วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560

วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560–2561[8] (สเปน: crisis constitucional de España de 2017–18; กาตาลา: crisi constitucional espanyola de 2017–18) เป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลสเปนกับทบวงการปกครองกาตาลุญญาในประเด็นการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560 ความขัดแย้งเริ่มขึ้นหลังจากที่กฎหมายการลงประชามติเอกราชถูกประณามจากรัฐบาลสเปนซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฆอย และต่อมาถูกศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งยับยั้งจนกว่าจะมีการตัดสินในประเด็นดังกล่าว[9][10] ฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาซึ่งนำโดยประธานแคว้นการ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประกาศว่า ไม่ว่ารัฐบาลสเปนหรือศาลก็ไม่สามารถหยุดยั้งแผนการของพวกเขาได้ และยังคงมุ่งมั่นที่จะจัดการลงประชามติต่อไป ซึ่งจุดประกายให้เกิดการตอบโต้ตามกฎหมายซึ่งแผ่ขยายอย่างรวดเร็วจากทั้งรัฐบาลสเปนและจากทบวงการปกครองกาตาลุญญาไปยังเทศบาลต่าง ๆ ในแคว้นกาตาลุญญา (โดยทบวงการปกครองกาตาลุญญาได้ร้องขอให้บรรดานายกเทศมนตรีสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงและความช่วยเหลือเพื่อให้กระบวนการลงคะแนนเป็นไปได้ด้วยดี) รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมสูงสุดกาตาลุญญา และพนักงานอัยการของรัฐสเปน[9][11][12]

วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560–2561
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการเอกราชกาตาลุญญา
ที่ตั้งแคว้นกาตาลุญญาในประเทศสเปน
วันที่6 กันยายน 2560 – 1 มิถุนายน 2561
(8 เดือน 3 สัปดาห์ 5 วัน)
สถานที่สเปน โดยเฉพาะในแคว้นกาตาลุญญา
สาเหตุ
วิธีการการเดินขบวน, การดื้อแพ่ง, การต่อต้านโดยพลเรือน, การบุกยึดสถานที่, การนัดหยุดงานทั่วไป
สถานะ
  • การลงประชามติเกิดขึ้นแม้จะมีคำสั่งยับยั้ง; พลเรือนหลายร้อยคนบาดเจ็บระหว่างการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันออกเสียงลงคะแนน
  • การดำเนินการทางกฎหมายกับสมาชิกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของกาตาลุญญาโดยฝ่ายตุลาการของสเปน; การแทรกแซงทางตำรวจและการคลังในกาตาลุญญาโดยรัฐบาลสเปน
  • การประท้วงตามท้องถนนทั่วกาตาลุญญา; การนัดหยุดงานทั่วไปในแคว้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม
  • ฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาประกาศการเคลื่อนไหวไปสู่การประกาศเอกราชฝ่ายเดียว
  • การเดินขบวนทั่วสเปนเพื่อสนับสนุนและต่อต้านการกระทำของรัฐบาลสเปน
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
จำนวน

หน่วยตำรวจในกาตาลุญญา :'

กองกำลังตำรวจของกาตาลุญญา :

  • 17,000 นาย (ตั้งแต่วันที่ วันที่ 28 ตุลาคม 2560)[4]

กองกำลังตำรวจของกาตาลุญญา :

  • 17,000 นาย (ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2560)[4]
ความสูญเสีย

เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ:

  • 111 นาย (ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยของสเปน)[5][6]
  • 12 นาย (ข้อมูลจากฝ่ายสาธารณสุขของกาตาลุญญา)[7]

พลเรือนบาดเจ็บ:

  • 1,066 คน (ข้อมูลจากฝ่ายสาธารณสุขของกาตาลุญญา)[7]

ถูกคุมขัง:

ถูกจับกุม:

  • 10 คน

เมื่อถึงวันที่ 15 กันยายน ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนเอกราชกาตาลุญญาเริ่มรณรงค์การลงประชามติ รัฐบาลสเปนได้ดำเนินการรุกทางกฎหมายอย่างเต็มที่เพื่อขัดขวางการลงคะแนนเสียงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการขู่จะเข้าควบคุมงบประมาณส่วนใหญ่ของกาตาลุญญา การส่งกำลังตำรวจเข้ายึดป้ายประกาศ จุลสาร และใบปลิวสนับสนุนการลงประชามติซึ่งถูกพิจารณาว่าผิดกฎหมาย และการสอบสวนทางอาญาต่อนายกเทศมนตรีในกาตาลุญญากว่า 700 คน ซึ่งตกลงว่าจะช่วยจัดการลงประชามติอย่างเปิดเผย[13][14] ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายถึงจุดวิกฤตหลังจากที่ตำรวจสเปนเริ่มปฏิบัติการอะนูบิสโดยจู่โจมที่ทำการต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาในเมืองบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 20 กันยายน และจับกุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของกาตาลุญญา 13 คน สื่อต่างประเทศบางสื่อบรรยายเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "หนึ่งในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สเปนสมัยใหม่"[15] นักการเมืองสเปนหลายคนเรียกการลงประชามติครั้งนี้ว่าเป็น "รัฐประหารขวางประชาธิปไตยสเปน" และ "ขวางยุโรป"[16][17]

อ้างอิง แก้

  1. [1]
  2. Agencia EFE (2 October 2017). "El despliegue de la Policía Nacional y la Guardia Civil se mantendrá en Cataluña". 20 minutos (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  3. "Thousands of Spanish police and Civil Guards deploy across Catalonia". El Nacional. Barcelona. 1 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  4. 4.0 4.1 Sellart, Jaume (12 September 2017). "Guardia Civil y Policía Nacional movilizan mil antidisturbios más en Catalunya". El Periódico de Catalunya (ภาษาสเปน). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  5. Serra, Ot (20 April 2018). "El govern espanyol va quadruplicar la xifra d'agents ferits l'1-O". Ara (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 26 April 2018.
  6. RESPUESTA D EL GOBIERNO 684/37958 (Report) (ภาษาสเปน). Senado. 22 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 April 2018. En relación con la pregunta de referencia, se informa que 111 miembros de las Fuerzas y Cuerpos de Seguridad del Estado fueron contusionados
  7. 7.0 7.1 "Balanç de les càrregues de l'1-O: 1.066 ferits, 23 d'ells més grans de 79 anys i dos menors d'11". Nació Digital (ภาษาคาตาลัน). October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  8. Gilbert, Mark (7 September 2017). "Catalonia Cries "Freedom!" Market Says "Not So Fast..."". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  9. 9.0 9.1 "Spain Catalonia: Court blocks independence referendum". BBC News. 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  10. Strange, Hannah (7 September 2017). "Spain's constitutional court suspends Catalan referendum law". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  11. Noguer, Miquel; Tena, Berta (8 September 2017). "Prosecutors take action against Catalan officials after referendum law passed". El País. Barcelona, Madrid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-09. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  12. "Catalonia pushes Spain toward crisis". The Leader. 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  13. Hedgecoe, Guy (15 September 2017). "Spain's crisis sharpens as Catalonia referendum campaign begins". The Irish Times. Madrid. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  14. "Spanish police confiscate Catalan referendum material". Al Jazeera. 18 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  15. Stothard, Michael (20 September 2017). "Spanish national police raid Catalan government headquarters". Financial Times. Madrid. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
  16. http://metro.co.uk/2017/10/02/catalonia-referendum-was-coup-against-europe-says-eu-parliament-vice-president-6970344/?ito=cbshare
  17. http://www.express.co.uk/news/world/862776/spain-catalonia-news-independence-map-bbc-referendum-eu-catalan-barcelona-strasbourg