อัตถิภาวนิยม
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อัตถิภาวนิยม (อังกฤษ: existentialism, /ˌɛɡzɪˈstɛnʃəlɪzəm/[1] หรือ /ˌɛksəˈstɛntʃəˌlɪzəm/[2]) คือ แนวคิดทางปรัชญาที่พิจารณาว่าปัจเจก ตัวตน ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน[3][4] ในมุมมองของนักอัตถิภาวนิยม จุดเริ่มต้นของบุคคลหนึ่งคือ "ความทุกข์ที่มีอยู่" หรือความรู้สึกสับสน, มึนงง หรือความวิตกกังวลในการเผชิญหน้ากับโลกที่ไร้ความหมาย หรือแอบเซอร์ดิสม์ (Absurdism)[5]
แนวคิดหลักของอัตถิภาวนิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถูกพัฒนาโดยฌ็อง-ปอล ซาทร์ซึ่งได้อิทธิพลมาจากฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีกับมาร์ทีน ไฮเด็กเกอร์[6]
ปรัชญาแนวนี้โดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึงความคิดในอิสรภาพ และยอมรับในผลสืบเนื่องจากการกระทำของปัจเจก และยังคิดว่าปัจเจกจะต้องรับผิดชอบกับทางเลือกที่ได้เลือกไว้ด้วย นักคิดแนวอัตถิภาวนิยมนั้นให้ความสำคัญกับอัตวิสัย (subjectivity) และมองว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษ และมักเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน
รากศัพท์
แก้คำว่า “อัตถิภาวะ” สารานุกรมปรัชญา กล่าวไว้ว่า มาจากศัพท์มคธ อัตถิ = เป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษ existence ซึ่งแปรรูปมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า existential (ex = จาก + stare = ยืน ) แปลว่า ความมีอยู่
คำอธิบาย
แก้สารนุกรมปรัชญาให้คำอธิบายถึงแนวคิดนี้ว่า "เป็นลัทธิที่ถือว่าการค้นคว้าหาสารัตถะ ทำให้ผู้คิด ออกจากความเป็นจริง ความเป็นจริงที่แท้ก็คือ 'อัตถิภาวะ' ของแต่ละบุคคลซึ่งมีสิ่งแวดล้อมและสภาพซึ่งตนเองได้สะสมไว้โดยการตัดสินใจเลือก" นักปรัชญาที่สำคัญของลัทธินี้เช่น เซอเรน เคียร์เคอกอร์ (Søren Kierkegaard), คาร์ล แจสเปอร์ส (Karl Jaspers), มาร์ทีน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger), ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre) และ เกเบรียล มาร์เซล (Gabriel Marcel) นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมไม่ตั้งใจเสนอคำสอนให้ใครยอมรับเป็นสัจธรรม แต่เสนอเพื่อปลุกใจและกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดสร้างปรัชญาของตนขึ้นมาเอง มีวิธีการมองเห็นปัญหาของตนเอง และมีวิธีการหาคำตอบให้แก่ตนเอง รวมความว่าผู้เขียนปรัชญาอัตถิภาวนิยมเขียนอย่างเป็นตัวของตัวเอง เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักเป็นตัวของตัวเองด้วย
อ้างอิง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "existentialism" เก็บถาวร 2016-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lexico. Oxford Dictionaries. Retrieved 2 March 2020.
- ↑ "existentialism". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
- ↑ Lavrin, Janko (1971). Nietzsche: A Biographical Introduction. Charles Scribner's Sons. p. 43.
- ↑ Macquarrie, John (1972). Existentialism. New York: Penguin. pp. 14–15.
- ↑ Solomon, Robert C. (1974). Existentialism. McGraw-Hill. pp. 1–2.
- ↑ Guignon, Charles B.; Pereboom, Derk (2001). Existentialism: basic writings. Hackett Publishing. p. xiii. ISBN 9780872205956.
บรรณานุกรม
แก้- Albert Camus: Lyrical and Critical Essays. Edited by Philip Thody (interviev with Jeanie Delpech, in Les Nouvelles littéraires, November 15, 1945). p. 345.
อ่านเพิ่ม
แก้- Appignanesi, Richard; Oscar Zarate (2001). Introducing Existentialism. Cambridge, UK: Icon. ISBN 1-84046-266-3.
- Appignanesi, Richard (2006). Introducing Existentialism (3rd ed.). Thriplow, Cambridge: Icon Books (UK), Totem Books (USA). ISBN 1-84046-717-7.
- Barrett, William (1958). Irrational Man: A Study in Existential Philosophy (1st ed.). Doubleday.
- Cattarini, L.S. (2018) Beyond Sartre and Sterility: Surviving Existentialism (Montreal: contact argobookshop.ca) ISBN 978-0-9739986-1-0
- Cooper, David E. (1999). Existentialism: A Reconstruction (2nd ed.). Oxford, UK: Blackwell. ISBN 0-631-21322-8.
- Deurzen, Emmy van (2010). Everyday Mysteries: a Handbook of Existential Psychotherapy (2nd ed.). London: Routledge. ISBN 978-0-415-37643-3.
- Fallico, Arthuro B. (1962). Art & Existentialism. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
- Kierkegaard, Søren (1855). Attack Upon Christendom.
- Kierkegaard, Søren (1843). The Concept of Anxiety.
- Kierkegaard, Søren (1846). Concluding Unscientific Postscript.
- Kierkegaard, Søren (1843). Either/Or.
- Kierkegaard, Søren (1843). Fear and Trembling.
- Kierkegaard, Søren (1849). The Sickness Unto Death.
- Kierkegaard, Søren (1847). Works of Love.
- Luper, Steven (ed.) (2000). Existing: An Introduction to Existential Thought. Mountain View, California: Mayfield. ISBN 0-7674-0587-0.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Marino, Gordon (ed.) (2004). Basic Writings of Existentialism. New York: Modern Library. ISBN 0-375-75989-1.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Merleau-Ponty, M. (1962). Phenomenology of Perception [Colin Smith]. New York: Routledge and Kegan Paul.
- Rose, Eugene (Fr. Seraphim) (1994). Nihilism: The Root of the Revolution of the Modern Age. Saint Herman Press (1 September 1994). ISBN 0-938635-15-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2013.
- Sartre, Jean-Paul (1943). Being and Nothingness.
- Sartre, Jean-Paul (1945). Existentialism and Humanism.
- Stewart, Jon (ed.) (2011). Kierkegaard and Existentialism. Farnham, England: Ashgate. ISBN 978-1-4094-2641-7.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Solomon, Robert C. (ed.) (2005). Existentialism (2nd ed.). New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-517463-1.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Wartenberg, Thomas E. Existentialism: A Beginner's Guide.