิลปินตุรกียุคใหม่ที่ถูกส่งไปเล่าเรียนในยุโรปเมื่อปี 1926 กลับมาพร้อมกับแนวศิลปะร่วมสมัยทั้ง ฟอวิสซึม คิวบิซึม และ เอ็กซ์เพรชชั่นนิสซึม ต่อมาศิลปินได้รวมกันจัดตั้ง "Group D" ซึ่งประกอบด้วยจิตรกรที่นำโดย Abidin Dino, Cemal Tollu, Fikret Mualla, Fahrünnisa Zeid, Bedri Rahmi Eyüboğlu, Adnan Çoker และ Burhan Doğançay ผู้นำเสนอเทรนด์ใหม่ที่จะคงอยู่ในจิตรกรรมตะวันตกไปอีกสามทศวรรษ นอกจาก Group D แล้วยังมีการเคลื่อนไหวอื่น ๆ อีก เช่น "Yeniler Grubu" (ผู้มาใหม่) ราวปลายทศวรรษ 1930s, "On'lar Grubu" (กลุ่มสิบคน) ในทศวรรษ 1940s, "Yeni Dal Grubu" (กลุ่มสาขาใหม่) ในทศวรรษ 1950s และ "Siyah Kalem Grubu" (กลุ่มปากกาดำ) ในทศวรรษ 1960s[90]

พรมตุรกี เป็นศิลปกรรมท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่ตุรกียุคก่อนอิสลาม ยิ่งผ่านกาลเวลามาเท่าไร พรมตุรกีก็ยิ่งมีการผสมผสานวัฒนธรรมใหม่ ๆ มากขึ้นเท่านั้น สังเกตได้จากกลิ่นอายและงานออกแบบที่มีความเป็นไบแซนไทน์ อนาโตเลีย อาร์เมเนีย ฯลฯ ล้วนทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละถิ่น จนกระทั่งหลังศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ พรมตุรกีจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศิลปะอิสลาม[91]

จุลจิตรกรรมแบบตุรกี (Turkish miniature) เป็นงานศิลป์ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากธรรมเนียมจุลจิตรกรรมแบบเปอร์เชีย การวาดลวดลายขนาดจิ๋วซึ่งเรียกว่า taswir หรือ nakish พบในวัฒนธรรมออตโตมัน และเรียกสตูดิโอที่ทำชิ้นงานว่า Nakkashanes[92]โดยทั่วไปแล้วจุลจิตรกรรมหนึ่งภาพอาจต้องใช้จิตรกรมากกว่าหนึ่งคน เพื่อร่างโครงสร้าง จัดองค์ประกอบ ลงสี ตกแต่งและเก็บรายละเอียด ยังรวมไปถึงขั้นตอนการเขียนคัลลิกราฟี ก่อนที่จะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือหรือเอกสารหนึ่งหน้า[93]

การสร้างลวดลายหินอ่อนบนกระดาษแบบตุรกี (Turkish paper marbling) ก็เป็นอีกจิตรกรรมที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จัก มักพบใช้ในการตกแต่งขอบกระดาษในหนังสือหรือเอกสาร หรือใช้สร้างแม่ลาย (mortif) "Hartif"[94]

อาหาร

แก้
 
กะบาบ หนึ่งในอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในตุรกี

ชาวตุรกีภูมิใจในอาหารของตนเองมาก อาหารตุรกีนั้นมีอิทธิพลของอาหรับ กรีก ยุโรปตะวันออกผสานอยู่ด้วย แม้ว่าอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ดจะเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่อาหารท้องถิ่นแบบดั้งเดิมยังคงเป็นเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทุกมุมโลกในปัจจุบัน[95][96]

อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ กะบาบ เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงสุกต่าง ๆ ที่มีต้นกำเนิดมาจากอาหารตะวันออกกลาง มีทั้งที่เป็นเนื้อชิ้นใหญ่ เนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เนื้อแล่เป็นชิ้นบาง และเนื้อบด ส่วนใหญ่ใช้หัวหอมหั่นเป็นเครื่องเคียงนอกเหนือจากผักและวัตถุดิบอื่น ๆ หาทานได้ทั่วทุกภูมิภาคของตุรกี

อาหารที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ได้แก่ เบยิน ทาวาซึ (สมองแกะทอด) เบอเรค (แป้งม้วนใส่ผักหรือเนยแข็งชิ้นเล็ก ๆ) คาซึค (แตงกวาและโยเกิร์ตกระเทียม) และสลัดผักต่าง ๆ รวมถึงซุปตุรกีหรือที่เรียกว่า อิสเคมเบ ซึ่งเป็นซุปเครื่องในใส่กระเทียม

อาหารจานหลักเป็นจำพวกเนื้อปลานั้นค่อนข้างแพงหากไม่ได้อยู่ในฤดูกาลแต่มีรสชาติดี โดยเฉพาะในอิสตันบลูหรือตามแถบชายฝั่ง ปลาที่พบอยู่บ่อย ๆ ในเมนูคือ คิลิช (ปลาดาบ), ไคลคาน (ปลาเทอร์บอต), เลฟเรค (ปลาซีเบส), ปาลามุท (ปลาทูน่า) และลูเฟอ (ปลาบลูฟิช) ส่วนเนื้อนั้นปกติจะเป็นเนื้อลูกแกะ, เนื้อไก่ หรือเนื้อวัวปรุงกับผักต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีซิสเกบาบีหรือเนื้อเสียบเหล็กย่าง ส่วนเนื้อหมูนั้นหารับประทานได้ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ฮอลิเดย์ วิลเลจ และร้านขายของชำสำหรับตลาดระดับสูง

สถาปัตยกรรม

แก้
 
พิพิธภัณฑ์ฮายาโซฟีอา

ประเทศตุรกีเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[97] ความโดดเด่นคือมีสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกแบบออตโตมันกับศิลปะตะวันตกแบบกรีก-โรมันได้อย่างลงตัว[98] สถาปัตยกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมีมากมาย เช่น:

พิพิธภัณฑ์ฮายาโซฟีอา: เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามที่สุดในเมืองอิสตันบูล เดิมเคยเป็นโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ สร้างโดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งไบแซนไทน์ ต่อมาใน ค.ศ. 1453 จักรวรรดิออตโตมันมีชัยชนะเหนือจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้เป็นสุเหร่าแทน โดยสุเหร่าฮายาโซฟีอาเป็นสุเหร่าหลักของเมืองอิสตันบูลยาวนานกว่า 500 ปี ก่อนรัฐบาลตุรกีจะดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1935 ความโดดเด่นของที่นี่คือยอดโดมขนาดใหญ่และความงดงามของสถาปัตยกรรมการตกแต่งที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไบแซนไทน์กับศิลปะออตโตมันเข้าด้วยกัน

สุเหร่าสุลต่านอาห์เหม็ดที่ 1 หรือสุเหร่าสีน้ำเงิน: ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ฮาเกียโซเฟีย เริ่มก่อสร้างใน ค.ศ. 1609 เนื่องจากสุลต่านอาห์เหม็ดที่ 1 ต้องการสร้างสุเหร่าศิลปะตะวันออกแบบออตโตมันให้ใหญ่กว่าโบสถ์ฮาเกียโซเฟีย โดยสร้างหันหน้าเข้าหากันแต่อยู่คนละฝั่งเพื่อประชันความยิ่งใหญ่และสวยงาม เอกลักษณ์ของสุเหร่าแห่งนี้คือด้านในสุเหร่าประดับด้วยกระเบื้องสีฟ้าทั้งหมดยามต้องแสงจึงสวยงามมาก ทั้งยังมีลานด้านหน้าที่กว้างที่สุดในกลุ่มสุเหร่าแบบออตโตมันและมีหอสวดมนต์อยู่ถึง 7 หอ

Grand Bazaar ตลาดแกรนด์บาซาร์: เป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศตุรกี มีความเป็นมายาวนานกว่า 1,000 ปี นอกจากจะเก่าแก่ที่สุดแล้ว ยังเป็นตลาดในร่มสถาปัตยกรรมแบบออตโตมันที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย ภายในตลาดแกรนด์บาซาร์มีร้านค้ามากกว่า 4,000 ร้าน มีทางเข้ามากกว่า 21 ทาง แบ่งออกเป็นโซนตามประเภทสินค้าชัดเจน สินค้าหลัก ๆ ที่ขายในนี้คือ เครื่องเงิน พรม สิ่งทอ เสื้อผ้า วัตถุโบราณ ทองคำ และของที่ระลึก

กีฬา

แก้

ฟุตบอล

แก้
 
ฟุตบอลทีมชาติตุรกีในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศ ตุรกีมีลีกอาชีพที่มีชื่อเสียงคือ ซือเปร์ลีก มีสโมสรชื่อดัง อาทิ กาลาทาซาไร, เฟแนร์บาห์แช, อิสตันบูล บาซัคเซเฮอร์ และเบชิกทัช แม้จะไม่เคยชนะเลิศการแข่งขันรายการใหญ่ แต่ฟุตบอลทีมชาติตุรกีก็มีส่วนร่วมในการแข่งขันรายการสำคัญทั้งฟุตบอลโลก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยเคยผ่านเข้าเล่นในรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2 ครั้ง และมีผลงานที่ดีที่สุดคือการคว้าอันดับสามในฟุตบอลโลก 2002 เอาชนะเกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมได้ และผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 5 ครั้ง ผลงานดีที่สุดคือรอบรองชนะเลิศในปี 2008

วอลเลย์บอล

แก้

ตุรกียังขึ้นชื่อในเรื่องของกีฬาวอลเลย์บอล โดยเฉพาะทีมหญิง วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติตุรกี มีส่วนร่วมในการแข่งขันนานาชาติ โดยเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 2 สมัย และคว้าอันดับ 5 ในโอลิมปิก 2020 เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก 4 สมัย คว้าอันดับ 6 ในปี 2010 ปัจจุบันทีมหญิงของตุรกีอยู่ในอันดับ 4 ของโลกตามการจัดอันดับของ เอฟไอวีบี[99] ในขณะที่ทีมชายเคยเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก 3 ครั้ง และยังไม่เคยเข้าร่วมโอลิมปิก

เชิงอรรถ

แก้
  1. บ้างสะกดเป็น ประเทศตุรเคีย[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "Türkiye Cumhuriyeti Anayasası" (ภาษาตุรกี). Grand National Assembly of Turkey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2020. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020. 3. Madde: Devletin Bütünlüğü, Resmi Dili, Bayrağı, Milli Marşı ve Başkenti: Türkiye Devleti, ülkesi ve milletiyle bölünmez bir bütündür. Dili Türkçedir. Bayrağı, şekli kanununda belirtilen, beyaz ay yıldızlı al bayraktır. Milli marşı "İstiklal Marşı" dır. Başkenti Ankara'dır.
  2. "Mevzuat: Anayasa" (ภาษาตุรกี). Ankara: Constitutional Court of Turkey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2020. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020.
  3. Ethnologue: Ethnologue Languages of the World – Turkey, Retrieved 15 October 2017.
  4. "Turkey". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-10. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016.
  5. "Turkish Constiution | Anayasa Mahkemesi". www.anayasa.gov.tr.
  6. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  7. "Turkey-Turkiye". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 21 October 2022. (Archived 2022 edition)
  8. "The Results of Address Based Population Registration System, 2021". Turkish Statistical Institute. 4 February 2022. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2022". Imf. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
  10. "Gini index (World Bank estimate) – Turkey". World Bank. 2019. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
  11. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  12. 12.0 12.1 12.2 "ตุรกี เปลี่ยนชื่อประเทศ ราชบัณฑิตยสภา มีมติใช้ "ตุรกี" หรือ "ทูร์เคีย" ก็ได้". ประชาชาติธุรกิจ. 29 June 2022. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022.
  13. 13.0 13.1 "ทำไม ตุรกี เปลี่ยนชื่อเป็น ตุรเคีย". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 3 June 2022.
  14. "Turkey | Location, Geography, People, Economy, Culture, & History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  15. Pegasus. "General Information about Turkey: Location, Geography, People, Economy, Culture, & History". www.flypgs.com (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Turkey". Geography (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-25.
  17. Goodman, Peter S. (2018-08-18). "The West Hoped for Democracy in Turkey. Erdogan Had Other Ideas". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  18. Steadman, Sharon R.; McMahon, Gregory (2011-09-15). The Oxford Handbook of Ancient Anatolia: (10,000-323 BCE) (ภาษาอังกฤษ). OUP USA. ISBN 978-0-19-537614-2.
  19. Howard, Douglas A. (Douglas Arthur) (2001). The history of Turkey. Internet Archive. Westport, Conn. : Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30708-9.
  20. Roderic. H. Davison, Essays in Ottoman and Turkish History, 1774-1923 – The Impact of West, Texas 1990, pp. 115-116.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  22. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Erdogan: Turkey will 'never accept' genocide charges | DW | 04.06.2016". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  23. "Recep Tayyip Erdogan: Turkey's pugnacious president". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  24. "Country Profile - Turkey". www.un.org.
  25. Goswami, Urmi. "Turkey bids to change its status from a developed country to a developing one". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  26. https://www.giga-hamburg.de/de/404/
  27. https://www.mfa.gov.tr/sc_-114_-turkiye-nin-uluslararasi-iklim-degisikligiyle-mucadele-rejimi-hk-sc.en.mfa
  28. Yayla, Önder; Günay Aktaş, Semra (2021-12-01). "Mise en place for gastronomy geography through food: Flavor regions in Turkey". International Journal of Gastronomy and Food Science. 26: 100384. doi:10.1016/j.ijgfs.2021.100384. ISSN 1878-450X.
  29. Michael J. Arlen (2006). Passage to Ararat. MacMillan. p. 159. ISBN 978-0-374-53012-9.
  30. "Turkey". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  31. Cevdet Küçük (1988–2016). "Türkiye". TDV Encyclopedia of Islam (44+2 vols.) (ภาษาตุรกี). อิสตันบูล: Turkiye Diyanet Foundation, ศูนย์อิสลามศึกษา.
  32. Sylvain Auroux, E.F.K. Koerner, Hans-Josef Niederehe, Kees Versteegh (2000). History of the Language Sciences. p. 327.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Gülru Necipoglu, บ.ก. (2007). Muqarnas: History and Ideology: Architectural Heritage of the "Lands of Rum". Vol. 24. p. 9.
  34. Moše Šārôn (1986). Studies in Islamic History and Civilization: In Honour of Professor David Ayalon. p. 316.
  35. "Turkey to register its new name Türkiye to UN in coming weeks". Middle East Eye (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  36. Robertson, Greg (6 January 2022). "Turkey Changes Its Name To Better Reflect Culture, Values". TravelAwaits. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  37. "How the Turkey Got Its Name". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
  38. Soylu, Ragip (17 January 2022). "Turkey to register its new name Türkiye to UN in coming weeks". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 11 April 2022.
  39. "UN to use 'Türkiye' instead of 'Turkey' after Ankara's request". TRT World (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.
  40. 40.0 40.1 "Turkey changes its name in rebranding bid". BBC News. 2 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
  41. Sabancı University (2005). "Geography of Turkey". Sabancı University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  42. "Turkish Odyssey: Turkey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  43. "Geography of Turkey". US Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  44. UN Demographic Yearbook, accessed April 16, 2007
  45. 45.0 45.1 Turkish Ministry of Tourism (2005). "Geography of Turkey". Turkish Ministry of Tourism. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  46. "Brief Seismic History of Turkey". University of South California, Department of Civil Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  47. "Climate of Turkey". Turkish State Meteorological Service. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-10. สืบค้นเมื่อ 14 Aug 2008.
  48. Thissen, Laurens (2001-11-23). "Time trajectories for the Neolithic of Central Anatolia" (PDF). CANeW - Central Anatolian Neolithic e-Workshop. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  49. Balter, Michael (2004-02-27). "Search for the Indo-Europeans: Were Kurgan horsemen or Anatolian farmers responsible for creating and spreading the world's most far-flung language family?". Science. 303 (5662): 1323.
  50. The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 2000 – 1000 B.C. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21.
  51. Hooker, Richard (1999-06-06). "Ancient Greece: The Persian Wars". Washington State University, WA, United States. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-20. สืบค้นเมื่อ 2006-12-22.
  52. The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 1000 B.C. - 1 A.D. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21.
  53. Daniel C. Waugh (2004). "Constantinople/Istanbul". University of Washington, Seattle, WA. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  54. Wink, Andre (1990). Al Hind: The Making of the Indo Islamic World, Vol. 1, Early Medieval India and the Expansion of Islam, 7th-11th Centuries. Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-09249-8.
  55. Mango, Cyril (2002). The Oxford History of Byzantium. Oxford University Press, USA. ISBN 0-19-814098-3.
  56. "The United Nations Organization and Turkey / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  57. "Turkey's Relations with the Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  58. "The Republic of Turkey and The Organization of The Islamic Conference / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  59. "The Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  60. "Turkey's relations with the Economic Cooperation Organization (ECO) / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  61. "The Black Sea Economic Cooperation Organization (BSEC) / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  62. "D8 / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  63. "G-20 / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  64. "Turkey's Relations with NATO / Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". web.archive.org. 2014-10-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  65. https://www.tsk.tr/HomeEng
  66. Nas, Tevfik F. (1992). Economics and Politics of Turkish Liberalization (ภาษาอังกฤษ). Lehigh University Press. p. 12. ISBN 978-0-934223-19-5.
  67. "Turkish quake hits shaky economy". British Broadcasting Corporation (ภาษาอังกฤษ). 1999-08-17. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12.
  68. "'Worst over' for Turkey". British Broadcasting Corporation (ภาษาอังกฤษ). 2002-02-04. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12.
  69. World Bank (2005). "Turkey Labor Market Study" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Bank. สืบค้นเมื่อ 2006-12-10.
  70. OECD (2002). OECD Reviews of Regulatory Reform - Turkey: crucial support for economic recovery : 2002 (ภาษาอังกฤษ). Organisation for Economic Co-operation and Development. ISBN 92-64-19808-3.
  71. IMF: World Economic Outlook Database, April 2008. Inflation, end of period consumer prices. Data for 2006, 2007 and 2008. (อังกฤษ)
  72. Jorn Madslien (2006-11-02). "Robust economy raises Turkey's hopes". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12. (อังกฤษ)
  73. https://web.archive.org/web/20190411212207/http://yigm.kulturturizm.gov.tr/Eklenti/62462,2018turizmgenelistatistiklerpdf.pdf?0
  74. "Groundbreaking ceremony for bridge over Dardanelles to take place on March 18 - Latest News". Hürriyet Daily News (ภาษาอังกฤษ).
  75. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
  76. https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/topic-details/GHO/ncd-risk-factors
  77. AA, DAILY SABAH WITH (2020-09-20). "Health tourism earns above $1B to Turkey in 2019, under spotlight with COVID-19". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  78. "Population and Development Indicators - Population and education". Turkish Statistical Institute. 2004-10-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2006-12-11.
  79. Jonny Dymond (2004-10-18). "Turkish girls in literacy battle". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2006-12-11.
  80. http://www.citypopulation.de/Turkey-RBC20.html December 2012 address-based calculation of the Turkish Statistical Institute as presented by citypopulation.de
  81. "2007 Census,population statistics in 2007". Turkish Statistical Institute. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  82. "Life expectancy has increased in 2005 in Turkey". Hürriyet. 2006-12-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-28. สืบค้นเมื่อ 2006-12-09.
  83. 83.0 83.1 "Türkiyedeki Kürtlerin Sayısı! (Number of Kurds in Turkey!)" (ภาษาตุรกี). Milliyet. 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  84. Kirişçi, Kemal (November 2003). "Turkey: A Transformation from Emigration to Immigration". Center for European Studies, Bogaziçi University. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  85. "Turkish language" in The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition | Date: 2008
  86. "Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Report for language code:tur (Turkish)". 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.Gordon, Raymond G., Jr.
  87. "The European Turks: Gross Domestic Product, Working Population, Entrepreneurs and Household Data" (PDF). Turkish Industrialists' and Businessmen's Association. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-12-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.
  88. Kaya, Ibrahim (2004). Social Theory and Later Modernities: The Turkish Experience (ภาษาอังกฤษ). Liverpool University Press. ISBN 978-0-85323-898-0.
  89. Antoinette Harri; Allison Ohta (1999). 10th International Congress of Turkish Art. Fondation Max Van Berchem. ISBN 978-2-05-101763-3. The first military training institutions were the Imperial Army Engineering School (Mühendishane-i Berr-i Hümâyun, 1793) and the Imperial School of Military Sciences (Mekteb-i Ulûm-ı Harbiye-i Şahane, 1834). Both schools taught painting to enable cadets to produce topographic layouts and technical drawings to illustrate landscapes ...
  90. ""10'Lar' Grubu", "Yenı Dal Grubu", "Sıyah Kalem Grubu"". turkresmi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 11 August 2014.
  91. Brueggemann, Werner; Boehmer, Harald (1982). Teppiche der Bauern und Nomaden in Anatolien = Carpets of the Peasants and Nomads in Anatolia (1st ed.). Munich: Verlag Kunst und Antiquitäten. pp. 34–39. ISBN 3-921811-20-1.
  92. Barry, Michael (2004). Figurative art in medieval Islam and the riddle of Bihzâd of Herât (1465–1535). p. 27. ISBN 978-2-08-030421-6. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  93. "Turkish Miniatures". www.turkishculture.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  94. "The Turkish Art of Marbling (EBRU)". turkishculture.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  95. "ตุรกี อาหารของฝากจากตุรกี ทัวร์ตุรกี ข้อมูลตุรกี". www.tripdeedee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  96. "Turkish Cuisine: A Complete Guide to Turkish Food & Drinks". privateistanbulguide.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-05-01EEST14:56:41+03:00. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  97. "Turkish Architecture | All About Turkey". www.allaboutturkey.com.
  98. จนคุณรู้จักทุกมุมของโลกใบนี้มากขึ้น!, เกี่ยวกับผู้แต่ง Expedia Th เอ็กซ์พีเดียรักการท่องเที่ยวและชื่นชอบที่จะเก็บประสบการณ์ใหม่ ๆ มาฝาก เพื่อพาคุณออกไปสำรวจ ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ จากทั่วโลก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คุณรู้สึกว่า "โลกใบนี้เล็กนิดเดียว" (2017-09-11). "เยือนอิสตันบูล เที่ยวประเทศตุรกี 8 ที่นี้อย่าได้พลาด". บล็อกเอ็กซ์พีเดีย.
  99. https://www.fivb.com/en/volleyball/rankings/seniorworldrankingwomen

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศตุรกี ที่โอเพินสตรีตแมป