เรอูว์นียง
เรอูว์นียง[3][4] หรือ เรอูนียง[5] (ฝรั่งเศส: Réunion) เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ และห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 200 กิโลเมตร (130 ไมล์)
เรอูว์นียง La Réunion | |
---|---|
คำขวัญ: | |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
เมืองหลัก | แซ็ง-เดอนี |
จังหวัด | 1 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2,511 ตร.กม. (970 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มกราคม 2556)[1] | |
• ทั้งหมด | 844,994 คน |
• ความหนาแน่น | 340 คน/ตร.กม. (870 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+04 (เวลาเรอูว์นียง) |
รหัส ISO 3166 | RE |
จีดีพี (2556)[2] | อันดับที่ |
รวม | 16.7 พันล้านยูโร (22.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
ต่อหัว | 19,854 ยูโร (26,369 ดอลลาร์สหรัฐ) |
ชื่อที่ใช้ในการสถิติ | FRA |
เว็บไซต์ | ศาลากลางแคว้น สภาแคว้น สภาจังหวัด |
ในระบบบริหาร เรอูว์นียงเป็นหนึ่งในจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส เหมือนกับจังหวัดโพ้นทะเลอื่น ๆ เรอูว์นียงก็เป็นหนึ่งใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะแคว้นโพ้นทะเล) และเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโดยมีสถานะเท่ากับแคว้นอื่น ๆ ในภาคพื้นทวีปยุโรป
เรอูว์นียงเป็นแคว้นที่อยู่ห่างไกลที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปและใช้สกุลเงินยูโร ตามความจริง ตำแหน่งที่ตั้งของเรอูว์นียงในเขตเวลาทางด้านตะวันออกของทวีปยุโรป ทำให้เรอูว์นียงเป็นแคว้นแรกในโลกที่ใช้สกุลเงินยูโร และการใช้สกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 00.01 นาฬิกา เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองแซง-เดอนี เรอเน-ปอล วิกโตเรีย ซื้อลิ้นจี่ถุงหนึ่งในตลาด
ประวัติศาสตร์
แก้กะลาสีเรือชาวอาหรับเคยเรียกเกาะนี้ว่า "Adna Al Maghribain" (เกาะตะวันตก) ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เจอเกาะแห่งนี้ โดยไม่มีผู้อาศัยอยู่ในปี พ.ศ. 2056 และตั้งชื่อว่า "Santa Apollonia" ตามชื่อนักบุญอะพอลโลเนีย
เมื่อเกาะแห่งนี้ได้ถูกฝรั่งเศสยึดครอง ได้ควบคุมและบริหารจากพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส แม้ว่าธงชาติฝรั่งเศสได้ถูกชักขึ้นโดยฟรองซัวส์ โกชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2181 แล้ว แต่ซานตาอาปอลโลเนียได้ถูกอ้างสิทธิ์เป็นของประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการก็เมื่อปี พ.ศ. 2185 ตอนที่เขาเนรเทศนักโทษฝรั่งเศส 12 คนที่เกาะแห่งนี้จากประเทศมาดากัสการ์ ผู้ต้องหาที่ต้องโทษได้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศสหลายปีถัดมา และในปี พ.ศ. 2192 เกาะแห่งนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า "เกาะบูร์บง" (Île Bourbon) ตามชื่อราชวงศ์บูร์บงที่ปกครองประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น
"เรอูว์นียง" กลายเป็นชื่อของเกาะในปี พ.ศ. 2336 โดยคำพิพากษาของสมัชชาแห่งชาติเมื่อราชวงศ์บูร์บงล่มสลายลง และการตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสหภาพแห่งการปฏิวัติจากมาร์เซย์และผู้พิทักษ์แห่งชาติในกรุงปารีส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2335 ต่อมาในปี พ.ศ. 2344 เกาะแห่งนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เกาะโบนาปาร์ต" (Île Bonaparte) ตามชื่อนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2353 เกาะแห่งนี้ก็ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพเรืออังกฤษ นำโดยพลเรือเอกโจเซียส โรว์ลีย์ และใช้ชื่อเกาะบูร์บงตามเดิม ต่อมาเมื่อกลับมาเป็นของประเทศฝรั่งเศส หลังจากการประชุมที่เวียนนาในปี พ.ศ. 2358 ถึงกระนั้นเกาะแห่งนี้ก็ยังคงใช้ชื่อเกาะบูร์บงต่อมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2391 เมื่อราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟูล่มสลายลงในระหว่างการปฏิวัติ ซึ่งชื่อของเกาะก็ได้กลับมาเป็นเรอูว์นียงเหมือนเดิม
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 การอพยพของชาวฝรั่งเศสนั้น ประกอบไปด้วยพวกแอฟริกา จีน มลายู และอินเดีย ซึ่งทำให้เกาะนี้รวมด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ มากมาย และจาการเปิดคลองสุเอซในปี พ.ศ. 2412 เกาะนี้ก็ได้เป็นสถานที่หยุดพักของเรือต่าง ๆ ตามทางค้าขายบริษัทอินเดียตะวันออกที่สำคัญแห่งหนึ่ง
เรอูว์นียงกลายเป็นเขตการปกครองโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489
ระหว่างวันที่ 15 และ 16 มีนาคม พ.ศ. 2495 เมืองซีโล กลางเรอูว์นียงมีระดับน้ำฝนสูง 1,869.9 ม.ม. (73.6 นิ้ว) ซึ่งเป็นสถิติ (ภายใน 24 ช.ม.) ที่เคยบันทึกไว้บนโลกนี้ เกาะนี้ก็ได้ถูกบันทึกไว้ว่ามีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 72 ชั่วโมง โดยมีระดับน้ำ 3,929 ม.ม. (154.7 นิ้ว) ณ หลุมอุกกาบาตคอมเมอร์สัน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2549 เรอูว์นียงได้เกิดการระบาดอย่างหนักจากโรคไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา (Chikungunya) ซึ่งแพร่ระบาดจากยุง จากข่าวบีบีซี มีประชาชนประมาณ 255,000 คนบนเกาะเรอูว์นียงติดเชื้อนี้ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2549 โรคดังกล่าวยังแพร่ระบาดไปยังมาดากัสการ์และประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปทางเครื่องบินอีกด้วย โรคระบาดนี้ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 200 คนบนเกาะเรอูว์นียง รัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสภายใต้นายกรัฐมนตรีดอมีนิก เดอ วีลแป็ง ส่งความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเป็นมูลค่า 36 ล้านยูโร (42.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และส่งทหารประมาณ 500 นาย โดยมีภารกิจกำจัดยุงออกจากเกาะ คำว่า "ชิคุนกุนยา" (Chikungunya) แปลว่า "ที่ที่โค้งงอ" ในภาษามาคอนเด บริเวณแถบชายแดนประเทศแทนซาเนียและโมซัมบิก โรคไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา (Chikungunya) สามารถทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในร่างกาย เจ็บปวด และไข้ขึ้นสูง ในบางกรณีอาจถึงตายได้ และโรคนี้ยังไม่มียารักษาเลย
การเมือง
แก้เรอูว์นียงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คนเป็นตัวแทนในสภาแห่งชาติฝรั่งเศสและสมาชิกวุฒิสภาอีก 3 คนในวุฒิสภาฝรั่งเศส
หน่วยการบริหาร
แก้ในทางบริหาร เรอูว์นียงแบ่งออกเป็น 4 เขต 24 เทศบาล 47 อำเภอ เรอูว์นียงมีสถานะเป็นทั้งจังหวัดโพ้นทะเลและแคว้นโพ้นทะเล อย่างไรก็ตามเรอูว์นียงมีจำนวนเทศบาลน้อยกว่าเขตการปกครองอื่น ๆ ที่มีพื้นที่เท่ากันในประเทศฝรั่งเศสและยังมีประชากรที่มีลักษณะพิเศษอีกด้วย เทศบาลในเรอูว์นียงส่วนมากจะล้อมรอบถิ่นที่อยู่ และบางครั้งแยกออกจากกันเนื่องจากระยะทาง เรอูว์นียงยังเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการมหาสมุทรอินเดียอีกด้วย
ชุมชนที่สำคัญ
แก้- เลอปอร์ (Le Port)
- เลอต็องปง (Le Tampon)
- แซ็ง-อ็องเดร (Saint-André)
- แซ็ง-เดอนี (Saint-Denis)
- แซ็ง-ลูย (Saint-Louis)
- แซ็ง-ปอล (Saint-Paul)
- แซ็ง-ปีแยร์ (Saint-Pierre)
ภูมิประเทศ
แก้เกาะเรอูว์นียงมีความยาว 63 กิโลเมตร (39 ไมล์) กว้าง 45 กิโลเมตร (28 ไมล์) มีเนื้อที่ 2,512 ตารางกิโลเมตร (970 ตารางไมล์) เรอูว์นียงมีความเหมือนกับเกาะฮาวายเพราะทั้งสองตั้งอยู่บนจุดร้อนบนเปลือกโลก
ปีตงเดอลาฟูร์แนซ (Piton de la Fournaise) ภูเขาไฟรูปโล่ตั้งอยู่บนปลายเกาะเรอูว์นียงทางตะวันออก มีความสูง 2,631 เมตร (8,632 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ซึ่งบางครั้งเรียกว่าเป็นพี่น้องกับภูเขาไฟเกาะฮาวาย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภูมิอากาศและธรรมชาติ มีการระเบิดขึ้นกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2183 เป็นต้นมาและยังเป็นที่จับตามองมาถึงปัจจุบัน การระเบิดครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2550 ลาวาที่ไหลออกมามีประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์หลา) ต่อหนึ่งวัน ปีตงเดอลาฟูร์แนซเกิดขึ้นบนจุดร้อนในภูเขาไฟ ซึ่งก็เหมือนกับปีตงเดแนฌ (Piton des Neiges) เกาะมาดากัสการ์และเกาะรอดรีก
ภูเขาไฟปีตงเดแนฌ เป็นจุดที่สูงที่สุดในเกาะ มีความสูง 3,070 เมตร (10,069 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปีตงเดอลาฟูร์แนซ เนื่องจากการถล่มตรงแอ่งยอดภูเขาไฟและหุบเขาทำให้ปีตงเดแนฌมีความเหมือนกับโคฮาลาบนเกาะฮาวาย เพราะภูเขาไฟทั้งสองได้มอดลงแล้ว และด้วยชื่อของภูเขาไฟ หิมะ (ฝรั่งเศส: neige) ไม่เคยตกลงมาบนยอดสักครั้งเดียว
บริเวณที่ลาดของภูเขาไฟทั้งสองเป็นป่า ส่วนดินแดนที่มีการเพราะปลูกและพัฒนาหรือเมืองอย่างเช่น เมืองหลวงแซ็ง-เดอนี อยู่บนพื้นที่ราบใกล้ชายฝั่งทะเล
เรอูว์นียงยังมีแอ่งยอดภูเขาไฟอีก 3 แห่งได้แก่ ซีร์กเดอซาลาซี, ซีร์กเดอซีโล และซีร์กเดอมาฟัต (ซึ่งสามารถเข้าไปได้โดยการเดินเท้าหรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น)
เศรษฐกิจ
แก้น้ำตาลเป็นสินค้าเกษตรกรรมและส่งออกที่สำคัญของเรอูว์นียง การท่องเที่ยวก็เป็นรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2548 ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประมาณ 6,200 ดอลลาร์ สถิติดังกล่าวสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาดากัสการ์และประเทศในทวีปแอฟริกา ถึงกระนั้นก็เป็นที่ยกเว้นเนื่องจากสถิติเป็นเพียงแค่ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ (29,600 ดอลลาร์) ซึ่งทำให้เกาะเรอูว์นียงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป
ประชากร
แก้เรอูว์นียงประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติเดียวกับกับมอริเชียส ซึ่งก็คือ อินเดีย (รวมด้วยทมิฬ), แอฟริกา, มาดากัสการ์, จีน และฝรั่งเศส (แต่ในอัตราส่วนที่ต่างกัน) ครีโอล (ชื่อที่ถูกตั้งให้แก่เด็กที่เกิดบนเกาะ) ซึ่งทำให้มีประชากรมีจำนวนมาก พวกผิวขาวมีประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด พวกอินเดียมี 21% ส่วนที่เหลือก็มักจะเป็นพวกที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเวียดนาม
ขณะที่พวกคุชราตและทมิฬรวมกันเป็นพวกอินโด-เรอูว์นียอแนซ ส่วนพวกฮินดู อูรดู โภชปุรี และเชื้อชาติน้อยต่าง ๆ เป็นส่วนที่เหลือ
เรอูว์นียงมีความเหมือนทางด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา และประเพณีกับมอริเชียสและเซเชลส์
สถิติประชากร
แก้พ.ศ. 2214 ประมาณ |
พ.ศ. 2239 ประมาณ |
พ.ศ. 2247 ประมาณ |
พ.ศ. 2256 ประมาณ |
พ.ศ. 2260 ประมาณ |
พ.ศ. 2267 ประมาณ |
พ.ศ. 2307 ประมาณ |
พ.ศ. 2320 ประมาณ |
พ.ศ. 2332 ประมาณ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
90 | 269 | 734 | 1,171 | 2,000 | 12,550 | 25,000 | 35,100 | 61,300 |
พ.ศ. 2369 ประมาณ |
พ.ศ. 2373 ประมาณ |
พ.ศ. 2391 ประมาณ |
พ.ศ. 2392 ประมาณ |
พ.ศ. 2403 ประมาณ |
พ.ศ. 2413 ประมาณ |
พ.ศ. 2430 สถิติ |
พ.ศ. 2440 สถิติ |
พ.ศ. 2469 สถิติ |
87,100 | 101,300 | 110,300 | 120,900 | 200,000 | 212,000 | 163,881 | 173,192 | 182,637 |
พ.ศ. 2489 สถิติ |
พ.ศ. 2497 สถิติ |
พ.ศ. 2504 สถิติ |
พ.ศ. 2510 สถิติ |
พ.ศ. 2517 สถิติ |
พ.ศ. 2525 สถิติ |
พ.ศ. 2533 สถิติ |
พ.ศ. 2542 สถิติ |
พ.ศ. 2549 ประมาณ |
241,708 | 274,370 | 349,282 | 416,525 | 476,675 | 515,814 | 597,823 | 706,300 | 784,000 |
ศาสนา
แก้ศาสนาที่มีคนนับถือเป็นอันดับแรกคือ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (86% ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2538) หลังจากนั้นก็เป็น ฮินดู อิสลาม และพุทธศาสนา
สุขภาพของประชากร
แก้เรอูว์นียงประสบหายนะจากโรคไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา (Chikungunya) ในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2549 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเกือบ 3 ส่วนของประชากรทั้งหมดของเรอูว์นียง
วัฒนธรรม
แก้วัฒนธรรมของเรอูว์นียงนั้นเป็นการผสมผสาน (Métissage) ระหว่างยุโรป แอฟริกา ทมิฬ อินเดีย เวียดนามและวัฒนธรรมชาวเกาะ
ภาษาที่พูดกันมากที่สุดคือ ครีโอลเรอูว์นียง ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีลักษณะเฉพาะมากมาย ภาษานี้เองก็ยังเปิดสอนในหลายโรงเรียน อย่างไรก็ตามการสะกดก็ยังเป็นที่ตกลงกันอยู่
อาหารและดนตรีมีความผสมผสานจากอิทธิพลแอฟริกา อินเดีย จีน และยุโรป
อ้างอิงและเชิงอรรถ
แก้- ↑ INSEE. "Estimation de population par région, sexe et grande classe d'âge - Années 1975 à 2014" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2015-07-11.
- ↑ "GDP per capita in the EU in 2013: seven capital regions among the ten most prosperous". Eurostat. สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 54.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา (2562) นานาวิสามานยนาม หน้า 184
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สภาแคว้นเรอูว์นียง เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เขตการปกครองเรอูว์นียง เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน