ประเทศกำลังพัฒนา
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใด ๆ มากำหนด คำว่าประเทศพัฒนาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

The latest classifications sorted by the IMF[1] and the UN[2]

1.000–0.800 (สูงมาก) 0.700–0.799 (สูง) 0.555–0.699 (ปานกลาง) | 0.350–0.554 (ต่ำ) ไม่มีข้อมูล |
คำจำกัดความ แก้ไข
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ให้คำจำกัดความกับประเทศพัฒนาแล้วว่า "ประเทศพัฒนาแล้ว คือ ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสรเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย"[ต้องการอ้างอิง] และยังมีองค์กรอื่น ๆ พยายามให้คำจัดความสำหรับความหมายของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ดังต่อไปนี้
การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนานั้น เพื่อประโยชน์ในทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใจสถานะของประเทศ หรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา[4]
สหประชาชาติ ให้ความเห็นดังนี้
“ | จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป คือ ประเทศญี่ปุ่นในเอเชีย, แคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในโอเชียเนีย, และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป กลุ่มประเทศเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในเชิงสถิติทางการค้า สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจากประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา; ประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออก และกลุ่มที่เป็นประเทศเครือรัฐเอกราช (รหัส 172) ในยุโรป จึงไม่ถูกเรียกรวมอยู่ในกลุ่มใด ๆ ของพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา[5][6] | ” |
ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มประเทศในเอเชียที่ถูกขนานนามว่า สี่เสือเอเชีย[7] (ฮ่องกง,[7][8] สิงคโปร์,[7][8] เกาหลีใต้,[7][8][9][10]และไต้หวัน[7][8]) รวมทั้งไซปรัส,[8] มอลตา,[8] สาธารณรัฐเช็ก,[8] เอสโตเนีย,[8] อิสราเอล,,[8] สโลวาเกีย [8] และสโลวีเนีย[8] เหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง จากการจัดกลุ่มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ก่อนเดือนเมษายน 2004 กลุ่มประเทศทั้งหมดในยุโรปตะวันออก (รวมทั้ง ยุโรปกลางที่เป็นของ "กลุ่มยุโรปตะวันออก" ในสหประชาชาติ) และรวมถึงสหภาพโซเวียตในอดีต กลุ่มประเทศที่อยู่ในเอเชียตอนกลาง (คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน) และมองโกเลีย ไม่รวมให้อยู่ในทั้งสองประเภท คือ พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แต่จะถูกจัดให้อยู่ประเภทของ "ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน" อย่างไรก็ตาม ในรายงานระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศเหล่านี้ คือ ประเทศ "กำลังพัฒนา" นั่นเอง
ส่วนธนาคารโลกจัดกลุ่มประเทศออกเป็นสี่กลุ่ม ที่จะมีการจัดใหม่ในเดือนกรกฎาคมของทุกปี 1. เศรษฐกิจถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ตามกลุ่มช่วง ของรายได้ตาม GNI ต่อประชากร ดังต่อไปนี้ [11]
- กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่ม รายได้ต่ำ ค่า GNI ต่อประชากร จะอยู่ที่ US$975 หรือ น้อยกว่า
- กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่ม รายได้ปานกลาง ค่า GNI ต่อประชากร จะอยู่ที่ระหว่าง US$976 ถึง US$3,855
- กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่ม รายได้เหนือกว่า ปานกลาง US$3,856 ถึง US$11,905.
- กลุ่มประเทศที่จัดให้อยู่ในกลุ่ม ระดับรายได้สูง ค่า GNI จะต้องมีมากกว่า US$11,906.
รายชื่อของประเทศกำลังพัฒนา แก้ไข
รายชื่อดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจตามข้อมูล World Economic Outlook Database ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมือเดือนเมษายน ค.ศ. 2018[12][13]
- อัฟกานิสถาน
- แอลเบเนีย
- แอลจีเรีย
- แองโกลา
- แอนทีกาและบาร์บิวดา
- อาร์เจนตินา
- อาร์มีเนีย
- อาเซอร์ไบจาน
- บาฮามาส
- บาห์เรน
- บังกลาเทศ
- บาร์เบโดส
- เบลารุส
- เบลีซ
- เบนิน
- ภูฏาน
- โบลิเวีย
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- บอตสวานา
- บราซิล
- บรูไน
- บัลแกเรีย
- บูร์กินาฟาโซ
- บุรุนดี
- กัมพูชา
- แคเมอรูน
- กาบูเวร์ดี
- สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
- ชาด
- จีน
- ชิลี
- โคลอมเบีย
- คอโมโรส
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
- สาธารณรัฐคองโก
- คอสตาริกา
- โกตดิวัวร์
- โครเอเชีย
- จิบูตี
- ดอมินีกา
- สาธารณรัฐโดมินิกัน
- เอกวาดอร์
- อียิปต์
- เอลซัลวาดอร์
- อิเควทอเรียลกินี
- เอริเทรีย
- เอสวาตินี
- เอธิโอเปีย
- ฟีจี
- กาบอง
- แกมเบีย
- จอร์เจีย
- กานา
- กรีเนดา
- กัวเตมาลา
- กินี
- กินี-บิสเซา
- กายอานา
- เฮติ
- ฮอนดูรัส
- ฮังการี
- อินเดีย
- อินโดนีเซีย
- อิหร่าน
- อิรัก
- จาเมกา
- จอร์แดน
- คาซัคสถาน
- เคนยา
- คิริบาส
- คูเวต
- คีร์กีซสถาน
- ลาว
- เลบานอน
- เลโซโท
- ไลบีเรีย
- ลิเบีย
- มาดากัสการ์
- มาลาวี
- มาเลเซีย
- มัลดีฟส์
- มาลี
- หมู่เกาะมาร์แชลล์
- มอริเตเนีย
- มอริเชียส
- เม็กซิโก
- ไมโครนีเชีย
- มอลโดวา
- มองโกเลีย
- มอนเตเนโกร
- โมร็อกโก
- โมซัมบิก
- พม่า
- นามิเบีย
- นาอูรู
- เนปาล
- นิการากัว
- ไนเจอร์
- ไนจีเรีย
- มาซิโดเนียเหนือ
- โอมาน
- ปากีสถาน
- ปาเลา
- ปาเลสไตน์
- ปานามา
- ปาปัวนิวกินี
- ปารากวัย
- เปรู
- โปแลนด์
- ฟิลิปปินส์
- กาตาร์
- โรมาเนีย
- รัสเซีย
- รวันดา
- ซาอุดีอาระเบีย
- เซนต์คิตส์และเนวิส
- เซนต์ลูเชีย
- เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
- ซามัว
- เซาตูแมอีปริงซีป
- เซเนกัล
- เซอร์เบีย
- เซเชลส์
- เซียร์ราลีโอน
- หมู่เกาะโซโลมอน
- โซมาเลีย
- แอฟริกาใต้
- ซูดานใต้
- ศรีลังกา
- ซูดาน
- ซูรินาม
- ซีเรีย
- ทาจิกิสถาน
- แทนซาเนีย
- ไทย
- ติมอร์-เลสเต
- โตโก
- ตองงา
- ตรินิแดดและโตเบโก
- ตูนิเซีย
- ตุรกี
- เติร์กเมนิสถาน
- ตูวาลู
- ยูกันดา
- ยูเครน
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- อุรุกวัย
- อุซเบกิสถาน
- วานูวาตู
- เวเนซุเอลา
- เวียดนาม
- เยเมน
- แซมเบีย
- ซิมบับเว
ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีชื่อในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
รายชื่อของ ประเทศที่ประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจ แก้ไข
- ฮ่องกง (ตั้งแต่ 1997)[14]
- อิสราเอล (ตั้งแต่ 1997)[14]
- สิงคโปร์ (ตั้งแต่ 1997)[14]
- เกาหลีใต้ (ตั้งแต่ 1997)[14]
- ไต้หวัน (ตั้งแต่ 1997)[14][15]
- ไซปรัส (ตั้งแต่ 2001)[16]
- สโลวีเนีย (ตั้งแต่ 2007)[17]
- มอลตา (ตั้งแต่ 2008)[18]
- เช็กเกีย (ตั้งแต่ 2009,[19] ตั้งแต่ 2006 by World Bank)[20]
- สโลวาเกีย (ตั้งแต่ 2009)[19]
- เอสโตเนีย (ตั้งแต่ 2011)[21]
- ลัตเวีย (ตั้งแต่ 2014)[22]
- ลิทัวเนีย (ตั้งแต่ 2015)[23]
- ซานมารีโน (ตั้งแต่ 2012)[24]
- มาเก๊า (ตั้งแต่ 2016)[25]
- ปวยร์โตรีโก (ตั้งแต่ 2016)[25]
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "World Economic and Financial Surveys World Economic Outlook Database—WEO Groups and Aggregates Information". IMF.org. International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ Least Developed Countries เก็บถาวร 17 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2018 list เก็บถาวร 21 ธันวาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ "Human Development Report 2018 – "Human Development Indices and Indicators"" (PDF). HDRO (Human Development Report Office) United Nations Development Programme. pp. 22–25. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
- ↑ United Nations Statistics Division- Standard Country and Area Codes Classifications (M49)
- ↑ "Standard Country and Area Codes Classifications (M49): Developed Regions". United Nations Statistics Division. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2017. สืบค้นเมื่อ 13 May 2017.
- ↑ "United Nations Statistics Division- Standard Country and Area Codes Classifications (M49)". Unstats.un.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "เสือเอเชีย ตะวันออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-12.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 [http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/01/weodata/groups.htm#ae IMF Advanced Economies List. World Economic Outlook, Database—WEO Groups and Aggregates Information, April 2009.]
- ↑ "Korea, Republic of". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2011-02-12.
- ↑ FT.com / Asia-Pacific - S Korea wins developed-country status
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWB
- ↑ "World Economic Outlook, October,2017, pp.224-225" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2017-10-26.
- ↑ "World Economic Outlook, Database—WEO Groups and Aggregates Information, April 2018". สืบค้นเมื่อ 2018-05-23.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "IMF Advanced Economies List. World Economic Outlook, May 1998, p. 134" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ The recognition of Taiwan is disputed; most UN-member states officially recognise the sovereignty of the People's Republic of China over Taiwan, however, some others maintain non-diplomatic relations with the Republic of China. See Foreign relations of Taiwan.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2001, p.157" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2007, p.204" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2008, p.236" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ 19.0 19.1 "World Economic Outlook, April 2009, p.184" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ Velinger, Jan (28 February 2006). "World Bank Marks Czech Republic's Graduation to 'Developed' Status". Radio Prague. สืบค้นเมื่อ 22 January 2007.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2011, p.172" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2014, p.160" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
- ↑ "World Economic Outlook, April 2015, p.48" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2015-04-11.
- ↑ "World Economic Outlook, October 2012, p.180" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2016-08-04.
- ↑ 25.0 25.1 "World Economic Outlook, April 2016, p.148" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2016-06-25.