มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร (27,240,000 ตารางไมล์) หรือประมาณ 19.8% ของพื้นน้ำบนโลก[5] ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก
มหาสมุทรอินเดีย | |
---|---|
ขอบเขตมหาสมุทรอินเดียตามรายงานจากองค์การอุทกศาสตร์ระหว่างประเทศ | |
ที่ตั้ง | เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันตก, แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย |
พิกัด | 20°S 80°E / 20°S 80°E |
ชนิด | มหาสมุทร |
ช่วงยาวที่สุด | 9,600 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) (แอนตาร์กติกาถึงอ่าวเบงกอล)[1] |
ช่วงกว้างที่สุด | 7,600 กิโลเมตร (4,700 ไมล์) (แอฟริกาถึงออสเตรเลีย)[1] |
พื้นที่พื้นน้ำ | 70,560,000 ตารางกิโลเมตร (27,240,000 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 3,741 เมตร (12,274 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 7,258 เมตร (23,812 ฟุต) (ร่องลึกชวา) |
ความยาวชายฝั่ง1 | 66,526 กิโลเมตร (41,337 ไมล์)[2] |
อ้างอิง | [3] |
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด |
ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร[6]
ประเทศและดินแดน
แก้ริมขอบของมหาสมุทรมีเกาะเล็กๆจำนวนมาก ประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มาดากัสการ์ (เดิมเป็นสาธารณรัฐมาลากาซี) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รวมทั้งคอโมโรส, เซเชลส์, มัลดีฟส์, มอริเชียส และศรีลังกา รวมทั้งหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์-เลสเตทางฝั่งตะวันออกของเกาะติมอร์ มหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญในฐานะเส้นทางผ่านระหว่างเอเชียและแอฟริกา ในอดีตจึงมีข้อพิพาทบ่อยครั้ง แต่เนื่องจากมหาสมุทรมีขนาดใหญ่ ไม่มีประเทศใดที่สามารถครอบครองได้จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1800 เมื่อสหราชอาณาจักรเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่รอบ ๆ
รายชื่อประเทศและดินแดน (ตัวเอียง) กับแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (รวมทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย) วนตามเข็มนาฬิกา ได้แก่
แอฟริกา
เอเชีย
- อิสราเอล
- จอร์แดน
- ซาอุดีอาระเบีย
- เยเมน
- โอมาน
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- กาตาร์
- บาห์เรน
- คูเวต
- อิรัก
- อิหร่าน
- ปากีสถาน
- อินเดีย
- มัลดีฟส์
- บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (สหราชอาณาจักร)
- ศรีลังกา
- บังกลาเทศ
- พม่า
- ไทย
- มาเลเซีย
- สิงคโปร์
- อินโดนีเซีย
- หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย)
- เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย)
- ติมอร์-เลสเต
ออสตราเลเซีย
- หมู่เกาะแอชมอร์และคาร์เทียร์ (ออสเตรเลีย)
- อินโดนีเซีย
- ออสเตรเลีย
มหาสมุทรอินเดียตอนใต้
- เกาะเฮิร์ดและหมู่เกาะแมกดอนัลด์ (ออสเตรเลีย)
- เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์ (ฝรั่งเศส)
- ปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ (แอฟริกาใต้)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Demopoulos, Smith & Tyler 2003, Introduction, p. 219
- ↑ Keesing & Irvine 2005, Introduction, p. 11–12; Table 1, p.12
- ↑ CIA World Fact Book 2018
- ↑ "Indian Ocean". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 27 November 2010.
- ↑ Eakins & Sharman 2010
- ↑ Eakins & Sharman 2010
ข้อมูล
แก้- "Oceans: Indian Ocean". CIA – The World Factbook. 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
- Eakins, B.W.; Sharman, G.F. (2010). "Volumes of the World's Oceans from ETOPO1". Boulder, CO: NOAA National Geophysical Data Center. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "The Indian Ocean in World History" (Flash). Sultan Qaboos Cultural Center. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
- "The Indian Ocean Trade: A Classroom Simulation" (PDF). African Studies Center, Boston University. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). 1911.