16 มีนาคม
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 16 มีนาคม เป็นวันที่ 75 ของปี (วันที่ 76 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 290 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1521) - เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน เดินทางถึงประเทศฟิลิปปินส์โดยมาทอดสมอเรือตรินิแดดที่อ่าวเลย์เต ถือว่าเป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะวิซายา
- พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) - รัฐสภายาวถูกยุบเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นใหม่[1]
- พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) - พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน ถูกลอบปลงพระชนม์โดยการยิง; พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 มีนาคม[2]
- พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1900) - เซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์ ซื้อซากเมืองนอสซัสบนเกาะครีต เพื่อการขุดค้นทางโบราณคดี
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - ฮิตเลอร์ประกาศให้ดินแดนโบฮีเมียและโมราเวียอยู่ภายใต้การอารักขาของเยอรมนี
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - นิวซีแลนด์ประกาศสงครามกับไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485
- พ.ศ. 2488 - ฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะอิโวจิมาสำเร็จ
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - สงครามเวียดนาม: ทหารอเมริกันสังหารพลเรือน 347 คน ที่เมืองมีลาย ในเวียดนาม
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - นาย อัลโด โมโร นายกรัฐมนตรีอิตาลีถูกกองทัพแดงอิตาลีลักพาตัวและถูกสังหารในเวลาต่อมา
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 2294 ( ค.ศ. 1751 ) - เจมส์ แมดิสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 4 (ถึงแก่กรรม 28 มิถุนายน พ.ศ. 2379)
- พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) - จอร์จ ไซมอน โอห์ม นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน (เสียชีวิต 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2397)
- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร (สิ้นพระชนม์ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
- พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - จิตติ ติงศภัทิย์ อดีตองคมนตรี (เสียชีวิต 3 มีนาคม พ.ศ. 2538)
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - แพต นิกสัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 22 มิถุนายน พ.ศ. 2536)
- พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - สมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮัด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (สวรรคต 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - สินีนาฏ โพธิเวส นักแสดงชาวไทย (เสียชีวิต 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - ริชาร์ด สตอลแมน ผู้ก่อตั้งโครงการกนู
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - นาคร ศิลาชัย นักแสดง/พิธีกร/นักกีฬาชาวไทย
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - สุนารี ราชสีมา นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ฮิเดกิ โทดากะ แชมป์โลกมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - โชคทวี พรหมรัตน์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ดักกลาส โรดริเกวซ อดีตนักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
- กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 26
- ทีโอ วอลคอตต์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)
- ภัทรานิษฐ์ วิริยะบำรุงกิจ นักแสดงหญิงชาวไทย
- แอนเทรอัส คอร์เนลีอัส นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ดอมินิก แคลเวิร์ต-ลูอิน นักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ผู้มีบทบาทสำคัญทางการทูตของไทยในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) นายทหารหัวหน้าคณะผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. 130
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ธรรม์ โทณะวณิก (ธรรม์) - นายแบบ/นักแสดง
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2471)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Cobbett's Parliamentary History of England: From the Norman Conquest, in 1066, to the Year, 1803. Volume 3. London: R. Bagshaw. 1808. pp. 1583–1584 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Elgán, Elisabeth; Scobbie, Irene (2015). "Chronology". Historical Dictionary of Sweden (3rd ed.). Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. p. xxiii. ISBN 9781442250710.