ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (อังกฤษ: European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของอ็องรี เดอโลแน เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก [1] มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย การแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จัดการแข่งขันใน 11 ประเทศเจ้าภาพทั่วทวีปยุโรป
![]() ถ้วยรางวัลแชมป์ยุโรป | |
ก่อตั้ง | 1958 |
---|---|
ภูมิภาค | ยุโรป (ยูฟ่า) |
จำนวนทีม | 24 (รอบสุดท้าย) 54 (รอบคัดเลือก) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ![]() |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | ![]() ![]() (3 สมัย) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
![]() |
ประวัติ แก้
ยุคแรกเริ่ม 4 ทีม แก้
เริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกขึ้นมาในปี 1960 ในชื่อว่า ฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ โดยเริ่มต้นรูปแบบการแข่งขันยังเป็นระบบการเล่นเหย้า-เยือนในรอบต้นๆ ก่อนที่จะเล่นแบบน็อกเอาต์ในรอบรองชนะเลิศ บุคคลที่ผลักดันให้มีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในชาติเป็นกลางขึ้นมาคือ อองรี เดอลาเน่ย์ จากสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส และ ทำให้การแข่งขันรอบสุดท้ายครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1960 โดยเป็นการพบกันระหว่าง สหภาพโซเวียต กับ ยูโกสลาเวีย ซึ่งผลลงเอยด้วยชัยชนะของทีมจากแดนหลังม่านเหล็กในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-1 ในปี 1964 ได้มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวในเกมกีฬา เมื่อ กรีซ ปฏิเสธที่จะเล่นกับ แอลเบเนีย หลังมีสงครามระหว่างประเทศ โดยการเล่นรอบชิงชนะเลิศ จัดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน และแชมป์ก็ตกเป็นของเจ้าภาพที่เอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-1
เพิ่มเป็น 8 ทีม แก้
จากนั้นในปี 1968 ได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ มาเป็น ยูฟ่า ยูโรเปี้ยน แชมเปี้ยนชิพ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันเป็นแบบแบ่งกลุ่มโดยมี 8 สาย และแชมป์ของแต่ละกลุ่มจะเข้ามาเล่นในรอบก่อนรองชนะเลิศ ที่ต้องแข่ง 2 นัด ก่อนเข้ารอบตัดเชือก โดยแชมป์ครั้งนี้เป็นของเจ้าภาพ อิตาลี ที่เอาชนะ ยูโกสลาเวีย 2-0 ในนัดรีเพลย์ หลังเกมแรกเสมอกัน 0-0 ฟุตบอลยูโร 1972 รอบสุดท้าย ที่ประเทศเบลเยียม ยังคงใช้รูปแบบการแข่งขันเหมือนที่ผ่านมา โดยแชมป์ตกเป็นของ เยอรมัน ตะวันตก ที่ถล่ม สหภาพโซเวียต ไปอย่างขาดลอย 3-0 จากการทำประตูของ แกร์ด มุลเลอร์ คนเดียว 2 ลูก จากนั้นอีก 4 ปีต่อมา รอบชิงชนะเลิศมีขึ้นที่ยูโกสลาเวีย โดยที่ เชโกสโลวะเกีย เสมอ เยอรมัน 2-2 ก่อนที่จะมีการดวลจุดโทษครั้งแรก และแชมป์ก็ตกเป็นของ ขุนพลเช็กในที่สุด
มาถึงศึกยูโร 1980 ได้เริ่มใช้ระบบการแข่งแบบใหม่ โดย 8 ทีมจะต้องมาเล่นรอบสุดท้าย ที่ประเทศอิตาลี และแบ่งการเล่นออกเป็น 2 กลุ่ม นำแชมป์ของแต่ละกลุ่มมาเล่นรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งปรากฏว่า เยอรมันตะวันตก คว้าแชมป์ไปครองหลังเฉือนชนะ เบลเยียม 2-1 จนกระทั่งในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศส ได้มีการเปลี่ยนระบบการแข่งขันให้ 2 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุดของทั้ง 2 กลุ่ม เข้ามาเล่นในรอบ ตัดเชือก และในที่สุดเจ้าบ้านซึ่งนำทีมโดย มิเชล พลาตินี่ ก็ชนะ สเปน 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ พร้อมกับคว้าแชมป์ได้อย่างงดงาม จาก
นั้นในปี 1988 เยอรมันตะวันตก ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบ้างโดยใช้รูปแบบเหมือนครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แฟนบอลเมืองเบียร์ต้องอกหัก ปล่อยให้ ฮอลแลนด์ ที่มีนักเตะชั้นเยี่ยมอย่าง มาร์โก แวน บาสเท่น, แฟร้งค์ ไรจ์การ์ด และ รุด กุลลิท คว้าแชมป์ไปครอง หลังเอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ มาถึงปี 1992 ที่สวีเดน ได้เกิดตำนานเทพนิยายเดนส์ขึ้นมา หลังจากทีมชาติเดนมาร์ก ได้เข้าร่วมการแข่งขันกะทันหัน เนื่องจาก ยูโกสลาเวีย ถูกตัดสิทธิ์ โดยขุนพลเมือง "โคนม" สร้างผลงานยอดเยี่ยมคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างเหลือเชื่อทั้งที่มีเวลา เตรียมตัวไม่นานนัก
เพิ่มเป็น 16 ทีม แก้
ถึงศึกยูโร 1996 ที่อังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันอีกครั้ง โดยมี 16 ทีมเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 4 ทีม และ 2 อันดับแรกของแต่ละสายจะได้เข้ามาเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย นอกจากนั้น ยังมีการนำกฎ โกลเด้นโกล์มาใช้ครั้งแรกอีกด้วย และกฎนี้ก็ได้ใช้ตัดสินในรอบชิงชนะเลิศทันที โดยที่ โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟ หัวหอกเยอรมัน ซัดดับชีพ สาธารณรัฐเช็ก 2-1
จากนั้นในปี 2000 ก็เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมโดย เบลเยียม และ ฮอลแลนด์ รับหน้าเสื่อคู่กัน จุดไคลแมกซ์ของการแข่งขัน ครั้งนี้อยู่ที่การทำประตูโกลเด้นโกล์ของ ดาวิด เทรเซเก้ต์ ที่พาฝรั่งเศส เอาชนะ อิตาลี พร้อมกับคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างยอดเยี่ยม การชิงชัย 11 สมัยที่ผ่านมา ทำให้ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป กลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่แฟนบอลพูดกันว่าเพียงเติมบราซิล และอาร์เจนตินาลงไปในบรรดาทีมที่เข้ารอบสุดท้ายของศึกยูโรแต่ละครั้ง เราก็จะพบกับฟุตบอลโลกอีกเวอร์ชันดีๆ นี่เอง
เพิ่มเป็น 24 ทีม แก้
ในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ทีมชาติ จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996 ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด)
ผลการแข่งขัน แก้
ความสำเร็จในฟุตบอลยูโร แก้
ทีมชาติ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เข้าชิงชนะเลิศ |
---|---|---|---|
เยอรมนี | 3 (19721, 19801, 1996) | 3 (19761, 1992, 2008) | 6 |
สเปน | 3 (1964*, 2008, 2012) | 1 (1984) | 4 |
อิตาลี | 2 (1968* 2020) | 2 (2000, 2012) | 4 |
ฝรั่งเศส | 2 (1984*, 2000) | 1 (2016*) | 3 |
รัสเซีย | 1 (19603) | 3 (19643, 19723, 19883) | 4 |
เช็กเกีย | 1 (19762) | 1 (1996) | 2 |
โปรตุเกส | 1 (2016) | 1 (2004*) | 2 |
เนเธอร์แลนด์ | 1 (1988) | 1 | |
เดนมาร์ก | 1 (1992) | 1 | |
กรีซ | 1 (2004) | 1 | |
ยูโกสลาเวีย | 2 (1960, 1968) | 2 | |
เบลเยียม | 1 (1980) | 1 | |
อังกฤษ | 1 (2020) | 1 |
- * เจ้าภาพ
- 1 เยอรมนีตะวันตก
อ้างอิง แก้
- ↑ "2005/2006 season: final worldwide matchday to be 14 May 2006". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 19 December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ ในเว็บไซต์สมาคมฟุตบอลยุโรป (อังกฤษ)
- ประวัติของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในเว็บไซต์สมาคมฟุตบอลยุโรป (อังกฤษ)