สาธารณรัฐกาตาลุญญา (พ.ศ. 2560)

สาธารณรัฐกาตาลุญญา (กาตาลาและสเปน: República Catalana) หรือ สาธารณรัฐกาตาลุญญอ (อารัน: Republica Catalana) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กาตาลุญญา (กาตาลา: Catalunya; สเปน: Cataluña) เป็นรัฐที่ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวและไม่ได้รับการรับรองในคาบสมุทรไอบีเรีย สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาลงมติประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560[1] ท่ามกลางวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญว่าด้วยการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560[2]

สาธารณรัฐกาตาลุญญา

República Catalana (กาตาลา) (สเปน)
Republica Catalana (อารัน)
2560–2560
ธงชาติกาตาลุญญา
ธงชาติ
เพลงชาติอัลส์ซากาโดส
("เหล่าผู้เก็บเกี่ยว")
ที่ตั้งของกาตาลุญญาในทวีปยุโรป
ที่ตั้งของกาตาลุญญาในทวีปยุโรป
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงบาร์เซโลนา
ภาษาทั่วไป
การปกครองสาธารณรัฐชั่วคราว
ประธานฌานาราลิตัต 
• 2560
การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา
ประวัติศาสตร์ 
1 ตุลาคม 2560
27 ตุลาคม 2560
28–30 ตุลาคม 2560
• การประกาศเอกราชถูกยับยั้ง
31 ตุลาคม 2560
สกุลเงินยูโร (โดยพฤตินัย)
  1. เป็นการตกลงใช้ฝ่ายเดียว เนื่องจากสาธารณรัฐกาตาลุญญามิใช่สมาชิกทางการของยูโรโซน
  2. ตามกฎหมายการเปลี่ยนผ่านทางกฎหมายและการเปลี่ยนผ่านพื้นฐานแห่งสาธารณรัฐ ข้อบังคับต่าง ๆ ของท้องถิ่น ของแคว้นปกครองตนเอง และของรัฐที่มีผลบังคับใช้อยู่ขณะที่กฎหมายฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ ให้มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องไป (นอกจากขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้) นี่ครอบคลุมถึงการใช้สัญลักษณ์ทางการต่าง ๆ ของกาตาลุญญาที่ธรรมนูญการปกครองตนเองกาตาลุญญาและกฎหมายอื่น ๆ ได้กำหนดไว้ด้วย
  3. ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญสเปนมีมติยับยั้งการประกาศเอกราชของสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา

ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมงหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราช วุฒิสภาสเปนก็มีมติสนับสนุนให้ใช้มาตรา 155 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2521[3] ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลสเปนใช้มาตรการใด ๆ ก็ตามที่จำเป็นกับแคว้นหนึ่ง ๆ เพื่อคุ้มครองประโยชน์โดยรวมของสเปน มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปนประกาศยุบสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา ปลดฝ่ายบริหารกาตาลุญญาออกจากตำแหน่ง และกำหนดจัดการเลือกตั้งในกาตาลุญญาแบบกะทันหันในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560[4] การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประธานฝ่ายบริหารกาตาลุญญาแถลงว่า ในสังคมประชาธิปไตย มีเพียงสภานิติบัญญัติเท่านั้นที่สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนฝ่ายบริหารได้ และขอให้ชาวกาตาลุญญา "ต่อต้าน" การบังคับใช้มาตรา 155 "ตามวิถีประชาธิปไตย" แต่เขาไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าจะตอบสนองอย่างไรต่อคำสั่งต่าง ๆ ของรัฐบาลสเปน[5][6]

ในวันที่ 30 ตุลาคม การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ ประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศยกเลิกการประชุมสภาที่กำหนดไว้ในวันรุ่งขึ้นเนื่องจากสภา "ได้ถูกยุบ" จึงเท่ากับว่าเธอยอมรับคำสั่งของราฆอยไปโดยปริยาย[7] ภายหลังในวันเดียวกันปรากฏว่า ปุดจ์ดาโมนและคณะผู้บริหารแคว้นบางส่วนที่ถูกปลดจากตำแหน่งได้ลี้ภัยไปยังเบลเยียมเพื่อหลบเลี่ยงการถูกดำเนินคดีจากฝ่ายตุลาการของสเปน[8] เนื่องจากโฆเซ มานูเอล มาซา อัยการสูงสุดของสเปนได้สั่งฟ้องดำเนินคดีอาญากับพวกเขาในข้อหาการกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และการใช้งบประมาณรัฐในทางมิชอบ[9][10] ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ในกาตาลุญญาก็กลับคืนสู่สภาพปกติโดยปราศจากความไม่สงบหรือการนัดหยุดงานทั่วไป เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า อำนาจบริหารโดยตรงจากทางมาดริดสามารถตั้งมั่นอยู่ได้โดยมีการต่อต้านเพียงเล็กน้อย[11] จากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญสเปนก็มีมติยับยั้งการประกาศเอกราชในวันถัดมา[12]

อ้างอิง แก้

  1. "Catalan parliament votes to declare independence from Spain". Guardian. 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  2. "Catalan parliament declares independence from Spain". Reuters. 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  3. "Catalans declare independence from Spain". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  4. Ponce de León, Rodrigo (27 October 2017). "Rajoy cesa a Puigdemont y su Govern y convoca elecciones para el 21 de diciembre". eldiario.es (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  5. "Puigdemont no se da por cesado y pide "oposición democrática" a la aplicación del 155". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
  6. "Són els parlaments els que escullen o cessen els presidents". El Món (ภาษาคาตาลัน). 28 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
  7. "Forcadell desconvoca la reunión de la Mesa del martes porque el Parlament "se ha disuelto"". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 30 October 2017. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  8. Cortizo, Gonzalo (30 October 2017). "Puigdemont y parte de su gobierno se refugian en Bélgica para evitar a la justicia española". eldiario.es (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  9. Guindal, Carlota (30 October 2017). "La Fiscalía se querella contra Puigdemont y el Govern por rebelión y sedición". La Vanguardia (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  10. Jones, Sam (30 October 2017). "Spanish prosecutor calls for rebellion charges against Catalan leaders". The Guardian. Barcelona. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  11. "Work resumes normally in Catalonia as Spain enforces direct rule". Reuters. Barcelona, Madrid. 30 October 2017. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  12. "El Constitucional suspende la declaración de independencia de Catalunya". eldiario.es (ภาษาสเปน). 31 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้