ประเทศฝรั่งเศส

ประเทศในทวีปยุโรปตะวันตก

47°N 2°E / 47°N 2°E / 47; 2

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

République française (ฝรั่งเศส)[1]
ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Liberté, égalité, fraternité"
"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"
ที่ตั้งของ ฝรั่งเศส  (แดงหรือเขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปารีส
48°51′N 2°21′E / 48.850°N 2.350°E / 48.850; 2.350
ภาษาทางการ
และภาษาประจำชาติ
ฝรั่งเศส[I]
สัญชาติ (2018)
ศาสนา
(2020)
เดมะนิมชาวฝรั่งเศส
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
แอมานุแอล มาครง
มีแชล บาร์เนียร์
เฌราร์ ลาร์เชอร์
ยาแอล โบรน-ปีแว
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง
ค.ศ. 500
สิงหาคม ค.ศ. 843
3 กรกฎาคม ค.ศ. 987
22 กันยายน ค.ศ. 1792
1 มกราคม ค.ศ. 1958
4 ตุลาคม ค.ศ. 1958
พื้นที่
• รวม
640,679 ตารางกิโลเมตร (247,368 ตารางไมล์)[4] (อันดับที่ 42)
0.86 (ใน ค.ศ. 2015)[5]
551,695 km2 (213,011 sq mi)[V] (อันดับที่ 50)
• ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Cadastre)
543,940.9 km2 (210,016.8 sq mi)[VI][6] (อันดับที่ 50)
ประชากร
• พฤษภาคม ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 67,413,000 คน[7] (อันดับที่ 20)
• ความหนาแน่น
104.7109/กม.2 (อันดับที่ 106)
• ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ประมาณ ข้อมูลเมื่อ May 2021
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 65,239,000[8] (อันดับที่ 23)
116 ต่อตารางกิโลเมตร (300.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 89)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 3.667 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 9)
เพิ่มขึ้น 56,036 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 24)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2023 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.923 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 7)
เพิ่มขึ้น 44,408 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 23)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 29.2[10]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.910[11]
สูงมาก · อันดับที่ 28
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง[X])
หมายเหตุ: มีเส้นเวลาหลายแห่งในดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส[IX]
ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสใช้เขตเวลายุโรปตะวันตก/UTC (Z) ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 ก่อนการยึดครองของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง, เวลายุโรปกลาง/UTC+01:00 ถูกใช้เป็นเวลามาตรฐาน [2] ซึ่งปรับเพียง +0:50:39 (และ +1:50:39 ในช่วงเวลาออมแสง) จากเวลาเฉลี่ยท้องถิ่นปารีส (UTC+0:09:21).
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (ค.ศ.)
ไฟบ้าน230 โวลต์–50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+33[XI]
โดเมนบนสุด.fr[XII]
ข้อมูลหลายแหล่งให้ข้อมูลพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ที่ 551,500 ตารางกิโลเมตร และรายชื่อดินแดนโพ้นทะเลต่างกัน ซึ่งรวมกันแล้วมีพื้นที่ 89,179 ตารางกิโลเมตร เมื่อรวมแล้วจะได้พื้นที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสทั้งหมด รายงานของซีไอเอบันทึกที่ 643,801 ตารางกืโลเมตร

ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: France; ออกเสียง: [fʁɑ̃s] ( ฟังเสียง))[12] หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: République française) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก มีประชากรราว 68 ล้านคน (ค.ศ. 2024) แบ่งการปกครองออกเป็น 18 แคว้น[13] (รวมแคว้นโพ้นทะเล 5 แคว้น) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 643,801 ตารางกิโลเมตร ฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ[14] และเนื่องจากการมีดินแดนโพ้นทะเลในครอบครอง ทำให้ฝรั่งเศสมีเขตเวลาแตกต่างกันมากถึง 12 เขต มากกว่าทุกประเทศบนโลก[15] รวมทั้งมีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) ฝรั่งเศสเป็นประเทศรัฐเดี่ยวโดยปกครองด้วยระบบกึ่งประธานาธิบดี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงปารีสซึ่งถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของทวีปยุโรป[16] และยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ[17] เช่น ลียง, มาร์แซย์, ตูลูส, บอร์โด, ลีล, สทราซบูร์ และ นิส

ดินแดนของฝรั่งเศสเริ่มมีมนุษย์เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า ชาวเคลต์ถือเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในยุคเหล็กรวมตัวกันในบริเวณที่เป็นประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน ก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะผนวกดินแดนแห่งนี้ในช่วง 51 ปีก่อนคริสตกาล และก่อให้เกิดวัฒนธรรมโรมันกอลซึ่งเป็นรากฐานของภาษาฝรั่งเศส ชาวแฟรงก์เดินทางมาถึงบริเวณนี้ใน ค.ศ. 476 และก่อตั้งราชอาณาจักรแฟรงก์ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ก่อนที่สนธิสัญญาแวร์เดิงจะแบ่งพื้นที่อาณาจักร และอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกได้กลายเป็นราชอาณาจักรฝรั่งเศสใน ค.ศ. 987[18]

ฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจมาตั้งแต่สมัยกลาง และปกครองด้วยระบบฟิวดัล พระเจ้าฟีลิปที่ 2 เสริมสร้างอำนาจของราชวงศ์และยังขยายอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ราชอาณาจักรก็กลายเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรป[19] ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 ถึงกลางศตวรรษที่ 15 ฝรั่งเศสเผชิญความขัดแย้งทางราชวงศ์นำไปสู่สงครามร้อยปี ก่อนจะเข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งตามมาด้วยความเจริญทางศิลปะและวัฒนธรรม ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสยังทำสงครามกับชาติต่าง ๆ และมีการล่าอาณานิคมทั่วโลก และในศตวรรษที่ 20 พวกเขาเป็นชาติที่มีอาณานิคมมากเป็นอันดับสองของโลก[20] ในศตวรรษที่ 16 สงครามศาสนาระหว่างชาวคาทอลิกและอูว์เกอโนทำให้ราชอาณาจักรอ่อนแอลง ก่อนจะกลับมาเป็นมหาอำนาจของยุโรปอีกครั้งในศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่หลังสิ้นสุดสงครามสามสิบปี ฝรั่งเศสต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย[21] และการทำสงครามอื่น ๆ (โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ในสงครามเจ็ดปีและการมีส่วนร่วมในสงครามปฏิวัติอเมริกา) ทำให้ราชอาณาจักรระส่ำระส่ายอย่างหนักจนสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 นำไปสู่การปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิรูประบอบเก่า การประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และกลายสภาพเป็นสาธารณรัฐสมัยใหม่ชาติแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ และสร้างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองมาจนถึงทุกวันนี้

ฝรั่งเศสยังเป็นมหาอำนาจอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงปราบปรามภูมิภาคอื่น ๆ ในยุโรปและสถาปนาจักรวรรดิที่หนึ่ง การล่มสลายของจักรวรรดินำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความเสื่อมโทรมจนเกิดการก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 3 ระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1870 ทศวรรษต่อมาเป็นช่วงเวลาของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ที่เรียกว่ายุคสวยงาม[22] ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในสมัยระหว่างสงคราม โดยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นหนึ่งในมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ถูกฝ่ายอักษะยึดครองใน ค.ศ. 1940[23] หลังจากการปลดแอกใน ค.ศ. 1944 สาธารณรัฐที่ 4 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกยุบในช่วงสงครามแอลจีเรีย ก่อนที่สาธารณรัฐที่ 5 จะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1958 โดย ชาร์ล เดอ โกล ประเทศแอลจีเรียและอาณานิคมของฝรั่งเศสส่วนใหญ่ได้รับอิสรภาพในทศวรรษที่ 1960 โดยยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับฝรั่งเศสมาถึงปัจจุบัน

ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของโลกทางศิลปะ แฟชั่น วิทยาศาสตร์ และปรัชญามาหลายศตวรรษ[24][25] และมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก (53 แห่ง)[26] รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนกว่า 100 ล้านคนใน ค.ศ. 2023 ฝรั่งเศสเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีระบบการศึกษา สาธารณสุข และระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพสูง[27] อีกทั้งยังติดอันดับในแง่ของคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง ฝรั่งเศสมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลกโดยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 10 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ ฝรั่งเศสยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก รวมทั้งเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, กลุ่ม 7, เนโท และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒ และยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นมหาอำนาจที่มีอาวุธนิวเคลียร์[28]

นิรุกติศาสตร์

แก้

คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากคำในภาษาละตินว่า Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนของชาวแฟรงก์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงก์ (Franks) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำในภาษาโปรโต-เยอรมันว่า Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงก์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฟรานซิสกา (Francisca)

อีกทฤษฎีหนึ่งตามหลักนิรุกติศาสตร์คือในภาษาเยอรมันโบราณ คำว่า แฟรงก์ แปลว่าอิสระ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นทาส โดยคำดังกล่าวยังคงปรากฏในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันในรูป ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี 2002 ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรของชาวแฟรงก์ อีกด้วย[29]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายแผ่นดินใหญ่ประเทศฝรั่งเศสจากดาวเทียมในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงเล็กน้อย[30] ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาพิเรนีสทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่าง ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอน แม่น้ำแซน และแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่น ๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน

ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)

สภาพภูมิอากาศ

แก้
  • ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – พฤษภาคม)

ช่วงเวลายอดนิยมของปีในการเยี่ยมชมเมืองหลวงของฝรั่งเศสฤดูใบไม้ผลิในปารีสเริ่มมีอากาศหนาวเย็นโดยมีอุณหภูมิสูงสุดทุกวันที่ประมาณ 54 ° F (12 ° C) ในเดือนมีนาคม ภายในเดือนพฤษภาคมอากาศจะอุ่นขึ้นถึง 68 ° F (20 ° C)

  • ฤดูร้อน (มิถุนายน – สิงหาคม)

ช่วงนี้เป็นฤดูท่องเที่ยวในปารีสที่สูงขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย คาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดทุกวันอย่างน้อย 83 ° F (25 ° C) พร้อมกับคืนที่รวดเร็วประมาณ 55 ° F (13 ° C)

  • ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – ธันวาคม)

เนื่องจากชาวท้องถิ่นกลับมาจากช่วงวันหยุดฤดูร้อนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นจึงมีความคึกคักทั่วปารีสในฤดูใบไม้ร่วง อุณหภูมิจะเย็นลงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนตุลาคม แต่ถ้าเก็บเสื้อแจ็คเก็ตฤดูใบไม้ร่วงเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินเล่นในย่านที่สวยงามและเดินเล่นริมแม่น้ำแซน เตรียมพร้อมสำหรับสายฝนที่เย็นจัดและมีลมแรงเป็นครั้งคราว อุณหภูมิสูงสุดรายวันอยู่ในช่วงใดก็ได้ตั้งแต่ 46 ° F (8 ° C) ถึง 62 ° F (17 ° C)

  • ฤดูหนาว (มกราคม – กุมภาพันธ์)

เรียกได้ว่าหนาวมากเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอากาศหนาว ที่สำคัญเป็นช่วงที่ตั๋วเครื่องบินและที่พักราคาถูกกว่าช่วงอื่น ๆ อาจต้องแบกกระเป๋าที่หนักไปด้วยเสื้อกันหนาวและอุปกรณ์กันหนาวต่าง ๆ แบบครบ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2 – 5 องศาเซลเซียส

ประวัติศาสตร์

แก้

ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกกอล (Gaul) ในศตวรรษที่ 1[31] จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศฝรั่งเศส หรือ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี

ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก

 
ภาพ La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพนำประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1830

ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใน ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง

 
แผนที่ดินแดนของฝรั่งเศส

ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ[32]

ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน

ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

การเมือง

แก้
 
แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
 
โลโก้ทางการของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 1958 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจให้ประธานาธิบดี

บริหาร

แก้

อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ปัจจุบันฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีคือ แอมานุแอล มาครง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2017 และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ ฌ็อง กัสแต็กซ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2020

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้
 
ประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง และ ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐในปี 2018

ฝรั่งเศสเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติและยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[33] และยังถือเป็นประเทศที่มีเครือข่ายสมาชิกองค์การระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกในสถาบันระหว่างประเทศมากกว่าประเทศอื่น ได้แก่ กลุ่ม 7 องค์การการค้าโลก[34] สำนักเลขาธิการของชุมชนแปซิฟิก (SPC) และคณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดีย (COI)[35] และยังเป็นสมาชิกสมทบของ สมาคมรัฐแคริบเบียน (ACS)[36] และเป็นสมาชิกหลักของ องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (OIF) ร่วมกับอีก 84 ประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศส[37]

ในฐานะศูนย์กลางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ ฝรั่งเศสมีคณะทูตที่ใหญ่เป็นอันดับสามในโลกรองจากจีนและสหรัฐซึ่งมีประชากรมากกว่าพวกเขามาก นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, ยูเนสโก, องค์การตำรวจอาชฐากรรมระหว่างประเทศ, สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ และ OIF

นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ฝรั่งเศสได้พัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเยอรมนีเพื่อร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนที่ทรงอิทธิพลที่สุดของสหภาพยุโรป ในทศวรรษที่ 1960 ฝรั่งเศสพยายามกีดกันอังกฤษออกจากกระบวนการรวมชาติของยุโรป โดยพยายามสร้างจุดยืนของตนเองในยุโรปภาคพื้นทวีป อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 1904 ฝรั่งเศสได้รักษา "สัมพันธภาพที่ดีอย่างจริงจัง" กับสหราชอาณาจักร และมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหาร

ฝรั่งเศสเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (เนโท) แต่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเดอโกล เขาทำการกีดกันตนเองจากการบัญชาการร่วมทางทหารกับเพื่อนสมาชิก และเพื่อรักษาเอกราชและความมั่นคงของฝรั่งเศส แต่ภายใต้การนำของนิโคลัส ซาร์โกซี ฝรั่งเศสกลับเข้าร่วมกองบัญชาการทหารร่วมของเนโทอีกครั้งในวันที่ 4 เมษายน 2009 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ประเทศได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดินในเฟรนช์พอลินีเซีย[38] และฝรั่งเศสเป็นแกนนำในการต่อต้านการรุกรานอิรักโดยสหรัฐในปี 2003 อย่างรุนแรง[39][40]

ฝรั่งเศสยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในกลุ่มประเทศอาณานิคมทวีปแอฟริกา (Françafrique)[41] และได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและกองกำลังสำหรับภารกิจรักษาสันติภาพในไอวอรี่โคสต์และชาด

ในปี 2017 ฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้บริจาคเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนารายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก[42] รองจากสหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ซึ่งคิดเป็น 0.43% ของ GNP ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 12 ในกลุ่มประเทศ OECD ความช่วยเหลือจัดทำโดยหน่วยงานพัฒนาฝรั่งเศสของรัฐบาลซึ่งให้เงินสนับสนุนโครงการด้านมนุษยธรรมในอนุภูมิภาคทะเลทรายสะฮารา โดยเน้นที่ "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และการศึกษา การดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจที่เหมาะสม และการรวมกลุ่มของหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย" และยังคงดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างแข็งขันถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้
ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส – ไทย
 
 
ฝรั่งเศส
 
ไทย

ไทยและฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[43] และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามประเทศใน พ.ศ. 2228 ต่อมาราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ พ.ศ. 2229[44]

ต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การค้า และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399[45]

ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งนายศรัณย์ เจริญสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส[46] ส่วนฝรั่งเศสได้แต่งตั้งให้ นายตีแยรี มาตู (Thierry Mathou) เป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2563-ปัจจุบัน) นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการก่อตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองลียง และเมืองมาร์แซย์[47] ส่วนทางประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดเชียงใหม่[48] ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) และ เชียงราย

กองทัพ

แก้
 
กองทัพฝรั่งเศส

กองทัพฝรั่งเศส (Forces armées françaises) เป็นกองกำลังทหารและกึ่งทหารของฝรั่งเศสภายใต้การสั่งการจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด ประกอบด้วย กองทัพบกฝรั่งเศส (Armée de Terre) กองทัพเรือฝรั่งเศส (Marine Nationale เดิมชื่อ Armée de Mer) กองทัพอากาศและอวกาศของฝรั่งเศส (Armée de l'Air et de l'Espace)[49] และกองกำลังตำรวจพิเศษ (Gendarmerie nationale) ซึ่งทำหน้าที่ตำรวจพลเรือนในพื้นที่ชนบทของฝรั่งเศสด้วย[50] พวกเขาเป็นหนึ่งในกองกำลังติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป จากการศึกษาของ Crédit Suisse ในปี 2018 กองทัพฝรั่งเศสได้รับการจัดอันดับให้เป็นกองทัพที่ทรงอิทธิพลที่สุดอันดับที่ 6 ของโลก และทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรป รองจากรัสเซียเท่านั้น[51]

นอกจากนี้ ในสถานการณ์พิเศษ กองทหารรักษาการณ์จะรวมตัวกับหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติ (Escadron Parachutiste d'Intervention de la Gendarmerie Nationale), กลุ่มการแทรกแซงระดับชาติ (Groupe d'Intervention de la Gendarmerie Nationale) และยังมี National Gendarmerie รับผิดชอบในการไต่สวนคดีอาญา รวมถึงหน่วยงานสำคัญซึ่งได้แก่ Mobile Brigades of the National Gendarmerie ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ฝรั่งเศสมีกองทหารพิเศษ คือ French Foreign Legion[52] ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1830 ซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติจากกว่า 140 ประเทศที่ยินดีรับใช้ในกองทัพฝรั่งเศสและกลายเป็นพลเมืองฝรั่งเศส [53]มีเพียงสองประเทศในยุโรปเท่านั้น ที่มีกองทหารพิเศษจากอาสาสมัครต่างชาติเช่นนี้ได้แก่ สเปน (กองทหารต่างประเทศสเปนเรียกว่า Tercio ก่อตั้งขึ้นในปี 1920) และลักเซมเบิร์ก (ชาวต่างชาติสามารถรับใช้ในกองทัพแห่งชาติได้หากพวกเขาพูดภาษาลักเซมเบิร์กได้)

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แคว้นของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Metropolitan France - "France métropolitaine, la Métropole, l'Hexagone") แบ่งการปกครองออกเป็น

  • 13 แคว้น (regions - régions)[54]

โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่

เศรษฐกิจ

แก้

เมื่อวัดจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 10 ของโลกในปี 2008 และอันดับสองของยุโรปเมื่อวัดตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ[55] ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งใน 11 สมาชิกร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและเริ่มใช้เงินสกุลยูโรเมื่อปี 1999 และเริ่มใช้เหรียญและธนบัตรแทนสกุลฟรังก์ในอีกสามปีต่อมา[56] ขณะที่มีบริษัทเอกชนในฝรั่งเศสมีจำนวนมาก[57] รัฐบาลก็มีการตั้งรัฐวิสาหกิจและแทรกแซงเอกชนในบางครั้ง ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในระบบรถไฟ ไฟฟ้า อากาศยาน พลังงานนิวเคลียร์และโทรคมนาคม[58] จึงนับได้ว่าฝรั่งเศสมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม แม้ภาครัฐจะพยายามลดการแทรกแซงและมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชนอยู่เรื่อยมา

 
ประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศพึ่งอยู่กับพลังงานนิวเคลียร์ (เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กอลเฟค)

องค์การการค้าโลกเผยว่าฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 6 และเป็นผู้นำเข้าอันดับ 4 ของโลกในปี 2009[59] ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จในการส่งออก[60] ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า) รวมไปถึงภาคการเงิน ภาคธนาคาร และการประกันภัย สถาบันการเงินรายใหญ่ตั้งอยู่ในฝรั่งเศสรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ปารีส (ปัจจุบันคือยูโรเน็กซต์ ปารีส) บริษัทประกันแอกซ่า ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ และธนาคารโซซิเอเต้ เจเนเรล[61]

ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลกเมื่อปี 2008 รองจากลักเซมเบิร์กและสหรัฐ[62] มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 118 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต และในปีเดียวกันนั้น บริษัทฝรั่งเศสไปลงทุนในต่างประเทศสูงถึง 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[63]

ในปี 2004 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในยูโรโซน)

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (PPP) ปี 2019 มีมูลค่า 3,062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[64]
  • อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปี 2019 คิดเป็นร้อยละ 1.3[64]
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว 47,223 ดอลลาร์สหรัฐ (2019)
  • อัตราเงินเฟ้อคิดเป็นร้อยละ 1.3 (2019)
  • ดุลการค้าขาดดุลมีมูลค่า 6.6 พันล้านยูโร (2004)

ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากสหรัฐ (59 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใน 19 โรงงานปรมาณูทั่วประเทศ) การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ 88% มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ค่าไฟฟ้าในประเทศราคาถูกกว่าประเทศใกล้เคียง จึงมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น[65]

เกษตรกรรม

แก้

เศรษฐกิจของฝรั่งเศสขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรอย่างมากมาตั้งแต่สมัยอดีต[66] มีการใช้ปุ๋ยปรับสภาพดินและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรปยังช่วยให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดในยุโรป[67] คิดเป็นราวร้อยละ 20 ของสินค้าเกษตรในสหภาพยุโรป[68] และคิดเป็นอันดับสามของโลก[69] อาหารแปรรูปที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสได้แก่ ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อโค เนื้อสุกร ตลอดจนไวน์โรเซ่ แชมเปญจน์ และไวน์บอร์โด ฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ โดยมีผลิตผลทางการเกษตรหลักดังนี้

ส่วนด้านการทำปศุสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์นั้น มีดังนี้

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ภายกลุ่มประชาคมยุโรปกว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของประเทศฝรั่งเศสคือ ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปนและอิตาลี ที่เหลือได้แก่ สหรัฐ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และแอลจีเรีย

พลังงาน

แก้

Électricité de France (EDF) บริษัทผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าหลักในฝรั่งเศส ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย ในปี 2018 ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 20% ของสหภาพยุโรป[70] ส่วนใหญ่มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ฝรั่งเศสเป็นประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เล็กที่สุดในบรรดาสมาชิกกลุ่ม 7 เนื่องจากมีการลงทุนอย่างหนักในด้านพลังงานนิวเคลียร์ ณ ปี 2016 ไฟฟ้า 72% ของประเทศผลิตขึ้นโดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 58 โรง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก ฝรั่งเศสยังใช้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อน Eguzon, Étang de Soulcem และ Lac de Vouglans

การค้าต่างประเทศ

แก้
 
เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เครื่องแรกที่ผลิตในเมืองตูลูส เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยเครื่องบินแอร์บัสเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป

ในอดีตประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี 1982 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของประเทศฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง ประเทศฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และการส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องบินแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด

แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต คาดว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี 1998 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐและสงครามในอิรัก[71]

การท่องเที่ยว

แก้
 
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส

จำนวน 81.9 ล้านคนนี้ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ชาวยุโรปทางตอนเหนือที่เดินทางผ่านประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศสเปนหรืออิตาลีในฤดูร้อน ประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ท่องเที่ยวในทุก ๆ บรรยากาศไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยทะเล หาดทราย ป่า แม่น้ำ ภูเขา บ้านพักตากอากาศ ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้[72] หอไอเฟล (6.2 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน), พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน), ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน), ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน), มง-แซ็ง-มีแชล (1 ล้าน), พระราชวังช็องบอร์ (711,000), วิหารแซ็งต์-ชาแปล (683,000 , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000), ปุย เดอ โดม (5 แสน), พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาซอน (362,000)

ประเทศฝรั่งเศสมีโรงแรมกว่า 18,217 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,289 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 1,001 แห่ง บ้านพักเยาวชน 188 แห่ง ที่พักราคาย่อมเยาในต่างจังหวัด 63,158 แห่ง ห้องพักพร้อมอาหารเช้าตามบ้านคนท้องถิ่น 31,013 ห้อง โดยประเทศฝรั่งเศสมีรายได้จากการท่องเที่ยว 32.8 พันล้านยูโร นับเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและอิตาลี และมีดุลการท่องเที่ยวเกินดุลกว่า 9.8 พันล้านยูโร

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

คมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้

คมนาคม

แก้

เครือข่ายระบบรางของฝรั่งเศสมีความยาวรวมถึง 29,473 กิโลเมตรในปี 2008[73] สูงสุดเป็นอันดับสองในยุโรปตะวันตกรองจากเยอรมนี[74] ดำเนินการโดยแอ็สแอนเซแอ็ฟ และมีรถไฟความเร็วสูงตาลิส ยูโรสตาร์ เตเฌเวให้บริการในประเทศและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้านยกเว้นประเทศอันดอร์รา ในเมืองใหญ่มีระบบรถไฟใต้ดินให้บริการ อาทิ ปารีส ลียง มาร์แซย์ ตูลูซ และแรน ทั้งยังมีระบบรถรางให้บริการใน น็องต์ สทราซบูร์ บอร์โด เกรอนอบล์ และมงเปอลีเย

ส่วนถนนในฝรั่งเศสมีความยาวรวมกันถึง 1,027,183 กิโลเมตรนับว่ายาวที่สุดในทวีปยุโรป[75] โดยปารีสมีเครือข่ายถนนและทางพิเศษที่หนาแน่นสูงกว่าส่วนอื่นของประเทศ เส้นทางถนนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้าน ฝรั่งเศสไม่เก็บภาษีถนนประจำปีแต่จะเก็บค่าบริการในทางด่วนพิเศษหลายเส้นทาง มีตลาดรถยนต์ที่ใหญ่โดยรถยนต์ส่วนใหญ่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศอาทิ เรโนลต์ เปอโยต์ และซิตรอน[76]

ฝรั่งเศสมีท่าอากาศยานมากถึง 464 แห่งในประเทศ[64] ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกลเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่และมีผู้ใช้บริการมากที่สุดในประเทศ เชื่อมต่อปารีสกับเมืองสำคัญทั่วโลก มีสายการบินแอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินประจำชาติ สำหรับการคมนาคมทางน้ำนั้น มีท่าเรือใหญ่ 10 แห่งด้วยกัน ท่าที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่มาร์แซย์[77] เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางทะเลเมดิเตอเรเนียน ฝรั่งเศสมีระบบคลองยาวราว 12,261 กิโลเมตร

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้
 
ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2563 เป็นผู้ให้การสนับสนุนองค์การอวกาศยุโรปเป็นจำนวนเงินมากที่สุด

ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่ยุคกลาง นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 ผู้ประสูติในฝรั่งเศสทรงเผยแพร่ลูกคิด ทรงกลมดาราศาสตร์ ระบบเลขอารบิก และนาฬิกาให้กับชาวยุโรปเหนือและตะวันตกได้รู้จักกันอีกครั้ง[78] กลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งขึ้นและกลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกตะวันตกนับตั้งแต่นั้น[79] ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เรอเน เดการ์ต ได้เผยแพร่หลักการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบลซ ปัสกาล ร่วมพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็นและกลศาสตร์ของไหล นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งยุคแห่งภูมิปัญญาของยุโรปนับตั้งแต่นั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศสรวมทั้งปกป้องจิตวิญญาณของการวิจัย มีส่วนสำคัญในการบุกเบิกทางวิทยาศาสตร์ของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18

ในยุคเรืองปัญญา มีนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่ได้รับการยอมรับมากมาย อาทิ บุฟฟ่อน นักชีววิทยา อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีผู้ค้นพบหน้าที่ของออกซิเจนในการเผาไหม้ ตลอดจนดีเดอโรต์และดาลองแบร์ผู้เผยแพร่สารานุกรม หวังให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ ใช้งานจริงในชีวิตประจำวันได้[80] นอกจากนี้ ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมยังมีออกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนลเป็นผู้คิดค้นเลนส์ยุคใหม่ นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนคิดค้นทฤษฎีเครื่องจักรความร้อน หลุยส์ ปาสเตอร์คิดค้นวิธีการฆ่าเชื้อและวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า โดยชื่อของนักวิทยาศาสตร์ของศตวรรษที่ 19 ที่มีชื่อเสียงจะได้รับการจารึกบนหอไอเฟล

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ อ็องรี ปวงกาเร นักคณิตศาสตร์ อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล ปีแยร์ กูว์รี และมารี กูว์รี นักฟิสิกส์และเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม โปล แลงชเวน นักฟิสิกส์ และลุค มงตาญนิเยร์ นักชีววิทยาผู้ร่วมค้นพบเชื้อไวรัสเอดส์

ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในสี่ประเทศมหาอำนาจทางนิวเคลียร์[81] มีอาวุธนิวเคลียร์ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก[82]และเป็นผู้นำด้านการใช้นิวเคลียร์เพื่อกิจการพลเรือน[83][84][85]ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่สามต่อจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐที่มีดาวเทียมในอวกาศและยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการอวกาศของยุโรป[86][87][88] บริษัทแอร์บัสมีส่วนในการพัฒนาระบบอากาศยานสำหรับการทหารและพลเรือน และรัฐบาลฝรั่งเศสยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของโครงการวิจัยแสงซิงโครตรอนและองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป เมื่อนับจนถึงปี 2018 ฝรั่งเศสมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้วรวม 69 คน

การศึกษา

แก้

หลักเกณฑ์ของระบบการศึกษาฝรั่งเศส ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ ได้แก่[89]

1. ความเท่าเทียมกันทางโอกาสในการเข้ารับการศึกษา

2. การไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ผิวพรรณ และฐานะทางสังคม

3. ความมีสถานะเป็นกลาง

4. ความไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ๆ

นโยบายทางการศึกษา

ระบบการศึกษาของรัฐเป็นบริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่ค่าลงทะเบียนเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก การศึกษาภาคบังคับในฝรั่งเศส อยู่ในช่วงอายุระหว่างอายุ 6-16 ปี ระบบการศึกษาของรัฐรับเด็กเข้าศึกษา 80% ของจำนวนเด็กทั้งหมด ข้อบ่งชี้ถึงความมีเสรีภาพในการเรียนการสอน ประการหนึ่ง คือการเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิดโรงเรียน หรือสถานศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเสรี ใครก็ตามสามารถเปิดหรือจัดการศึกษาได้ทั้งสิ้นและทุกระดับชั้นการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับระถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือแม้แต่ระดับอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้จะต้องรักษา หลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้นและรักษาเงื่อนไขทางด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยและการจัดระเบียบสาธารณะ

อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส ฟร็องซัว ฟียง (Mr. Francois Filllon) ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2007 ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาว่า จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชนฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายให้ประชาชนร้อยละ 50 จบการศึกษา พร้อมทั้งตั้งงบประมาณระหว่างปี 2007-12 เพื่อการนี้จำนวน 5 พันล้านยูโร และจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยให้แก่สถาบันอุดมศึกษา คาดว่างบประมาณเพื่อการวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

สาธารณสุข

แก้
 
โรงพยาบาล Pitié-Salpêtrière Hospital ในกรุงปารีส โรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป[90]

ฝรั่งเศสมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การอนามัยโลกเผยว่าฝรั่งเศสมีระบบสาธารณสุขที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในปี 2000[91] ฝรั่งเศสใช้งบประมาณสูงถึง 11.6 ของจีดีพีกับระบบสาธารณสุขในปี 2011 หรือราว ๆ 4,086 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว[92] สูงกว่าค่าเฉลี่ยชาติอื่น ๆ ของยุโรปมาก ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประมาณร้อยละ 77 อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐบาล[93]

โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือโรคซิสติก ไฟโบรซิส ได้รับการรักษาฟรี อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชาชนอยู่ที่ 78 ปีสำหรับเพศชาย และ 85 ปีสำหรับเพศหญิง นับว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรปและของโลก[94][95] มีแพทย์ราว 3.22 คนต่อประชากร 1,000 คนในปี 2008[96]

แม้คนทั่วไปจะมองว่าชาวฝรั่งเศสมีรูปร่างที่ผอม แต่ฝรั่งเศสกำลังประสบปัญหาประชากรมีโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปสู่ค่านิยมการบริโภคอาหารขยะ[97] อัตราการเกิดโรคอ้วนยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับสหรัฐและยังต่ำสุดในยุโรป แต่เป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้[98]

ประชากร

แก้

เชื้อชาติ

แก้

ประชากรของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประมาณ 67.15 ล้านคน (2017) โดยเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก[99] หรืออันดับที่ 2 ของสหภาพยุโรป

ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ผสมกับเชื้อสายโรมันและแฟรงก์[100] แต่ละท้องที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป เช่น วัฒนธรรมบริตันทางตะวันตก วัฒนธรรมอากิแตเนียทางตะวันตกเฉียงใต้แถบเทือกเขาพีเรเนส วัฒนธรรมอลามันน์ทางตะวันออกเฉียงเหนือใกล้พรมแดนเยอรมนี วัฒนธรรมสแกนดิเนเวียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และวัฒนธรรมลิกูเรียทางตะวันออกเฉียงใต้[101][102]

คริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมของฝรั่งเศส ประมาณการกันว่าในเขตเมืองใหญ่ของฝรั่งเศสนั้นมีชาวผิวขาวร้อยละ 85 ชาวแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือร้อยละ 10 ชาวผิวดำร้อยละ 3.3 และชาวเอเชียอีกร้อยละ 1.7 ประชาชนชาวฝรั่งเศสร้อยละ 40 ในปัจจุบันสืบเชื้อสายจากการอพยพนับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20[103] กลุ่มแรกราว 1.1 ล้านคนอพยพเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1921 ถึง 1935[104] กลุ่มที่สองราว 1.6 ล้านคนเป็นชาวฝรั่งเศสโพ้นทะเลที่เดินทางกลับประเทศกลับอาณานิคมในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือประกาศเอกราชราว ค.ศ. 1960[105][106]

ฝรั่งเศสยังคงเป็นจุดหมายของการอพยพ มีผู้อพยพอย่างถูกกฎหมายเข้ามาราว 200,00 ต่อปี[107]และยังมีผู้ขอลี้ภัยอีกเป็นจำนวนมาก[108] สถาบันสถิติและเศรษฐกิจแห่งชาติประมาณการไว้ว่าผู้อพยพที่เป็นลูกหลานของชาวฝรั่งเศสมี 6.5 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด) และไม่ได้มีเชื้อสายฝรั่งเศสมีราว 5 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมด) รวมแล้ว ประมาณหนึ่งในห้าของประชากรฝรั่งเศสเป็นลูกหลานของผู้อพยพ[109][110][111]

เมืองใหญ่

แก้

เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากได้แก่ ปารีส มาร์แซย์ ลียง ลีล ตูลูซ นิส และน็องต์

 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส
สำมะโนประชากร ค.ศ. 2016
อันดับ ชื่อ แคว้น ประชากร อันดับ ชื่อ แคว้น ประชากร
 
ปารีส
 
มาร์แซย์
1 ปารีส อีล-เดอ-ฟร็องส์ 2,190,327 11 แรน เบรอตาญ 216,268  
ลียง
 
ตูลูซ
2 มาร์แซย์ พรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ 862,211 12 แร็งส์ กร็องแต็สต์ 183,113
3 ลียง โอแวร์ญ-โรนาลป์ 515,695 13 แซ็งเตเตียน โอแวร์ญ-โรนาลป์ 171,924
4 ตูลูซ อ็อกซีตานี 475,438 14 เลออาฟวร์ นอร์ม็องดี 170,352
5 นิส พรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ 342,637 15 ตูลง พรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ 169,634
6 น็องต์ เปอีเดอลาลัวร์ 306,694 16 เกรอนอบล์ โอแวร์ญ-โรนาลป์ 158,180
7 มงเปอลีเย อ็อกซีตานี 281,613 17 ดีฌง บูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต 155,090
8 สทราซบูร์ กร็องแต็สต์ 279,284 18 อ็องเฌ เปอีเดอลาลัวร์ 151,229
9 บอร์โด นูแวลากีแตน 252,040 19 นีม อ็อกซีตานี 151,001
10 ลีล โอดฟร็องส์ 232,440 20 วีเลอร์บาน โอแวร์ญ-โรนาลป์ 149,019

ภาษา

แก้
 
แผนที่ผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในโลก:
  ภาษาแม่
  ภาษาราชการ
  ภาษาที่สองหรือไม่ใช่ภาษาราชการ
  ชนกลุ่มน้อยที่พูดฝรั่งเศส

รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส มาตรา 2 กำหนดให้ภาษาราชการคือ ภาษาฝรั่งเศส[112] เป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่มีรากมาจากภาษาละติน โดยมีสมาคมภาษาฝรั่งเศสเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านภาษาตั้งแต่ปี 1635 นอกจากนี้ ยังมีฝรั่งเศสยังมีคนพูดภาษาอุตซิตา ภาษาเบรอตาญ ภาษากาตาลา ภาษาเฟลมิช ภาษาบาสก์ และภาษาคอร์ซิกัน ที่พูดกันในท้องถิ่นด้วย

แม้รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้บังคับให้ประชาชนตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ภาษาฝรั่งเศสยังมีความจำเป็นในการพาณิชย์และการทำงาน รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามส่งเสริมให้ภาษาฝรั่งเศสได้รับการยอมรับในสหภาพยุโรปและทั่วโลก ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเคยเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายในทางการทูตและเวทีระหว่างประเทศช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ เนื่องจากการเรืองอำนาจของสหรัฐในเวทีการเมืองโลก[113]

กระนั้น ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาที่มีผู้ศึกษามาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในเขตอดีตอาณานิคมในแอฟริกา ประมาณการกันว่ามีคนพูดภาษาฝรั่งเศสได้รวม 300[114] ถึง 500[115] ล้านคนทั่วโลก หากนับภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง

ศาสนา

แก้

ฝรั่งเศสให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญโดยใช้หลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

ผลสำรวจจากสถาบันมงตาญและสถาบันความเห็นสาธารณะฝรั่งเศสเผยว่า ชาวฝรั่งเศสร้อยละ 51.1 เป็นชาวคริสต์ ร้อยละ 39.6 ไม่นับถือศาสนาใด ร้อยละ 5.6 เป็นชาวมุสลิ ร้อยละ 2.5 นับถือศาสนาอื่น (เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกส์) และอีกร้อยละ 0.4 ยังไม่ตัดสินใจ[116] ฝรั่งเศสมีชุมชนชาวยิงที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากอิสราเอลและสหรัฐ มีผู้นับถือศาสนายูดายนี้ราว ๆ 480,000 ถึง 600,000 คน[116]

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสมากว่าพันปี มีศาสนสถานมากถึง 47,000 แห่งในประเทศ และราวร้อยละ 94 ของคริสตศาสนิกชนนับถือนิกายโรมันคาทอลิก[117] สถานที่สำคัญและความเชื่อทางศาสนาคริสต์ถูกทำลายไปอย่างมากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส จากนั้นเมื่อปี 1905 รัฐบาลได้ออกกฎหมายแยกศาสนจักรออกจากคริสตจักรอย่างเป็นทางการ[118] ปัจจุบัน รัฐบาลจึงห้ามไม่ให้กลุ่มศาสนาใดมีสิทธิพิเศษเหนือกว่ากลุ่มอื่นในสังคม ในขณะเดียวกัน องค์กรทางศาสนาก็ไม่ควรแทรกแซงทางการเมือง

กีฬา

แก้
 
ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง บิดาแห่งกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่

ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกมากมาย อาทิ จักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์[119] ฟุตบอลโลก 1938 และ 1998[120] รักบี้ชิงแชมป์โลก 2007[121] ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1960 1984 และ 2016 และฟุตบอลโลกหญิง 2019 สนามกีฬาสตาดเดอฟร็องส์ในเมืองแซ็ง-เดอนีเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส กีฬาที่ได้รับความนิยมในฝรั่งเศสได้แก่ ฟุตบอล ยูโด เทนนิส[122] รักบี้[123] และเปตอง นอกจากนี้ รายการแข่งรถ 24 ชั่วโมง เลอม็อง[124] ยังเป็นที่รู้จัก เช่นเดียวกับเทนนิสแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพน

ฝรั่งเศสมีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานกับกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อตั้งกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูร้อนสองครั้งในปี 1900 (กีฬาโอลิมปิกครั้งที่สอง) และ 1924 โดยทั้งสองครั้งจัดที่กรุงปารีส เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูหนาวอีกสามครั้ง ในปี 1924 ที่ชามอนี ค.ศ. 1968 ที่เกรอนอบล์ และค.ศ.1992 ที่แอลเบอร์วีลล์ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเคยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีสก่อนจะย้ายไปนครโลซานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ฟุตบอล

แก้
 
ซีเนดีน ซีดาน นักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง

ทีมฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส มีฉายาว่า เลอเบลอส์ มีความหมายสื่อถึงธงชาติฝรั่งเศส ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในฝรั่งเศส มีนักกีฬาที่ลงทะเบียนถึง 1,800,000 คนและมีสโมสรมากถึง 18,000 สโมสร[125] ทีมฟุตบอลประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการขึ้นครองแชมป์โลกในปี 1998 และอีกครั้งในปี 2018[126] และได้รองแชมป์โลกในปี 2006 ส่วนในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ฝรั่งเศสชนะเลิศสองครั้งเมื่อปี 1984 และ 2000

ลีกสูงสุดของฟุตบอลฝรั่งเศสคือ ลีกเอิง ฝรั่งเศสผลิตนักฟุตบอลระดับโลกมาแล้วหลายราย เช่น ซีเนดีน ซีดาน เจ้าของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยียมประจำปีของฟีฟ่า และมีแชล ปลาตีนี เจ้าของรางวัลบัลลงดอร์ 3 สมัย ตลอดจนฌุสต์ ฟงแตน เรมอง กอปา และตีแยรี อ็องรี[127]

มวยสากล

แก้

วัฒนธรรม

แก้

ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมตะวันตกมาหลายศตวรรษ ได้รับการขนานนำว่ามีมรดกทางวัฒนธรรมจำนวนมากและหลากหลาย

ความสำเร็จในการรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมเป็นผลงานที่สำคัญของกระทรวงวัฒนธรรมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1959 มีการมอบเงินสนับสนุนจิตรกร ส่งเสริมวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก สนับสนุนการจัดเทศกาลและงานรื่นเริงทางวัฒนธรรมต่าง ๆ และบูรณะสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมมรดกทางวัฒนธรมเป็นจำนวนมาก มีพิพิธภัณฑ์กว่า 1,200 แห่งเปิดให้นักท่องเที่ยวกว่า 50 ล้านคนเข้ามาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกปี[128] มีแหล่งโบราณสถานแห่งชาติ 85 แห่งที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากรัฐบาล ฝรั่งเศสมีแหล่งมรดกโลกในประเทศมากถึง 39 แห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก

สถาปัตยกรรม

แก้

ในยุคกลางมีการสร้างป้อมปราการและปราสาทขึ้นโดยขุนนางในระบบศักดินาขึ้นเป็นจำนวนมาก และบางส่วนยังหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันเช่น ปราสาทชินอง ปราสาทดองเกร์ส และปราสาทแห่งแวงเซน สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่ได้รับความนิยมทั่วยุโรปตะวันตก

 
วังมงซอโร

สถาปัตยกรรมในยุคต่อมา คือ สถาปัตยกรรมกอทิก ถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ของฝรั่งเศส เดิมมีชื่อเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า Opus Francigenum มีความหมายว่า งานแบบฝรั่งเศส[129] เป็นสถาปัตยกรรมแบบแรกของฝรั่งเศสที่ได้รับการทำซ้ำไปทั่วยุโรป[130] ฝรั่งเศสทางตอนเหนือมีอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวนมากที่เป็นแบบกอทิก อาทิ มหาวิหารแซ็ง-เดอนี อาสนวิหารชาทร์ อาสนวิหารอาเมียง และอาสนวิหารแร็งส์ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎของกษัตริย์ฝรั่งเศส[131] นอกจากศาสนสถานแล้ว ยังมีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เด่นชัดอีกมากมาย เช่น ปาแลเดปัป (วังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง)

ชัยชนะของฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมในฝรั่งเศส เป็นยุคกำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส มีจิตรกรจากอิตาลีจำนวนมากได้รับคำเชิญให้มาตกแต่งคฤหาสน์ของผู้มั่งคั่งในฝรั่งเศสโดยเฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำลัวร์ เช่น วังมงซอโร[132] พระราชวังช็องบอร์ วังเชอนงโซ พระราชวังอ็องบวซ

 
ปลาสเดอลาบูร์ส ในบอร์โด ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมบาโรกในฝรั่งเศส

หลังจากนั้น สถาปัตยกรรมบาโรก เข้ามามีบทบาทแทนที่กอทิก สถาปัตยกรรมที่เด่นชัดได้แก่ พระราชวังแวร์ซาย ปลัสสตานิสลัส(ในขณะนั้นยังไม่อยู่ในฝรั่งเศส) ฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์หนึ่งในผู้ออกแบบแวร์ซายกลายเป็นสถาปนิกผู้มีอิทธิพลในยุคนี้ เช่นเดียวกับเซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง ผู้ออกแบบป้อมปราการที่มีประสิทธิภาพและมีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรมทางการทหาร[133]

หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลัทธิคลาสสิกใหม่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้นิยมสาธารณรัฐ มีการสร้างอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (ประตูชัย) และโบสถ์ลามาดแลน อันเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมยุคจักรวรรดิฝรั่งเศส

 
โรงโอเปราการ์นีเย สัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2

ในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 มีการสร้างเมืองแบบสมัยใหม่ โรงโอเปเราการ์นีเยถูกสร้างขึ้นในแบบนีโอ-บาโรก มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกได้รับความนิยมเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในยุโรป โดยมีเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ต่อมา กุสตาฟ ไอเฟล ได้วางรางฐานของสะพานสมัยแบบใหม่ในฝรั่งเศส นำเสนอสิ่งก่อสร้างด้วยเหล็ก หนึ่งในนั้นที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดคือ หอไอเฟล

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เลอกอร์บูซีเย สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส เป็นผู้ออกแบบสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในฝรั่งเศส มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่างสมัยเก่าและสมัยใหม่ เช่น พีระมิดลูฟวร์ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสไม่นิยมสร้างตึกระฟ้าบดบังทัศนียภาพ ในกรุงปารีสมีข้อบังคับนับตั้งแต่ปี 1977 ห้ามมิให้มีอาคารสูงกว่า 37 เมตรก่อตั้งขึ้น[134] อาคารสำนักงานจำนวนมากจึงมักตั้งอยู่ที่ลาเดฟ็องส์ เขตธุรกิจใหญ่ชานเมืองปารีสแทน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงในยุคโมเดิร์นได้แก่ ฌ็อง นูแวล โดมินิก เปอร์โรลต์

วรรณกรรม

แก้

วรรณกรรมถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศสมานานนับสหัสวรรษ[135] และยังเป็นเครื่องมือสะท้อนถึงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่และความรุ่งเรื่องทางวัฒนธรรมของประเทศ[136][137] วรรณคดีฝรั่งเศสที่เก่าแก่ที่สุดมีมาตั้งแต่ยุคกลาง โดยนักเขียนใช้การสะกดและไวยากรณ์ของตนเอง ผู้เขียนตำรายุคกลางของฝรั่งเศสบางคนไม่เป็นที่รู้จัก เช่น Tristan และ Iseult และ Lancelot-Grail ผู้เขียนคนอื่น ๆ เป็นที่รู้จัก เช่น Chrétien de Troyes และ Duke William IX of Aquitaine

กวีนิพนธ์และวรรณคดีฝรั่งเศสในยุคกลางส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานและความเชื่อดั้งเดิมของฝรั่งเศส เช่น บทเพลงแห่งโรแลนด์ และบทประพันธ์ต่าง ๆ Roman de Renart เขียนขึ้นในปี 1175 โดย Perrout de Saint Cloude บอกเล่าเรื่องราวของตัวละครในยุคกลาง Reynard ('the Fox') และเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของงานเขียนภาษาฝรั่งเศสยุคแรก ๆ นักเขียนคนสำคัญของศตวรรษที่ 16 คือ François Rabelais ซึ่งนวนิยายเรื่อง Gargantua และ Pantagruel ยังคงมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน Michel de Montaigne เป็นบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งของวรรณคดีฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษนั้น งานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา Essais ได้สร้างแนววรรณกรรมคล้ายการเขียนเรียงความ

ศิลปะ

แก้

ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นหนึ่งในชาติที่มีความสำคัญยาวนานต่อโลกศิลปะ อีกทั้งยังเป็นบ่อเกิดของศิลปินและกระแสทางศิลปะที่สำคัญของโลกมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่ายิ่งกรุงปารีส[138] โดยปรากฏผลงานทางศิลปะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆมากมาย ฝรั่งเศสเริ่มมีความก้าวหน้าด้านศิลปะหลังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) ในศตวรรษที่ 15[139] ซึ่งส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากอิตาลี และเริ่มโดดเด่นขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 17 ในยุคบาโรก (Baroque) จนมีความเจริญรุ่งเรืองเหนือกว่าอิตาลีในยุคโรโกโก (Rococo) และยุคนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) ในช่วงศตวรรษที่ 18 ศูนย์กลางแห่งศิลปะของโลกเริ่มเคลื่อนย้ายจากอิตาลีมาสู่ฝรั่งเศส และตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาฝรั่งเศสถือว่ามีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะถึงขีดสุด ในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ต่อเนื่องมาถึงยุคศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ส่งผลให้กรุงปารีสได้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปะของโลกไปโดยปริยาย[140]

ปรัชญา

แก้
 
เรอเน เดการ์ต บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่

ลัทธิอัสมาจารย์ หรือวิธีคิดเชิงวิพากษ์ เป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในสมัยกลาง ก่อนที่มนุษยนิยมจะได้รับความนิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา นักปรัชญายุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลายคนกำเนิดที่ฝรั่งเศส เช่น เรอเน เดการ์ต แบลซ ปัสกาล และนิโกลา แมลบรันช์ โดยเดการ์ตเป็นผู้นำปรัชญาตะวันตกกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหลังยุคกรีกและโรมัน[141] หนังสือของเดการ์ตมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในยุโรปอีกมากมาย

นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสยังมีอิทธิพลอย่างมากในยุคเรืองปัญญา หนังสือจิตวิญญาณแห่งกฎหมายของมงแต็สกีเยอมีบทบาทต่อการเผยแพร่ประชาธิปไตยเสรีนิยม เน้นการแบ่งอำนาจการปกครอง ก่อนที่วอลแตร์จะมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพในการพูด

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิดปรัชญาของฝรั่งเศสเป็นรูปแบบการตอบสนองความหวาดระแวงในสังคมสืบเนื่องจากการปฏิวัติฝรั่งเศส นักปรัชญาผู้รักเหตุและผลเช่นวิกเตอร์ กูแซ็งและออกุสต์ กองต์ เรียกร้องให้มีการใช้จารีตสังคมแบบใหม่ แต่ถูกต่อต้านโดยนักคิดหลายคนเช่น โยเซฟ เดอ เมสตร์ ผู้กล่าวโทษว่านักปรัชญาสายเหตุผลนิยมพยายามต่อต้านธรรมเนียมที่ดีงามของสังคม กองต์กลายเป็นผู้ต่อตั้งลัทธิปฏิฐานนิยม (positivism) ที่ยึดถือแนวความคิดที่ว่าองคภาวะซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรงจากประสบการณ์เท่านั้น มุ่งสร้างทฤษฎีหรือกฎทั่วไปซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่าง ๆ

แนวคิดนี้ได้รับการต่อต้านในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการก่อตั้งแนวคิดนิยมจิตวิญญาณขึ้น เช่น แนวคิดของอ็องรี แบร์กซอน ผู้เชื่อว่าประสบการณ์และสัญชาติญาณมีความสำคัญกว่าการคิดแบบเหตุผลตามสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกเท่านั้น ขณะเดียวกัน การศึกษาทฤษฎีของธรรมชาติและความรู้ก็มีความเด่นชัดมากขึ้นในศตวรรษนี้ มีนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น อ็องรี ปวงกาเร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดของฌ็อง-ปอล ซาทร์ ผู้นิยมในปรากฏการณ์วิทยาและอัตถิภาวนิยม ได้รับความนิยมอย่างมาก นำมาสู่การกำเนิดของปรัชญาหลังสมัยใหม่ เช่น แนวคิดของมีแชล ฟูโก

ดนตรี

แก้

ภาพยนตร์

แก้
 
เลอา แซดู นักแสดงผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส

นับตั้งแต่พี่น้อง Lumière ค้นพบการสร้างภาพยนตร์ใน 1895 ชาวฝรั่งเศสก็ชื่นชอบการชมภาพยนตร์อย่างมาก[142] เทศกาลภาพยนตร์กานจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีนักแสดงจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ชั้นนำซึ่งมีผู้ชมจากทั่วโลกผลงานของ ฌ็อง-ลุก กอดาร์, ฟร็องซัว ทรูว์โฟ, ฌ็อง-ปีแยร์ เฌอเน และ ลุก แบซง ได้ถูกนำเสนอใน 5 ทวีปหลังจากที่ถูกฉายในโรงภาพยนตร์ประเทศฝรั่งเศสถึง 2,000 โรง

แม้ว่าตลาดภาพยนตร์ฝรั่งเศสจะถูกครอบงำโดยฮอลลีวูดมาหลายปี แต่ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวในโลกที่ภาพยนตร์อเมริกันมีส่วนแบ่งรายได้น้อยที่สุดจากรายได้ทั้งหมด[143] โดยอยู่ที่ 50% เทียบกับ 77% ในเยอรมนีและ 69% ในญี่ปุ่น ภาพยนตร์ฝรั่งเศสคิดเป็น 35% ของรายได้ภาพยนตร์ทั้งหมดของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดของรายได้จากภาพยนตร์ในประเทศที่พัฒนาแล้วนอกสหรัฐ เทียบกับ 14% ในสเปนและ 8% ในสหราชอาณาจักร ในปี 2013 ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกภาพยนตร์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ[144] วงการภาพยนตร์ฝรั่งเศสผลิตนักแสดงคุณภาพที่มีชื่อเสียงมากมายมายาวนาน เช่น มารียง กอตียาร์, กาทรีน เดอเนิฟว์, ออเดรย์ ตาตู, เลอา แซดู, เจอราร์ด เดอปาดิเอ, วินเซ็นต์ แคสเซล และ ฌ็อง กาแบ็ง

แฟชั่น

แก้
 
สำนักงานใหญ่ของชาแนลในปารีส

แฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมที่สำคัญของฝรั่งเศสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โอตกูตูร์ หรือเสื้อผ้าชั้นสูงเริ่มต้นที่กรุงปารีสราว ค.ศ. 1857 ในปัจจุบัน ปารีสเป็นมหานครแฟชันเช่นเดียวกับลอนดอน มิลาน และนิวยอร์ก เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์แฟชันชั้นนำมากมาย และคำว่า"โอตกูตูร์"เป็นคำที่ได้รับการสงวนไว้สำหรับงานฝีมือชั้นสูงในฝรั่งเศสเท่านั้นเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของสินค้า

ความผูกพันระหว่างฝรั่งเศสกับแฟชั่นและสไตล์มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส[145] ในสมัยนั้น อุตสาหกรรมสินค้าฟุ่มเฟือยอยู่ภายใต้การควบคุมของทางการ ราชวงศ์ฝรั่งเศสนับได้ว่าเป็นผู้กำหนดรสนิยมและสไตล์ของยุโรป อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสกลับมาทวงบทบาทด้านผู้นำแฟนชันอีกครั้งในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1860 ถึง 1960 โดยมีแบรนด์แฟชันชั้นนำก่อตั้งขึ้นมากมาย รวมทั้ง ชาแนล ดิออร์ และจิว็องชี น้ำหอมของฝรั่งเศสได้รับความนิยมไปทั่วโลก[146]

ช่วงความไม่สงบในประเทศฝรั่งเศส พฤษภาคม ปี 1968 เกิดการก่อต้าน"โอตกูตูร์"จากกลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีการออกแบบเสื้อผ้ารูปแบบใหม่ที่พร้อมสวมใส่โดยอีฟว์ แซ็ง โลร็อง นำตลาดเสื้อผ้าเข้าสู่การผลิตแบบจำนวนมาก เกิดแบรนด์สินค้าที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นเป็นจำนวนมาก ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยรวมตัวกันกลายเป็นบริษัทข้ามชาติ เช่น แอลวีเอ็มเอช

อาหาร

แก้
 
ไวน์ฝรั่งเศส เป็นสิ่งที่คู่กับอาหารฝรั่งเศสมาช้านาน

อาหารฝรั่งเศสได้รับการขนานนามว่ามีความปราณีตระดับแนวหน้าของโลก[147][148] สูตรอาหารดั้งเดิมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทางตอนเหนือของประเทศนิยมใช้เนยเป็นไขมันประกอบอาหาร ส่วนทางใต้นิยมใช้น้ำมันมะกอก[149] อาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ กาสซูเลต์จากทางตะวันตกเฉียงใต้ ชูครูตการ์นี(เซาเออร์เคราท์พร้อมไส้กรอกและมันฝรั่ง)จากแคว้นอาลซัส กิชจากแคว้นลอแรน เนื้อบูร์กิญงจากแคว้นบูร์กอญ ทาเปอนาดจากพรอว็องส์ เป็นต้น เครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสคือ ไวน์[150] ไม่ว่าจะเป็นไวน์แชมเปญจน์ ไวน์บอร์โด ไวน์บูร์กอญ และไวน์โบโฌเลส์ นอกจากนี้ ชีสยังเป็นอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส มีมากมายกว่า 400 ชนิดแต่ที่เป็นที่รู้จักกันคือกาม็องแบร์ ร็อกฟอร์ และบรี[151][152]

ในหนึ่งมื้ออาหารมักประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ออเดิร์ฟ (hors d'œuvre) หรือ อองเตร (entrée) มักเสิร์ฟเป็นไข่ตุ๋น ซุปล็อบสเตอร์ ฟัวกรา ซุปหัวหอม หรือคร็อก-เมอซีเยอ ส่วนที่สอง คือจานหลัก (plat principal) มักเป็นปอโตเฟอหรือสแต็กฟริต ปิดท้ายด้วยส่วนที่สามคือ ขนมหวาน (dessert) หรือชีสรวม (fromage) ขนมหวานของฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักได้แก่ มิลเฟย มาการง เอแกลร์ แครมบรูว์เล มูส เครป และกาเฟลิเยฌัว

คนฝรั่งเศสมองว่าอาหารคือองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพชีวิต[153] มิชลินไกด์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของฝรั่งเศสที่จะให้รางวัลดาวที่เรียกว่า"มิชลินสตาร์"แก่ร้านอาหารที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี การได้รับและเสียจำนวนดาวมีผลต่อชื่อเสียงและความสำเร็จของร้านอาหารอย่างมาก ร้านอาหารในฝรั่งเศสได้รับจำนวนดาวรวมกันมากถึง 620 ดวงเมื่อ พ.ศ. 2549[154][155] นับว่าสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในขณะนั้น นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังเป็นผู้ผลิตเบียร์และเหล้ารัมรายใหญ่ โดยมีแหล่งผลิตเบียร์อยู่ที่แคว้นอาลซัส (ร้อยละ 60 ของการผลิตทั้งประเทศ) แคว้นนอร์-ปาดกาแล และแคว้นลอแรน ส่วนแหล่งผลิตเหล้ารัมอยู่ที่เกาะเรอูนียง ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย

สื่อสารมวลชน

แก้

หนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศที่ขายดีที่สุดของฝรั่เศสคือ เลอปารีเซียง (ยอดขายราว 460,000 ฉบับต่อวัน) เลอมงด์ และเลอฟิกาโร (ยอดขายราว 300,000 ฉบับต่อวัน) และยังมีหนังสือพิมพ์เลอกิ๊ปที่เน้นเนื้อหาด้านกีฬา[156] แต่สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือเวสต์ฟร็องส์ที่วางจำหน่ายทางตะวันตกของประเทศ มียอดขายสูงถึง 750,000 ฉบับต่อวัน[157][158]

 
หนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2369 เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทสำคัญในวงการสื่อฝรั่งเศส[159]

นิตยสารรายสัปดาห์ยังได้รับคามนิยมทั่วประเทศ มีมากกว่า 400 ชนิดครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลาย นิตยสารข่าวที่มีอิทธิพลสูงสุดคือ ลอบส์ (นิยมการเมืองฝ่ายซ้าย) เล็กซ์เพรส (เป็นกลาง) และเลอแปวง (นิยมการเมืองฝ่ายขวา) มียอดขายราว 400,000 ฉบับต่อสัปดาห์[160] แต่นิตยสารที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือนิตยสารรายเดือนสำหรับผู้หญิง เช่น มารี แคลร์ และแอล ซึ่งมีการตีพิมพ์ในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์นิตยสารได้รับผลกระทบอย่างมากในปัจจุบันจากพฤติกรรมการอ่านของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลายสำนักพิมพ์ต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาล[161]

รัฐบาลฝรั่งเศสผูกขาดการกระจายเสียงทางโทรทัศน์และวิทยุจนถึงปี 1974 จากนั้นมีก่อตั้งองค์การกระจายเสียงวิทยุและแพร่ภาพโทรทัศน์แห่งฝรั่งเศส (ORTF) ขึ้นและแบ่งการดำเนินงานออกเป็นหน่วยงานย่อยหลายแห่ง แต่สถานีโทรทัศน์ 3 แห่งและสถานีวิทยุ 4 แห่งยังอยู่ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล[162][163] จากนั้นในปี 1981 รัฐบาลได้อนุญาตให้มีการเปิดเสรีการกระจายสัญญาณวิทยุในประเทศ เป็นการยุติบทบาทรัฐในการผูกขาดวิทยุอย่างเป็นทางการ[164] ส่วนการแพร่ภาพโทรทัศน์นั้น รัฐบาลได้เปิดเสรีบางส่วน มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์อีกหลายแห่ง พัฒนาสื่อโทรทัศน์ไปพร้อม ๆ กัน

สังคม

แก้
 
รูปปั้นของมารียาน สัญลักษณ์เชิงบุคลาธิษฐานประจำชาติฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีอิทธิพลกับเวทีโลกจากการสำรวจของสำนักข่าวบีบีซีเมื่อปี 2010[165][166] สังคมฝรั่งเศสมีความเปิดกว้างทางด้านศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ระบุในเอกสารเฉพาะสัญชาติแต่ไม่ระบุศาสนา[167] การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แทนแนวคิดแบบฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส[168] เพลงชาติลามาร์แซแยซ และคำขวัญเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศฝรั่งเศสในสายตาของนานาประเทศ

สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของฝรั่งเศสอีกอย่างหนึ่งคือ ไก่ โดยมีประวัติย้อนกลับไปในสมัยโรมันที่ชาวโรมเรียกดินแดนชาวเคลต์แถบนี้ว่า กัลลุส ซึ่งมีความหมายแปลได้ทั้งว่า ไก่ และ ที่อยู่ของชาวกอล ไก่จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ฝรั่งเศส กลุ่มปฏิวัติ และกลุ่มสาธารณรัฐ แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ ใช้ในตราไปรษณียกรและเหรียญตรา[169]

ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในผู้นำโลกที่ส่งเสริมด้านความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน คณะกรรมการบริหารในบริษัทร้อยละ 36.8 เป็นที่นั่งของสตรี[170] นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผลสำรวจเมื่อปี 2013 ชี้ว่าประชาชนชาวฝรั่งเศสร้อยละ 77 มองว่าการแต่งงานในเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่สังคมควรยอมรับ[171] และฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายรับรองเรื่องนี้ในปีเดียวกัน[172]

ฝรั่งเศสยังมีบทบาทในการปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 นำมาสู่ความตกลงปารีส ที่กำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก[173]

วันหยุด

แก้

วันหยุดราชการในประเทศฝรั่งเศส มี 11 วัน


วันหยุดในประเทศฝรั่งเศส:

วันที่ ชื่อภาษาไทย ชื่อท้องถิ่น หมายเหตุ
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ Nouvel an / Jour de l'an / Premier de l'an
เปลี่ยนแปลงได้ วันศุกร์ประเสริฐ Vendredi saint วันศุกร์ ก่อน อีสเตอร์วันอาทิตย์ (สังเกตเพียง แคว้นอาลซัส และ จังหวัดมอแซล)
เปลี่ยนแปลงได้ วันจันทร์อีสเตอร์ Lundi de Pâques วันจันทร์ หลัง อีสเตอร์วันอาทิตย์ (หนึ่งวัน หลัง อีสเตอร์วันอาทิตย์)
1 พฤษภาคม เมย์เดย์/วันแรงงาน Fête du Travail / Fête des Travailleurs
8 พฤษภาคม วันชัยในทวีปยุโรป Fête de la Victoire การสิ้นสุดของสงคราม ทวีปยุโรป ในสงครามโลกครั้งที่ 2i
เปลี่ยนแปลงได้ วันเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ Ascension วันพฤหัสบดี 39 วัน หลังเทศกาลอีสเตอร์วันอาทิตย์
เปลี่ยนแปลงได้ วันจันทร์เล็กน้อย Lundi de Pentecôte วันจันทร์ หลังMonday afterเทศกาลเฉลิมฉลองของศาสนาคริสต์ตรงกับวันอาทิตย์ที่7หลังวันอีสเตอร์ (50 วัน)
14 กรกฎาคม วันบัสตีย์ Fête nationale เป็นวันชาติของประเทศฝรั่งเศส
15 สิงหาคม วันแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ L'Assomption de Marie
1 พฤศจิกายน วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย La Toussaint
11 พฤศจิกายน วันสงบศึก Armistice de 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
25 ธันวาคม วันคริสต์มาส Noël
26 ธันวาคม วันนักบุญสเทเฟน Saint-Étienne

ดูเพิ่ม

แก้


หมายเหตุ

แก้
  1. สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับภาษาในภูมิภาค ดูภาษาในประเทศฝรั่งเศส
  2. ก่อตั้งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (ราชอาณาจักรฝรั่งเศส) จากจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของฟรังเกีย
  3. สหภาพยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 1993
  4. ก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 5
  5. ข้อมูลNational Geographic Instituteของฝรั่งเศส ซึ่งรวมพื้นที่น้ำ
  6. ข้อมูลการจดทะเบียนที่ดินฝรั่งเศส ซึ่งไม่รวมทะเลสาบ บ่อ และธารน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตร เช่นเดียวกันกับชะวากทะเลของแม่น้ำ
  7. สาธารณรัฐฝรั่งเศสทั้งหมด ยกเว้นดินแดนโพ้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก
  8. เฉพาะดินแดนโพ้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก
  9. เส้นเวลาทั่วสาธารณรัฐฝรั่งเศสยาวตั้งแต่ UTC-10 (เฟรนช์พอลินีเชีย) ถึง UTC+12 (วอลิสและฟูตูนา)
  10. เวลาออมแสงใช้เฉพาะประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่และแซงปีแยร์และมีเกอลง
  11. ดินแดนโพ้นทะเลและบางส่วนตามแผนรหัสโทรศัพท์ฝรั่งเศสมีรหัสโทรศัพท์เป็นของตนเอง: กัวเดอลุป +590; มาร์ตีนิก +596; เฟรนช์เกียนา +594, เรอูว์นียงกับมายอต +262; แซงปีแยร์และมีเกอลง +508 ดินแดนโพ้นทะเลที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนรหัสโทรศัพท์ฝรั่งเศส ได้แก่: นิวแคลิโดเนีย +687, เฟรนช์พอลินีเชีย +689; วอลิสและฟูตูนา +681
  12. นอกจาก .fr แล้ว ยังมีโดเมนระดับบนสุดในจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส: .re, .mq, .gp, .tf, .nc, .pf, .wf, .pm, .gf และ .yt ฝรั่งเศสยังใช้ .eu ซึ่งเป็นโดเมนที่ใช้โดยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป โดเมน .cat ถูกใช้ในดินแดนที่พูดภาษากาตาลัน

อ้างอิง

แก้
  1. "France". UNGEGN World Geographical Names. New York, NY: United Nations Group of Experts on Geographical Names. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
  2. [1]
  3. "Religions in France | French Religion Data | GRF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  4. "Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density" (PDF). Demographic Yearbook. United Nations Statistics Division. 2012. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  6. "France Métropolitaine". INSEE. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2015. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "Demography – Population at the beginning of the month – France". Insee. 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  8. "Demography – Population at the beginning of the month – Metropolitan France". insee.fr. 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". imf.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 6 April 2021.
  10. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  11. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  12. Team, Forvo. "la France pronunciation: How to pronounce la France in French". Forvo.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Map of France regions - France map with regions". www.map-france.com.
  14. "ข้อมูลทั่วไป". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส.
  15. "Time Zones in France". www.timeanddate.com (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Paris | Definition, Map, Population, Facts, & History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  17. "The best cities to visit in France". About-France.com (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Kingdom of West Francia". World History Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ).
  19. "Philip II | king of France". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  20. Hargreaves, Alec G. (2005). Memory, Empire, and Postcolonialism: Legacies of French Colonialism (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. ISBN 978-0-7391-0821-5.
  21. https://www.history.com/topics/reformation/thirty-years-war
  22. Viet, Nadja (2018-06-21). "Vous avez dit : « Belle époque » ?". www.franceinter.fr (ภาษาฝรั่งเศส).
  23. "Paris is liberated after four years of Nazi occupation". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  24. Smith, Mischa. "How France Became the Fashion Capital of the World: a Brief History". Culture Trip.
  25. About-France.com. "A short history of art in France". about-france.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  26. Centre, UNESCO World Heritage. "France". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ).
  27. "Education in France". WENR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-09-08.
  28. "Nuclear Power in France | French Nuclear Energy - World Nuclear Association". world-nuclear.org.
  29. Campbell, Mike. "Meaning, origin and history of the place name Frankreich". Behind the Name.
  30. M. A., Geography; B. A., English and Geography. "Geography and Information About France". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ).
  31. "France". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  32. M. A., Medieval Studies; B. A., Medieval Studies. "A Quick-Read Historical Profile of France". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ).
  33. "Membership of the Security Council". web.archive.org. 2010-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. "WTO Members and Observers". www.wto.org (ภาษาอังกฤษ).
  35. "Vue d'ensemble - Commission de l'Ocean Indien". web.archive.org. 2012-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  36. "About the ACS | ACS-AEC". www.acs-aec.org.
  37. "สำเนาที่เก็บถาวร". www.webcitation.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  38. "CNN - Fifth French nuclear test sparks international outrage - Dec. 28, 1995". edition.cnn.com.
  39. "Implications of the Iraq War on US Foreign Policy - US Foreign Policy and the Iraq War". web.archive.org. 2010-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. "EU allies unite against Iraq war" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2003-01-22. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  41. "MEMO - Le site de l'Histoire". web.archive.org. 2011-04-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  42. "Official development assistance (ODA) - Net ODA - OECD Data". theOECD (ภาษาอังกฤษ).
  43. ป้อมเพชร, ดร วิชิตวงศ์ ณ (2021-01-29). "ความสัมพันธ์ ฝรั่งเศส-อยุธยา สู่บันทึกต่างชาติสะท้อนการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม". ศิลปวัฒนธรรม.
  44. "ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส.
  45. "ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ-สำนักข่าวกรองแห่งชาติ". almanac.nia.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  46. "ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานไทย". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส.
  47. "สถานกงสุลกิตติมศักดิ์". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส.
  48. RGB7. "สถานกงสุล > สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส - CMHY.city". www.cmhy.city (ภาษาอังกฤษ).
  49. "French Armed Forces - French Army - French Navy - French Air Force - European Defence Information". www.armedforces.co.uk.
  50. "France | OSCE POLIS". polis.osce.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  51. "All news about French army". euronews (ภาษาอังกฤษ).
  52. "Joining | French Foreign Legion Information" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  53. "French Foreign Legion | History & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  54. "ข้อมูลประเทศฝรั่งเศส - เดอะเบสท์ แนะแนวเรียนต่อประเทศฝรั่งเศส". เดอะเบสท์ ศูนย์ภาษาและแนะแนวเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร.
  55. "GDP, PPP (current international $)". The World Bank Group. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  56. "History of the Euro". BBC News. สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.
  57. "France Economy: Facts, Population, GDP, Unemployment, Business, Trade". www.heritage.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  58. "Europe :: France". The World Factbook. CIA. 3 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2010.♦ 15 January 2010
  59. "International Trade Statistics 2008" (PDF). WTO. 2009. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 July 2011.
  60. "France (FRA) Exports, Imports, and Trade Partners". oec.world (ภาษาอังกฤษ).
  61. "The 10 Largest Banks in the World". Doughroller.net. 15 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
  62. "International Trade Statistics 2008" (PDF). WTO. 2009. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 July 2011.
  63. "Country fact sheet: France" (PDF). World Investment Report 2009. UNCTAD. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2010. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  64. 64.0 64.1 64.2 "World Economic Outlook Database, April 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  65. โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส หนังสือพิมพ์มติชน
  66. "France – Agriculture". Nations Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2011.
  67. "Key figures of the French economy". France Diplomatie. French Ministry of Foreign and European Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2010. France is the world's fifth largest exporter of goods (mainly durables). The country ranks fourth in services and third in agriculture (especially in cereals and the agri-food sector). It is the leading producer and exporter of farm products in Europe.
  68. "A Panorama of the agriculture and agri-food industries" (PDF). Ministère de l'Alimentation, de l'Agriculture et de la Pêche. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2010.
  69. "Un ministère au service de votre alimentation" [A ministry serving your food] (ภาษาฝรั่งเศส). Ministère de l'Alimentation, de l'Agriculture et de la Pêche. 29 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2010.
  70. "Electricity production, consumption and market overview". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ).
  71. ประเทศฝรั่งเศส เก็บถาวร 2006-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงการต่างประเทศ
  72. พิพิธภัณฑ์และอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์
  73. "Chiffres clés du transport Édition 2010" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Ministère de l'Écologie, de l'Énergie, du Développement Durable et de la Mer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 June 2010. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  74. "Country comparison :: railways". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
  75. "Country comparison :: roadways". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
  76. (ในภาษาฝรั่งเศส) L'automobile magazine, hors-série 2003/2004 page 294
  77. "Strikes block French ports". The Journal of Commerce Online. 23 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2008 – โดยทาง BDP International.
  78. William Godwin (1876). "Lives of the Necromancers". p. 232.
  79. André Thuilier, Histoire de l'université de Paris et de la Sorbonne, Paris, Nouvelle librairie de France, 1994
  80. Burke, Peter, A social history of knowledge: from Gutenberg to Diderot, Malden: Blackwell Publishers Inc., 2000, p. 17
  81. Pascal Boniface; Barthélémy Courmont (22 November 2006). Le monde nucléaire: Arme nucléaire et relations internationales depuis 1945. Armand Colin. pp. 120–. ISBN 978-2-200-35687-3.
  82. "Status of World Nuclear Forces". Federation Of American Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2015.
  83. "Study France's Nuclear-Power Success". TheLedger.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015.
  84. "Stanford Journal of International Relations, "The French Connection: Comparing French and American Civilian Nuclear Energy Programs"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2015.
  85. "Countries Generating The Most Nuclear Energy – Business Insider". Business Insider. 6 March 2014.
  86. Muriel Gargaud; Ricardo Amils; Henderson James Cleaves (2011). Encyclopedia of Astrobiology. Springer Science & Business Media. pp. 322–. ISBN 978-3-642-11271-3.
  87. "France". oecd-ilibrary.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2015.
  88. French Ministry of Foreign Affairs and International Development. "France at the heart of the Rosetta space mission: a unique technological challenge". France Diplomatie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015.
  89. "French Education System - ระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส". edufrance.bangkok.free.fr.
  90. How to conduct European clinical trials from the Paris Region ? Clinical Trials. Paris. February 2003
  91. "World Health Organization Assesses the World's Health Systems". Who.int. 8 December 2010. สืบค้นเมื่อ 6 January 2012.
  92. "WHO country facts: France". Who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  93. The World Health Report 2000: WHO
  94. "Espérance de vie, taux de mortalité et taux de mortalité infantile dans le monde" (ภาษาฝรั่งเศส). Insee.
  95. "Evolution de l'espérance de vie à divers âges" (ภาษาฝรั่งเศส). Insee.
  96. "Nombre de médecins pour 1000 habitants" (ภาษาฝรั่งเศส). Statistiques mondiales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2010.
  97. Mimi Spencer (7 November 2004). "Let them eat cake". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  98. "New French food guidelines aimed at tackling obesity". Nutraingredients.com. 14 September 2006. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  99. "Démographie – Population au début du mois – France (inclus Mayotte à partir de 2014)" [Demography – Population at the beginning of the month – France (including Mayotte since 2014)] (ภาษาฝรั่งเศส). Insee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
  100. Jean-Louis Brunaux (2008). Seuil (บ.ก.). Nos ancêtres les Gaulois [Our ancestors the Gauls]. p. 261.
  101. Yazid Sabeg; Laurence Méhaignerie (January 2004). Les oubliés de l'égalité des chances [The forgotten of equal opportunities] (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Institut Montaigne.
  102. "France's ethnic minorities: To count or not to count". The Economist. 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
  103. "Paris Riots in Perspective". New York: ABC News. 4 November 2005.
  104. James E. Hassell (1991). "III. French Government and the Refugees". Transactions of the American Philosophical Society. Vol. Volume 81, Part 7: Russian Refugees in France and the United States Between the World Wars. American Philosophical Society. p. 22. ISBN 978-0-87169-817-9. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  105. Markham, James M. (6 April 1988). "For Pieds-Noirs, the Anger Endures". The New York Times.
  106. Raimondo Cagiano De Azevedo, บ.ก. (1994). Migration and development co-operation. p. 25. ISBN 978-92-871-2611-5.
  107. "Flux d'immigration par continent d'origine" [Immigration flow by continent of origin]. Ined (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012.♦ 3 November 2010:
  108. "Western Europe" (PDF). UNHCR Global Report 2005. UNHCR. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 14 December 2006.
  109. Catherine Borrel; Bertrand Lhommeau (30 March 2010). "Être né en France d'un parent immigré" [To be born in France of an immigrant parent] (ภาษาฝรั่งเศส). Insee. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2012.
  110. "Répartition des immigrés par pays de naissance" [Distribution of immigrants by country of birth] (ภาษาฝรั่งเศส). Insee. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2011.
  111. Catherine Borrel (August 2006). "Enquêtes annuelles de recensement 2004 et 2005" [Annual census surveys 2004 and 2005] (ภาษาฝรั่งเศส). Insee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2006. สืบค้นเมื่อ 14 December 2006.
  112. (ในภาษาฝรั่งเศส) La Constitution- La Constitution du 4 Octobre 1958 – Légifrance.
  113. "Language and Diplomacy – Translation and Interpretation". Diplomacy.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 10 September 2010.
  114. "French: one of the world's main languages". About-france.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2016. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  115. (ในภาษาฝรั่งเศส) Qu'est-ce que la Francophonie ? เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Organisation internationale de la Francophonie
  116. 116.0 116.1 "A French Islam is possible" (PDF). Institut Montaigne. 2016. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 September 2017.
  117. "Observatoire du patrimoine religieux". 1 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2013. 94% des édifices sont catholiques (dont 50% églises paroissiales, 25% chapelles, 25% édifices appartenant au clergé régulier)
  118. "France". Berkley Center for Religion, Peace, and World Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2011. สืบค้นเมื่อ 14 December 2011.
  119. "Tour De France 2019: Everything you need to know". BBC. 6 July 2019. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  120. "History of the World Cup Final Draw" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  121. France wins right to host the 2007 rugby world cup. Associated Press. 11 April 2003
  122. (ในภาษาฝรั่งเศส) Les licences sportives en France – Insee
  123. "All you need to know about sport in France". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 11 February 2012.
  124. "Une course légendaire" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2013. – Site officiel du 24 heures du Mans
  125. "Licenses of the French Football Federation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2020-04-26.
  126. McNulty, Phil (15 July 2018). "World Cup 2018: France beat Croatia 4-2 in World Cup final". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
  127. "Thierry Henry calls end to France career". BBC Sport. Retrieved 29 October 2014.
  128. Ministère de la Culture et de la Communication, "Cultura statistics", Key figures
  129. Brodie, Allan M. (2003). "Opus francigenum". Oxford Art Online. Oxford Art Online. Oxford University Press. doi:10.1093/gao/9781884446054.article.t063666. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  130. "The Gothic Period". Justfrance.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  131. (ในภาษาฝรั่งเศส) Histoire et Architecture เก็บถาวร 2016-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Site officiel de la Cathedrale de Notre-Dame de Reims เก็บถาวร 2016-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  132. Loire, Mission Val de. "Charles VII et Louis XI -Know -Val de Loire patrimoine mondial". loirevalley-worldheritage.org. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.
  133. "Fortifications of Vauban". UNESCO. 8 July 2008. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  134. Henri SECKEL (8 July 2008). "Urbanisme : Des gratte-ciel à Paris : qu'en pensez-vous ?nbsp;– Posez vos questions". MYTF1News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2010.
  135. Rigby, Brian, บ.ก. (1993). French Literature, Thought and Culture in the Nineteenth Century: A Material World. Warwick Studies in the European Humanities (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan UK. ISBN 978-0-333-53266-9.
  136. webmaster.rmc (2015-03-23). "French, Literature, and Culture Undergraduate Programme". www.rmc-cmr.ca (ภาษาอังกฤษ).
  137. "French Literature: A Cultural History | Wiley". Wiley.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  138. "ประเทศฝรั่งเศส". Western Art. 2013-09-16.
  139. sytboka (2018-11-29). "10 สุดยอดศิลปินเอก/จิตรกรเอกชาวฝรั่งเศสกับ 10 ผลงานชิ้นเอก". ตะเกียงดอตคอม (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  140. "Paris: Capital of Arts, 1900–1968". The Guggenheim Museums and Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  141. "The Beginning of Modern Sciences". Friesian.com. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
  142. "ศิลปะการใช้ชีวิตแบบฝรั่งเศส". Campus France Thailand.
  143. https://www.erudit.org/fr/revues/hphi/2005-v15-n2-hphi3200/801295ar.pdf
  144. "Enquête sur l'image du cinéma français dans le monde - uniFrance Films". web.archive.org. 2014-12-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  145. Kelly, 181. DeJean, chapters 2–4.
  146. "French perfume". About-France.com.
  147. Amy B. Trubek (2000). Haute Cuisine: How the French Invented the Culinary Profession. University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-1776-6.
  148. Priscilla Parkhurst Ferguson (2006). Accounting for Taste: The Triumph of French Cuisine. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-24327-6.
  149. Véronique MARTINACHE (30 November 2009). "La France du beurre et celle de l'huile d'olive maintiennent leurs positions" [France butter and olive oil maintain their positions]. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2011.
  150. "Wines of France". Walter's Web. 17 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 9 August 2010.
  151. "French Cheese". Goodcooking. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  152. "French Cheese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2010.
  153. Daniela Deane (11 February 2010). "Why France is best place to live in world". CNN. สืบค้นเมื่อ 1 October 2013.
  154. "Michelin 3 Star Restaurants around the world". Andy Hayler's 3 Star Restaurant Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2010. สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.
  155. Gilles Campion (25 November 2010). "Japan overtakes France with more Michelin-starred restaurants". Agence France-Presse.
  156. (ในภาษาฝรั่งเศส) OJD, "Observatoire de la Presse", Presse Quotidienne Nationale เก็บถาวร 7 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  157. (ในภาษาฝรั่งเศส) Observatoire de la Presse, Presse Quotidienne Régionale et Départementale เก็บถาวร 7 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  158. (ในภาษาฝรั่งเศส) OJD, "Bureau Presse Payante Grand Public", Presse Quotidienne Régionale et Départementale เก็บถาวร 25 เมษายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  159. "Le Figaro". Encyclopædia Britannica. 5 October 2023.
  160. (ในภาษาฝรั่งเศส) Observatoire de la Presse, Presse News เก็บถาวร 29 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  161. Angelique Chrisafis in Paris (23 January 2009). "Sarkozy pledges €600m to newspapers". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  162. Radio France, "L'entreprise", Repères. Landmarks of Radio France company
  163. (ในภาษาฝรั่งเศส) Vie Publique, Chronologie de la politique de l'audiovisuel เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20 August 2004 [Chronology of policy for audiovisual]
  164. (ในภาษาฝรั่งเศส) Vie Publique, Chronologie de la politique de l'audiovisuel เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20 August 2004 [Chronology of policy for audiovisual]
  165. "World warming to US under Obama, BBC poll suggests". BBC News. 19 April 2010. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  166. "Global Views of United States Improve While Other Countries Decline" (PDF). BBC News. 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  167. "Muslim-Western Tensions Persist" (PDF). Pew Research Center. 21 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-03. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  168. "France". Flags of the World. 12 December 2013. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018.
  169. "Le coq" [The rooster]. Élysée – Présidence de la République (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2010.
  170. Women Leaders Index Gender Equality Case Study: France, Global Government Forum, 05 Septembre 2017
  171. The Global Divide on Homosexuality- Greater Acceptance in More Secular and Affluent Countries, Pew Research Center, 4 June 2019
  172. France marks five-year anniversary of same-sex marriage, France 24, 23 April 2018
  173. Paris climate change agreement: the world's greatest diplomatic success, The Guardian, 14 December 2019

อ่านเพิ่ม

แก้
  • "France." in Europe, edited by Ferdie McDonald and Claire Marsden, Dorling Kindersley, (Gale, 2010), pp. 144–217. online

หัวข้อ

แก้
  • Carls, Alice-Catherine. "France." in World Press Encyclopedia, edited by Amanda C. Quick, (2nd ed., vol. 1, Gale, 2003), pp. 314–337. online coverage of press and media
  • Chabal, Emile, ed. France since the 1970s: History, Politics and Memory in an Age of Uncertainty (2015) Excerpt
  • Gildea, Robert. France Since 1945 (2nd ed. Oxford University Press, 2002).
  • Goodliffe, Gabriel, and Riccardo Brizzi, eds. France After 2012 (Bergham, 2015)
  • Haine, W. S. Culture and Customs of France (Greenwood Press, 2006).
  • Kelly, Michael, ed. French Culture and Society: The Essentials (Oxford University Press, 2001).
  • Raymond, Gino. Historical Dictionary of France (2nd ed. Scarecrow, 2008).
  • Jones, Colin. Cambridge Illustrated History of France (Cambridge University Press,1999)
  • Ancient maps of France from the Eran Laor Cartographic Collection, The National Library of Israel

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

เศรษฐกิจ

แก้

รัฐบาล

แก้

วัฒนธรรม

แก้