พ.ศ. 2560
ปี
พุทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีระกา นพศก จุลศักราช 1379 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสากล[1]
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2560 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2017 MMXVII |
Ab urbe condita | 2770 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1466 ԹՎ ՌՆԿԶ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6767 |
ปฏิทินบาไฮ | 173–174 |
ปฏิทินเบงกอล | 1424 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2967 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 65 Eliz. 2 – 66 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2561 |
ปฏิทินพม่า | 1379 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7525–7526 |
ปฏิทินจีน | 丙申年 (วอกธาตุไฟ) 4713 หรือ 4653 — ถึง — 丁酉年 (ระกาธาตุไฟ) 4714 หรือ 4654 |
ปฏิทินคอปติก | 1733–1734 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3183 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2009–2010 |
ปฏิทินฮีบรู | 5777–5778 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2073–2074 |
- ศกสมวัต | 1939–1940 |
- กลียุค | 5118–5119 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12017 |
ปฏิทินอิกโบ | 1017–1018 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1395–1396 |
ปฏิทินอิสลาม | 1438–1439 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 29 (平成29年) |
ปฏิทินจูเช | 106 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4350 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 106 民國106年 |
เวลายูนิกซ์ | 1483228800–1514764799 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม
- เกิดเหตุกราดยิงที่ไนต์คลับในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 39 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 69 คน[2]
- อังตอนียู กูแตรึช ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติลำดับที่ 9 ต่อจากพัน กี-มุน
- 19 มกราคม – กองกำลังทหารของประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกันตะวันตก (ECOWAS) จากประเทศเซเนกัล กานา และไนจีเรีย เข้าคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศแกมเบีย ด้วยการบังคับให้ประธานาธิบดียาห์ยา จัมเมห์ สละตำแหน่ง หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับอาดามา บาร์โรว์ เมื่อเดือนธันวาคม 2559 แต่จัมเมห์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว[3]
- 21 มกราคม – กลุ่มสตรีหลายล้านคนในสหรัฐและหลายประเทศ เข้าร่วมการชุมนุมในนาม "การเดินขบวนของผู้หญิง" (Women's March) เพื่อประท้วงประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ในประเด็นการคุกคามสิทธิสตรี[4] โดยการชุมนุมครั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมแบบวันเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ[5]
- 26 มกราคม – คณะนักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐ ออกประกาศว่า สามารถสร้างไฮโดรเจนโลหะในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นครั้งแรกของโลก[6][7]
- 27 มกราคม – ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ออกคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 13769 ให้จำกัดการอพยพและการเดินทางเข้าสหรัฐของพลเมืองจากประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม 7 ประเทศ ได้แก่ อิรัก อิหร่าน ลิเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย และเยเมน[8]
กุมภาพันธ์
แก้- 11 กุมภาพันธ์ – รัฐบาลเกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามเขตทะเลญี่ปุ่น ส่งผลให้นานาชาติประณามการกระทำดังกล่าว[9]
มีนาคม
แก้- 10 มีนาคม
- ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีมีมติถอดถอนพัก กึน-ฮเย ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี[10]
- สหประชาชาติประกาศเตือนว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผู้คนกว่า 20 ล้านคนในประเทศเยเมน โซมาเลีย ซูดานใต้ และไนจีเรีย กำลังเสี่ยงต่อภาวะอดอยากและขาดอาหาร[11]
- 29 มีนาคม – เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เริ่มใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน เพื่อเริ่มต้นกระบวนการแยกสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ[12]
เมษายน
แก้- 4 เมษายน – กองทัพสหรัฐยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์ก 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย เพื่อตอบโต้การโจมตีเคมีต่อเมืองที่ฝ่ายกบฏควบคุม รัฐบาลรัสเซียประณามสหรัฐว่าแสดงพฤติกรรม "ก้าวร้าว" และทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย[13]
พฤษภาคม
แก้- 12 พฤษภาคม – เกิดเหตุโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ "วอนนาคราย" ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในอย่างน้อย 150 ประเทศทั่วโลก[14][15]
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน – ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศถอนสหรัฐออกจากความตกลงปารีส[16]
- 5 มิถุนายน
- ประเทศมอนเตเนโกรเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือในฐานะสมาชิกลำดับที่ 29[17]
- ประเทศอาหรับ 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ บาห์เรน เยเมน ลิเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[18]
- 25 มิถุนายน – องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในประเทศเยเมนมากกว่า 2 แสนราย[19]
กรกฎาคม
แก้- 4 กรกฎาคม – รัฐบาลรัสเซียและจีนขอให้ประเทศเกาหลีเหนือยุติโครงการขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือทดสอบการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปได้สำเร็จเป็นครั้งแรก[20][21]
- 6 กรกฎาคม – สหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม[22]
- 7 กรกฎาคม – สมาชิกสหประชาชาติ 122 ประเทศ ออกเสียงสนับสนุนสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์[23]
- 12 กรกฎาคม – ภูเขาน้ำแข็ง เอ-68ซึ่งมีขนาดกว่า 5,800 ตารางกิโลเมตร แตกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีในทวีปแอนตาร์กติกา[24]
สิงหาคม
แก้- 2 สิงหาคม – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเอกฉันท์คว่ำบาตรประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มเติมในด้านการค้าและการลงทุน หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงดำเนินโครงการทดสอบขีปนาวุธ[25]
- 21 สิงหาคม – เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่สามารถมองเห็นได้ในสหรัฐแผ่นดินใหญ่นับตั้งแต่ปี 2522[26]
กันยายน
แก้- 1 กันยายน – วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ขับไล่เจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐ 755 คนออกจากประเทศรัสเซีย เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ[27]
- 3 กันยายน – ประเทศเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 6[28]
- 13 กันยายน – คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศผลเมืองที่จะได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 คือ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และโอลิมปิกฤดูร้อน 2028 คือ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐ
- 15 กันยายน – ยานอวกาศแคสซีนี–ไฮเกนส์ ซึ่งเป็นยานอวกาศที่ใช้สำรวจดาวเสาร์มาเป็นเวลากว่า 13 ปี ได้ถูกปลดระวางโดยการปล่อยลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์[29]
- 19 กันยายน - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ในตอนกลางของประเทศเม็กซิโก ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 200 คน
ตุลาคม
แก้- 14 ตุลาคม – เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในกรุงโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 320 คน
- 28 ตุลาคม – กาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปน[30]
พฤศจิกายน
แก้- 12 พฤศจิกายน - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ที่ประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดที่ จังหวัดเคร์มอนชอฮ์ ประเทศอิหร่าน มีผู้เสียชีวิต 630 คน[31][32]
ธันวาคม
แก้- 6 ธันวาคม - ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศรับรอง กรุงเยรูซาเล็มให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
วันเกิด
แก้วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 4 มกราคม – เอซีโอ ปัสกุตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2480)
- 7 มกราคม – มารีอู ซูอารึช ประธานาธิบดีโปรตุเกส (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
- 9 มกราคม – โรเบร์โต กาบัญญัส นักฟุตบอลชาวปารากวัย (เกิด 11 เมษายน พ.ศ. 2504)
- 10 มกราคม – โรมาน แฮร์ซอก ประธานาธิบดีเยอรมนี (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2477)
- 15 มกราคม – จิมมี สนูกกา นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายฟิจิ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2486)
- 16 มกราคม – ยูจีน เซอร์นัน นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2477)
- 26 มกราคม – ไมก์ คอนเนอส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2468)
- 27 มกราคม – แอมานุแอล รีวา นักแสดงชาวฝรั่งเศส (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470)
กุมภาพันธ์
แก้- 12 กุมภาพันธ์ – อัล จาร์โร นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2483)
- 13 กุมภาพันธ์ – คิม จ็อง-นัม พี่ชายต่างมารดาของคิม จ็อง-อึน ผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2514)
- 18 กุมภาพันธ์ – อีแวน โคลอฟฟ์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485)
- 19 กุมภาพันธ์ – สมเด็จพระราชินีฮาลาเอวาลู มาตาอาโฮ อาโฮเมเอ พระบรมราชชนีแห่งตองงา (พระราชสมภพ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470)
- 21 กุมภาพันธ์ – เคนเนธ แอร์โรว์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2464)
- 25 กุมภาพันธ์ – บิลล์ แพกซ์ตัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498)
มีนาคม
แก้- 18 มีนาคม – ชัค เบอร์รี นักร้องและนักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 18 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
เมษายน
แก้- 2 เมษายน – หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตองคมนตรี และศิลปินแห่งชาติ (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
พฤษภาคม
แก้- 18 พฤษภาคม - ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2489)
- 19 พฤษภาคม - สตานิสลาฟ เปตรอฟ นาวาอากาศโทแห่งกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2482)
- 23 พฤษภาคม – โรเจอร์ มัวร์ นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
มิถุนายน
แก้- 16 มิถุนายน – เฮ็ลมูท โคล นักการเมืองชาวเยอรมนี อดีตนายกรัฐมนตรี (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2473)
- 20 มิถุนายน - สุดใจ เที่ยงตรงกิจ (หนิงหน่อง เพชรพิณทอง) ศิลปินชาวไทย (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2492)
กรกฎาคม
แก้- 7 กรกฎาคม – ฐิติมา สุตสุนทร นักร้องและนักแสดงชาวไทย (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2504)
- 13 กรกฎาคม – หลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวจีน (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2498)
- 16 กรกฎาคม – จอร์จ เอ. โรเมโร ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน-แคนาดา (เกิด 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
- 19 กรกฎาคม – พระมงคลสิทธาจารย์ (รวย ปาสาทิโก) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2464)
- 20 กรกฎาคม – เชสเตอร์ เบนนิงตัน นักตนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2519)
- 28 กรกฎาคม – อินก้า แลนตซ์ นักการเมืองชาวสวีเดน (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486)
สิงหาคม
แก้- 20 สิงหาคม – มาร์กอต ฮีเอิลเชอร์ นักร้องและนักแสดงชาวเยอรมัน (เกิด 29 กันยายน พ.ศ. 2462)
- 24 สิงหาคม – เจย์ โทมัส นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2491)
- 28 สิงหาคม – สึโตมุ ฮาตะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 51 แห่งประเทศญี่ปุ่น (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
กันยายน
แก้- 11 กันยายน – สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ (พระราชสมภพ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- 17 กันยายน – บ็อบบี ฮีแนน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487)
- 27 กันยายน – ฮิวจ์ เฮฟเนอร์ ผู้จัดจำหน่ายนิตยสารชาวอเมริกัน (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2469)
เดือนตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม - สำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2470)
พฤศจิกายน
แก้- 6 พฤศจิกายน - คาริน ดอร์ นักแสดงชาวเยอรมัน (เกิด 22 กุมภาพันธ์ 2481)
- 7 พฤศจิกายน – ฮันส์ เชเฟอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2470)
- 16 พฤศจิกายน – ฮิโรมิ สึรุ นักแสดงและนักพากย์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2503)
- 19 พฤศจิกายน – ชาร์ล แมนสัน อาชญากรและผู้นำลัทธิชาวอเมริกัน (เกิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477)
- 30 พฤศจิกายน – สุรินทร์ พิศสุวรรณ นักการเมืองและนักการทูตชาวไทย อดีตเลขาธิการอาเซียน (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492)
ธันวาคม
แก้- 4 ธันวาคม – อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ อดีตประธานาธิบดีเยเมน (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2485)
- 5 ธันวาคม – สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย (พระราชสมภพ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464)
- 18 ธันวาคม – คิม จง-ฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้ (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2533)
รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – ฌัก ดูบอเชต์, โยอาคิม ฟรังค์ และ ริชาร์ด เฮนเดอร์สัน[33]
- สาขาวรรณกรรม – คะซึโอะ อิชิงุโระ[34]
- สาขาสันติภาพ – คณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ[35]
- สาขาฟิสิกส์ – เรเนอร์ ไวส์, แบร์รี แบริช และ คิป ธอร์น[36]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจฟฟรีย์ ซี ฮอลล์, ไมเคิล รอสแบช และ ไมเคิล ดับเบิลยู ยัง[37]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – ริชาร์ด เอช เธเลอร์[38]
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้การ์ตูน
แก้- อนิเมะเรื่อง โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช ดำเนินเหตุการณ์ตามปีนี้
ภาพยนตร์
แก้- ภาพยนตร์เรื่อง เทอร์มิเนเตอร์ ได้บอกว่าสกายเน็ตจะถูกเปิดใช้ในเดือนตุลาคม 2017 (ตามเนื้อเรื่อง)
- ภาพยนตร์เรื่อง พรจากฟ้า ตอน "พรปีใหม่" ดำเนินเรื่องในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2560-2561
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ "United Nations declares 2017 as the International Year of Sustainable Tourism for Development เก็บถาวร 2016-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". UNWTO. 7 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2560.
- ↑ http://www.bbc.com/news/world-europe-38481521
- ↑ The Associated Press. "Gambia's Defeated Leader Agrees to Cede Power, Leave". The New York Times. 20 January 2017. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- ↑ "กลุ่มสตรีในหลายประเทศเดินขบวนต่อต้านทรัมป์". BBC. 21 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- ↑ Jason Easley. "Women’s March Is The Biggest Protest In US History As An Estimated 2.9 Million March". Politicus USA. 21 January 2017. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560.
- ↑ "Harvard scientists announce they've created metallic hydrogen, which has been just a theory". Harvard Gazette. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
- ↑ Ian Johnston. "Hydrogen turned into metal in stunning act of alchemy that could revolutionise technology and spaceflight". Independent. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
- ↑ Executive Office of the President. "Protecting the Nation From Foreign Terrorist Entry Into the United States". Federal Register. 27 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560.
- ↑ "North Korea conducts ballistic missile test". BBC. 12 February 2017. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560.
- ↑ "South Korea president Park Geun-hye ousted by court". BBC. 10 March 2017. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560.
- ↑ "UN: World facing greatest humanitarian crisis since 1945". BBC. 11 March 2017. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560.
- ↑ "สหราชอาณาจักรเริ่มกระบวนการแยกตัวจากอียูอย่างเป็นทางการแล้ว". BBC. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560.
- ↑ "สงครามในซีเรีย : สหรัฐฯยิงขีปนาวุธใส่ฐานทัพซีเรีย ตอบโต้ใช้อาวุธเคมี". BBC. 7 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2560.
- ↑ "Ransomware strike gives glimpse of 'cyber-apocalypse'". Sky News. 13 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.
- ↑ "Ransomware cyber-attack threat escalating - Europol". BBC. 14 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.
- ↑ Riley Beggin, Jordyn Phelps, and etc. "Trump withdrawing US from Paris Climate Agreement but open to returning". ABC News. 1 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- ↑ "Montenegro to Join NATO on June 5". The Wall Street Journal. 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- ↑ "6 ชาติตะวันออกกลาง ประกาศตัดความสัมพันธ์กาตาร์". BBC. 5 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.
- ↑ Thomson Reuters. "Cholera cases in Yemen now more than 200,000". CBC News. 25 June 2017. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560.
- ↑ "North Korea missile test: US seeks Security Council meeting". BBC. 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- ↑ Euan McKirdy. "North Korea tests missile it claims can reach 'anywhere in the world'". CNN. 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- ↑ "EU and Japan reach free trade deal". BBC. 6 July 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2560.
- ↑ United Nations. "General Assembly - other: United Nations conference to negotiate a legally-binding instrument to prohibit nuclear weapons: Second session". 7 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
- ↑ Lauren Said-Moorhouse. "Massive iceberg breaks away from Antarctica". CNN. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2560.
- ↑ "North Korea: UN backs fresh sanctions over missile tests." BBC. 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2560.
- ↑ Total Solar Eclipse: August 21 2017. Hermit.org. Updated 2006. Retrieved September 12, 2012.
- ↑ "Putin expels 755 diplomats in response to US sanctions." Fox News. 31 July 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560.
- ↑ David E. Sanger and Choe Sang-Hun. "North Korean Nuclear Test Draws U.S. Warning of ‘Massive Military Response’." The New York Times. 2 September 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560.
- ↑ "Cassini Solstice Mission: Cassini Mission Timeline". Jet Propulsion Laboratory. NASA. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
- ↑ "Catalonia declares independence from Spain as political crisis deepens". CNN. October 27, 2017. สืบค้นเมื่อ October 27, 2017.
- ↑ http://www.irna.ir/en/News/82759872
- ↑ https://reliefweb.int/report/iraq/iraqi-red-crescent-increasing-number-dead-10-people-because-earthquake-and-set-camps
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 4, 2017.
- ↑ "The Nobel Prize in Literature 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ "The Nobel Prize in Peace 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
- ↑ "The Prize in Economic Sciences 2017". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 9, 2017.